http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,921
Page Views16,267,271
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วัดชากใหญ่พุทธอุทยานมหาปทุมวิทยาญาณสัมปันโน

วัดชากใหญ่พุทธอุทยานมหาปทุมวิทยาญาณสัมปันโน

วัดชากใหญ่

พุทธอุทยานมหาปทุมวิทยาญาณสัมปันโน

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                  ผมไปจันทบุรี 4 ครั้ง ทุกครั้งไปท่องเที่ยวแต่แหล่งธรรมชาติ ป่าเขาและน้ำตก  ชมปลาโลมาแสนรู้ที่โอเอซิส 2 ครั้ง ไปชมตลาดพลอยและศูนย์อัญมณีเคพีแกรน์ 2 ครั้ง  มีอยู่เพียงครั้งเดียวที่มัคคุเทศก์นำทางไปเที่ยววัด ซึ่งก็คือวัดชากใหญ่ ม.11ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ ติถนนสาย 3149 นี่แหละ ทั้งๆที่ผ่านไปผ่านมาอยู่หลายครั้ง แต่เหมือนมีมือมาปิดตา จึงมองไม่เห็น

 

                    รถบัสแล่นผ่านองค์พระพุทธรูปบำเพ็ญสมาธิอยู่เบื้องหน้าพระประธานองค์โต ดูช่างอลังการ แสงแดดยามบ่ายสาดส่องมาต้อง สว่างไสวไปด้วยความงดงาม มีสวนไผ่รวกอยู่ด้านขวามือ ส่วนทางซ้ายมือมีทั้งพระพุทธรูปองค์โต และ ปูนปั้นพระเวสสันดรและพระนางมัทรีทรงช้างคชาธาร เป็นสนามหน้าวัดที่แปลกกว่าวัดใดๆ

 

                      ผมนั่งนึกว่า ถ้าจะเป็นวัด”วัตถุ” เสียเป็นที่แน่แล้ว คงเหมือนกับวัดใหญ่ๆในภาคต่างๆของประเทศไทย ที่นิยมสร้างพระองค์โตบ้าง ลานทำดีทำชั่วมั่วกาเมเปรตผีผุดพราย อคติเริ่มอย่างนั้น อกุศลจิตเสียแต่แรกเริ่มเชียว แต่เมื่อมาถึงแล้วก็ลงไปชมเสียหน่อย อย่างน้อยก็ถ่ายรูปไปลง”เฟสบุ๊ก” ให้เพื่อนๆไดด้คลิกไลท์        อันอาจจะไม่เขียนเป็นสารคดีโพสท์ลงใน www.thongthailand.com ถ่ายไปก่อน แสงสวยออก

 

                     การถ่ายรูปวัตถุขนาดใหญ่เช่นวัดนี้ ผมถ่ายทั้งตามแสงบ้าง ย้อนแสงบ้าง และยังมีถ่ายแสงเฉียงๆด้วย ช่วงเวลาบ่ายแก่ๆยามนั้น แสงสวยมาก ต้นไม้ป่าบริเวณวัดนี้ใหญ่โตมโหระทึกไม่น้อย สูงโปร่ง จึงมีแสงลอดผ่านเรือนยอดและช่องว่างเป็นระยะๆ มีแสงสาส่องต้ององค์พระและสิ่งก่อสร้างสวยมาก แปลกประหลาดเอาการอยู่

 

                       กลุ่มพระองค์โตบ้าง กลางๆบ้าง ส่วนใหญ่สร้างประกอบเรื่องพุทธประวัติ เช่นสร้างปางโปรดพระบิดาพระมารดา ปางปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคี  ปางโปรดเทวดา  แต่ที่แปลกออกไปอีกเป็นการสร้างกลุ่มพระไว้บนฐานที่สร้างเป็นห้องบำเพ็ญเพียรเหมือนกุฎี ทาสีสันสวยสวยงาม ฐานกุฎีคล้ายอุโมงค์มีตะไคร้จับเขียวไปทั่ว ด้วยว่ามีความชุ่มชื้นมากเกิน       

 

                       ผมเดินถ่ายรูปไปทั่ววัดซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางถึง 45 ไร่ มีกุฎีทรงไทยหลังกะทัดรัดอยู่ด้านหลังวัด  อุโบสถตั้งอยู่ระหว่างกลาง  แยกเป็นสัดส่วนวัดออกเป็นเขตสิ่งก่อสร้างที่เป็นวัดกับส่วนที่เป็นปูนปั้นปางต่างๆในป่าใหญ่  ได้เห็นแม่ชีปรนนิบัติวัฎฐาก ทำความสะอาดลานวัดและห้องสุขา ไม่เห็นเด็กวัดเหมือนสมัยที่ผมเคยเป็น

 

                      โดยรวมแล้ว แม้มีพระปูนปั้นองค์เล็ก องค์กลาง และองค์โตๆ ก็ถูกจัดสร้างไว้เป็นสัดส่วน จึงดูไม่รกลูกตาและขวางในอารมณ์  แต่ถามว่า มีสิ่งก่อสร้างลักษณะนี้เยอะไหม ต้องตอบว่าเยอะมาก แต่เมื่อได้ทราบว่า ทำไมจึงเกิดอุบัติกาลการสร้างระองค์โตเช่นนี้ไว้กลางแจ้ง ก็หายสงสัยแล้วว่า ด้วยเหตุใด

