การใช้ผงไผ่หมักเป็นอาหารสัตว์
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
อนุสนธิจากโครงการเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ (Green Bamboo Powder: Basic Science and Advance Technologies for industrial Applications of Bamboo” เมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ.2555 โดยความร่วมมือฝ่ายไทยได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน(สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ ) สมาคมนิสิตเก่าคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
โดยฝ่ายประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วย Chubu University, Swine and Paultry Research Center และบริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่นอันได้แก่ Marudai Tekko Co.,Ltd., NHK Spring Co, และ Nitomo Co,Ltd. ได้พิสูจน์ทราบแล้วว่า เครื่องปั่นไผ่ผงเครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพเต็มพิกัดในการปั่นไผ่ให้เป็นผง ขนาดไม่เกิน 500 ไมครอนด้วยเครื่อง Panda Machine พร้อมขบวนการบรรจุในถุงอลูมินั่มฟลอยด์เคลือบฟิล์มถุงละ 1 กก.แบบสุญญากาศ
ในปีพ.ศ.2556 เป็นการก้าวถึงการศึกษาการใช้ผงไผ่หมักเป็นพืชอาหารสัตว์ โดยทีมผู้ทำการวิจัยได้แก่ รศ.อุทัย คันโธ นส.วราพันธ์ จินตณวิชญ์ นายเกรียงศักดิ์ สะอาดรักษ์ นางภคอร อัครมธุกุล น.สพ.สุรเชษฐ สิทธิหล่อ นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล และ Professor Haruyasu Masunari เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ผงไผ่หมักเป็นอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ คุณสมบัติของผงไผ่หมัก และผลการใช้ผงไผ่หมักเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ
ต้นไผ่ที่ใช้ทำผงไผ่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สามารถทำผงไผ่หมัก(Green Bamboo silage) ได้ดี มีการทดลองใช้ในประเทศญี่ปุ่นมาระยะหนึ่งแล้ว การทดลองศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการใช้ไม้ไผ่ของประเทศไทยผลิตผงไผ่เพื่อหมัก ศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีและจุลินทรีย์ คุณค่าทางอาหาร และคุณสมบัติของผงไผ่หมัก การศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บต่อคุณภาพผงไผ่หมัก
การวิจัยได้พบว่า ใช้ผงไผ่หมักเป็นอาหารไก่ไข่ เปลือกไข่หนาขึ้นไข่ใบใหญ่ขึ้น และไก่ไข่ที่กินผงไผ่หมักเสริมในอาหารมีไข่แดงสีแดงขึ้น
การศึกษาการใช้ผงไผ่หมักเป็นอาหารไก่เนื้อ ลดปริมาณ C.perfringens และ Salmonella spp..ในไส้ติ่งไก่เนื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไก่สุขภาพดีขึ้น เนื้อไก่รสชาติดีขึ้น
มร.ฮารึยาซึ มาสึนารี
การวิจัยใช้ผงไผ่หมักในอาหารสุกร พบว่า น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตลอดการทดลอง การเติบโตต่อวัน และประสิทธิภาพการใช้อาหาร(FCR)ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม่สุกรมีแนวโน้มให้จำนวนลูกสุกรเพิ่มขึ้นเมื่อหย่านม การเพิ่มมากขึ้น ทั้งหมดเกิดจากอิทธิพลของจุลินทรีย์และกรดอินทรีย์ในผงไผ่หมักมีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระ ทนทานกับความเครียดต่างๆ
สรุปว่าการใช้ผงไผ่หมักผสมในอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยวควรใช้เป็นอาหารเสริมประมาณ 1-3%
นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล
ในการศึกษาและวิจัยในช่วงปีที่ 2 เป็นอีกก้าวหนึ่งซึ่งจะเป็นพื้นฐานการศึกษาและวิจัยต่อเนื่องถึงอนาคตการผลิตอาหารสัตว์เสริมผงไผ่หมัก เช่นเดียวกับที่เคยมีการศึกษาและวิจัยการใช้ผงกวาวเครือขาวในอาหารสุกร หรือการใช้ผงกระถินในอาหารไก่ไข่ หรือการใช้ผงดอกดาวเรืองในอาหารไก่ไข่ ไผ่เป็นอีกพืชหนึ่งที่มีปริมาณมากในประเทศไทย อาจใช้เป็นส่วนผสมเสริมในพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าและเพิ่มศักยภาพการใช้ไผ่ได้มากขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณา อันเนื่องมาจากในประเทศไทยมีไผ่หลากหลายชนิด มีไผ่ชนิดไหนเหมาะสมที่สุดในการผลิตเป็นผงไผ่ที่ใช้หมักเป็นอาหารสัตว์ ที่สุด ในการก้าวย่างสู่ปีที่ 3 ของการเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ ซึ่งจะเป็นอีกความหวังของแวดวงอาหารสัตว์มากน้อยเพียงใด