“ก๊อกแก๊กทัวร์ เคาะประตูเมืองพญาแล ชัยภูมิ”
โดย อุทัย มีสีสรรพ์-เรื่อง//สุเทพ ช่วยปัญญา-ภาพ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดกิจกรรม “ก๊อกแก๊กทัวร์”เส้นทางที่ 4 ภายใต้ชื่อว่า”เคาะประตูเมืองพญาแล” เป็นการเปิดตลาดท่องเที่ยวแห่งใหม่ในเมืองชัยภูมิให้เป็นที่รู้ จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยมี นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬา เป็นผู้นำทีมไปเปิดประตูแหล่ง ท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ โดยจุดเริ่มต้นของการเดินทาง นัดหมายกันที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อเวลา 06.00 น. ล้อหมุนนำสื่อมวลชน และ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว มุ่งหน้าสู้จังหวัดชัยภูมิ โดยมีเป้าหมาย แวะนมัสการหลวงพ่อคูณ ชื่นชมอันซีนไทยแลนด์ วิหารเทพวิทยาคม ที่วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทดจ. นครราชสีมา
การเดินทางจากกรุงเทพฯ มาถึงจุดพักรถที่จังหวัดสระบุรี ที่ปั้มน้ำมัน ปตท.ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นำชาวพี่น้องในจังหวัดทั้งหมด มาต้อนรับคณะทัวร์ ด้วยการแสดงศิลปะพื้นบ้านประจำถิ่น ก่อนที่เราจะออกเดินทางไปแวะ นมัสการหลวงพ่อคูณ ชื่นชมกับวิหารเทพวิทยาคม ซึ่งสวยงามอลังการงานสร้างรูปทรงกลมด้วยโมเสกหลายล้านชิ้นกับปติมากรรมระดับสุดยอด ด้วยสถาปัตยกรรมที่ล้ำค่า กับความหลากหลายในความงดงามที่แสนจะน่าทึ่ง แล้วแวะพักรับประ ทานอาหารกลางวันที่ทางวัดบ้านไร่รองรับกับโต๊ะจีนที่แสนเอร็จอร่อย ก่อนจะอำลาวัดบ้านไร่ เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองพญาแล
ก่อนจะเข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ มาทำความรู้จักพื้นที่ของจังหวัด ที่ตั้งอยู่ใจกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ12.778.287 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ7.986.429 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.6.ของภาคและคิดเป็นร้อย ละ 2.5 ของประเทศไทย และมีความกว้างใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ ระยะทางจากกรุงเทพ-ชัยภูมิ 342 กิโลเมตร ซึ่งนับว่าไม่ไกลมาก ติดต่อกับนครราชสีมาทางอำเภอด่านขุนทด สี่คิ้ว ปากช่อง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ต่อเนื่องกัน หากมาเที่ยวที่ชัยภูมิมาดูทุ่งกระเจียว ที่อำเภอเทพสถิต จะตื่นตาตื่นใจมากที่สุด
โปรแกรมที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรก ถ้าเราไปถึงเมืองชัยภูมิแล้ว จะมีการตั้งขบวนแห่กันยาวเหยียด การเดินทางไปถึง อากาศร้อนมาก เลยต้องเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย มีขบวนรถม้าไปรับ ฯพณฯท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา มาสู่ประตูเมือง เพื่อเข้ามาสักการะอนุสาวรีย์พระยาภักดี ชุมพล(แล) โดยมีเจ้าเมืองคือผู้ว่าราชการจังหวัด นายพรศักดิ์ เจียรนัย เป็นผู้เปิดประตูเมืองต้อนรับท่าน รมต.เปิดการแสดงต้อนรับด้วยการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ รำวงสาวบ้านแต้ และการแสดงของเด็กนักเรียนที่แต่งตัวคล้ายชุดชาวเขา ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาอพยพมา ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต้นกรุงธนบุรี ซึ่งมีวัฒนะธรรมประเพณีที่น่าสนใจกับเผ่าพันธุ์ที่ยังอนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างดี
