เยี่ยมเยือน “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว”
ณ จังหวัดลำพูน สุโขทัย อุทัยธานี และสิงห์บุรี
เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา
นายอภิชาติ อินทร์พงษ์พันธ์ รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เด็กๆที่ได้รับผลกระทบต้องกำพร้าสูญเสียพ่อแม่ไปจากเหตุการสึนามิในปี พ.ศ. 2547 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆเหล่านี้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากหน่วยงานต่างๆที่เขามาดูแล ด้วยการจัดการตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้เด็กๆเข้ามาทำกิจกรรม เรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว จะได้นำไปใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน มาเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่เด็กๆพักอาศัยอยู่ จนโครงการได้รับรางวัล PATA Gold Award 2013 สาขา Education & Training จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Pacific Asia Travel Association) ในปี พ.ศ. 2556
ในปีแรกจัดตั้งใน 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิก่อน ได้แก่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ต่อมาในปี 2551 ได้ลงนามความมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ให้ครบทุกจังหวัด 84 โรงเรียน ทั่วประเทศ และมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน ในระดับประถมถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ถือเป็นความร่วมมือแบบบูรณาการร่วมกันระหว่าง ททท. กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะส่งเสริมให้เยาวชนทั่วภูมิภาคของประเทศ มีความรู้ในเรื่องการท่องเที่ยว รู้จักแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เข้าถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคภูมิใจในวิถึของตนเอง เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ให้การต้อนรับให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเจ้าบ้านน้อยที่ดีแก่ผู้มาเยื่อนและนักท่องเท่ียวได้เป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ 21 - 23 กุมภาพันธ์ ททท.ได้จัดให้ขณะสื่อมวลชนไป เยี่ยมเยือน “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ณ จังหวัดลำพูน สุโขทัย อุทัยธานี และสิงห์บุรี โดยท่านรองอภิชาติ อินทร์พงษ์พันธ์ุ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำทีมไปเอง รถออกจากอาคาร ททท.เช้าวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ กว่าจะเดินทางถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน ของจังหวัดลำพูน ก็เย็นจะค่ำแล้ว ท่านวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พาไปทานข้าวเย็นและส่งเข้าที่พักเป็นที่เรียบร้อย
คณะของเราเดินทางมาถึงศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวที่ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา จังหวัดลำพูน เป็นท่ีแรกในการเยี่ยมยืนครั้งนี้ คุณสายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานอำนวยการ และท่านเกษม ตรีอิน ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้การต้อนรับพาเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา เป็นโรงเรียนประจำนักเรียนกินนอนอยู่ที่โรงเรียน เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กกรำพร้าที่พ่อแม่ตายด้วยโรคเอดส์ เด็กที่ติดเชื้อเอดส์ และเด็กด้อยโอกาสที่ไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดู
คุณสายสม วงศาสุลักษณ์
คุณสายสม วงศาสุลักษณ์ เล่าให้ฟังว่า “ช่วงที่ทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์ช่วยป็นนักเรียนที่เป็นเด็กกรำพร้าที่พ่อแม่ตายด้วยโรคเอดส์ ชาวบ้านไม่เข้าใจก็ต่อต้านไม่ใครให้เงินบริจาก แต่พอได้รับไปรับพระราชนุญาติให้อัญเชิญ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาติให้อัญเชิญพระนามาภิไธย ย่อ “ส.ธ.” ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ประดิษฐานเหนือชื่อโรงเรียน ชาวบ้านก็เริ่มเข้าใจไม่ต่อต้านและยังช่วยบริจากเงินให้กับโรงเรียนของเราอีกด้วย ทำให้โรงเรียนของเราพัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน” ภายในพึ้นของโรงเรียนได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ทำโครงการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งทำนาปลูกข้าว สีข้าวเอง ปลูกผัก เลี้ยงปลา, หมู, ไก่ นำขี้ไก่ไปทำปุ๋ย เอาขี้หมูไปหมักทำก๊าซชีวภาพ ผลผลิตทั้งหมดนำมาทำเป็นอาหารให้แก่นักเรียน ถ้าเหลือจึงนำออกขายสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนอีกทางหนี่ง นับเป็นโรงเรียนต้นแบของ “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ที่โรงเรียนทั่วประเทศมาเรียนรู้ศึกษาดูงานได้เลยครับ
