http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,006,262
Page Views16,315,272
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ตลาดโบราณ 119 ปี บ้านเจ็ดเสมียน โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ตลาดโบราณ 119 ปี บ้านเจ็ดเสมียน โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ตลาดโบราณ 119 ปี บ้านเจ็ดเสมียน

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

       ช่วงหนึ่งซึ่งต้องไปทำภารกิจราชการที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมจังหวัดราชบุรี ได้รับความสะดวกจากข้าราชการสำนักงานนี้อย่างดีเยี่ยม ขณะกำลังจะถอยรถออกเพื่อกลับได้เห็นป้ายโฆษณาว่า มีนิทรรศการ เครื่องทองเหลืองโบราณ บ้านเขาลอยมูลโค ติดไว้ที่ป้ายของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดราชบุรี ซึ่งก็คืออาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่านั่นเอง เกิดความอยากดูและอยากได้เรื่องไปเขียน จึงขับรถเข้าไปทางประตูหน้าสำนักงาน

 

จวนผู้ว่าหลังเก่าเป็นที่ทำการ

              มีเจ้าหน้าที่นั่งอยู่ทางเข้าอาคาร รีบเดินมาสอบถามว่าจะมาทำไม ผมตอบไปว่าจะมาถ่ายรูปนิทรรศการเครื่องทองเหลืองโบราณบ้านเขาลอยมูลโค  เพื่อไปโพสท์ลงในwww.thongthailand.com เขาชี้ให้ผมไปขออนุญาตเสียก่อนที่ตึกเหลืองสองชั้น ผมก็ไปตามคำแนะนำ แล้วก็เดินขึ้นไปแจ้งเจ้าหน้าที่สาวหนึ่ง ได้ความว่าถ้ามาชมเสียค่าเข้าชมแล้วได้เลย ผมก็ตอบว่า ผมจะมาชมนิทรรศการเครื่องทองเหลืองโบราณ เขาก็ว่าอยู่ข้างล่างตึกนี้ถ่ายได้เลย

 

         ด้วยความปรารถนาดีหาที่เปรียบมิได้ ไปที่ไหนถ้าเก็บภาพและหาเรื่องมาโพสท์ลงเว็บไซต์ได้ก็ถือว่ามาไม่เสียเที่ยว แต่ที่ไหนได้เล่าครับ กำลังถ่ายรูปภาพนิทรรศการชั้นล่างจวนหลังเก่า เจ้าหน้าที่สาวคนเดิมเดินมาบอกว่า ถ่ายไม่ได้ ต้องกลับไปทำหนังสือจากสำนักงานเว็บไซต์มาขออนุญาตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติจังหวัดราชบุรีแห่งนี้ก่อน ก็เลยจบเห่ ผมหันหลังกลับไปขึ้นรถ  เลยไม่ได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดราชบุรี ที่ศาลากลางหลังเก่า แต่อย่างใด เสียดายจัง เสียอารมณ์จริงๆ 

 

พี่น้องชาวตลาดโบราณ 119 ปี ตลาดเจ็ดเสมียนแห่กลองยาว..สนุก

        ผมเดินข้ามฝั่งไปที่ร้านกาแฟโบราณแล้วก็สั่งโอเลี้ยงมาดับอารมณ์เสียแก้ว หนึ่ง แถมด้วยข้าวราดจานเดียวอีกหนึ่งจาน จะไม่ให้อารมณ์เสียได้ยังไง ในเมื่อมาครั้งนี้เตรียมกล้องถ่ายรูปพร้อมขาตั้งกล้อง เพื่อเก็บภาพไปโพสท์ลงให้ฟรีๆ ข้าวก็ไม่ได้ขอกิน เมื่อครู่ก่อนหน้านี้ยังไปขอกล้าไม้จากทรัพยากรมาตั้ง 100 ต้นเพื่อปลูกตามวัดที่ไปทำบุญจนวัดหลายแห่งร่มรื่นไปด้วยความตั้งใจนำไปถวาย ให้  เจ้าหน้าที่แสนดีขนใส่รถให้เรียบร้อย ทำไมบริการผิดกันจังวุ๊ย

นักท่องเที่ยวที่ตลาดเจ็ดเสมียนมาทางรถไฟ

                  ตัดสินใจหลังอิ่มท้องแล้ว เดินทางกลับบ้านสำนักงานเว็บไซต์ ระหว่างทางเห็นป้ายโฆษณาตลาดโบราณ 119 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน ก็เลยเข้าไปชมเสียหน่อย โอ้โฮ พอรถโผล่เข้าไปถึงสถานีรถไฟเจ็ดเสมียน ได้ยินเสียงกลองยาวโหม่งเท่งโหม่งลอดกระจกรถเข้ามา เห็นภาพขบวนแห่กลองยาวกับตาจะจะ น่าสนุกจริง จอดรถแล้วก็คว้ากล้องถ่ายรูปไปตั้งหลักถ่ายเอาๆ อารมณ์เปลี่ยนไปจนสดใสเหมือนเดิม เมื่อเช้าโชคร้ายกลับกลายเป็นโชคดีในชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมง 5555 ราชบุรียังมีเรื่องดีๆให้ชมและได้เก็บไปเล่าเรื่องอีกเยอะ 

