http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,961,237
Page Views16,267,607
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ความเห็นของนักวิชาการ คณาจารย์

ความเห็นของนักวิชาการ คณาจารย์

ความเห็นของนักวิชาการ คณาจารย์

ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย การปกครอง และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง ที่มีต่อกรณีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ

คัดมาจาก 80 ปี ประชาธิปไตย ประเทศไทยยังไร้หลักนิติธรรม

หยุด การยึดอำนาจประชาชนโดยตุลาการภิวัฒน์  1 มิถุนายน 2555

ศ.ดร.อุกฤษ  มงคลนาวิน  ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.ธน.) และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา

                “ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับคำร้องในกรณีดังกล่าวได้ เนื่องจากการยื่นคำร้องในกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์แกระบวนการตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ทำให้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือว่าเป็นเด็ดขาด และไม่มีผลผูกพันรัฐสภาให้ต้องรอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อนแต่อย่างใด

                รัฐธรรมนูญปี 2550 ร่างโดยคนไม่มีความรู้เรื่องการเมือง ส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้ง จึงกลายเป็นการแก้ปัญหาแบบลิงแก้แห ใช้คนไม่รู้จริงมาแก้ปัญหาบ้านเมือง ที่สำคัญมีอคติกับนักการเมืองและประชาชน  การนำเอาฝ่ายตุลาการมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองทำให้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจต้องเสียดุล และเอียงข้างฝ่ายตุลาการมากเกินไป เหล่านี้เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 สร้างเงื่อนไขที่มีผลกระทบกับสถาบันการเมือง

 

ดร.คณิน  บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540

                “ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจเข้ามาวินิจฉัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยกฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น”

 

เรืองไกร  ลีกิจวัฒนะ  อดีต ส.ว.สรรหา

                ผมทำเรื่องนี้เพราะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดไต่สวนมากว่า 2-3 ปี แล้วยังไม่มีความคืบหน้า  ดังนั้นจึงขอใช้สิทธิยื่นเรื่องโดยตรงให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหวังว่าจะเร่งพิจารณาโดยเร็วเหมือนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมข้องใจว่ามีคำสั่งแบบนั้นออกมาได้อย่างไร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ผมรวมถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทยเคยยื่นร้องมาแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง โดยอ้างว่าเป็นกระบวนการของผ่ายนิติบัญญัติ เพราะเสนอเป็นญัตติจึงไม่สามารถรับคำร้องไว้วินิจฉัยได้ แต่ทำไมมาคราวนี้ถึงรับไว้วินิจฉัย

 

รศ.ดร.วรเจตน์  ภาคีรัตน์  หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                รัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้ชัดแจ้งว่าถ้าเกิดผ่านสภาไปแล้ว 3 วาระ ก่อนจะขึ้นทูลเกล้าฯ มีคนสงสัยรัฐธรรมนูญขึ้นมาศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถตรวจสอบได้

                แต่กรณีของการเพิ่มเติมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้ เพราะว่าอำนาจสถาบันรัฐธรรมนูญอยู่สูงกว่าอำนาจตุลาการ จึงเป็นเรื่องที่ให้รัฐสภาเป็นคนตัดสินใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เว้นไว้แต่เพียงเรื่องของรัฐหรือเรื่องของรูปแบบการปกครอง ถ้าเกิดจะทำจะกลายเป็นเรื่องในการทางการเมืองและไม่ใช่เรื่องทางกฎหมาย”

 

ศ.ดร.นันทวัฒน์  บรมานันท์ น.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                สภาจึงควรประชุมเพื่อพิจารณาลงมติในวาระ 3 ต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจนว่า

  1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีหน้าที่ในการตรวจรัฐธรรมนูญ เพียงแต่สามารถดูว่ากฎหมายที่ออกมามีความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
  2. มีการแยกอำนาจอย่างชัดเจนมานานแล้วว่า ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ต้องแยกออกจากกัน และการพิจารณาออกกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายตุลาการจึงไม่สามารถที่จะสั่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติหยุดทำงานในหน้าที่แท้ ๆ ของตัวเองได้

 

