http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,003,964
Page Views16,312,844
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จากหยาดฝนกลายเป็นหยดน้ำตา

จากหยาดฝนกลายเป็นหยดน้ำตา

จากหยาดฝนกลายเป็นหยดน้ำตา

               ปีนี้ ฝนฟ้ามาเร็ว ตกแล้วก็ตกอีก ตกซ้ำตกซาก ตกจนน้ำไหลนองไปทั่วแผ่นดิน เหมืนอทุกปี แต่ปีนี้มากกว่า

               เขื่อนทุกเขื่อนที่มีอยู่ เขื่อนภมิพลรองรับน้ำจากแม่วังและแม่ปิง เขื่อนสิริกิตติ์รองรับแม่น้ำน่าน เว้นแต่แม่น้ำยมที่ปราศจากเขื่อน  ด้วยว่าถกเถียงกันยังไม่จบ มีปริมาณน้ำเก็บกัมากกมาย แต่ไฉนอธิบดีกรมชลประทานแถลงว่า จะกักเก็บน้ำเอาไว้ เพราะว่าอีกไม่นานจะแล้งจัด

                เมื่อฝนตก ขี้หมูจึงไหล มีใครอยู่เบื้องหลังการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้น้ำฝนที่ถั่งโถมผสมกับน้ำเขื่อนที่เก็บขังเอาไว้ รอวันเวลาว่าสมควรจะเทลงมาให้เปียกกันทั้งตัว 

                ปีนี้ ไม่มีกระบวนการพร่องน้ำจากเขื่อนก่อนฝน ดังนั้นเมื่อน้ำฝนที่หล่นจากฟ้ามามากเกินพิกัด จึงผสมรวมกับน้ำเขื่อน แล้วความสงสัยก็ปราศนาการสิ้น เมื่อน้ำฝนกับน้ำเขื่อนไหลมารวมกันยังกับนัดกันไว้ 

                 ท่วมท้นล้นฝั่งไปทั่วทุกหัวระแหง ตายไปก็มี ส่งสันกันว่า จมน้ำตายหรือไฟช็อตตาย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ดี ตายอยู่ดี 

                 เม็ดฝนที่หยาดหยดกลายเป็นหยดน้ำตาของปวงประชาที่หลั่งไหล 

                 ธุรกิจเล็กธุรกิจใหญ่ บรรลัยไปกับน้ำเสียสิ้น

                 ชาวไร่ชาวสวนและชาวนา ตายอย่างเขียด ชาวบ้านชาวช่องและชาวแรงงาน ก็ตายอย่างเขียด 

                 เหลือแต่เหล่าอำมาตย์ที่ยังมั่งคั่งและยั่งยืนยงทรนงได้ตลอดกาล 

                 แสนสงสาร คนตกทุกข์ได้ยากตาดำๆน้ำตาไหลอาบหน้า บ้าน รถยนต์ สรรพสิ่งที่มีอยู่ แม้ชีวิตที่ดับสิ้น

                 ไม่มีที่จะร้องแรกแหกกะเฌอที่ไหนได้กับใครหรือ 

                 เมษา 2552-พค.2553 วิปโยคโศรกสลดรันทดใจก็ครั้งหนึ่งแล้ว

                 แต่ครั้งนี้ กย-ตค 2554 เป็นบัดพลีจนสิ้นเนื้อประดาตัว     

 

    พญาไม้ เขียนถึง กรมชล-เอ็นจีโอ
 ตอบ |N.Singkran ถึง vanisas, naravadee.c, bcc: ฉัน
แสดงรายละเอียด 12:51 (0 นาทีที่ผ่านมา)


