http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,004,906
Page Views16,313,840
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน57.ตลาดร้อยปี

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน57.ตลาดร้อยปี

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน 57.

ตลาดร้อยปี "สามชุก" เที่ยวได้น้ำไม่ท่วม

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

             ในภาวะที่น้ำท่วมทั่วแหล่งท่องเที่ยวประเภท "วันเดียวเที่ยวที่ไหนดี" ตลาดร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
กลับโดดเด่น ไปท่องเที่ยวให้หายเครียดได้ ด้วยเหตุผล  6 ประการคือ ไปกลับได้ในวันเดียว ระยะทางไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไปนัก ประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดเงินตราค่าใช้จ่าย มีทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทวันเดียวเที่ยวที่ไหนดี บริบูรณ์ชวนเที่ยว และซื้อหาของกินของฝากได้อย่างทั่วถ้วน 

          ผมไปถ่ายรูปน้ำท่วมทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทเดียวกัน ไหว้พระโตเมืองอ่างทองและ ชมโบราณสถานที่วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา มาแล้ว นองเนืองด้วยน้ำข้ามไปยากและไม่ควรไป

เจ้าแม่ไทรทอง..ทางเข้าตลาด

          ต้องเรียนพี่น้องผองเพื่อนผู้ชอบท่องเที่ยววันเดียวกลับครับว่า ผมเองเกิดที่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ไม่ใกล้ไม่ไกลจากจังหวัดสุพรรณบุรีนัก เคยได้ยินแม่คุยถึงญาติพี่น้องที่บุกป่าฝ่าดงไปทำมาหากินอยู่ย่าน "สามชุก" จำได้แต่ก็ไม่เคยไปสักครั้ง จนวันหนึ่งได้ไปทำเรื่องหาถ่ายรูปดังกล่าวจึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมยาม ตลาดร้อยปีสามชุก จนได้ ต้องยอมรับนะครับว่าผมเคยตื่นเต้นที่ได้ไปเห็นตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำดอนหวาย ตลาดน้ำลำพญา ตลาดเก้าห้อง ตลาดศาลเจ้าโรงทอง แต่เมื่อไปเห็นตลาดร้อยปีสามชุก ตกตะลึงจังงัง รู้อย่างนี้ไปท่องเที่ยวเสียนานแล้ว กับข้าวอร่อย โอเลี้ยงเข้ม

          การเดินทางนี่ ไม่ยาก ไปจังหวัดสุพรรณบุรีได้ก็หายห่วง มีถนนหนทางเยี่ยม และมีป้ายบอกทางไปถึง ตลาดร้อยปีสามชุกได้หลายช่องทาง จึงไม่ขอกล่าวถึง ไปถึงแล้วมีลานจอดรถยนต์กว้างขวาง ได้ที่จอดรถยนต์ใกล้ป้อมตำรวจพอดี แต่พอลงรถก็ต้องยกมือไหว้ก่อนเชียว "ใต้ร่มเงาเจ้าแม่ไทรทอง" ร่มครึ้ม ให้ความร่มเย็น อยู่ใกล้แม่น้ำท่าจีน เครื่องเซ่นสรวงท่วมท้น แสดงว่าเจ้าแม่ให้คุณอย่างแม่นชะมั๋ง ใกล้ๆกันเป็นโรงเรือนขายกับข้าวทั้งสดและแห้ง มีกระทั่งปล่อยเต่าปล่อยปลา 

        เดินผ่านไปเข้าประตูตลาดร้อยปีสามชุกแล้วเลี้ยวขึ้นไปบนสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ได้ถ่ายรูปสะพานและแม่น้ำท่าจีนประกอบเรื่อง ที่นี่ไม่ใช่ตลาดน้ำ ในแม่น้ำท่าจีนจึงมีแต่น้ำไม่มีเรือเร่ค้าขายแต่อย่างใด ได้รูปแล้วก็เดินกลับมาเยี่ยมยามตามร้านรวงที่เป็นอาคารร้านค้าเก่าแก่ ร้อยกว่าปี แต่ยังดูดี มีระเบียบแบบแผนของตลาดบ้านป่าเมืองดอยที่ไม่ได้เสกสรรค์ปั้นแต่ง ที่ดินตลาดร้อยปีสามชุกเป็นที่ดินราชพัสดุ ให้ชาวจีน ชาวไทย และชาวมอญ ปลูกสร้างกันเพื่อค้าขาย ขายเหมือนตลาดร้านโชว์ห่วยแบบเดิมๆนั่นแหละครับ 

