http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,996,615
Page Views16,305,031
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

สารคดีเชิงประวัติศาสตร์

สารคดีเชิงประวัติศาสตร์

สารคดีเชิงประวัติศาสตร์

 

เสด็จในกรมฯ  กับ  ประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

 

เอื้อยนาง

 

เทศกาลแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานีผ่านไปกว่าสัปดาห์  แต่ร่องรอยหลายอย่างยังคงเหลือให้เห็น  เช่น  อัฒจันทร์ชั้นที่นั่ง(ชม)ริมถนนหน้าศาลากลางจังหวัด  ข้างทุ่งศรีเมือง  และศาลหลักเมือง  ยังคงรื้อเก็บไม่หมด    หากซอกซอนเข้าไปในวัดบางวัดจะเห็นต้นเทียนที่สวยงาม ตระการตา ตั้งเด่นให้ชมไปอีกนาน

ประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี  เป็นการจัดการของจังหวัด  การท่องเที่ยว  องค์กรเอกชน  หน่วยงานราชการต่าง ๆ ตลอดสถานศึกษา  และวัด  ร่วมมือ ร่วมใจในแต่ละปี  เพื่อให้งานนั้นดูยิ่งใหญ่ ในทุก ๆ สายตา ที่มาแล

                     


       แต่สำหรับชาวบ้านอย่างเราแล้ว  หากไม่มีลูกหลานที่กำลังเรียนไปฟ้อน ไปแสดง  หรือเป็นสมาชิกคณะกลองยาว  เราก็เพียงบริจาคเงินตามศรัทธาให้วัด(ที่ทำเทียนไปแห่ประกวด)แล้วก็แล้วไป  ถึงวันบุญ ก็ทำบุญ ทำงานกันเงียบ ๆ ตามปกติของตน  อาจซื้อเทียนธรรมดาจากตลาด(แทนเทียนฟั่นที่ทำเองมาแต่โบราณ)ไปถวายวัด  ปฏิบัติกิจตามประเพณีชาวพุทธที่ดีตลอดพรรษาอยู่แล้ว  แม้ไม่ได้ไปเบียดเสียดร่วมชมขบวนแห่เทียนในถนนเมืองอุบลฯ

แม้ส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานศิลป์บนต้นเทียนจะกลายเป็นอาชีพไปแล้ว  แต่อีกส่วนหนึ่ง ในความเรียบง่าย  ก็ยังคงทำด้วยความศรัทธา ไม่เสื่อมคลาย


                   

      ตำนานการแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานีมีขึ้นกว่าร้อยปีมาแล้ว  ตั้งแต่ยุคที่ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 เสด็จมาเป็นผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ณ เมืองอุบลราชธานี(มณฑลลาวกาวยุคนั้น)  ซึ่งชาวอุบลยุคนั้นเรียกพระองค์ท่านว่า 
เสด็จในกรม


     

      ในช่วงสมัยนั้นลัทธิล่าอาณานิคมแผ่ขยายเข้ากลืนกินหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รัฐบาลสยามจึงต้องรู้เท่าทัน  ปรับนโยบายการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ   เปลี่ยนแปลงระบบบริหารภายในให้มีประสิทธิภาพ 

ปี พ.ศ. 2436 พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์(ต่อมาเป็นกรมหลวง)จึงต้องเสด็จมาเป็นผู้สำเร็จราชการดังกล่าว  ทรงประทับ ณ อุบลราชธานี  พร้อมด้วยข้าหลวงใหญ่น้อยตามเสด็จ มาช่วยราชการบ้านเมือง เช่น ม.ร.ว. ปฐม  คเณจร(ราชเลขา) , พระยาประเสริฐดำรง(นายแพทย์), พันตรีหลวงสรกิจพิศาล(ผู้บังคับการทหาร), ขุนประเสริฐศุภกิจ(กองแผนที่) และ อื่น ๆ พร้อมด้วย นายทหาร  พลทหาร อีกกว่า 500 นาย

           

      เสด็จในกรมตอนนั้นทรงหนุ่มฉกรรจ์(ประสูติ ปี 2400  ดังนั้นชันษา 36 ) มาถึงไม่นานก็ได้สาวงามชาวอุบลราชธานีเป็นหม่อม ถึง 4 คน มีทั้งลูกหลานเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า(เจ้าพระตา) และลูกชาวบ้านธรรมดา  ท่านมีบุตร ธิดา กับ หม่อม ๆ ชาวอุบลหลายองค์ และเป็นต้นสกุล ชุมพล ( และชุมพล ณ อยุธยา ในปัจจุบัน)