Please see the file (Flood Fact) attached along with this information
-------------
พญาไม้ เขียนถึง กรมชล-เอ็นจีโอ
โดย ICT เมื่อวันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2011
กรมชล-เอ็นจีโอ
18 ต.ค. 2554 9:33 น.
Tags:
* พญาไม้ทูเดย์
* พญาไม้
น้ำท่วมปีนี้...โชคดีของนักการเมืองทั้งหลาย...ที่ทุกข์สาหัสของชาติคราวนี้...เกิดขึ้นในระหว่าง...การสับเปลี่ยนรัฐบาล
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รอดตัวไปเพราะ...ไปเป็นฝ่ายค้าน...
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รอดตัวได้ เพราะเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ ยังไม่มีเวลาทำงาน...แถมในชีวิตของนายกรัฐมนตรีคนนี้...ก็เพิ่งก้าวเข้ามา สู่ตำแหน่ง...
นอกจากจะไม่โดนต่อว่าแล้ว ยังเป็นโอกาสให้กวาดเก็บทำคะแนน
คนที่น่าจะโดนตำหนิแน่ๆ ก็ต้องคนใหญ่คนโตในกรมชลประทาน...รับราชการมาตั้งแต่ชั้นตรีขึ้นมาจนซีสิบซี สิบเอ็ด...เรื่องน้ำเรื่องท่า...มันจะต้องจัดจ้านมากกว่านี้...มันต้องมอง เห็นล่วงหน้า...มันต้องรู้ให้ทันเวลา...
แต่เพราะมันเป็นกรมพิกลพิการ...ประเทศมันถึงพังวอดวาย...
ถามไว้ตรงนี้...ตั้งแต่ทำเขื่อนชัยนาทเสร็จมา 56 ปี...วันนี้ตะกอนดินจาก ปิง-วัง-ยม-น่าน...มันมาสะสมอยู่หลังเขื่อนเท่าไหร่...เลยมีโครงการขุดลอก เปิดหน้าดินเพิ่มจุดรับน้ำกันบ้างหรือไม่...ที่วัดได้ว่าจุเท่านั้นจุเท่า นี้...มันจุได้จริงหรือไม่...
แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าแล้งเดี๋ยวนี้แทบจะเดินข้ามได้...แม่น้ำตื้นเขินมาแล้ว เท่าไหร่...แม่น้ำรับน้ำทางลึกไม่ได้ มันก็ต้องรับทางกว้างคือล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำ...ตัวอย่างตัวเลขเหล่านี้... มันจะต้องเป็นจริงอยู่ตลอดเวลา
คุยว่าเก่งนักเก่งหนาเรื่องน้ำ...หน้าน้ำปีนี้...มันชี้ว่า เก่งแต่คุย
น้ำมันออกอาการมาแล้วตั้งแต่ปีกลาย...แถมฝรั่งเขายังทำนายกันลั่นโลกว่า... น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายหนัก น้ำทะเลจะสูงขึ้น...แต่ไม่เห็นผู้รับผิดชอบตนไหนจะสนใจ...บอกกล่าวทำบันทึก ถึงรัฐบาล...แจ้งสถานการณ์น้ำประจำวัน...เตรียมบอกกล่าวชาวบ้าน...เตรียมขุด ลอกทางน้ำไหลไว้แต่เนิ่นๆ
เรือแพให้เตรียมไว้ ไฟฟ้าให้เปิดปิดในที่สูง...
น้ำท่วมเสียหายเป็นแสนล้าน...พวกเอ็นจีโอ ที่ค้านเรื่องเขื่อนค้านเรื่องขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาพากันหนีน้ำไปเที่ยวกันอยู่ที่ไหน...

