http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,071
Page Views16,303,387
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ทำอย่างไรจึงไม่ไร้รอยต่อ

ทำอย่างไรจึงไม่ไร้รอยต่อ

จำลอง บุญสอง

                                                                ทำอย่างไรจึงไม่ไร้รอยต่อ

            พรรคการเมืองระดับชาติ “เพื่อไทย” กับ “ประชาธิปัตย์” ซึ่ง “ไม่ควร” ส่งคนของ “พรรค” ลงชิงตำแหน่งผู้ว่ากทม.เพราะจะทำให้ผู้ว่าฯซึ่งเป็น “กลไกรัฐ” กลับกลายเป็น “กลไกพรรค” ไป “เพื่อไทย” ใช้สโลแกน “ไร้รอยต่อ” ส่วนประชาธิปัตย์ใช้ “ชอบมาร์คเลือกเบอร์ 16” และอื่นๆ

            การที่เพื่อไทยใช้สโลแกน “ไร้รอยต่อ” ก็เพราะที่ผ่านมา การบริหารจัดการปัญหากรุงเทพของฝ่าย “รัฐบาล” เพื่อไทย กับ “รัฐอิสระ” กรุงเทพมหานครโดยพรรคประชาธิปัตย์ เกิด “ขบเหลี่ยม” กันอย่างรุนแรง กล่าวคือรัฐบาลแดงไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนในกทม.ในฐานะรัฐบาล ในขณะเดียวกันรัฐบาลท้องถิ่นเหลืองก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในเรื่องงบประมาณ

“รัฐซ้อนรัฐ” ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างผิดหลักวิชาดังกล่าวได้ทำให้การบริหารจัดการกทม.ตั้งอยู่บนฐานแห่งความ “อิหลักอิเหลื่อ”

แม้เพื่อไทยเข้าใจปัญหานี้ดี แต่จะด้วยความไม่รู้ในหลักวิชาการเมืองหรือกลัวจะเสียโอกาสในการชิงพื้นที่ก็ไม่ทราบ ทำให้เพื่อไทย “ยอมรับ” ในความผิดนี้ ด้วยการส่งคนเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่ากทม.โดยพรรคเพื่อไทยหวังว่า ถ้าพรรคตนได้เป็นผู้ว่ากทม.ไปพร้อมๆกับการเป็นรัฐบาลแล้ว “รอยต่อ” ระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” ก็จะหมดไปเพราะมาจาก “พรรคเดียวกัน”

วิญญูชนทั้งหลายครับ “อำนาจ” แบ่งออกเป็นหลายอำนาจ อำนาจแรกคืออำนาจรัฐ (State Power) เป็นอำนาจสูงสุดที่รวมอำนาจทุกอำนาจตั้งแต่อำนาจอธิปไตยไปจนอำนาจสังคมเอาไว้ อำนาจที่สองคืออำนาจอธิปไตย (Sovereign Power หรือ Supreme Power of State) คืออำนาจสูงสุดของรัฐหรือประเทศ ซึ่งสมัยโบราณเชื่อกันว่าอำนาจนี้มาจากพระเจ้าประทานให้พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ถือและใช้อำนาจนั้นคนเดียว แต่ครั้นเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ทำให้ทุกคนตระหนักรู้ได้ว่าอำนาจดังกล่าวเป็นของประชาชนทุกคน (Sovereignty of The People) โดยแสดงออกเป็น 3 รูปคืออำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการโดยผ่าน 3 องค์กรคือรัฐสภา รัฐบาลและศาล อำนาจชนิดที่ 3 คืออำนาจการปกครองหรืออำนาจบริหาร (Administrative Power) คืออำนาจรัฐระดับต่างๆลงมาจนถึงระดับท้องถิ่น ประเทศไทยแบ่งอำนาจดังกล่าวออกมาเป็น 3 ส่วนตามหลักของประเทศรัฐเดี่ยวคือ ส่วนกลาง (Central) ส่วนภูมิภาค (Province) และส่วนท้องถิ่น (Local) ส่วนกลางคือองค์การของรัฐระดับต่างๆคือกระทรวง กรมฯลฯ ส่วนภูมิภาคคืออำนาจส่วนกลางแต่ไปอยู่ภูมิภาค เรียกว่าจังหวัด โดยมีอำเภอ (District) เป็นระดับต่ำสุดของอำนาจการปกครอง ผู้มีอำนาจนี้ต้องได้รับการ “แต่งตั้ง” จากส่วนกลางตามหลักการรวมอำนาจของรัฐเดี่ยวทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นราชอาณาจักรเอาไว้ ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด จึง “เลือกตั้งไม่ได้” เพราะเลือกตั้งเป็นวิธีหนึ่งของการ “กระจายอำนาจการปกครอง” (คนละเรื่องกับการกระจาย “อำนาจอธิปไตย” นะครับ อย่าสับสน)