        องค์ประกอบของตลาดบ้านนอกในสมัยนั้นก็จะมีร้านขายของชำ ร้านขายทองคำ ร้านขายอะหลั่ยเรืออะหลั่ยรถ ร้านขายแห ขายยออุปกรณ์การจับปลาหากิน ร้านขายยา ร้านขายปุ๋ย ร้านขายเครื่องยาสมุนไพรทั้งแบบไทยและแบบจีน ร้านขายส่งเครื่องดื่มและสุรา ร้านขายกาละมังปังตอมีหมด  และที่ขาดไม่ได้ก็ร้านขายอาหารการกินทุกรูปแบบ เช่น ร้านขายกาแฟโอยั๊วที่เน้นให้นั่งดื่มแต่เช้าตรู่ แล้วก็ได้พูดคุยกันตามประสา  ร้านขายก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เกี๊ยว ร้านขายข้าวขาหมู หมูแดง หมูย่าง ร้านขายเป็ดพะโล้ เป็ดย่าง ร้านข้าวแกง  และร้านข้าวต้มกุ๊ย ส่วนโรงยาฝิ่นนั้น ผมเดินไม่ทั่วก็เลยไม่เห็นครับ มีโอกาสหน้าฟ้าใหม่ได้ไปอีกครั้ง ก็จะสำรวจตราจตราให้ครบถ้วน 

สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ตลาดร้อยปีสามชุก

           ภาพประทับใจที่ได้ไปเห็นคราวนี้ มีมากมายหลายภาพ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้องที่เดินเที่ยวเหลียวมาสบตากันก็ยิ้ม แม่ค้าพ่อขายได้ทีก็ตะโกนเชิญชวนให้ชมและซื้อสินค้าด้วยอัธยาสัยใจคอดี หน้าก็ยิ้มแย้มพร้อมตอบและต่อรองราคา  สินค้าตลาดร้อยปีสามชุกวิวัฒนาการจากเดิมมาเป็นตลาดท่องเที่ยวที่เพียบพร้อมชวนซื้อชวนกิน  ได้เห็นรูปแบบสินค้าที่แพ็คกิ้งสวย และดูดี ยิ่งได้เห็นภาพกลุ่มหนุ่มน้อย(ชรา) นั่งล้อมวงดื่มโอเลี้ยง กาแฟเย็น กันที่โต๊ะกลมอันเป็นเอกลักษณ์ของร้านกาแฟโบราณ ทีเด็ด อาม้าที่ชงโอเลี้ยงนั้นโบราณสมชื่อทีเดียว

เก๋า..ตลาดร้อยปีสามชุก

           สืบสาวราวเรื่องเบื้องหลังการเปิดตลาดร้อยปีสามชุกแล้วก็อดทึ่งในภูมิปัญญาของชาวเมืองสามชุกไม่ได้ ที่ใดชาวประชาหันหน้าเข้ามาปรึกษาหารือกัน ที่นั่นย่อมได้แนวคิดและแนวทางในการพัฒนาประสาทะ ที่นี่ก็เช่นกัน ว่ากันว่าเดิมก็ค้าขายกันมาดีๆ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน แค่ว่ามีถนนตัดผ่าน ความเจริญก็โอนเอนไปที่ร้านรวงที่ติดถนนหนทาง พอห้างใหญ่ห้างโตขนสินค้าไปบริการด้วยรูปแบบสมัยใหม่ คนก็ติดใจจนเอียงเอนไปเข้าห้างติดแอร์กันแทบสิ้น ตลาดริมน้ำที่เคยสัญจรกันเกร่อ  ก็เงียบและเหงาสุดๆ

ร่มรื่นน่าเดินท่องเที่ยวและซื้อหาของฝาก

            ชาวตลาดเก่าเล่ายี่ห้อเดือดร้อนสุดๆ  ค้าขายเคยได้วันเป็นหมื่นก็เหลือวันเป็นร้อย ต้องทนกล้ำกลืนฝืนอยู่กันไป จนในที่สุดก็เกิดการรวมตัวระดมสมองกัน "ชาติเสือต้องไว้ลาย" จึงตัดสินใจใหม่กำหนดการวิวัฒนาการกันให้เป็นตลาดร้อยปีสามชุก  ตลาดโบราณที่ยึดเทรนด์ใหม่ ได้ใจเลย เอาความเก่านี่แหละมาขายเพื่อการท่องเที่ยว โอ้โฮเหะ คิดได้ไง ข้าขอคารวะ

            มีการเดินทางไปดูงานกิจการตลาดน้ำ ตลาดเก่า ตลาดโบราณ และรวมพลังกันสรรค์สร้างแนวทางการค้าขาย ใครถนัดเรื่องอาหารการกิน ทำ ใครถนัดเรื่องขนมนมเนย ทำ  ใครถนัดกาแฟ โอเลี้ยงก็ทำ