นิวยอร์กไทมส์: น้ำท่วมไทยเกิดจากฝีมือมนุษย์
Sat, 2011-10-15 07:12
แปลและเรียบเรียงจาก As Thailand Floods Spread, Experts Blame Officials, Not Rains.
โดย Seth Mydans
เซธ ไมดันส์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติของไทย ชี้อุทกภัยที่เกิดขึ้นและลามไปหลายพื้นที่ในเวลานี้ ไม่ได้มาจากปริมาณน้ำฝนที่มากผิดปกติ หากแต่เป็นเพราะการวางแผนการจัดการน้ำและผังเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพ
กรุงเทพ - ท่ามกลางอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย ที่ส่งผลให้จังหวัดต่างๆ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงโบราณสถานกลายเป็นเมืองบาดาลอยู่ใต้น้ำ ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการน้ำชี้ว่า สาเหตุของหายนะครั้งนี้ เป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปัจจัยหลักๆ ของอุทกภัยในครั้งนี้ คือการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกสิ่งก่อสร้างที่มากเกินไปในเขตพื้นที่รับน้ำ การสร้างเขื่อนและการหันเหธารน้ำธรรมชาติ การเจริญเติบโตของเมืองที่กระจัดกระจาย รวมถึงคูคลองในเมืองที่เริ่มอุดตันและการขาดการวางแผน เขาชี้ว่า เขาเคยเตือนทางการไปแล้วหลายครั้งในเรื่องนี้ หากแต่ก็ไม่มีผล
“ผมได้พยายามจะบอกทางการไม่รู้กี่ครั้งกี่หน แต่เขาบอกผมว่าผมน่ะบ้าไปเอง” ดร. สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้ซึ่งโด่งดังจากการคาดการณ์ภัยพิบัติสึนามิหลายปีก่อนที่คลื่นยักษ์จะเข้าถล่มชายฝั่งในพ.ศ. 2547
ฤดูพายุร้อนในปีนี้ นำหายนะมาสู่กัมพูชา ฟิลลิปินส์ เวียดนามและไทย ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 283 คน
ในฟิลิปปินส์ มีหลายพันคนที่ต้องอพยพเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นที่เข้าถล่มประเทศ ส่วนนาข้าวขั้นบันไดขนาfใหญ่ที่เมืองบานาวของฟิลลิปินส์ ก็ถูกโคลนถล่มทำลายเสียหายย่อยยับ
เช่นเดียวกับในกัมพูชา  มีรายงานว่าที่กรุงเสียมราฐ เมืองหลวงของกัมพูชา ระดับน้ำก็สูงขึ้นมาระดับเข่า และกระแสน้ำเริ่มท่วมนครวัดแล้ว
ทางการไทยได้แจ้งเตือนว่า ในไม่อีกกี่วันนี้ กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมด้วยน้ำหลากจากภาคเหนือ น้ำหนุนและน้ำฝนจากพายุฤดูร้อน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ก็ได้เริ่มขนกระสอบทรายมากั้นไว้เพื่อเตรียมความพร้อม และกว้านซื้ออาหารแห้ง น้ำดืม แบตเตอรี่ และเทียนไขมากักตุน
ส่วนการเตรียมการในกรุงเทพฯ ก็เป็นที่วุ่นวายมากทีเดียว กระสอบทรายเรียงรายกันยาวกว่า 45 ไมล์ ถูกวางกั้นตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแนวกั้นนำและคูคลองก็กำลังสร้างขึ้นมารองรับกระแสน้ำ และประชาชนก็ได้รับคำเตือนจากทางการให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ
ในขณะที่น้ำไหลบ่าลงจากทิศใต้จากจังหวัดนครสวรรคและอยุธยา ทำให้โบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ สื่อท้องถิ่นรายงานว่าทหารก็ได้เตรียมขนย้ายกระสอบทรายกว่า 150,000 ถุง ไล่ลงตามกระแสน้ำจากที่ที่ประสบความเสียหายแห่งหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งซึ่งมีความเสี่ยงต่อไป
ในขณะที่รัฐบาลพยายามปกป้องพื้นที่ในตัวเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมโดยการหันเหน้ำไปทางอื่นเท่าที่จะทำได้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเผชิญกับการตัดสินใจว่าจะเลือกช่วยเมืองไหน และเมืองไหนที่จะต้องเสียสละ
