http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,993,202
Page Views16,301,438
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เกลือสมุทร ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่โบราณกาล โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

เกลือสมุทร ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่โบราณกาล โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

เกลือสมุทร ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่โบราณกาล

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

คลองน้ำกรอยชายหมู่บ้าน

          ไม่รู้ว่าประเทศไทยเริ่มมีการทำเกลือสมุทรกันมาตั้งแต่เมื่อไร ใครเป็นคนแรกที่ทำได้ และก็ไม่มีบันทึกว่าเกลือสมุทรเริ่มทำครั้งแรกที่ไหนมาแล้วบ้าง แต่รู้ประวัตเกลือสมุทรเพียงว่ามีมากว่าหมื่นปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ฟาโรห์เคยผูกขาดการผลิตเกลือ ส่วนราชวงศ์ถัง(จีน) เคยตรากฎหมายผูกขาดเกลือเช่นกัน ปัญหาเกลือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ชาวใต้ของประเทศไทยต้องตัดก้านจาก(ต้น)เพื่ือเผาเอาถ่านมาผสมแทนเกลือ(ผงถ่านเค็ม ต้นจากสะสมเกลือที่ก้านใบ) และญี่ปุ่นใช้เกลือโรยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคลให้พ้นไป

          ประเทศไทย สืบสานตำนานเผาพริกเผาเกลือชับไล่คนจัญไร


ร่องส่งน้ำทะเลเข้านาปลง และใช้เป็นเส้นทางขนส่งเกลือ

          นอกจากนี้ยังมีสำนวนไทยๆอีกมากมายว่า ใกล้เกลือกินด่าง พบคนดีๆอยู่ใกล้ตัวก็ดันไปชอบคนไกลตัวแต่ไม่ดีเสียนี่ จงรักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม ฆ่าควายเสียดายเกลือ เนื้อก็เลยเน่านะซี แต่สำนวนว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือให้ความรู้สึกเจ็บปวด ลึกๆ เหล่านี้คือเรื่องราวของเกลือที่ถูกนำมากล่าวถึงในวิถีชีวิตของมนุษย์

 

เถียงนาเกลือ มีรถบดดินอยู่ใกล้ๆ

           ผมเดินทางไปกราบศาลพันท้ายนรสิงห์ที่ริมฝั่งแม่น้ำโคกขาม แต่ทางที่ผมเดินทางไปนั้นเลี้ยวลดคดเคี้ยวเหลือกำลัง ระหว่างทางไปศาลพันท้ายนรสิงห์ ผ่านนาเกลือเข้าพอดี ผมตัดใจลงไปถ่ายรูปเพื่อนำมาเขียนสารคดีลงในwww.thongthailand.com หน้าต่าง(คอลัมม์) เบ็ดเตล็ด  เกร็ดน่ารู้ ประดับไว้ในโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่ง "เนื้อเน่าจึงรู้คุณเกลือ" ตามผมลงไปหน่อยนะ


กังหันลมชักน้ำทะเลส่งเข้านาเกลือ

           หมู่บ้านนิคมนาเกลือโคกขาม ตั้งเรียงรายอลู่ตามแนวคลองที่มีต้นไม้ป่าชายเลนขึ้นอยู่ชายน้ำ ชุมชนตั้งอยู่ชายคลอง มี "โรงเกลือ" หรือ "ยุ้ง"เกลือตั้งปะปนอยู่ด้วย หน้าชุมชนเป็นถนนราดยางสองช่องจราจร อีกฟากของถนนเป็น "นาเกลือ" มีร่องส่งน้ำ 4 ร่อง บนคันร่องเป็นทางใช้ขนส่งเกลือเข้าโรง  สองฝั่งร่องเป็นนาเกลือที่มีทั้งกำลังเติมน้ำทะเล และกำลังรวมกองเกลือ


ตกผลึกแล้ว รอการใช็คฑากวาด

            ไกลๆมองเห็นเครื่องจักรกลเล็กๆเป็นเครื่องบดดิืนให้เรียบและแน่น ว่ากันว่ากว่าจะบดจนเรียบอาจต้องบดกันนานถึง 4-5 วัน พื้นนาเกลือต้องเรียบและแน่น

            เถียงนาเกลือมุงหลังคาด้วยตับจาก ส่วนเถียงนาข้าวมุงด้วยหญ้าคาหรือฟางข้าว ยกพื้นสูง 7-80 ซม. พื้นปูด้วยฟากหรือกระดานเก่าๆ นาเกลือเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง เอาไว้หลบแดดยามพักผ่อน