เมื่อ รมต.ไปสักการะรูปปั้นอนุเสาวรีย์พระยาภักดี ชุมพล(แล)เสร็จแล้ว การแสดงก็เสร็จสิ้น ทางผู้ว่าราชการฯก็เชิญแขกเหรื่อเข้าสู่โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล เพื่อเข้าชมกิจการที่ทางจังหวัดจัดมาใช้ชม ไม่ว่าจะเป็นของกินของฝากจากotop ซึ่งจัดเป็นของฝากอันดับหนึ่งของชัยภูมิ คือน้ำผึ้งลัดดา หรือ หม่ำ ที่ขึ้นชื่อลือชามากเป็นของฝากยอดนิยมที่ทำมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยโบราณ สืบทอดกันมาจนถึงวันนี้กลายเป็นของฝากที่น่าสนใจ จนกระทั่งเย็น ก็ร่วมรับ ประทานอาหารกัน โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัด จัดหาร้านอาหารชื่อดังที่แสนอร่อย มาตั้งร้านเรียงรายให้แขกเหรื่อที่มาร่วมงานในครั้งนี้ ได้ดื่มกินกันอย่างสำราญเบิกบานใจ กับอาหารหลากหลายชนิด เพื่อจะรอการแสดงของนักเรียน
อาหารรสชาติอร่อยที่ทางจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด นำโดย มนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การฯและ สส,หญิงคนแรกของชัยภูมิ พร้อมทั้งเปิดการแสดงดนตรีพื้น เมืองของชัยภูมิ ซึ่งเป็นของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ต้อนรับ รมต.ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว พร้อมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ในจังหวัด มารวมตัวในงานต้อนรับครั้งนี้อย่างอบอุ่น ท่ามกลางบรรยากาศแสนจะกันเอง ในการเดินไปหาอาหารมาทางแบบบุฟเฟ่ต์ที่บอกว่าเป็น “โต๊ะชัยภูมิ”ผสมผสานไปกับดนตรีที่เร้าใจ เร่งเร้าความรู้สึกให้ฮึกเหิมเฮฮา สนุกกันอย่างสุดเหวี่ยงจน กระทั่งถึงเวลาที่จะชมการแสดงหนึ่งเดียวในโลกกับการ “ตีคลีไฟ” การละเล่นท้องถิ่นที่เล่นกันมายาวนานสืบทอดกันมา ซึ่งก็คล้ายกับการเล่นฟุตบอก แต่ใช้ไม้เกี่ยวลุกไฟลูกกลม ๆ ที่ลุกเป็นไฟ แล้วแย่งตีกันเพื่อให้เข้าไปในโกลของฝ่ายตรงกันข้าม สนุกสนานมาก เพราะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน จนจบการแสดงตีคลีไฟแล้ว ต่างก็แยกย้ายเข้าพักที่สยามรีสอร์ท ชัยภูมิ เพราะพรุ่งนี้จะต้องมีโปรแกรมอีกหลายแห่ง ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลกันมากนัก จะไปชื่นชมธรรมชาติและศิลปะพื้นบ้าน
อรุณรุ่งของวันใหม่ มอร์นิ่งด้วยอาหารจากทางโรงแรมจัดให้ อิ่มกันแล้วต่างก็ออกเดินทางไปอำเภอบ้านเขว้า แหล่งทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกกับผ้าไหมมัดหมี่ที่มีลายหลากหลาย มากกว่า500ลายละลานตา เป็นความภาคภูมิใจของชาวอำเภอบ้านเขว้า เพราะผ้าไหมัดหมี่จากอำเภอนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับภาคระดับประเทศติดต่อกันมาอย่างยาวนาน จน”สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนารถ”พระองค์ทรงพระราชดำริให้อนุรักษ์ลายผ้าไหมโบราณ พระราชทานชื่อใหม่ว่า”ขอนารี”เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางไปสู่สากลระดับโลกไปแล้ว พร้อมกันนี้ นางเกษา มีสิทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเขว้า ได้ให้การต้อนรับ ท่าน รมต.