เดินทางออกจากจังหวัดลำพูนในช่วงบ่ายเพื่อเข้าเยี่ยมเยือน “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ที่โรงเรียนวัดคลองโปร่ง (ธรรมภาณบำรุง) จังหวัดสุโขทัย มีท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และท่านสมชาย ฤทธิ์เสือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้การต้อนรับ ที่ศูนย์นี้มีความพร้อมอย่างมากที่จะเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ของจังหวัดสุโขทัย อุปกรณ์ทันสมัยจอโปรเจ็คเตอร์เป็นแบบทัชสกรีน นักเรียนก็มีความตั้งใจในการหาความรู้ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด สมกับที่ได้รับมอบหมายให้มานำเสนอให้กับคณะของเรา ในฐานะเจ้าบ้านน้อยที่ดี เป็นตัวแทนนำเสนอข้อมูลแห่งท่องเที่ยวที่สำคัญในแต่ละอำเภอ ตกเย็นเจ้าบ้านน้อยที่ดี พาไปกราบขอพรพระพุทธรัตนสิริสุโขทัย ประดิษฐาน ในมณฑปจัตุรมุขสีเงินยวง ดูอาทิตย์ลับขอบฟ้า ณ ทุ่งทะเลหลวง แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจ แหล่งท่องเท่ียวยั่งยืนของจังหวัดสุโขทัย เป็นการปิดท้ายรายการของวันนี้
ช่วงสายๆ ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เข้าเยี่ยมชม “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ที่โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฎฐาราม จังหวัดอุทัยธานี คุณศรีเรือน ชุติพงษ์วิเวท ผู้อำนวยการโรงเรียน บรรยายสรุปให้คณะของเราฟังว่า “โรงเรียนของเราได้ทำตามนโยบายของโครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว เช่นห้องศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวพร้อมป้ายของศูนย์ที่หน้าห้อง คอมพิวเตอร์พร้อมจอ 2 เครื่อง บอร์ดติดรูปแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และคัดเลือกนักเรียนเป็นเจ้าบ้านน้อยที่ดีของโรงเรียน” ภายในศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวอากาศเย็นสบายอยู่บนชั้น 3 ของอาคารเรียน เจ้าบ้านน้อยที่ดีพาชมอธิบายแหล่งท่องเที่ยวตามบอร์ดที่จัดแสดงไว้ได้อย่างคล่องแคล่ว เสียดายที่เจ้าบ้านน้อยที่ดีไม่ได้พาชมแหล่งท่องเที่ยวในสถานที่จริง เนื่องจากคณะของเรามีเวลาน้อย
ปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชม “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” ที่โรงเรียนมัธยมเทศบาล 4 จังหวัดสิงห์บุรี ท่านธีรพงศ์ ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนให้การต้อนรับ บรรยาสรุปพร้อมชมการแสดงของเจ้าบ้านน้อยที่ดีตัวแทนของโรงเรียน ที่ห้องศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวของโรงเรียนนี้จะใหญ่กว่าโรงเรียนอื่นๆที่ไปเยี่ยมเยือนมาประมาณ 2 เท่า มีอุปกรณ์เพื่อการศึกษาด้านการท่องเที่ยวครบ ตามโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และที่สำค้ญทางโรงเรียนยังเตรียมเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน” (AEC) ในปี พ.ศ. 2558 อย่างเต็ม ตัวด้วยการจัดให้ศูนย์ AEC อยู่ติดกับห้องศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เรียนได้เรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักเพื่อนบ้าน “ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน” ไปด้วยเลย เพราะประเทศของเป็นศูนย์กลางของ AEC ต้องมีความพร้อมกว่าเพื่อนบ้านในอาเชียน
ก่อนเดินกลับ ท่านรองอภิชาติ อินทร์พงษ์พันธ์ุ สรุปให้ฟังว่า “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว เป็นโครงการที่ดีของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโครงการหนึ่ง ที่ให้โอกาสเด็กๆท้่วประเทศในฐานะเจ้าบ้านน้อยที่ดี เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของไทย โครงการนี้ต้องพัฒนาต่อไป ในปีนี้จะลงนามเป็นพันธ์มิตรกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อจะนำเอาเด็กๆเหล่านี้เข้าไปในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น” นับเป็นเดินทางที่ดีทริปหนึ่ง ได้เรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวที่ยังไม่เคยรู้ ได้สัมผัสกับชีวิตจริงและโอกาสของเด็กๆที่แตกต่างกันไป ในแต่ละโรงเรียนในแต่ละจังหวัด ความแตกต่างกันนี่แหละที่ทำให้ “ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว” มีประโยชน์แก่เด็กๆเหล่านี้ น่าจะทำให้โอกาสของพวกเขาเท่าเทียมกัน อยู่ที่ตัวพวกเขาเองที่จะหยิบเอาโอกาสเหล่านี้ไปหรือไม่