http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,988,406
Page Views16,296,383
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เผยข้อมูล UNWTO ระบุเทรนด์ย้อนยุคมาแรงแนะชุมชนใช้จุดแข็ง“local friendly” บูมท่องเที่ยว

เผยข้อมูล UNWTO ระบุเทรนด์ย้อนยุคมาแรงแนะชุมชนใช้จุดแข็ง“local friendly” บูมท่องเที่ยว

เผยข้อมูล UNWTO ระบุเทรนด์ย้อนยุคมาแรง

แนะชุมชนใช้จุดแข็ง“local friendly” บูมท่องเที่ยว

UNWTO ระบุการท่องเที่ยวย้อนยุคมาแรง อดีต รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว แนะใช้จุดแข็ง“local friendly” หนุนท่องเที่ยวชุมชน  ชมการทำงานของ อพท. มาถูกทาง ช่วยเรียกจิตสำนึกคนไทยให้คิดต่อยอดจากอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน แนะชุมชนใช้เครื่องมือทางการตลาดด้วยสัญลักษณ์ภาพ และ word of mouth  รับมือ AEC

 

            ในงานเสวนาวิชาการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน จัดโดยสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กล่าวในการขึ้นปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ เปิดมิติใหม่ท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานวิถีไทยอย่างยั่งยืน”ว่า  จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก หรือ UNWTO  ที่ระบุว่า ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวโลกหันกลับไปสู่การท่องเที่ยวแบบย้อนยุคเพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง และมองการท่องเที่ยวเป็นการเดินทางหาความรู้ หาประสบการณ์ โดยตลาดที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบศึกษาหาความรู้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นตลาดใหญ่สุด

สำหรับประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับโลกว่า เป็นที่สุดในใจนักท่องเที่ยว 2 เรื่อง ของการเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว คือ  Best Value for Money และ Local Friendly  ที่ผ่านมา รัฐบาลและภาคเอกชนต่างมุ่งทำการตลาดแบบให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว จึงชูมูลค่ามากกว่าคุณค่า นั่นคือ Value for Money จำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นกลับกระจุกตัวเพียงจังหวัดท่องเที่ยวหลักเท่านั้น  สิ่งที่ตามมาคือปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะ  มีคนต่างถิ่นเข้ามาทำธุรกิจจึงไม่มีเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา ในส่วนของจุดขายเรื่อง Local Friendly  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยควรนำออกมาใช้และพัฒนา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองนักท่องเที่ยวคุณภาพได้ดีกว่าการใช้กฎการออกวีซ่าของรัฐเป็นตัวคัดกรองนักท่องเที่ยว

***อพท. ผู้นำการสร้างสำนึกให้คนคนไทย ***

“ การทำงานของผู้อำนวยการ อพท. ในวันนี้ ไม่ได้เป็นผู้นำแค่องค์กร แต่เป็นผู้นำให้กับคนไทย เป็นผู้นำให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย  เพราะใช้แนวทางการนำสำนึกของคนไทยกลับคืนมา ช่วยกันส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเสน่ห์สำคัญของรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนคือ นักท่องเที่ยวจะได้ความรู้จากคำบอกเล่าถึงที่มาที่ไป การเล่าตำนานของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ จากปากของเจ้าของพื้นที่ การได้ร่วมทำกิจกรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยที่คนในชุมชนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต  ก่อเกิดการกระจายการท่องเที่ยวลงสู่ท้องถิ่น ไม่กระจุกตัวแค่แหล่งท่องเที่ยวหลัก วันนี้หลายฝ่ายเริ่มเห็นแล้วว่า การมุ่งเน้นเพียงปริมาณ ไม่ได้ช่วยให้ท่องเที่ยวยั่งยืนได้ เพราะจะได้แต่นักท่องเที่ยวไม่มีคุณภาพ” 