ในอยุธยา มีรายงานว่ามีชาวบ้านสองกลุ่มเกิดการทะเลาะวิวาทเนื่องมาจากทำนบที่กั้นน้ำจากฝั่งหนึ่ง ไม่ให้ไหลเข้าไปอีกฝั่งหนึ่ง ชาวบ้านฝั่งที่โชคร้ายรับน้ำท่วมเกิดความไม่พอใจ ได้ขุดรูตรงคันกั้นน้ำเพื่อปล่อยน้ำให้ไหลไปยังอีกฝั่งหนึ่ง จึงเกิดการยิงต่อสู้กัน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ ยังมีรายงานว่า ทหารได้ถูกส่งไปยังคันกั้นน้ำในบริเวณต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังคันกั้นน้ำด้วย
เอวา นาร์คีวิกซ์ ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กร Elephantstay ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ดูแลช้างสูงอายุ ให้ข้อมูลว่า มีช้างราว 15 ตัวในอยุธยาที่ถูกปล่อยเกาะ โดยพวกมันหนีเอาตัวรอดโดยการปีนขึ้นหนีน้ำบนกำแพงยอดสูง ช้างโขลงนั้นประกอบด้วยแม่ช้างเจ็ดตัว และลูกๆของมัน ในจำนวนนั้น ยังรวมถึงช้างอายุ 9 ปีตัวหนึ่งที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้วยทักษะการวาดภาพด้วยงวง
“ถ้าหากความช่วยเหลือที่เหมาะสมยังไม่มาถึงเร็วๆ นี้ แม่และลูกช้างจะอยู่ในอยู่ในอันตรายมาก” นาร์คีวิกซ์กล่าว เธอเสริมว่า ช้างแต่ละตัวบริโภคอาหารมากถึง 440 ปอนด์ (ราว 200 กิโลกรัม) ต่อวัน แต่เรือที่อาจใช้ขนส่งกล้วย สับปะรดและอ้อย จำเป็นต้องกู้ภัยและช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามที่ต่างๆ
นายสมิทธ นักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ถูกทำให้เลวร้ายกว่าเดิม เป็นเพราะแผนการจัดการน้ำที่ไม่ดี
“พวกเขาคำนวณระดับน้ำผิดไป และไม่ได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนให้เร็วพอในฤดูฝน” เขากล่าว “และตอนนี้ระดับน้ำในเขื่อนก็เกือบจะเต็มหมดแล้ว พอเมื่อเขาปล่อยน้ำในเวลานี้ น้ำก็ไหลลงมายังพื้นที่ราบต่ำ”
เขากล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวได้กลายเป็นอุปสรรคต่อกระแสการไหลของน้ำ เนื่องจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายยังคงดำเนินการการปลูกสร้างต่อไปไม่หยุดหย่อน
“พวกเขาสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ควรจะเป็นอ่างเก็บน้ำ” เขากล่าว “และเมื่อพวกเขาสร้างเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำตรงนั้นขึ้นมา มันก็จะปิดกั้นการไหลของกระแสน้ำ ทั้งๆ ที่มันควรจะเป็นทางผ่านของน้ำในฤดูฝน”
เมื่อกระแสน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามายังกรุงเทพฯ มันก็จะไหลเข้ามายังมหานครที่สูญเสียปราการกั้นน้ำตามธรรมชาติไปแล้ว กล่าวคือ คูคลองต่างๆ ที่ควรจะรองรับน้ำ ได้อุดตันไปด้วยเศษขยะต่างๆ ที่มาพร้อมกับประชากรที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นในเมือง
“การวางผังเมืองของเรานั้นไร้ประสิทธิภาพ” นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
“ฤดูกาลมิได้เปลี่ยนไปมากเท่าไหร่หรอก” เขากล่าว “เรามักจะมีน้ำเยอะมากเป็นพิเศษในฤดูฝน แต่ถ้าหากเรายังไม่มีแผนการจัดการน้ำที่ดี เราก็จะเผชิญกับปัญหานี้อีกในปีหน้า”
เขากล่าวต่อว่า มนุษย์และธรรมชาติเริ่มขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ และการอยู่ร่วมกันก็กลายเป็นสมรภูมิขนาดย่อย “นี่เป็นสัญญานที่เตือนให้เรารู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะอนุรักษ์ผืนป่า... เราทำลายธรรมชาติไปมากพอแล้ว และตอนนี้ ก็เสมือนว่าเป็นเวลาที่ธรรมชาติจะขอเอาคืน”
ที่มา
แปลและเรียบเรียงจาก Seth Mydans. As Thailand Floods Spread, Experts Blame Officials, Not Rains. New York Times. 13/10/54
http://www.nytimes.com/2011/10/14/world/asia/a-natural-disaster-in-thailand-guided-by-human-hand.html
 หมายเหตุ: ประชาไทได้แก้ไขข้อความและสำนวนตามคำท้วงติงจากผู้อ่านเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 54 เวลา 7.50 น.    