 

            ผมเดินเก็บภาพนักท่องเที่ยวที่ลงมาจากสถานีรถไฟกลุ่มใหญ่ ท่าทางเป็นคนทำงานมีระดับ แต่งตัวเหมือนมากับทัวร์พร้อมไกด์ สอบถามได้ความว่ามาจากหลายแห่งแต่ส่วนใหญ่มาจากสำนักงานที่มีอักษรย่อว่า “บยส” คณะกลองยาวฟ้อนมาส่งถึงตลาดโบราณที่แม่ค้าทำขนมโบราณบ้านเรา เด็กๆน่ารักกำลังบรรเลงเพลงด้วยขิมให้ฟัง ไกด์ส่งเสียงเรียกให้ไปร่วมจิ้มกินได้ทุกอย่าง บรรยากาศนวลเนียนน่ารักอะ

 

นั่งกินไปฟังเสียงเพราะๆของขิมไป 

         แม่ค้าน่ารักด้วยอัธยาศัยดีๆ มีหัวใจบริการ เชิญชวนให้ลองชิม แถมด้วยห่อใส่มือให้เอาไปกินระหว่างการเดินทาง นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ต้องนั่งรถไฟไปเที่ยวต่อถึงชะอำ ส่วนผมก็กลับสำนักงาน แต่ช้าก่อน ยังไง ผมก็ต้องเก็บภาพตลาดโบราณ 119 ปีบ้านเจ็ดเสมียน ให้ครบถ้วน เรื่องดีๆอย่างนี้น่าเขียนน่าเล่าให้ชาวบ้านร้านถิ่นอื่นๆได้รู้ไว้ อารมณ์เสียจากพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดราชบุรี แต่ไม่ได้โกรธทุกอย่างที่เป็นของจังหวัดราชบุรีนะครับ 

 

ข้าวเกรียบว่าว หากินยากอนุรักษ์ไว้ได้ดี

         ผมเห็นแม่ค้านั่งปิ้งข้าวเกรียบว่าว ขนมโบราณกินกันมานานเนกาเล ปิ้งแล้วก็ใส่ถุงพลาสติกให้ถือกลับบ้านได้ด้วย ข้างๆกันหนุ่มหนึ่งกำลังชี้ชวนให้ลองชิมลูกชิ้นหมูไม้แดง ขายไม้ละ 5 บาทขาดตัว หนึ่งไม้มี 4 ลูก ย่างกำลังกิน รสชาติอร่อยสมคำอวดอ้าง อดสงสัยไม่ได้ ทำไมตั้งชื่อลูกชิ้นหมูไม้แดง หนุ่มพ่อค้าหัวเราะแล้วเฉลยว่า ถ้าซื้อไปกินหมดแล้วเจอไม้เสียบสีแดงก็จะเอามาขึ้นกินฟรีอีกหนึ่งไม้ โอ้ กลยุทธการขายแหลมคม

 

                เสียงแม่ค้าขนมสาคูไส้หมูและข้าวเกรียบปากหม้อ เชิญชิม เธอกำลังทำสดๆ บนปากหม้อที่ร้อนจนไอกรุ่นๆ ผมขอถ่ายรูปแล้วก็ลองชิม อร่อย รสชาติกำลังดี ไม่หวานแหลมเหมือนหลายตำรับ ไส้ที่ใส่เป็นถั่วลิสงกับหัวไชโป๊วซอยละเอียด ไม่ได้ใส่หมูอย่างชื่อหรอกครับ ประกอบกับที่นี่เป็นแหล่งที่มีการทำหัวไชโป๊วขายกันเป็นล่ำเป็นสัน มีเจ้าดังๆหลายเจ้าครับ ไส้จึงใช้หัวไชโป๊ยซอยผสม

 

สาคูไส้หมูกับข้าวเกรียบปากหม้อ 

           รายการต่อไปที่ได้ชิมคือ เค้กมะพร้าวอ่อน นี่ก็ตอบได้ว่าหอมมันไม่หวานอีกเหมือนกัน กินได้ถึงสองชิ้นสบายๆโดยไม่ต้องกลัวน้ำตาลเบาหวานขึ้น อีกถาดเป็นขนมตะโก้ ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง สีสันสวยงามชวนกิน กินไปหลายกระทงเข้าชักจะกังวล แต่อดตามใจปากไม่ได้เลย ลองดูภาพซิครับ น่ากินไหม

 

         กินของหวานไปหลายขนาน เลยเดินไปลองของคาวบ้าง เป็นหมูสะเต๊ะนุ่ม หอม มัน น่ากิน จิ้มด้วยอาจาดและแตงกว่าหั่น มันช่างแก้กันได้จนไม่รู้สึกเลี่ยนอีกเลย บอกตามตรง ถ้าเป็นเมื่อเช้าก็คงจะกินไม่อร่อยเหมือนกัน อารมณ์ดีก็ช่วยให้อิ่มอร่อยได้ไม่น้อย ขณะที่นั่งกินหมูสะเต๊ะไปฟังเสียงไพเราะๆจากขิมไป หาที่ไหนได้ จบเพลงหนึ่งก็สลับด้วยพิธีกรบรรยายเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนชาวเจ็ดเสมียน ไปด้วย เพลินดี ได้ความรู้ชุมชนกลับไปด้วย 

