http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,001,824
Page Views16,310,629
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร

วัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร

วัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

               อนุสนธิจากการไปท่องเที่ยวภาคอีสานกับทหารและสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.23-26 ธค.55) บ่ายหนึ่งซึ่งแดดสวยเหลือกำลัง สาดส่องวัดพระธาตุเชิงชุมเต็มๆ เป็นภาพที่งดงามตระการตาซึ่งจะหาโอกาสเช่นบ่ายวันนั้นไม่ได้ง่ายๆเลย เป็นบุญตาและเป็นบุญของwww.thongthailand.com ที่พยายามไขว่คว้ามานาน คราวนี้บุญหล่นทับเลย ได้ภาพสวยสมใจมาโพสท์ให้แฟนๆได้ชมกันเป็นขวัญตา เพียบ

วัดพระธาตุเชิงชุม ถ่ายจากทิศใต้

               จากเอกสารของ ดร.เพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสกลนคร (2543-2549)ซึ่งท่านได้พิมพ์เผยแพร่ กล่าวว่าเมืองสกลนครโบราณ  มีผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างใหญ่คล้ายคลึงกับผังเมืองเขมรโบราณแห่งอาณาจักรพระนครหลวงของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1027-1115) ซึ่งเป็นศูนย์อำนาจการปกครองในขณะนั้น (นครธม) โดยขุดพบหลักฐานอันสำแดงว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเขมรโบราณมากมายหลายแหล่ง

มุมตะวันออกเฉียงใต้ ศิมหลังคาสีดำ

              อาทิเช่น ปราสาทศิลาแลงของวัดพระธาตุเชิงชุม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุดุม พระธาตุภูเพ็กและสะพานหิน  มีอายุไม่น้อยกว่า 1,000 ปี เมืองสกลนครหรือเมืองหนองหารนั้นคืออู่อารยะธรรมของแอ่งสกลนคร และจากจารึกบนกรอบประตูปราสาทศิลาแลงวัดพระธาตุเชิงชุมบ่งบอกว่าชนชั้นปกครองในช่วงเวลานั้นๆ นับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ระหว่างศตวรรษที่ 16-17

มุมนี้ทิศตะวันตกถ่ายลอดซุ้มประตู

               นอกจากนี้ยังพบว่าลาวศรีสัตนาคนหุตล้านช้างได้เข้ามาครอบงำแอ่งสกลนครช่วงศตวรรษที่ 19-20 โดยมีการดัดแปลงปราสาทศิลาแลงของเขมรเป็นพุทธสถาน ในแอ่งสกลนครยังพบว่ามีศิลปกรรมยุคทวารวดี ศิลปกรรมเขมรโบราณ และศิลปกรรมลาวศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง มากมายหลายแหล่งเช่น ใบเสมาหินในอำเภอสว่างแดนดิน พระธาตุดุมอันเป็นศิลปะเขมรโบราณแบบปาปวน พระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

มุมภาพทิศตะวันตกเฉียงใต้

                ตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เป็นเจ้าผู้ครองเมืองหนองหารหลวง พระศรีศากยมุณี พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 แห่งพระพุทธศาสนาได้เสด็จมาเทศนาโปรดพระยาสุวรรณภิงคารแล้วเสด็จไปยังภูน้ำลอดซึ่งพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ได้เคยทรงประทับรอยพุทธบาททับซ้อนกันไว้บนแผ่นศิลา ครั้นพระพุทธเจ้าองค์ที่4 ทรงประทับรอยพระพุทธบาทซ้ำบนรอยพระพุทธบาทได้ทรงแสดงปฏิหาริย์ให้มีลูกแก้วลอยขึ้น พร้อมกับตรัสว่า

มุมภาพนาค 5 เศียร

                “พระอนาคตพระพุทธเจ้าศรีอาริยะเมตไตรยก็จะเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้เป็นรอยที่ 5 บนศิลาแผ่นเดียวกันนี้”

                 ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาอย่างแรงกล้า พระยาสุวรรณภิงคารได้ถอดมงกุฏทองคำออกจากเศียรวางถวายลงไว้เป็นพุทธบูชาบนรอยพระพุทธบาทนั้น แล้วสร้างเจดีย์สิลาแลงขึ้นครอบรอยพระพุทธบาทไว้ภายใน

ประตูเข้าอุโมงค์พระธาตุ

                 ปราสาทศิลาแลงสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16-17 เป็นเทวสถานบูชาพระศิวะแห่งไศวะนิกาย ต่อมาเปลี่ยนเป็นพุทธสถาน

                อยากจะกล่าวว่า พระธาตุเชิงชุมเป็นสถาปัตยกรรมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นด้านหน้า ตั้งอยู่บนฐานที่ก่อด้วยศิลาแลงที่บานประตูมีรูปสลักเป็นเทวรูปตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูปรากฏอยู่ทั้ง 4 ด้าน เหมือนๆกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็กและพระธาตุดุม