รศ.สมชาย  ปรีชาศิลปะกุล  หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                ระบบรัฐสภาไทยหลังรัฐธรรมนูญ 2540 คิดว่ามีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งวิธีการแก้ไขก็ค่อยปรับแก้ไขกันไป แต่ในเมืองไทยเราจัดการด้วยการรัฐประหารและดึงสถาบันตุลาการเข้ามา โดยคาดหวังว่าตุลาการจะเป็นเหมือนเทวดามาโปรดประชาชนชาวไทย และจะทำให้การเมืองไทยใสสะอาด

                ตุลาการภิวัฒน์แบบไทย ๆ จึงเป็นการคาดหวังว่าสถาบันตุลาการแบบไทยจะนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศ แต่ถ้ามองย้อนดูบทบาทของตุลาการไทยในการเมืองไทย ยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 45/2496 ซึ่งเป็นคำพิพากษาฎีกาที่รับรองว่าถ้าคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการประเทศ สามารถออกกฎหมายได้ตามระบบแห่งการปฏิวัติ

                สรุปความแบบง่าย ๆ คือ คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ยอมรับว่าแพ้เป็นโจร ชนะเป็นเจ้า คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้วางหลักรากฐานให้กับระบบเผด็จการมาจวบจนปัจจุบัน

 

ม.ล.ณัฏฐกรณ์  เทวกุล  พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552

                การทำงานของศาลรัฐธรรมนูญไทยไม่เหมือนใครในโลกตัดสินความผิดย้อนหลังก็ได้ ตัดสินคดีล่วงหน้าก็ได้ ไม่มีอำนาจก็ตัดสินได้... สุดยอด Amazing ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศที่มีความพัฒนาทางด้านประชาธิปไตยมากกว่านี้จะไม่บิดเบือนหลักการขั้นพื้นฐานของการแบ่งแยกอำนาจขนาดนี้

 

รศ.อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง และนักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์

                ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชน เพราะว่าไม่มีศาลใดในโลกให้ข้อมูลหรือออกความเห็นกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ การพิจารณากฎหมายต้องมีความยุติธรรมในตัวของมันเอง คนที่มีอำนาจ ควรหันกลับมามองตัวเองว่าที่ทำไปถูหรือผิด”

 

พนัส  ทัศนียานนท์  อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต ส.ส.รัฐธรรมนูญ 2540 และ ส.ว.จากการเลือกตั้งสมัยแรก

                การที่ศาล รธน. มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่ รธน. บัญญัติไว้

                รัฐสภาคือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชนจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจนิติบัญญัติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสูดตามหลัก Supremacy of Parliament

 

รศ.ดร.สุรชาติ  บำรุงสุข  อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ

                กระแสต่อต้านการเมือง (Anti-Politics) ที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ปฏิเสธนักการเมือง ยอมรับแต่คนกลาง ๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึง ทหารหรือตุลาการ เป็นกระแสที่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองดังที่เกิดขึ้นในประเทศปากีสถาน และประเทศอียิปต์ ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาแทรกแซงก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ จนทำให้บ้านเมืองขาดเสถียรภาพและเกิดความขัดแย้งบานปลายในที่สุด

 

ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อักษรที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องของผู้ใช้อำนาจคนใช้กลไกนั้นว่าเป็นชนชั้นวรรณะใด หรือเป็นสมุนหรือซากของวรรณะใด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนทั้งหลาย

                ถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของไม่มี ส.ว.แต่งตั้ง ซึ่งองค์กรอิสระบางอย่างก็น่าจะดี บางอย่างไม่ดี แต่ส่วนใหญ่ผิดหวังกับบ้านพักคนชราหลังนี้

                อยากให้ทุกคนก้าวพ้นความกลัว (ภยาคติ) เพราะความกลัวทำให้เสื่อมทุกอย่างก็จะไม่เดินหน้า หากเราก้าวข้ามความกลัว ส.ส. เลิกกลัว ประชาชนเลิกกลัว แล้วเดินหน้าเลิกเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยไม่ยอมให้เขาทำเราอยู่ฝ่ายเดียว

Tags : ทางรอดประเทศไทย

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view