 

                      เรื่องก็มีอยู่ว่า ที่พักสงฆ์แห่งนี้สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2498 พระอาจารย์มหาบัวญาณสัมปันโน(พระธรรมวิสุทธิมงคล) มีญาติโยมถวายที่ดินให้ 26 ไร่ 2 งาน โดยมีกุฎีที่สร้างด้วยใบจากหลังเล็กๆเพื่อให้ปฏิบัติธรรม ครั้งนั้นไม่มีถาวรวัตถุแต่อย่างใด ต่อมาปี.ศ.2508 พระอธิการธรรมรัติเดินทางกลับจากการธุดงค์จากจังหวัดสกลนคร ได้มาพักแรมที่นี่ ครั้นตกเวลากลางคืนในขณะที่นั่งปฏิบัติธรรมอยู่ในสมาธิจิตนิ่งแน่วแน่ตลอดเวลา พระอาจารย์ธรรมรัติได้ยินเสียงเทพเจ้าทวยเทพเทพีได้มาบอกว่า

อุโบสถ

                         พระคุณท่านที่เคารพต่อแต่นี้พระคุณท่านอย่าไปไหนขอให้อยู่จำพรรษาที่วัดนี้ตลอดไป แต่ก็จะต้องมีอุปสรรคบ้างถึงกระนั้นให้พระคุณท่านใช้ความพากเพียร ความอดทน ถึงแม้จะมีอุปสรรคอย่างหนึ่งอย่างใดให้พระคุณท่านถือว่า สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งที่เสริมบารมีให้กับพระคุณท่านวัดนี้จะมีถาวรวัตถุมากมายอย่างน่าอัศจรรย์? 

 

กุฎีในปัจจุบันนี้

                         สอดคล้องกับพระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร ได้บอกว่า ธรรมรัติให้ไปจำพรรษาทางจังหวัดจันทบุรี จะมีพระปางพระพุทธรูปปางต่างๆมากกว่าพระสงฆ์ เป็นวาสนาบารมีของท่านโดยตรง พระอธิการธรรมรัติจึงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสถานีทดลองแห่งนี้ตลอดมา ปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ยึดถือ

 

                       วันหนึ่ง นายอำเภอแหลมสิงห์ นายสถิต ศรประชุม ไปกราบเรียนปรึกษาว่า ท่านฝันร้ายถึงขั้นถูกตัดแขนขา จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลอย่างไร จึงจะแก้ฝันร้ายดังกล่าวได้ พระอธิการธรรมรัติจึงได้อธิบายให้นายอำเภอฟังว่า การสร้างพระองค์เล็กก็ต้องบูชาไว้ในกุฎี ถ้าสร้างพระองค์กลางๆก็ต้องบูชาไว้บนศาลา แต่ถ้าสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ก็ต้องสร้างไว้กลางแจ้ง นายอำเภอจึงสร้างพระปางประทานพรเป็นองค์แรกไว้ที่หน้าวัด

     

อุโมงค์ปฏิบัติธรรม

                      ในการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆที่วัดนี้ ได้มีอาม่าลัดดาวัลย์ ชัยกุล มาเป็นผู้รับจัดการและควบคุมให้ตามประสงค์  เพื่อความสวยงามและเรียบร้อยตามประสงค์ของผู้ปรารถนาจะทำบุญ แต่ต่อมาพ.ศ.2530 อาม่าลัดดาวัลย์เสียชีวิตไป นพ.อารักษ์ ชัยกุล ผู้บุตรจึงได้เข้ามารับหน้าที่บริหารจัดการให้ต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

                     

                    ปัจจุบันนี้ มีพระปางต่างๆมากมายหลายองค์ที่สร้างไว้กลางแจ้ง มีมากกว่าพระสงฆ์ที่มาจำพรรษาดังคำกล่าว เป็นที่ปรารถนาของพุทธศาสนิกชนที่ประสงค์จะมาสร้างถวายให้กันมากหน้าหลายตา พุทธวัตถุเหล่านี้ล้วนสร้างด้วยความประณีตบรรจง สวยงาม เป็นไปตามเรื่องราวในพุทธศาสนา ใครผ่านเข้ามากราบไหว้ก็เกิดความปรีดาเสมอมา

 

                    ปัจจุบันนี้ พระธรรมรัติ ธรรมมรโต ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ เป็นพระสายปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฏฐาน เนื้อที่วัด 45 ไร่ กลายเป็นพุทธอุทยานมหาปทุมวิทยาญาณสัมปันโน เป็นที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และไม่เหลือพื้นที่ให้สร้างพระองค์โตๆถวายเป็นพุทธอุทยานอีกแล้ว เต็มวัดแล้ว

 

Tags : พุ่มพวง ตำนานคนอ่านหนังสือไม่ออก

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view