 

Fwd: กรมชลฯเตือนนอกคันกั้นน้ำราชดำริน้ำสูงแนะขนของสูง 1-1.5ม.
X


กล่องจดหมายX

 ตอบ |N.Singkran ถึง ajarnlek, ananya558, anuthee_sk124, arinwan, bhantesuthep, chaiwattr, chaturon99, chinhed, comradevi, devacash, dr_pongsak, hs.alfa3, ivoryrach, ji.ungpakorn, jkuldiloke, Julong999, kanoktat, karnt19, khemanij.fcb, kiangdin4ever, kik110, Kjclone, krisanapong.sat, lek_hijac, mosquito_kae, nattamonc
แสดงรายละเอียด 13:35 (0 นาทีที่ผ่านมา)


กรมชลฯเตือนนอกคันกั้นน้ำราชดำริน้ำสูงแนะขนของสูง 1-1.5ม.    
18 ตค. 2554 13:09 น. เมื่อเวลา12.41น. กรมชลประทาน ส่งข้อความแจ้เตือนว่า ขอประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรในเขตพื้นที่ด้านนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริตามแนว ถ.กิ่งแก้ว และ ถ.ร่มเกล้า น้ำจะมีระดับสูงประมาณ 50-80 ซม. ควรยกของขึ้นที่สูง และหรือทำแนวป้องกันไม่น้อยกว่า 1-1.5 ม.
 
คลอง 4 วิกฤตน้ำใกล้ล้นคันดินแล้ว    
18 ตค. 2554 12:32 น. ผล ดำธรรม นอภ.คลองหลวง กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำในคลอง 4 เริ่มวิกฤต ใกล้จะล้นคันดินที่ทำไว้สูง 2 เมตรแล้ว ซึ่งได้ประสานขอกำลังจากทหารมาช่วยเสริมแนวกระสอบทรายให้สูงขึ้นอีก ไม่เช่นนั้นน้ำจะท่วมเข้าคลองรังสิตได้
 