 

หน้าตาแม่ค้าปิ้งหมูสะเต๊ะและชุดสเต๊ะน่ากิน

         ตลาดโบราณ 119 ปีบ้านเจ็ดเสมียน โชคดีที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลเลียบฝั่ง ในอดีตถือว่าเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญ แล้วยังมีทางรถไฟพาดผ่านสามารถเชื่อมต่อขอโดยสารไปบ้านอื่นเมืองอื่นได้ อย่างสะดวก  ผู้คนของบ้านเจ็ดเสมียนนั้นมีที่มาจากหลายแหล่งชาติพันธุ์เช่น ลาวเวียงที่เรียกกันว่าลาวตี้มาจากเวียงจันทน์ และคนไทยเชื้อสายเขมรมาจากจังหวัดสุรินทร์ ผสมผสานด้วยคนจีนอพยพ และคนไทยดั้งเดิม ผสมกลมกลืนกันไปด้วยวีถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน อยู่ร่วมกันมานานกว่า 119 ปีที่นี่มีแต่ความสุข

ชิม..อิ่ม..อร่อย

ขิม..ดนตรีประเภทเครื่องสายชนิดหนึ่ง 

         ตำบลเจ็ดเสมียนนี้มีอดีตและตำนานที่เล่าขานกันมาช้านาน ล้วนแตกต่าง ผมค้นคว้าได้เพียงว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชนิพนธ์กลอนเพลงยาวนิราศเรื่อง เรือรบพักที่ท่าดินแดง ความว่า

                    ถึงท่าราบที่ทาบทรวงถวิล      ยิ่งโดยดิ้นโหยหวนครวญกระสัน
        ด้วยได้ทุกข์ฉุกใจมาหลายวัน    จนบรรลุเจ็ดเสมียนตำบลมา
         ลำลำจะใคร่เรียกเสมียนหมาย    มารายทุกข์ทีทุกข์คะนึงหา
                    จึงรีบเร่งนาเวศครรไลคลา        พอทิวาเยื้องจะสายันห์

                   

       ปีพ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประภาสต้นน้ำตกไทรโยค ได้มีลิขิตถึงตำบลเจ็ดเสมียน     

       ต่อมาในปีพ.ศ.2432 เกิดการสร้างตลาดเจ็ดเสมียนขึ้น เป็นห้องแถวไม้ชั้นเดียว มีท่าเรือลงแม่น้ำแม่กลองอยู่ติดกับวัดเจ็ดเสมียน ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อายุกว่าพันปี  วันนี้ยังเหลืออยู่ต้นหนึ่ง

                 ในช่วงเวลานั้น เจ็ดเสมียนเป็นอำเภอเจ็ดเสมียน

เค้กมะพร้าวอ่อนและถาดขนมน่ากิน

          ปีพ.ศ.2438 มีการโยกย้ายอำเภอเจ็ดเสมียนไปตั้งที่บ้านโพธาราม ขยับสถานะเป็นอำเภอโพธาราม แล้วขยับสถานะอำเภอเจ็ดเสมียนลงเป็นตำบลเจ็ดเสมียนตราบเท่าทุกวันนี้

          ปีพ.ศ.2468 สมุดราชบุรีตีพิมพ์ ว่า มณฑลราชบุรีประกอบด้วยจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม    รวมประชากรทั้งสิ้นกว่า 500,000 คน แต่กว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี 

 

ภาพแห่งอดีต น่าเดินชม

รอยยิ้มแม่ค้าขายกาแฟโบราณ

        แต่ตำนานชื่อบ้านเจ็ดเสมียนนั้นสับสนจนไม่น่าเชื่อถือนัก บางตำนานอ้างว่าเกิดแต่สมัยพระยาวชิรปราการ(พระยาตาก) ตีฝ่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้วเรียกระดมไพร่พลไปกู้ชาติ จนต้องใช้เสมียนจดจารรายชื่ออาสาสมัครถึง 7 คน แต่อีกตำนานกลับกล่าวว่า.......................อย่างไรก็ดี ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้หรือ  

        ไปเที่ยวมาแล้ว ขนมอร่อยมาก ไปแล้วอารมณ์ดีด้วยไมตรีจากชาวเจ็ดเสมียน ได้รับรู้ว่าพื้นที่เขตการปกครองบ้านเจ็ดเสมียนนี้มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ พีระพงษ์ สิงหชาติปรีชากุล  หนุ่มหล่อในขบวนกลองยาว พ่างๆ

โพธิ์อายุกว่าพันปี

ขนมปากหม้อและสาคูไส้หมู

การตักบาตรพระในอดีต

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เข้าชมได้เลย

บ้านไม้เก่าๆ

เธอขายผ้าขาวม้าบ้านไร่ เป็นของฝาก

Tags : ตลาดน้ำวัดท่าการ้อง

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view