คฑาซุ้มกองเกลือ

            ท้ายไกลมากๆเป็น "กังหันลม" ตั้งอยู่ทุกแปลงอาจมีเครื่องสูบน้ำหรือระหัดสูบน้ำ อีกเครื่องตั้งอยู่ใกล้ๆ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมคลอง(แพรก)เพื่อสูบน้ำทะเลเข้า "นาตาก" ไกลสุดของผืนนา เหมือนเป็นพื้นที่รองรับน้ำจากแพรก หลังจากนั้นจะส่งน้ำเข้าสู่ "นาเชื้อ" เพื่อสำรองน้ำไว้เติมลงใน "นาปลง" อันเป็นนาผืนใกล้โรงเกลือมากที่สุด นาผืนนี้แหละที่ต้องใช่เครื่องบดที่นาให้เรียบที่สุด


สะพานไม้แผ่นเดียวกับชาวนาเกลือ

            ในการเติมน้ำใส่ "นาปลง" ส่วนใหญ่เริ่มทำกันตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน โดยอาศัยฝนชะล้างผืนนาก่อนจะใส่น้ำทะเลให้เหนือพื้นนา 4-5 นิ้ว นิยมใส่น้ำช่วงบ่ายๆของวัน ปล่อยให้แดดแผดเผาจนเกิด "ดอกเกลือ" ใช้เวลาราวๆ 15 วัน เมื่อน้ำงวดเข้า จนถึงความเค็ม 20-22 ดีกรีโบเม่ จะเกิด เป็น"เกลือจืด"(Calcium)คล้ายเม็ดทรายเม็ดใหญ่ๆ เกลือจืดได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องประทินความงาม


สะพานไม้ทอดไปยังกองเกลือ

            แต่ถ้าความเค็มของน้ำทะเลถึง 25-27 ดีกรีโบเม่ จะได้เกลือเค็มตกมาที่สุด  ยิ่งได้เกลือเม็ดใหญ่ยิ่งได้ราคาดี อย่างช่วงนี้(สิงหาคม) ทำนาเกลือมักได้เม็ดเล็กๆ ราคาจะอยู่ที่ราวๆ 1500-1800 บาท/เกวียน แต่ถ้าเม็ดใหญ่อาจได้ราคาดีถึง 2,500 บาท/เกวียน ความเค็มถึง 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของ "ดีเกลือ"(Magnesium) ส่วนใหญ่เกิดเมื่อน้ำทะเลเย็นลงในช่วงกลางคืน

กองรอการขนส่ง

            การทำนาเกลือต้องทำในพื้นที่กว่า 20 ไร่ แบ่งแปลงนาออกเป็น "นาตาก"ส่วนใหญ่อยู่ไกลท้ายไร่  ถัดมาเป็น "นาเชื้อ" และ "นาปลง" อันเป็นาผืนสุดท้ายที่รอการตกผลึกของเกลือ ถ้าราคาเกลือแพง นาเชื้ออาจแปลงสภาพเป็นนาปลงได้เลย เพื่อผลิตเกลือขาย  ส่วนสุดท้ายก็เป็นโรงเกลืออาจตั้งอยู่ในผืนนา หรือตั้งอยู่นอก แต่ควรตั้งอยู่ใกล้ๆ จะได้ประหยัดค่าขนส่ง


เกลือสมุทร

            เมื่อนาเกลือตกผลึก ชาวนาต้องใช้คฑารื้อ แซะเกลือที่ตกผลึกหนาราวๆ 1 นิ้ว แล้วใช้คฑาแถวกวาดหรือคาดให้เกลือมารวมกองกันไว้ จากนั้นก็ใช้คฑาซุ้มดันให้เป็นกองๆ เรียงเป็นแถวๆ ดังในภาพที่เห็น หลังจากนั้นก็จะใมช้ไม้กระดานแผ่นเดียวปูเพื่อเป็นทางให้รถเข็นเกลือไปเข้ายังโรงเกลือ แต่ละปีชาวนาเกลือจะได้ผลผลิตราวๆ 150-200 เกวียน ขึ้นอยู่กับว่าทำนาเกลือมากน้อยเพียงใด 


            "ช่วยทีเถอะพ่อคุณเอ๋ย ว่านาข้าว ไร่อ้อย ไร่มัน ไร่สัปรด ไร่อะไรก็ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่สำหรับชาวนาเกลือแล้วไม่เคยมีรัฐบาลไหนให้ความช่วยเหลือเลย" 

            ฟังแล้วก็ได้แต่ปลงเพราะว่าไม่เข้าใจนักว่า ทำไม รัฐบาลไหนๆก็ไม่เคยให้งบประมาณสนับสนุนชาวนาเกลือบ้างเลย

            ก็น่านนะซิ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไม ทำไม


บรรจุถุงเพื่อส่งขาย



           


          

 

Tags : ดอกโสนบานแล้ว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view