http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,011,781
Page Views16,321,013
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ลอยกระทง สีสันแห่งแม่น้ำ ลำนำแห่งชีวิต

ลอยกระทง  สีสันแห่งแม่น้ำ  ลำนำแห่งชีวิต

ลอยกระทง  สีสันแห่งแม่น้ำ  ลำนำแห่งชีวิต
                                                                   “เอื้อยนาง

 

หากแม้นลำน้ำพูดได้  ป่านนี้แม่น้ำ   สายน้ำ  ลำธาร  หนองบึง  หรือ   แหล่งน้ำทั้งหลายคงบ่นพร่ำรำพันไม่รู้จบแน่  ด้วยถูกรังแกจากมนุษย์มาแต่โบราณกาล  เป็นเวลานานแสนนานเท่าที่เผ่าพันธุ์มนุษย์โฮโมเชเปี้ยนถือโอกาสแยกสายพันธุ์จากลิงมาหลายสิบแสนปีแล้ว  คิดดูเอาเถิด  เอาเท่าที่นึกได้ก็พอ  ว่าเราตักเราตวงเราล้วงเราควักเอาผลประโยชน์จากสายน้ำ  เราทำร้ายสายน้ำอย่างไรบ้าง  แล้วสายน้ำก็อาจเคยทำร้ายเรา    (โดยไม่ตั้งใจ)  อยู่บ้างหรอก...


                                    
                                                                คุณย่าเอื้อยนางกับอิ๊กคิวที่ริมฝั่งโขง            
    
              
ใช่ค่ะ...เรื่องราวของสายน้ำแต่ละแห่งช่างมีมากหลายในความทรงจำของมวลมนุษย์  มีความจริง  มีความลึกลับ  มีความเชื่อ  มีตำนาน 

            ตำนานแห่งสายน้ำตำนานหนึ่ง  ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นจากความเชื่อ  ความนอบน้อม  กตัญญู  และพึ่งพาในสายน้ำ  นั่นคือ  ประเพณีลอยกระทง  ของชาวไทย


                                  
              วันเพ็ญเดือนสิบสอง  พระจันทร์ฉายส่องแสงนวลออกมาจากเมฆหม่น  สายแสงนวลชวนหลงใหลกระทบสายน้ำที่เปี่ยมตลิ่ง   สะท้อนแสงอยู่วับวาว    ดูราวกับเป็นวงแขนเหยียดยาวของแม่ เหยียดยื่นพร้อมจะโอบกอดลูกผู้เหน็บหนาวให้อบอุ่น

                  
           
สายน้ำแสนงามในคืนเพ็ญเดือนสิบสองจึงเป็นที่รองรับเอาสายใจ สายใย สายรักจากลูกที่บรรจุเต็มเปี่ยมในกระทงใบน้อย  จุดไฟให้แสงพริบพร้อยก่อนจะปล่อยลงลอยไปกับแม่คงคา

            ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมคำอธิษฐาน ขอขมา  ขอบูชา  พร้อมก็ขอพรกลับมาถึงตัวถูกบรรจุลงไปในกระทงน้อยล่องลอยเป็นสีสันแห่งสายน้ำในคืนเดือนเพ็ญ

                  
           
ล่องลอยไป  ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย  แล้วมนุษย์ทั้งหลายก็รื่นเริง    ความสนุก  การทำบุญตามความเชื่อจึงมีการพัฒนาตามมาในแต่ละท้องถิ่น
  จนอาจผิดเพี้ยนหลงลืมไปบ้างแล้วก็มีไม่น้อย

            แต่อย่างไรก็ตาม  นั่นแสดงถึงความผูกพันเหนียวแน่นในสายใยแห่งแม่น้ำละ

       

            ชาวอีสาน  เดิมประเพณีนี้ผนวกอยู่ในประเพณี  บุญออกพรรษา  เป็นพิธีปล่อยเฮือไฟ  โดยประดิษฐ์เรือด้วยท่อนกล้วย  หรือไม้ไผ่ต่อเป็นรูปลำเรือ ยาวประมาณ ๔-๕ วา บรรจุเครื่องบูชา  ข้าวหนม  ข้าวต้ม  ข้าวดำ  ข้าวแดง ดอกไม้ ธูปเทียน  ตะเกียง  ตะไก้ จุดให้สว่างไสวก่อนปล่อยให้ล่องไหลไปกับสายน้ำ  มีมูลเหตุแห่งการทำตามคติพุทธว่า  ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำนัมมทา  ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพระยานาค  และพระยานาคได้มาต้อนรับพระพุทธองค์แล้วอาราธนาให้เสด้จไปเมืองนาค  ทรงแสดงธรรมโปรดนาค  ทรงประทับรอยพระบาทไว้    ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีนั้น  และรอยนั้นกลายเป็นสถานที่สักการบูชาของเหล่านาค เทวดา แลมนุษย์ผู้ต้องการบุญกุศลตลอดมาก่อให้เกิดประเพณีบูชาแม่น้ำตามมา 
           
ปัจจุบันมีการผสมผสานการลอยกระทงกับไหลเรือไฟในบางท้องที่  และเปลี่ยนวันมาให้ตรงกับภาคกลาง  ซึ่งน้ำในภูมิภาคไม่เปี่ยมตลิ่งแล้ว  มีบางแห่งประเพณีนี้มีขึ้นทั้งสองโอกาสเลย  แม่น้ำทั้งหลายต้องแบกภาระเพิ่มขึ้น

            แม้ในภาคอื่น ๆ เดิมประเพณีนี้ก็เกิดจากการอธิษฐานขอพรตามที่ตนปรารถนา  พร้อมขอขมาพระแม่คงคา 
              

           
คำบูชาอธิษฐานสำหรับการลอยกระทง คือ

            มะยัง  อิมินา  ปทีเปนะ  อสุกายะ  นัมมทายัง  นทิยา  ปุลิเน  ฐิตัง  ปาทะ  วะลัญชัง  อภิปูเซมะ  อะยัง  ปทีเปนะ  มุนิโน  ปาทะวะลัฐชัส สะ  ปูชา อะมังหากัง  ทีฆรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ  สังวัตตะตุ

            คำแปล

            ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอบูชาซึ่งรอยพระพุทธบาท  ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย  ในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น  ด้วยประทีปนี้   การบูชารอยพระบาทด้วยประทีปนี้จงเป็นไป เพื่อประโยชน์  และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ตลอดกาลนานเทอญ

๐๐๐๐๐

ข้อมูลจากหนังสือ

-          ประเพณีอีสานโบราณ  โดย  ปรีชา  พิณทอง

-          วารสารวัฒนธรรมไทย  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม  ฉบับที่ ๑๒ ปีที่ ๔๗

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view