ช้างน้าว
ชื่อพื้นเมือง กาปิโต ยูลง หางกวางผู้ ช้างโน้ม ท้องปลิง
ชือวิทยาศาสตร์ Gomphia serrata (Gaertn.) Kanis.
ชื่อวงศ์ OCHNACEAE
สถานภาพ ไม้นอกประเภทหวงห้าม
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
ในประเทศ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ระดับความสูง 100-1,200 เมตร และป่าชายหาด(ชะอำ) แทบติดทะเล
ในต่างประเทศ พบทั่วไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 12 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปไข่ ลำต้นคดงอ กิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึกตามยาวและขวางลำต้น เปลือกในสีแดงสด เป็นไม้ที่ทนแล้ง ทนไฟป่าได้ดี
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-18 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมหรือป้าน โคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟันละเอียด เส้นแขนงใบข้างละ 7-15 เส้น ก้านใบยาว 0.3-1 ซม.
ดอก ดอกตูมรูปกระสวยมีกลีบสีเขียวหุ้ม บานแล้วมีกลีบดอกสีเหลืองสด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5-8 กลีบ บานเต็มที่กว้าง 3.5-5 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่งและปลายกิ่งที่ไม่มีใบ ก่อนการผลิตาดอกมักผลัดใบหมดตส้น ดอกจึงออกเต็มต้น ส่งกลิ่นหอมและประกายดอกสีทองสวยมาก เกสรยาว 1-2 ซม.
ผล ผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง ทรงขอบขนานปลายมน ผลสุกมีสีม่วงหรือ กว้าง 6-8 มม. ยาว 7-11 มม. ฐานรองดอกและกลีบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีแดง เมล็ดสีดำรงไข่
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
ออกดอก มี.ค.-เม.ย.
ผลแก่ เม.ย.-มิ.ย.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด และปักชำกิ่งได้
การใช้ประโยชน์
ด้านเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ขึ้นได้กว้างขวางตั้งแต่ป่าชายหาด(ชะอำ) จนถึงบนภูเขาสูง(พะเยา) เป็นไม้ผลัดใบแล้วออกดอกเต็มต้นด้วยช่อดอกสีเหลืองสดใส มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เป็นต้นไม้ที่ใช้ตกแต่งสวนหย่อม หรือปลูกประดับแบบมีภูมิในป่าอนุรักษ์ได้เด่นไม่น้อย ถ้าปลูกมาก ๆ อาจกลายเป็นแหล่งหาน้ำหวานของผึ้งได้ ใช้พื้นที่ปลูกกว้างไม่เกินกว่า 3.5x3.5 เมตร ก็ปลูกได้ พัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างสวยงามยิ่ง
ด้านเป็นพืชอาหาร ใบอ่อนกินเป็นผักสด
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
ราก ขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
เปลือกต้น แก้ปวดตา ตาเคือง
เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่มแก้ปวดหลัง