และคณะทางจังหวัด และแจก ผ้าฝ้ายชั้นดีเป็นที่ระลึกกับสื่อมวลชน ได้ดูได้ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านเขว้า ชมการสาธิตการทอผ้า การเขียนลายทองบนผ้า ไหมเพื่อเพิ่มศักยภาพขอผืนผ้าให้สวยงามมากขึ้น เป็นที่ถูกใจของคณะทัวร์เดินช็อปปิ้งผ้าไหมกันอย่างจุใจในราคาที่ดี
เราอำลาชาวอำเภอบ้านเขว้า เพื่อเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติตาดโตน เพื่อเข้าชมน้ำตกตาดโตน เราเดินทางจากบ้านเขว้าด้วยระยะทาง 40 กม.ก็มาถึงอุทยานแห่งชาติตาดโตน โดยมีหัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ ให้การต้อนรับกับ คณะของ รมต.ผู้ว่า นายกฯที่ร่วมเดินทางเข้ามาชมความงามของน้ำตกตาดโตน ซึ่งมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะมาฤดูไหนน้ำตกตาดโตก็ยังคงความสวยงามตลอดทั้งปี ซึ่งแตกต่างจากน้ำตกอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง ทางอุทยานจัดอาหารพื้นเมืองไว้ตอนรับกับชาวคณะทัวร์ครั้งนี้อย่างเต็มกำลัง อาหารรสจัดถูกปากทำให้ทานกันจนอิ่มเติมพลัง ก่อนจะลงไปลุยน้ำตก ทางผู้ว่าราชการได้ให้สัมภาษณ์ถึงแผนงานการตลาด ที่จะดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาใช้เงินเพิ่มมากกว่านี้ เพราะที่ชัยภูมินี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดให้อยู่ที่นี่ได้อีกหลายวัน ชัยภูมิไม่ใช่เมืองผ่านอย่างในอดีต เพราะมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง
หลังจากทานอาหารกันเป็นที่เรียบร้อนแล้ว มีฝนปรอยลงมานิดหน่อยเหมือนพรมน้ำมนต์ไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการเดินไปเลือกมุมภายภาพที่แสนสวยงาม แล้วแต่จินตนาการของช่างภาพแต่ละคน ที่จะเก็บรายละเอียดเอาไว้ในเฟรม อย่างไร ต่างก็เลือกถ่ายตามใจปรารถนา เราอยู่ชื่นชมกับน้ำตกตาดโตนแหล่งธรรมชาติที่น่าพักผ่อนของชาวชัยภูมิและรอง รับนักท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างไม่มีที่ติ ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกตาดโตน ยังมีที่พักกับเรือนรับรอง หรือจะมากางเต็นท์ก็ น่าจะมาสัมผัสกับลมหนาวที่กำลังจะเข้ามา เราอยู่ที่นี่นานนับชั่วโมงเพื่อตักตวงความสุขเอาไว้ในใจให้เยอะที่สุด เพื่อจะเดินทางลงทางใต้ ไปดื่มด่ำกับอุทยาแห่งชาติภูแลนคา อันเป็นที่ตั้งของ มอหินขาว ที่เขาบอกว่า สโตนเฮนจ์เมืองไทย
