http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,232
Page Views16,303,552
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ควรแก้กฎหมายหรือควรแก้กฎพื้นฐาน

ควรแก้กฎหมายหรือควรแก้กฎพื้นฐาน

จำลอง บุญสอง

                                                                                ควรแก้กฎหมายหรือแก้กฎพื้นฐาน

                สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัยคนเดือนตุลายุคผม “เดินขบวน” แหกปากเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เรียกร้องหาเสรีภาพกันมาก ครั้นได้รัฐธรรมนูญ ได้เสรีภาพมาระดับหนึ่ง แทนที่คนไทยจะได้การปกครองแบบประชาธิปไตย กลับได้การปกครองของ ทหาร นายทุนหรือตัวแทนนายทุนที่มาจากการเลือกตั้งเต็มสภา ส่วนเสรีภาพที่ได้มา ถ้าไม่ล้นเกิน (จนเกิดอนาธิปไตย) ก็ได้ “เสรีภาพจอมปลอม” คนจน (ถูกปิดปากด้วยเงินและอำนาจ) ไม่มีเสรีภาพที่แท้จริง

                 หลายปีของชีวิตช่างภาพ นักข่าว ผมก็ได้เจอการเรียกร้องทำนองเดียวกันอีกบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ม.112 หรืออื่นใด พวกเขาไม่ได้พูดหรือเรียกร้องอำนาจอธิปไตยปวงชนซึ่งเป็นปฐมบทของเสรีภาพที่แท้จริงเลย ดังนั้น ผมจึงไม่เห็นว่าทัศนะคนเดือนตุลาในวันโน้นหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยในวันนี้ที่ออกมาพล่ามเรื่องเสรีภาพ จะสามารถนำพาชาติบ้านเมืองหลุดไปจากทุกข์ของชาติได้

                เรื่องของ ส.ศิวลักษณ์กับอาจารย์สมศักดิ์ ....ที่พูดกันถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในไทยพีบีเอสก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ส.ศิวลักษณ์พูดได้เข้าท่าหน่อยตรงที่แยกแยะได้ถึงความเป็นบุคคลและความเป็นสถาบันได้ แต่ท้ายสุดก็มาถกกันเรื่อง“เสรีภาพ” โดยไม่มีใครพูดถึงเรื่อง “อำนาจอธิปไตยปวงชน” เลย ทั้งๆที่เรื่อง “อำนาจอธิปไตยปวงชน” เป็น “ปฐมบท” ของ “เสรีภาพ” ของประชาชนแท้ๆ เพราะถ้าไม่มีอำนาจอธิปไตยปวงชนเสียแล้วเสรีภาพที่แท้จริงก็เกิดขึ้นไม่ได้

                 ในทางวิชาการเมืองเราถือว่าพวกที่ปรารถนาดีอยากจะเปลี่ยนแปลง (Revolution) แต่ไร้เดียงสาทางการเมือง เราเรียกพวกนี้ว่าพวก Counter Revolutionary ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์มานานหรือไม่นาน จะเป็นแอ้คติวิสต์ใหญ่หรือไม่ใหญ่ เก๋าหรือไม่เก๋าก็ตาม

                ท่านผู้อ่านครับ ปัญหาเรื่องเสรีภาพที่เอามาตรา 112 มาพูดให้มีเรื่องกันก็ดี ปัญหาพาทหารไปตายในการลุกขึ้นสู้ของประชาชน (Civil War)ใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ดี ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเหลืองแดงก็ดี ปัญหาโจรขโมยเต็มบ้านเต็มเมืองก็ดี ปัญหายาบ้าจับกันไม่หมดก็ดี ปัญหาปล้นร้านสะดวกซื้อก็ดี ปัญหาปล้นธนาคารก็ดี ปัญหานักเรียนตีกันก็ดีฯลฯ ล้วนเกิดจากแรงกดดันจาก “สถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูง” อันเกิดจาก “ระบอบเผด็จการ” ซึ่งเป็น “ทุกข์ร่วม” หรือ Collective ทุกข์นั่นเอง

                  สถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูงคือสถานการณ์ความต้องการของชาติของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยอย่างสูง (โดยจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม) แต่ถูก “อำนาจอธิปไตยคนส่วนน้อย” (หรือที่เรียกว่าระบอบเผด็จการ) ขัดขวางเอาไว้ การขัดขวางดังกล่าวทำให้อาการดังกล่าวสำแดงฤทธิ์ออกมาให้คนเห็น คล้ายๆกับผู้หญิงจะออกลูกแต่ออกไม่ได้เพราะมีอุปสรรคจึงแสดงอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงออกมา เช่นเดียวกับการลั่นของอาคารก่อนตึกจะถล่ม เหมือนกับน้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วก่อนเกิดสึนามิใหญ่ ก็มีแต่คนรู้วิชา (หมอ วิศวกร นักปฏิวัติ) เท่านั้นที่รู้และแก้ไขได้