ส่วนข้าราชบริพารของพระองค์ท่านหนุ่มน้อย หนุ่มใหญ่ หนุ่มโสด และไม่โสดก็มาหลงเสน่ห์สาวอุบลกันเป็นแถว ๆ ฝ่ายสาวเจ้าชาวอุบลก็ปลื้มชาวบางกอกไม่น้อย  แต่งงานเกี่ยวดองกันถึงขนาดลงหลักปักฐาน  สืบเชื้อสายเป็นชาวอุบลมาจนปัจจุบันก็มีไม่น้อย                

                       



      ก็มีเหมือนกันที่ผู้ใหญ่ฝ่ายอุบลคนเก่าคนก่อนไม่แฮปปี้ ไม่อยากให้ลูกหลานว่านเครือไปเจือไปแจม ก็ส่งสาวเจ้าลูก หลาน กลับจำปาศักดิ์เมืองเก่า(เรื่องเล่า จาก คุณ พ่อบำเพ็ญ ณ อุบล)

เหตุฉะนี้ทำให้หนุ่มอุบลหัวอกเป็นหนอง  ขวางหู ขวางตา หนุ่มบ้านใหม่ไทบางกอก  มักมีเรื่องระหองระแหงกันบ่อย ๆ


           

      ครั้งหนึ่ง มีงานแห่บั้งไฟของคุ้มวัดกลาง  เล่นกันสนุกสนานละ  หัวอกที่เคยระบมด้วยหนองก็เลยแตกปุ  มีการตีกันหัวร้างข้างแตก  แลมีคนตาย  เสด็จในกรมจึงทรงห้ามไม่ให้มีการแห่บั้งไฟในเมืองอุบลแต่นั้นมา (นอก ๆ ยังมีตลอดมา) แต่ให้มีการแห่เทียนพรรษาแทน

ต้นเทียนยุคแรก ๆ ไม่ได้ใหญ่โต วิจิตร พิสดารดังปัจจุบันหรอก  ชาวบ้านจะนำเทียนมารวมกันแล้วมัดติดกับลำไม้ไผ่  ใช้กระดาษเงิน กระดาษทองปิดรอยต่อ นำไปมัดติดกับปี๊บน้ำมันก๊าด  แล้วแห่เทียนไปวัด บนเกวียน หรือล้อ ที่ใช้คนลากจูงไป  ถ้าใช้วัวลาก ก็จะตกแต่งรอบเขา คอ ข้อเท้าด้วยกระดาษสี  แขวนเกราะหรือกระพรวนดังกรุ๋งกริ๋งผสานกับเสียงกลอง กรับ ฆ้องในขวนแห่เป็นที่ครึกครื้น

                   



          การทำต้นเทียนได้พัฒนาให้สวยงาม  ใช้ฝีมือ  ใช้การออกแบบสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จากการหล่อดอก ติดพิมพ์ ลายไทยง่าย ๆ เช่น ประจำยาม  กระจังตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย  ฯลฯ  พัฒนามาเป็นงานแกะสลัก  บนต้นเทียน  สร้างสรรค์รูปแบบแปลกใหม่  หลากหลาย  ใหญ่โต  ใช้ขี้ผึ้งเป็นร้อยกิโลกรัม  ใช้เวลาทำเป็นแรมเดือน  มีลูกมือ ช่างเล็ก เณรน้อยหลายสิบในแต่ละต้นเทียน  จนช่างทำเทียนอุบลราชธานีเป็นที่ต้องการของจังหวัดอื่น ๆ มากมายในปัจจุบัน  กลายเป็นชั้นครู ที่หล่อหลอมขึ้นมาจากความรัก  และศรัทธาในพุทธศาสนาโดยแท้

ความใหญ่โต มโหฬาร ของต้นเทียน  และงานแห่เทียนในปัจจุบันนี้  ทำให้อดนึกถึงความอลังการของงานศิลป์ งานสร้าง  ปราสาทหินในถิ่นอีสานเมื่อหนึ่งพันปีที่ผ่านมาไม่ได้เลยค่ะ

 

 

Tags : tradition

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view