หน้าต่างแกะสลักลวดลายสวยๆ

               ราวศตวรรษที่ 22 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ยุคศิลปกรรมศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ได้สร้างเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสีขาวครอบปราสาทศิลาไว้ภายใน องค์เจดีย์มีฐานสี่เหลี่ยมลดหลั่นลงไป 6 ชั้น มีซุ้มประตูประดับด้วยลวดลายปูนปั้น 3 ด้าน เรียกว่า ซุ้มแก้วตอหอแก้วเนือง   เหนือซุ้มประตูมีฐานส่วนกลางเป็นฐานบัว  ยอดเจดีย์ทรงกรวย ประดับฉัตรทองแบบเดียวกับพระธาตุพนม

หลวงพ่อองค์แสนในวิหาร

                หลวงพ่อองค์แสน ประดิษฐานในวิหารวัดพระธาตุเชิงชุม เชื่อมต่อกับประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ นับเนื่องกันตลอดมาว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองทรงความศักดิ์สิทธิ์ ของเมืองสกลนคร พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ศิลปะลาวศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง สูง 3.2 เมตร หน้าตักกว้าง 2 เมตร

อุโบสถจัตุรมุขด้านทิศเหนือ

                พระวิหารสร้างเมื่อปีพ.ศ.2494 ทรงจัตุรมุข หลังคาสองชั้น มีทางเข้าออกได้ 3 ทาง ประตูที่ 4 เป็นประตูไม้สลักด้วยฝีมือช่างระดับสูงเปิดเข้าไปในอุโมงค์ภายในพระธาตุ  ส่วนสิมหรืออุโบสถก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุเชิงชุม สร้างปีพ.ศ.2463 ฐานก่ออิฐและดิน ฉาบด้วยปูน ปูนขาวผสมกับทรายและน้ำเคี่ยวหนังควาย

หน้าบันปูนปั้นงดงาม

               ผมเดินวนพระธาตุเชิงชุมเพื่อหามุมถ่ายภาพสวยๆ ตามแสงที่เป็นใจ ได้ภาพถ่ายแรกจากมุมขวาติดกำแพงแก้ว ภาพนี้เห็นทั้งองค์พระธาตุและวิหารทรงจัตุรมุขเต็มๆ เป็นภาพกว้างอลังการที่สุดที่เคยถ่ายได้  ภาพถัดมายังเป็นภาพที่ติดสิมโบราณไปด้วย ขยับไปอีกนิดหนึ่งซึ่งก็ได้องค์ประกอบภาพแตกต่างออกไปด้วย

พระประธานในวิหารจัตุรมุข

               ผมเดินไปทางทิศตะวันตกหลังองค์พระธาตุ มีซุ้มประตูตั้งอยู่ ผมถ่ายรูปลอดซุ้มประตูได้ภาพแปลกตาไปอีกมิติหนึ่ง เป็นความสดใสและสดสวยในวันบ่ายที่แดดส่องสว่าง เป็นพุทธานิมิตที่ดีที่จะได้ภาพพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองสกลนครอันยิ่งใหญ่   บอกตามตรงว่าการถ่ายภาพตามแสงยามบ่ายหรือสายในวัตถุขนาดใหญ่ได้ภาพอย่างที่เห็นครับ

ประตูวิหารสวยไหม

                ผมเห็นพญานาคพ่นน้ำอยู่หน้าอุโบสถทรงจัตุรมุข ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระธาตุ โอกาสดีๆอย่างนี้หายากจึงได้ถ่ายให้มีองค์ประกอบภาพแปลกๆ แตกต่างจากภาพถ่ายที่เคยเห็น  ใช้เศียรพญานาคเป็นโฟร์กราวน์ (แต่ไม่มีน้ำพ่นออกมา) ถึงอย่างนั้นก็ได้ภาพสวยพึงพอใจแล้วครับ

คันทวยเทพพนม

               หลังปูนปั้นรูปพญานาคพ่นน้ำมีอุโบสถทรงจัตุรมุขสวยงามจับใจ ติดกระจกสีต่างๆอลังการ ทรวดทรงอ่อนช้อยเหมือนงานศิลป์ เสาและกลีบมะเฟืองสวยงามมากๆ คันทวยชายคาจัตุรมุขก็งดงามมากๆ  ประดิษฐานระประธานองค์โต ภายในตกแต่งเต็มรูป ไม่ทราบปีพ.ศ.ที่สร้าง เงาสะท้อนจากกระจกสีแพรวพราว ฝีมืองานประณีตบรรจงสมค่า

ประตูวิหารแกะสลักสวยงาม ติดกระจกหลากลาย

                ด้วยเว็บไซต์นี้ กำหนดขนาดภาพไว้ให้ไม่เกิน 600 พิกเซล จึงได้รูปลงให้ชมไม่สะใจโก๋นัก ทั้งๆที่ถ่ายภาพมามีขนาดใหญ่มากๆ 14 ล้านพิกเซล แต่ใช้งานเพียง 580 พิกเซล สลดหดหู่ไปเลยนะครับ อย่างไรก็ตามผมจะนำภาพใหญ่ๆไปโพสท์ลงในทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กอีกครั้ง หวังว่าจะได้เห็นความสวยงามขนาดใหญ่กว่า 

 

โพธิ์สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้

               

 

Tags : บูรณาการการท่องเที่ยว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view