***สร้างสมดุลจากชนชั้นกลาง***

ดร.วีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า แนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของ อพท. ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ จัดเป็นก้าวสำคัญ สะท้อนได้ว่า อพท. ได้มองเห็นและถ่ายทอดออกไปได้ว่า  มุมมองของภาครัฐเปลี่ยนไปจากเมื่อ 40 ปีก่อน  ที่มุ่งทำงานตามเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ได้เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน ภาพที่เห็นคือมีแต่ผู้สูงอายุอยู่บ้าน ส่วนหนุ่มสาวและวัยทำงานต้องเข้าเมืองหลวงมาทำงาน  แต่วันนี้การมุ่งพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  มีรูปแบบการทำงานผ่านภาคีเครือข่าย ได้ทำให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่น มีรายได้เพียงพอเลี้ยงชีพ เพราะรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ได้มุ่งให้บริการ  ชุมชนยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆ แต่ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเปิดชุมชนให้คนอื่นได้เข้ามาเรียนรู้ในอัตลักษณ์ของตัวเองและยินดีที่จะถ่ายทอด   การท่องเที่ยวรูปแบบนี้ช่วยให้คนดำรงชีวิตอยู่ได้แม้ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน เพราะการท่องเที่ยวชุมชนเป็นเสมือนหินลับมีด สอนให้ชนชั้นกลางรู้จักวิธีการใช้ชีวิต  ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นตลาดใหญ่  เป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ  เป็นตัวแปรสำคัญของความไม่สมดุล แต่ชุมชนซึ่งเป็นหินลับมีดจะช่วยขัดเกลาคนกลุ่มนี้

“อพท. ทำงานโดยหยิบจุดแข็งของแต่ละภาคีมาเชื่อมต่อกัน มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม ตลอด ๑๐ ปี ของ อพท. ที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แสดงบทบาทหน้าที่ชัดเจนด้านการประสานส่งเสริมและสนับสนุน คือ ไม่ได้แสดงตัวเป็นเจ้าของ แต่ช่วยเป็นเจ้าภาพ คือประสานภาคีให้เข้ามาทำงานร่วมกัน และเป็นเจ้ามือ  หากโครงการใดขาดหน่วยงานดูแล ขาดเงินทุน ก็จะเป็นผู้จัดหางบประมาณมาช่วยสนับสนุนเป็นทุนประเดิมให้ได้”

***ชุมชนมีความสุข ท่องเที่ยวยั่งยืน***

ท้ายสุด ดร.วีระศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันการสื่อสารไร้พรมแดนที่ดีที่สุดคือการสื่อด้วยรูปภาพ  เพราะไม่มีอุปสรรคแม้จะพูดคุยกันคนละภาษา เห็นได้จากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่มี Line  มีการส่งรูปแสดงอารมณ์ โดยไม่ต้องเขียน ควรนำตรงนี้ไปปรับใช้ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย ส่วนด้านการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชน  ดีที่สุดคือการตลาดแบบบอกต่อ หรือ word of mouth  เพราะสังคมคนไทย และคนเอเชีย เป็นสังคมฟังและพูด ไม่ได้เป็นสังคมของการอ่านและเขียนเหมือนทางยุโรป  ดังนั้นหัวใจของการท่องเที่ยวชุมชนที่สำคัญจะต้องไม่มุ่งเรื่องการขยายตัวของนักท่องเที่ยว หรือมุ่งปรับตัวเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว แต่สิ่งสำคัญของการท่องเที่ยวรูปแบบนี้คือ มุ่งที่ความสุขของคนในชุมชนเป็นที่ตั้ง  และจะนำเสียงข้างมากมาเป็นตัวชี้วัดก็ไม่ได้ หากเสียงข้างมากไม่ได้ทำให้ชุมชนมีความสุข  ซึ่งกระบวนการขัดเกลาของ อพท. จะช่วยให้เกิดการยอมรับได้ในความคิดเห็นที่ขัดแย้ง  คือทำให้เกิดฉันทามติ คือความคิดเห็นร่วมกัน   การใช้ภาคีเครือข่ายเป็นแหล่งเรียนรู้ ไม่ใช่เลียนแบบ เพราะถ้าเลียนแบบจะเป็นการทำลายมากกว่ายั่งยืน ที่สำคัญคือชุมชนต้องรู้จักตัวเอง หากไม่รู้จักตัวเองก็จะเข้าสู่วงจรของการทำลายอีกเช่นกัน

***ใช้การมีส่วนร่วมคู่วิชาการเสริมแกร่งชุมชน***

ทางด้านพันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท.  กล่าวว่า  อพท. ตระหนักดีว่า ความยั่งยืนที่แท้จริงต้องมาจากรากฐานที่เริ่มต้นจากชุมชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่แท้จริง โดยทรัพยากรการท่องเที่ยวนั้นจะต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี อพท. จึงให้ความสำคัญกับภาคีในระดับชุมชนเป็นอย่างมาก ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนของตัวเอง  บวกกับการเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ทางวิชาการการท่องเที่ยวให้กับบุคลากรในชุมชน

###

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อพท.

มัธนา เมนแก   ๐ ๒๓๕๗ ๓๕๘๐  ต่อ ๔๐๔ matana.m@dasta.or.th,m_matana@hotmail.com

 

 

 

 

Tags : ประจวบคีรีขันธ์ในม่านฝนตอน5.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view