http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,127
Page Views16,303,443
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เงื่อนไขปฏิวัติมีแล้ว โดยจำลอง บุญสอง

เงื่อนไขปฏิวัติมีแล้ว โดยจำลอง บุญสอง

                                                  เงื่อนไขปฏิวัติมีแล้ว

จำลอง บุญสอง

                ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมการนัดหยุดงานเป็นเรื่องปรกติของการต่อรองเพื่อการเฉลี่ยรายได้ให้กรรมกรมีชีวิตอยู่ได้โดยนายทุนไม่รวยซีกเดียว เพราะถ้ากรรมกรยากจนไปเรื่อยๆก็หมายถึงว่ากรรมกรไม่มีกำลังซื้อ เมื่อกรรมกรไม่มีกำลังซื้อชีพจรของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหมุนต่อไปไม่ได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นในทันที และถ้ายิ่งไปเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาตินั้นๆให้มากขึ้น

ประเทศไทยเป็นประเทศเผด็จการประเทศหนึ่งที่มีกฎหมายห้ามนัดหยุดงาน กรรมกรนัดหยุดงานถือว่านายจ้างเสียหายกรรมกรต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง ท้ายสุดนายจ้าง “รวยขึ้น” แต่ กรรมกร “ยากจนลง” วงจรทุนนิยมก็ล่ม

ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลของระบอบเผด็จการไทย ขึ้นค่าจ้างให้ทุกปี ครั้งนี้ให้ถึง 300 บาทเพราะกลัวว่าอีกฝ่ายจะเอากรรมกรจะมาโค่นอำนาจ ผลจากการขึ้นค่าแรงดังกล่าวส่งผลทำให้ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทยต่างทยอยพินาศลง ขณะเดียวกันก็ทำให้ทุนผูกขาดไทย “ร่ำรวย” ขึ้นจากการพินาศลงของทุนขนาดกลางขนาดย่อม

ความพินาศของวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมนั่นแหละที่เป็นที่มาของชื่อเรื่องนี้ เพราะจะไปทำให้ทุนขนาดกลางขนาดย่อมที่พินาศไหลลงไปร่วมมือกับกรรมกรในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย

ตามกฎของการสร้าง (ปฏิวัติ) ประชาธิปไตย กรรมกรสร้างประชาธิปไตยเองฝ่ายเดียวไม่ได้จะต้องมีนายทุนประกอบส่วนด้วยเสมอ ถ้ากรรมกรสร้างฝ่ายเดียวก็จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ถ้านายทุนสร้างฝ่ายเดียวก็จะเป็นเผด็จการ (อย่างที่ไทยเป็นอยู่ในขณะนี้)

ดังนั้นถือได้ว่าการล่มสลายของทุนขนาดกลางขนาดย่อมจึงเป็นสัญญาณที่ดีว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยกำลังจะเริ่มต้น

ผมมีบทความของสภากรรมกรแห่งชาติที่สรุปปัญหาค่าจ้างขั้นต่ำเอาไว้นานแล้วและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนี้พอดีจึงขอนำมาประยุกต์ใช้ตรงนี้ว่า

1.การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำโดยหลักการและจุดมุ่งหมายแล้วก็เพื่อเอาไว้คุ้มครองคนที่ไม่มีงานทำ ไม่ใช่คุ้มครองคนที่มีงานทำแล้ว

2.การเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้คนว่างงานหางานทำยากขึ้น เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงขึ้นย่อมเป็นกำแพงปิดกั้นคนเข้าทำงานและคนที่ทำงานอยู่แล้วจะตกงานมากขึ้น เพราะนายจ้าง “คัดออก” (ต่างชาติเข้ามาทำงาน แบบเลี่ยงกฎหมายในประเทศเรามากขึ้นตามไปด้วย)

3.การเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำเป็นผลร้ายต่อลูกจ้างที่ทำงานอยู่แล้วเพราะนายจ้างจะไม่ปรับค่าจ้างประจำปีให้ด้วยข้ออ้างว่าขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้แล้ว

4.การเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำของกรรมกร สถานประกอบการขนาดใหญ่ไม่กระทบกระเทือนเพราะขึ้นไม่กี่บาทสามารถรับได้ แต่สถานประกอบการขนาดกลางขนาดย่อมจะกระเทือนถึงขั้นอยู่ไม่ได้ การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจึงกลายเป็น “เครื่องมือ” อย่างหนึ่งของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ใช้ทำลายผู้ประกอบการขนาดเล็ก

ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการรุกรานกันทางเศรษฐกิจอย่างไร้ขอบเขตพรมแดน การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงเป็นเครื่องมือให้ต่างชาติเข้ามาทำลายเศรษฐกิจแห่งชาติ ผลก็คือทำให้เศรษฐกิจของคนไทยต้องตกอยู่ในกำมือของต่างชาติอย่างรวดเร็ว

5.การขึ้นค่าจ้างในแต่ละครั้งทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและสินค้าแพงเพราะเป็นกฎเกณฑ์และเป็นของคู่กันของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เงินเฟ้อนั้นเป็นผลดีต่อนายทุนใหญ่แต่เป็นผลร้ายแก่กรรมกร (ธนินทร์ เจียรวนนท์ จึงชอบให้เงินเฟ้อ) เพราะเงินที่เพิ่มจะตามไม่ทันกับราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้น กรรมกรจึงได้แต่ “ราคา” ของเงินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ได้ “มูลค่า” ส่วนมูลค่าที่แท้จริงนั้น “นายทุน” ฉกเอาไปในรูปของสินค้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการขึ้นค่าจ้างจึงเท่ากับการทำให้นายทุนรวยขึ้นแต่กรรมกรยากจนลง

6.เงินเฟ้อนั้นผู้ที่ได้รับชะตากรรมหนักหน่วงที่สุดก็คือชาวไร่ชาวนาที่มีที่ดินทำกินเพียงไม่กี่ไร่หรือผู้ที่ต้องเช่านานายทุนทำ

7.สาเหตุแห่งความวิบัติทั้งหลายทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมล้วนเป็นผลมาจากการปกครองแบบเผด็จการทั้งสิ้น การทำให้กรรมกรพอกินโดยไม่ทำให้ประชาชนพอกินก็คือการทำเพื่อการรักษาระบอบเผด็จการ (และถึงแม้ว่าจะได้เพิ่มอีกสักกี่บาทกรรมกรก็ไม่พอกินอยู่ดี) ถ้าจะทำให้กรรมกรพอกินต้องทำให้ประชาชนพอกินด้วย จึงเป็นการทำแบบประชาธิปไตย ซึ่งก็คือการทำมูลค่ามาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำของประชาชน (THE VALUE OF MINIMUM STANDARD OF LIVING OF PEOPLE) ไม่ใช่การทำอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของกรรมกร (MINIMUM WAGES RATE)

ปล. 4 ขั้นตอนของ “ความขัดแย้ง” ในทุกประเทศหลังจากระบบทุนนิยมครอบงำแล้วก็คือ

1.ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับระบอบเผด็จการและนำมาสู่

2.ความขัดแย้งระหว่างเผด็จการกับเผด็จการ (บ้านเราก็เหลืองแดงนั่นแหละ) และนำมาสู่

3.ความขัดแย้งระหว่างขบวนประชาธิปไตยกับขบวนเผด็จการและนำมาสู่

4.ความขัดแย้งระหว่างขบวนประชาธิปไตยกับขบวนคอมมิวนิสต์

วันนี้ไทยอยู่ในขั้นตอนที่ 2 ครับ!

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view