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหินโง้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กม.เท่านั้น ในอุทยานแห่งชาติภูแลนคานี้ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลายสาย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำชี แต่ที่เรามาวันนี้ เราจะมาดู มอหินขาว ที่หลายคนบอกว่าเป็น สโตนเฮนจ์เมืองไทย ที่มีความสวยงามประกอบด้วยหินทรายสีขาวสวยที่เกิดจากการสะสมตะกอนทรายและดินเหนียว แข็งตัวกลายเป็นหิน ลักษณะหินกลุ่มต่าง ๆ เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกบีบอัดจนเกิดการคดโค้ง แตกหักกัดเซาะทั้งแนวตั้ง แนวนอน สร้างสรรค์เป็นรูปต่าง ๆ ตามจิตนาการของผู้พบเห็น และคิดกันไปต่าง ๆ นานา ซึ่งกลายเป็นเป็นชื่อของกลุ่มหินหลายกลุ่มที่เรียงราย แตกต่างอย่างที่ได้เห็น
เราบุกขึ้นไปยังหน้าผาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติภูแลนคาในช่วงของมอหินขาว ความสูง 950 เมตรในระดับน้ำทะเล ทำให้บรรยากาศบนนี้เย็นสบายพอสมควร แม้ว่าอากาศในช่วงบ่ายแก่ๆ จะร้อนแรงบ้าง พวกเราก็พาสังขารลุยขึ้นมาถึง ผาหัวนาค มีถ่ายรูปพระบาทจำลองที่อยู่ใกล้กับเนินผาหัวนาค ถ่ายรูปกับหน้าผาที่ยื่นออกไป ให้เราเสี่ยงกันเล่นเพื่อ แสดงสปิริตแห่งความกล้าท้าโลก หลายคนก็ห้อยขาลงหน้าผาเพื่อความสะใจ ต่างก็ถ่ายรูปกันสนุกสนาน ก่อนจะอำลา ผาหัวนาค ลงมายังรถสองแถวที่แสนอืดอาด นำเราลงลงภูเพื่อไปดูหินกลุ่ม โขลงช้าง ซึ่งอยู่ล่างลงไปอีกนิดหนึ่งก็หลายร้อยเมตรที่เราลุยกันขึ้นมา เราลงมาถึงดินแดนกลุ่มหินโขลงช้าง จะเห็นรูปร่างของหินในชุดนี้ คล้ายกับฝูงช้างป่า ที่เข้ามารวม ตัวกันอยู่ตรงนี้ มีแห่งหินรูปทรงต่าง ๆ ตัดกับทุ่งหญ้าดอกไม้ป่าแสนโรแมนติกมา เดินชมกันอย่างเพลินตาก็ต้องกลับแล้ว
รถสองแถวคันเดิม นำเรากลับมาถึงที่ทำการชั่วคราวของอุทยานแห่งชิตภูแลนคา ซึ่งตั้งประจันหน้ากับกลุ่ม มอหินขาว ที่มีชื่อเสียงโด่งดังกับ เสาหินขยาดยักษ์ 5 ต้นตั้งเรียงรายกันอย่างมีมิติ วัดความสูงจากพื้นดินประมาณ 12 เมตร เสาแต่ละต้นมีรูปร่างขนาดใหญ่รูปร่างก็แตกต่างกันไป ใครจะจินตนาการอย่างไรนั้นก็คงไม่มีใครว่า เสาต้นใหญ่ที่สุดที่มีคนบอกว่าสามารถนำเอาคน 22 คนมากางแขนโอบล้มเสาต้นนี้ถึงจะได้ เสาบางต้นกลับมีพระพุทธรูปที่ชาวบ้านนำมาประดิษฐานไว้ตั้งนานแล้ว ให้คนได้กราบสักการบูชา ในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนี้มักจะเรียกตรงนี้ว่า มอหินขาว เพราะอยู่ในเชิงเขาแต่เป็นพื้นราบ ทำให้หลายคนไปเปรียบเทียบว่าเหมือน สโตนเฮนจ์ เลยมีชื่อเรียกตามมามากมาย
มอหินขาว ทางจังหวัดชัยภูมิและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิต่างจับมือกันเพื่อสร้างสรรค์และปรับพื้นที่ของมอหินขาว ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในอนาคตอันใกล้นี้จะสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณูปโภคครบวงจร เพื่ออำ นวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาสัมผัสกับความงดงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้นมา มอหินขาว กำลังจะได้รับ การบูรณะพื้นที่ในอุทยานแห่งนี้เพื่อสนองการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมดหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาว จะเป็นไฮซีซั่น ที่มอหิน ขาวจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสามารถมานอนนับดาวบนพื้นที่แห่งนี้ได้ เราถ่ายรูปกันอย่างหนำใจ ก่อนที่จะจากลามอหิน ขาวเพื่อเดินทางไกลกว่า 90 กิโลเมตร เพื่อไปสัมผัสประเพณีแห่กระธูปออกพรรษา ของชาวอำเภอหนองบัวแดง
เราออกเดินทางจากอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เดินทางไกลจนมาถึงอำเภอหนองบัวแดง ที่มีประเพณีการแห่งกระธูป หนึ่งเดียวในโลก ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า ในวันออกพรรษาชาวพุทธมักจะถวายสักการะพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดีงส์หลังจากไปโปรดพุทธมารดา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองของชาวพุทธในแดนอีสาน โดยเฉพาะชาวหนองบัวแดง จึง จัดทำต้นกระธูปด้วยการนำเอาขุยมะพร้าวที่ขยี้จะละเอียดผสมกับใบไม้หลายอย่าง เอามาติดไม่ทำคล้ายกับธูป ซึ่งสมัยนี้ใช้ธูปนำเอากระดาษสีมีพันกันด้วยสีสันที่ตัวเองชอบ นำมาติดกับปลายไม่ที่ผูกเอาไว้ระโยงระยางสร้างสีสันได้อย่างสวย งามด้วยศิลปะพื้นบ้านในการตกแต่ง แล้วนำมาแห่กันตั้งแต่บ่ายจนกระทั่งค่ำ แล้วนำไปถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระสงฆ์
การต้อนรับของชาวอำเภอนองบัวแดง ยิ่งใหญ่มากด้วยนางรำที่มาฟ้อนต้อนรับมากกว่า 500 คนแต่งตัวด้วยสีเหลืองสดใส เพื่อรำถวายพุทธบูชาพร้อมทั้งต้อนรับคณะรัฐมนตรีฯคณะผู้ว่าราชการ และผู้ใหญ่ในจังหวัด นับว่าเป็นครั้งแรก ในการต้อนรับเสนาบดีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ชาวอำเภอหนองบัวแดงภาคภูมิใจ งานนี้ นายเจริญ จรรย์โก มล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ามาเป็นประธาน ในการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ กับการฟ้อนพื้นเมืองของชาวอำเภอ หนองบัวแดง ที่คัดสาวสวยมาทั้ง 9 ตำบล ๆ ละ 50 คนรวมทั้งผู้เข้ามาแสดงร่วมอีกรวมกว่าห้าร้อยคน ยิ่งใหญ่ตระการตา มาก ทำให้บรรยากาศแห่งการต้อนรับสนุกสนาน การฟ้อนรำถวายเป็นพุทธบูชาต้อนรับแล้ว ก็ยังมีการแสดง แสง สี เสียงประกอบให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสร้างสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งชาวพุทธเฉลิมฉลองกัน
มีการแสดงละครเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้คนได้รู้ มีการจุดพลุแสงไฟตลอดเพื่อให้รู้ว่าเทศกาลออกพรรษา ต่อนี้ไปชาวพุทธที่มีความเคารพเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จะได้จัดงานประเพณีบุญกระธูปออกพรรษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในโลกเช่นกัน ที่ชาวอำเภอหนองบัวแดง ชัยภูมิ ภาคภูมิใจว่าเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจของชาวก๊อกแก๊กทัวร์ ซึ่งไม่ได้เห็นประเพณีแบบนี้จากที่ไหน ก่อนที่พวกเราจะเดินเข้าไปทานอาหารค่ำกันในโรงเรียนที่อยู่หน้าอำเภอหนอง บัวแดงที่ให้การต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ทานอาหารค่ำที่เป็นอาหารพื้นเมืองทั้งสิ้น อย่างอร่อยจนลืมไม่ลงเลย ถึงเวลาที่เราจะต้องอำลาชาวหนองบัวแดง เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการปิดเกมก๊อกแก๊กทัวร์ในทริปชัยภูมินี้
“เคาะประตูเมืองพญาแล”ที่ชัยภูมิ ปิดฉากลงอย่างสวยงามและประทับใจเพื่อนร่วมทางทุกคน.