กาชาดสากลห่วงน้ำท่วมไทย    
18 ตค. 2554 12:19 น. กาชาดสากลแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำท่วมในไทย แม้มีความคืบหน้าในการปล่อยน้ำออกสู่อ่าวไทย และเตือนให้ชาติอาเซียนแก้ไขระบบการจัดการภัยพิบัติ นายแมททิว โคชเรน ผู้จัดการจากสหพันธ์สภากาชาดและสมาคมเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกกับ คอนเน็ต เอเชีย สถานีวิทยุออสเตรเลียว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นกว่า 3 เดือนในไทย ได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศไปแล้ว และประชาชนกว่า 2 ล้านคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และผู้ประสบภัยจำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างมากไปอีก 2 เดือน และอาจจะนานถึง 6 เดือนก็ได้
โคชเรน บอกด้วยว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้มากกว่านี้ในการรับมืออุทกภัย ขณะนี้หลายองค์กรต่างเร่งเตรียมรับมือกับความต้องการต่างๆ ซึ่งเราสามารถให้ความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งอาหาร น้ำดื่ม และความช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่ชาติต่างๆจำเป็นต้องมีการหารือในการปรับเปลี่ยนวิธีรับมือกับภัยพิบัติทั้งหมดให้ดีขึ้นกว่านี้ โดยต้องมุ่งป้องกันก่อนเกิดภัยพิบัติ และทำให้ประชากรเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับภัยพิบัติ แทนที่จะใช้วิธีการรับมือภัยพิบัติในขณะนี้ที่ทั้งแพงและล่าช้า
นอกจากนี้โคชเรนยังให้สัมภาษณ์กับไออาร์ไอเอ็น สำนักข่าวด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติ เตือนว่า อาจเกิดการระบาดของโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมในพื้นที่ประสบภัยของไทย หลังจากมีน้ำท่วมขังมานานเป็นเดือนๆแล้ว แม้ว่ายังไม่มีรายงานการระบาด
ขณะนี้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดนได้ลงพื้นที่ไปยังจังหวัดอยุธยา พิษณุโลก และสุโขไทยแล้ว เพื่อประเมินเรื่องระบบสุขอนามัยและสุขภาพของประชาชน และแพทย์ไร้พรมแดน บอกว่า ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องเข้าให้ความช่วยเหลือเพราะรัฐบาลสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างเพียงพอ
 
"ดอนเมืองโทลเวย์"แนะรัฐจัดระเบียบรถจอดทางด่วน    
18 ตค. 2554 12:06 น. นายธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผจก.บริษัททางยะระดับดอนเมือง จำกัด(ดอนเมืองโทลเวย์) บนทางด่วนรถวิ่งค่อนข้างเร็ว ถ้ามีการจอดรถจะเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะทางขึ้นทางลง อาจมทองไม่เห็นชนกัน จะมีอุบัติเหตุใหญ่ตามมา อีกเรื่องคือการลำเลียงถ้ากรณีน้ำท่วมถนนด้านล่าางแล้วด้านบนมีรถมาจอด การลำเลียงผู้ป่วยและอาหาร การช่วยเลหือก็ไม่มีทางจะวสิ่งแล้ว จึงขอความร่วมมือเพื่อความปลอดภัย ในส่วนด้านปลายโทลเวย์คือดอนเมืองถึงรังสิต ก็มีรถขึ้นมาจอดเลนซ้ายสุดไป1เลนน่าจะเป็นร้อยคัน
"ผมยังเห็นใจ คือถ้าจะจอดกันจริง ๆ ก็คงต้องขอให้จอดซ้ายสุด เพราะการจอดแล้วต้องเดินขึ้นเดินลงมันอันตราย ต้องขอความร่วมมือตรงนี้ ขอให้เหลือช่องทาง2-3ช่องให้รถวิ่งได้ ไม่งั้นจะเป็นอัมพาตไปหมด ในส่วนให้อนุญาตหรือไม่เป็นเรื่องทางกฎหมายของรัฐ ซึ่งจิรงๆไม่อนุญาต แต่ตอนนี้มีคนไปจอดเป็นร้อยแล้ว จะไปยกรถลงก็ลำบากเพราะด้านล่างบ้านเค้าน้ำท่วม เราคนไทยต้องช่วยกัน น่าจะหาจุดจอดรถที่พื้นราบดีที่สุด แต่ถ้ามาจอดบนทางด่วนคงต้องจัดระเบียบ ไม่งั้นจะเป็นอัมพาตกันหมด ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานรัฐประสานเข้ามา แต่เราก็ให้ความร่วมมือ เข้าใจว่าไม่ใช่สถานการณ์ปกติ" นายธานินทร์ กล่าว

               

Tags : บทบรรณาธิการ

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view