ถัดลงมาจากอำเภอคือตำบลและหมู่บ้าน ส่วนนี้เรียกว่า “ท้องที่” (Rural) ซึ่งเป็นส่วนที่อำนาจรัฐผสมผสานอย่างกลมกลืนกับประชาชนที่มีการปกครองดูแลกันเองตามความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ผู้มีอำนาจส่วนนี้คือกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

อำนาจส่วนที่สี่ก็คืออำนาจสังคม (Social Power) หรืออำนาจท้องถิ่น หมายถึงอำนาจที่ไม่มีลักษณะทางการเมืองเช่นอำนาจทางวัฒนธรรม อำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อย อำนาจจัดการสาธารณูปโภค อำนาจนี้เรียกว่าสุขาภิบาล (Municipality) หรือเทศบาล ซึ่งจัดรูปออกมาเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มรูปการปกครองท้องถิ่นออกมาเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเขตการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษด้วยเช่น กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งอำนาจท้องถิ่นที่นักการเมืองร่วมมือกับนักวิชาการไร้เดียงสาทำขึ้นมานี้

“ไม่ชอบด้วยหลักวิชา”

ที่ไม่ชอบด้วยหลักวิชาก็เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ว่ากรุงเทพฯหรือจังหวัดอื่นใด เป็นผู้ถือ “อำนาจบริหาร” (Administrative Power) แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯมหานคร (หรือนายกเทศบาลนคร) เป็นผู้ถืออำนาจสังคมหรืออำนาจท้องถิ่น (Local Power) ซึ่งเป็นอำนาจคนละชนิด พูดง่ายๆว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นอำนาจการเมืองแต่ผู้ว่ากทม.เป็นอำนาจท้องถิ่นซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งโดย “หลัก” การรวมอำนาจของ “ประเทศรัฐเดี่ยว” แล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องแต่งตั้งจากส่วนกลางเท่านั้น จะเลือกตั้งไม่ได้ ขืนเลือกตั้งไปก็จะเป็นการทำลายราชอาณาจักร เกิด “รัฐอิสระ” อยู่กลางใจประเทศ แบบ “ผิดหลักวิชารัฐศาสตร์” ซ้ำยังละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร (รัฐเดี่ยว) อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้อีกด้วย และก็ไม่เพียงแต่เป็นการทำลายรัฐเดี่ยวเท่านั้นแต่ยังทำให้เกิดการ “ขบ” กันระหว่างพรรคต่อพรรค ประชาชนต่อประชาชนอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะไม่ทำให้ไทย “ไร้รอยต่อ” เราก็ต้องยกเลิกการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ที่ผิดหลักวิชานี้ลงเสีย และที่ผมฝืนเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาในขณะที่ผู้คนกำลังบ้าเลือกตั้งแบบผิดหลักวิชากันอยู่ ก็ไม่ได้ “อยากดัง” แต่อยากจะถามว่า

บ้านเมืองเราแตกแยกกันยังไม่พออีกหรือ?

หรือว่าอยากจะแบ่งแยกแล้วปกครอง?

 

Tags : เงื่อนไขการปฏิวัติมีแล้ว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view