                 คนจะคลอดลูก ประเทศจะคลอดประชาธิปไตย ใครจะไปทำคลอดด้วย “กฎหมาย” หรือคนดีคนใด (จะเถียงกันเรื่องเสรีภาพในมาตรา 112 จะกู้เงิน 2 ล้านล้านหรือออกกฎหมายปรองดองกันมา 50 ล้านฉบับ จะใช้ เชอร์ชิลล์ อรหันต์ ปราชญ์ชาวบ้าน คนดีศรีสังคมลงมาทำงานกันเป็นแผงๆ ใช้นักวิชาการ นักกิจกรรมใหญ่น้อยมา “พล่าม” กันจนปากฉีกหรือมาปกครอง) นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังจะทำให้ “ฆ่ากันตาย” แบบโง่ๆอีกด้วย

                การมองว่าโลกแบนไม่สอดคล้องกับภาวะวิสัยฉันใด การมองว่าประเทศไทย “มีการปกครองแบบประชาธิปไตย” อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งที่ประเทศไทยมีการปกครองแบบเผด็จการอันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ไม่สอดคล้องกับภาวะวิสัยฉันนั้น ดังนั้นถ้าเราไม่สัมมาทิฐิกับการแก้กฎพื้นฐาน (จากอำนาจอธิปไตยคนส่วนน้อยมาเป็นอำนาจอธิปไตยปวงชน) แล้ว นอกจากจะปัญหาชาติทั้งหลายจะแก้ไม่ตกแล้ว ยังทำให้ชาติล่มจมลงสู่ทะเลแห่งความขัดแย้งมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

                 นโยบาย 66/23 หรือนโยบายสมดุลระหว่างอำนาจอธิปไตยปวงชนกับเสรีภาพประชาชน (ที่สอดคล้องกับความจริงแท้ของมนุษย์) เพียงนโยบายเดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้จริง ผมจึงอยากจะเรียกร้องให้บรรดา “ไก่” (ครูอาจารย์และนักกิจกรรมใหญ่ๆ) ที่กำลัง “จิกตี” โชว์ลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายกัน “อยู่ในเข่ง” ได้หันมาศึกษาทางที่ออกได้จริงๆนี้ก่อนสาย

                 ผมยืนยันว่าที่เถียงๆกันอยู่ว่า ใครเป็น “อรหันต์” (ทางการเมือง) นั้น เป็นเรื่องของการอวดอีโก้กันเท่านั้น แค่ “โสดาบัน” ยังไม่เห็นฝุ่นเลย แค่คำว่าระบบประชาธิปไตยแปลว่าอะไร การปกครองต่างกับระบอบอย่างไร วิธีการประชาธิปไตย ลัทธิประชาธิปไตย เสรีภาพสัมพันธ์กับอำนาจอธิปไตยอย่างไร สมดุลระหว่างอำนาจอธิปไตยกับเสรีภาพทำได้อย่างไร เสรีภาพส่งผลทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ดีได้อย่างไร การปรองดองในยุคทุนนิยมนั้น ระหว่างใครกับใคร ทำได้อย่างไรก็ยังไม่รู้เลย และถ้าไก่ที่ตีกันเหล่านั้น “ตอบโจทย์” ไม่ได้ แล้วเราจะไปเชียร์ไก่โง่ตีกันให้โง่ไปทำไม หันมาศึกษาการอำนาจอธิปไตยปวงชนแก้ปัญหาชาติไม่ดีกว่าหรือ

                 ปล.1.ผู้แทนเชียงใหม่ถ้าจะลาออกเพื่อให้เจ๊แดงลงสมัครรับเลือกตั้ง ผมว่าถ้าจะบ้ากันใหญ่ ทำให้คนยิ่งรู้ว่าอำนาจอธิปไตยประเทศนี้เป็นของคนตระกูลชินวัตรเดี๋ยวก็พังยับแบบถนอม-ประภาสหรอก

                 ปล.2.ประเทศใดๆไม่ว่าจะเป็นรัฐเดี่ยวหรือหลายรัฐ จะต้องเป็นองค์กรจัดตั้ง (Organization) ทั้งสิ้นแต่มีลักษณะเป็นองค์การรัฐ (State Organization) องค์กรจะดำรงอยู่ได้นั้นต้องมีการรวมศูนย์ (Centralization) และต้องขึ้นตรงต่อประมุขหรือประธาน ตามหลักวิชาการจัดตั้งของรัฐ หลักการรวมศูนย์คือประมุขของประเทศมีอำนาจแต่งตั้งถอกถอน นายก ประธานรัฐสภาและประธานศาลฎีกา ปัญหาประเทศไม่ได้เกิดจากความเป็นประมุขแต่ปัญหาเกิดจากระบอบเผด็จการครับ

Tags : เพราะจุดต่าง

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view