          บรรพกาลตลาดสามชุกนั้น ปีพ.ศ.2437 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งเป็นอำเภอชื่อว่าอำเภอนางบวช อยู่ที่ตำบลนางบวช มีนายอำเภอคนแรกชื่อ ขุนพรมสภา(บุญรอด) มีหลักฐานเป็นรูปถ่าย  ต่อมาปีพ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการย้ายอำเภอนางบวชมาตั้งที่บ้านสำเพ็ง อันเป็นย่านการค้าสำคัญ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 8 ปีพ.ศ.2481 ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอนางบวชเป็นอำเภอสามชุก และย้ายมาตั้งที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ที่บ้านท่ายาง

           ซึ่งบ้านท่ายางนี้เป็นย่านการค้าที่มีพ่อค้านำสินค้ามาจากทางเหนือบ้าง ทางใต้บ้าง และก็มาจากทางตะวันตกบ้าง เป็นสามทางหว่างกึ่งๆ จึงเรียกกันว่า สามแพร่ง แล้วก็เพี้ยนเปลี่ยนไปเป็น สามเพ็ง และสำเพ็ง

          อีกกระแสหนึ่งอ้างตำนานนิทานพื้นบ้านเล่าขานกันว่า เมื่อพ่อค้าแม่ขายนำสินค้ามานั่งรอขายอยู่นั้น ได้มีการตัดไม้ไผ่มาจักเป็นตอก แล้วก็นั่งสานเป็นภาชนะไว้ใช้สำหรับใส่สินค้า ชื่อว่า กระชุก ในที่สุดก็เพี้ยนไปเป็น สามชุก

          แต่ไม่ว่าจะมีเรื่องราวมาเช่นไร เมื่อผมได้ยินแม่เรียกขานนานมานั้นก็ได้ยินแต่ว่าสามชุกๆ แต่ว่าด้วยความที่ยังเด็กเล็กนัก แม้ได้ยินได้ฟังก็ไม่ได้ตั้งใจเลยว่า ญาติโกโหติกาของแม่ข้าอยู่ที่แห่งหนใดในสามชุก จนถึงวันนี้ ก็คงจะสืบสานไม่ได้เสียแล้ว แม่ตายไปยี่สิบปี โฮ โฮ

          วันนั้น ได้เดินหาข้าวกลางวันกิน เพื่อนพาไปร้านข้าวห่อใบบัวเจ้าดังก็ปิด ไปร้านก๋วยเตี๋ยวท่าทางเป็นร้านเก่าแก่แน่ๆ ก็มีนักท่องเที่ยวกินกันเพียบ เดินไปเดินมากินข้าวราดปลาร้าทรงเครื่อง ส่วนเพื่อนกินขนมจีนแกงขี้เหล็ก อีกคนหนึ่งกินขนมจีนน้ำยาป่า

           อิ่มท้องแล้วก็ย้ายร้านไปนั่งซดโอเลี้ยงอีกคนละแก้ว ได้ถ่ายรูปอาม้าคนชงมาให้ชม และก็ได้ภาพสังคมร้านกาแฟมาฝาก บางทีเมื่อเห็นภาพนี้แล้ว อาจจะระลึกนึกถึงความหลังร้านกาแฟที่หน้าวัด  หรือ ตลาดใกล้บ้านของท่าน เฮ้ย คนแก่ชอบเล่าความหลังรึนี่ อิอิ

คอกาแฟรุ่นเดอะ

            ถึงเวลาต้องเดินทางกลับ ขับรถออกมาทางที่มีป้ายบอกทาง สุดท้ายได้ไปหยุดถ่ายรูปและยกมือไหว้ลา "เจ้าแม่โพธิ์ทอง" พร้อมกับได้ชมเครื่องเซ่นไหว้มากมาย ล้วนหลากสีสัน มีตะเกียงโบราณขายให้บูชาเจ้าแม่ด้วย

            วันนี้ ตลาดร้อยปีสามชุก ถูกปลุกให้ตื่นจากหลับไหลได้ด้วยสติปัญญา ความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย ความตั้งใจมั่น ความมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการบริหารจัดการ บทพิสูจน์ ความสามัคคีมีพลัง และมีสมอง

อาม้าชงกาแฟมากว่า 60 ปี 

เจ้าแม่โพธิ์ทองเฮี้ยน-ขลัง

             แม้นาทีนี้ 26 ตุลาคม 2554 ทุกที่มีแต่น้ำท่วมถั่งมาอย่างกับทะเลระทม แต่ที่ตลาดร้อยปีสามชุกยังเดินท่องเที่ยวได้หายห่วงจ้า เส้นทางไปวันนี้เหลืออยู่เพียงจากกรุงเทพ-นครปฐม-อำเภอกำแพงแสน-อำเภออู่ทอง-จังหวัดสุพรรณบุรี-อำเภอศรีประจัน-อำเภอสามชุก รถเยอะหน่อยค่อยๆขับก็แล้วกัน


Tags : วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน 55.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view