http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,331
Page Views16,266,657
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

หลวงพระบางตอน8 วัดเชียงทองราชะวรวิหาร สถาปัตยกรรมล้านช้างสุดงดงาม โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

หลวงพระบางตอน8 วัดเชียงทองราชะวรวิหาร สถาปัตยกรรมล้านช้างสุดงดงาม โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

หลวงพระบางตอน8

วัดเชียงทองราชะวรวิหาร สถาปัตยกรรมล้านช้าง สุดยอด

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

           ไปท่องเที่ยวเวียงจันทน์แล้วต้องไปไหว้พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ฉันใด  ไปท่องเที่ยวหลวงพระบางแล้วต้องไปไหว้พระองค์หลวงที่วัดเชียงทองฉันนั้น 

            วัดที่ได้ชื่อว่าเป็นอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ใกล้แม่น้ำคานและแม่น้ำโขงมาบรรจบกัน 

            ประวัติการสร้างวัดไม่ชัดเจน กล่าวกันเพียงว่าสร้างขึ้นระหว่างปีพ.ศ.2102-2103 โดยพระไชยเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์ลาวผู้ยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะทรงย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงเวียงจันทน์ 

อุโบสถวัดเชียงทอง

            เจ้ามหาชีวิตสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ทรงอุปฐากวัดเชียงทองสืบมา ถือกันว่าเป็นวัดหลวงของพระเจ้าแผ่นดิน จึงได้ชื่อว่าวัดเชียงทองราชะวรวิหาร

            อุโบสถภาษาลาวเรียกว่า สิม ภายในอุโบสถมีพระประธานองค์โต เรียกกันทั่วไปว่า พระองค์หลวง เป็นพระปูนปั้นด้วยศิลปล้านช้าง ผนังโบสถ์เป็นภาพชาดก พุทธประวัติ และวิถีชีวิตของชาวลาว ผนังภายนอกโบสถ์ก็เช่นกัน

ด้านข้างอุโบสถวัดเชียงทองเห็น ช่อฟ้าหรือปราสาทเฟื้อง

            โครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านช้างคือ หลังคาลดหลั่นสามชั้น เด่นมากคือหลังคาแอ่น และลากชายคายาวแทบจรดพื้นที่ มองดูเหมือนเตี้ย หรือค่อมๆ บนกลางหลังคาเป็น"ช่อฟ้า" หรือ "ปราสาทเฟื้อง" ประดิษฐ์ช่อฟ้า 17 ช่อ อันเป็นฐานนันดรของวัดที่สร้างโดยพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนช่อฟ้าที่สามัญชนสร้างจะมีเพียง 1-7 ช่อเท่านั้น

ผนังอุโบสถด้านนอก

             ด้านข้างมีวิหารเล็ก เรียกว่าวิหารแดง อยู่ใกล้ๆ ผนังรอบวิหารติดแปะกระจกสีต่างๆเป็นภาพพุทธประวัติ นิทานชาดก และวิถีชีวิตของชาวลาว พื้นผนังวิหารสีชมพู ดูแปลกตา ภายในประดิษฐานด้วยพระพุทธไสยาสน์ ส่วนวิหารเล็กอีกองค์หนึ่งเรียกว่า "หอพระมาน" ประดิษฐาน "พระม่าน" ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายหลวงพระบาง

กระจกสีแปะด้านหลังอุโบสถ

             เดินวนไปด้านหลังอุโบสถวัดเชียงทอง  แปะกระจกบนพื้นวาดลายสีส้ม รูปเหมือนต้นโพธิ์ ซึ่งก็ทำให้ดูแปลกแตกต่างไปจากโบสถ์ในวัดอื่นๆ นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพกันไม่น้อย  ความสวยงามของอุโบสถวัดเชียงทองนั้น วันนี้แผ่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งก็ด้วยกล้องและการเล่าเรื่องของสื่อและนักท่องเที่ยวนั่นเอง

      

              ผมเดินข้ามฟากไปยัง "โรงเมี้ยนโกศ" ซึ่งสร้างคล้ายอย่างกับอุโบสถ ประดับลวดลายไม้สลักสวยงามมาก โดยเฉพาะบนหน้าบันของโรงเมี้ยนโกศมองเห็นเป็นสีทองสวยงามจริงๆ แต่เมื่อเดินเข้าไปถึงจึงได้เห็นว่า ที่แท้ไม่ใช่โบสถ์ หากแต่เป็นโรงเก็บโกศ และราชรถสำหรับเคลื่อนพระโกศของศพเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน บันทึกกันว่า ใช้ในงานพระราชพิธีปลงพระศพของเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา เมื่อปีพ.ศ.2502 ส่วนโรงเก็บนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ.2505 เหมือนเป็นพิพิธภัณฑสถานหนึ่ง

              สิ่งที่ผมชื่นชอบมากก็คือ ลวดลายสลักหน้าบัน คันทวย แปลกและสวยมาก เป็นความปราณีตบรรจงของช่างที่สลักเสลา ชื่อ เพียตัน  โรงเมี้ยนโกศนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ ภาพสลักเสลาของเพียตันก็เช่นภาพพิเภกกำลังบอกเรื่องที่ซ่อนหัวใจทศกัณฑ์แก่พระราม นางสีดา และพระลักษณ์  อีกภาพก็เป็นทศกัณฑ์ถูกศรพระรามกลางดวงใจ เป็นต้น ในโรงเมี้ยนโกศๆตั้งอยู่บนราชรถที่แต่งให้เป็นหัวนาค 5 เศียร แปะกระจกสี และลงรักปิดทองเหลืองอร่าม

โรงเมี้ยนโกศวัดเชียงทอง

               กว่าจะออกจากวัดเชียงทองได้ก็หลายชั่วโมง แต่กระนั้นก็ยังไม่สะใจผมนัก ด้วยว่ามีเรื่องราวอีกมาก มีภาพสวยๆอีกเยอะ ที่อยากบันทึกมาถ่ายทอดลงในเว็บทองไทยแลนด์ดอทคอม ประกอบกับการเดินทางไปกับบริษัททัวร์ จึงชักช้าไม่ได้ เขาจัดตารางเวลาไว้อย่างลงตัวเพื่อความเพลิดเพลินของลูกค้า มิใช่จัดทัวร์ถ่ายรูป แฮ่

    

หน้าบันโรงเมี้ยนโกศ

               ต้องยอมรับครับว่า วัดเชียงทองแม้จะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง แต่ก็ยังเป็นวัดเล็กๆที่ไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการอย่างกับวัดพระแก้วของกรุงรัตนโกสินทร์ แม้กระนั้นก็เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่งดงามหาชมได้ยากในบรรดาอุโบสถของชาวพุทธทั่วโลก    แต่ด้วยความปราณีตบรรจงและการอนุรักษ์ที่ประกอบกันหลายๆองค์ประกอบ วัดเชียงทองจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองหลวงพระบางเป็น มรดกโลก เห็นด้วย เห็นด้วยเลย   

 

        หน้าบันโรงเมี้ยนโกศอีกส่วนหนึ่ง

       

ทศกัณฑ์ที่สลักได้งดงามยิ่ง  

 

                             

                         

นาค 5 เศียร ราชรถพระโกศ

 

วิหารพระม่าน

กระจกสีตัดแปะผนังโบสถ์

กระจกสีตัดแปะผนังด้านนอกของวิหารแดง

  พระองค์หลวง พระประธานในอุโบสถวัดเชียงทอง

  ด้านหน้าอุโบสถวัดเชียงทอง

วิหารแดงประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์

 

Tags : ตักบาตรพระร้อย

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view