http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,025
Page Views16,263,333
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ลอมฟาง อีกภูมิปัญญาและวิถีชีวิตไทย โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ลอมฟาง  อีกภูมิปัญญาและวิถีชีวิตไทย โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ลอมฟาง  อีกภูมิปัญญาและวิถีชีวิตไทย

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                 บ้านผมอยู่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มองไปไกลสุดสายตามีแต่ทุ่งนาป่าข้าว

               ยามปลูกดำใหม่ก็เขียวไสวพรายพริ้วเมื่อต้องลม สวยงามจับใจ

               ครั้นยามใกล้เกี่ยวรวงข้าวก็เหลืองอร่ามลามไปทั้งทุ่ง ที่เพลงของพี่เพชรพนมรุ้งร้องว่า "ทุ่งสีทอง"นั้นจริงแท้

               ความสวยงามก็ไปอีกแบบหนึ่ง

               บนท้องทุ่งเวิ้งว้างนี้ผมได้เห็นเพื่อนขี่ควายไปเลี้ยง ไปไถนาแล้วก็เข้าแอกเกวียนเพื่อลากข้าวมากองไว้ รอนวดบนลานใกล้บ้าน

               งานที่เห็นมีควายเป็นเพื่อนตายผู้ซื่อสัตย์

ที่ลอมฟางข้าวจะเห็นร่อยรอยการกินของควาย

               หลังนวดข้าว บ้านเพื่อนผมจะลอมฟางข้าวเก็บไว้ จะกี่กองก็ขึ้นอยู่กับทำนากี่ไร่ ผมเห็นพ่อเพื่อนปักไม้ไผ่ลำหนึ่งแล้วก็สั่งให้ทุกคนขนฟางข้าวไปสุมๆ ผมก็เคยช่วยสุมฟางข้าว บอกได้เลย "คัน"

                สุมไปสุมมาก็ได้รูปทรงดังในภาพ บ้านไหนไม่มีลอมฟางข้าวก็ไม่ได้ทำนา

               "เก็บเอาไว้ให้ไอ้เก(เขาเก)มันกินตอนแล้งหรือตอนหน้าน้ำ" เพื่อนเล่าให้ฟัง

               หน้าน้ำก็คือหน้าที่น้ำหลากมาจากเหนือ จนท่วมไปทั้งทุ่ง ชาวนาต้องสร้างห้างหรือคอกยกให้พ้นน้ำเพื่อให้ควายอาศัยอยู่ได้ ช่วงนี้เขาไปเดินและเล็มหญ้าไม่ได้ จึงต้องอาศัยฟางข้าวผสมกับเกี่ยวหญ้าสดมาให้เขากิน

               ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทรงคุณค่าที่สุดของชาวนา จึงต้องสร้างคอกให้เขาและถนอมอาหารให้กินได้ตลอดฤดู

               ช่วงที่ผมเริ่มแก่ตัวลง ผมกลับไปบ้านนอกก็ไม่เคยเห็นลอมฟางข้าวอีกเลย เพราะว่าทุกบ้านใช้รถแทรกเตอร์ไถนาแทนควาย

               ถึงตอนเกี่ยวข้าวก็ไม่ได้นวดอีกแล้ว แต่ใช้รถแทรกเตอร์เกี่ยวแล้วนวดออกมาเป็นเม็ด บรรจุกระสอบข้าวให้เสร็จ

               วิถีชีวิตของชาวนาจึงเปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาที่ถนอมอาหารเอาไว้ให้ควายกินก็ต้องเลิกรากันไป

                แค่ว่าจะหาฟางข้าวมาสุมปี๊บเผาปลาช่อนสักตัวก็หาไม่ได้ เซ็งเลย

               พอเห็นลอมฟางข้าวในภาพนี้ ผมจึงต้องขอให้เพื่อนหยุดรถจนตัวโก่ง เพื่อจะลงไปถ่ายรูปเก็บมาเล่าให้อ่านกัน

               ลอมฟางข้าวที่เห็นนี้บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชาวนาที่ศรีสะเกษ ที่นี่ยังทำนาด้วยการใช้ควายไถนา ขนถ่ายก็ใช้ควายเทียมเกวียน นวดข้าวก็น่าจะใช้ควายย่ำเหมือนในอดีตที่บ้านผม

              และเมื่อมีฟางข้าวก็ถนอมอาหารเจ้าทุยไว้ให้กินเผื่อช่วงนาเต็มทุ่ง ไม่มีที่เดินและเล็มหญ้า ก็อาศัยกินที่ลอมฟางดังในภาพ

               นี่แหละครับ หนึ่งภาพ 1,000 คำ

Tags : กำแพงสีเขียว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view