http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,442
Page Views16,266,772
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

คำเตือนจากศูนย์มรดกโลก

คำเตือนจากศูนย์มรดกโลก

คำเตือนจากศูนย์มรดกโลก

แปลโดย ธนพล สารนาค

สถานะการอนุรักษ์ ปี 2556

สถานะของการอนุรักษ์ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี 2526

(State of Conservation (SOC), Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex)

ภารกิจ / Missions

February/March 2012: joint UNESCO/IUCN reactive monitoring mission. 

2012

Report on the mission toDong Phayayen – Khao Yai Forest Complex, Thailand from 28th February to 6th March, 2012

ปัจจัย / Factors

ที่มีผลกระทบต่อผืนป่าฯ(property)ที่ระบุไว้ในรายงานก่อนหน้านี้

1.การขยายทางหลวงหมายเลข 304

2.การกระจายตัวของป่า, การเชื่อมต่อและความจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่เชื่อมต่อด้านนิเวศวิทยา (ecological corridors)

3.การรุกล้ำ

4.การวางแผนจัดการ

5.การท่องเที่ยวและระดับผู้มาเยือน

6.เขื่อนและการเลี้ยงวัว

มาตรการแก้ไข /Corrective Measures - - -

ประเด็นการอนุรักษ์ในปัจจุบัน / Current conservation issues

ในวันที่ 1 มกราคม 2556 ประเทศไทยได้ส่งรายงานสถานการณ์อนุรักษ์ผืนป่าฯ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการขยายทางหลวงหมายเลข 304 การบุกรุกที่ดิน และการวัวเลี้ยงภายในพื้นที่ผืนป่าฯ และการก่อสร้างเขื่อนห้วยสโมง.รายงานเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบสิ่งด้านแวดล้อมและแผนการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเขื่อนห้วยสโมงได้ผนวกไว้ในรายงาน. นอกจากนี้ประเทศไทยได้ส่งการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าและโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 304 ไปยังศูนย์มรดกโลกในเดือนพฤศจิกายน 2012. ซึ่งเกี่ยวข้องกับส่วนหนึ่งของถนนข้ามแนวเขตของผืนป่าฯ. รายงานดังกล่าวรวมถึงรายละเอียดและการประเมินตัวเลือกที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าสำหรับโครงการการขยายถนนจากกิโลเมตรที่ 26 - 29 บนทางหลวงหมายเลข 304

) การขยายทางหลวงหมายเลข 304

ทางหลวงหมายเลข 304 ตัดผ่านเขตแดนร่วมกันของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลาน สองส่วนจากกิโลเมตร 26-29 และจากกิโลเมตร 42-57. ประเทศไทยรายงานว่าการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าและโครงการขยาย ทางหลวงหมายเลข 304 (ส่วนกิโลเมตร 26- 29) อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมทางหลวง คำแปลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมฉบับภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์ในส่วนของการขยายทางหลวงนี้คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่ได้รับ.

คำแปลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมฉบับภาษาอังกฤษที่แนบมากับรายงานประเทศไทยในปัจจุบันแสดงตัวเลือกสำหรับการก่อสร้างพื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าและระบุตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด. แต่ก็ไม่ได้นำเสนอการประเมินตัวเลือกที่แตกต่างกัน, และให้เพียงข้อมูลสรุปเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของตัวเลือกที่ต้องการและมาตรการลดผลกระทบในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างเท่านั้น. ข้อมูลไม่ได้นำเสนอข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณค่าที่โดดเด่นระดับสากล (Outstanding Universal Value / OUV) ของผืนป่าหรือไม่ก็รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ในการดำเนินการมาตรการลดผลกระทบ. นอกจากนี้ ยัง ไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบที่จะต้องดำเนินการหลังจากขั้นตอนการก่อสร้าง.สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) พิจารณาว่าข้อมูลที่ให้โดยประเทศไทยไม่ได้มีรายละเอียดเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการขยายทางหลวงหมายเลข 304 จะไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสมบูรณ์ของผืนป่าและคุณค่าที่โดดเด่นระดับสากล(OUV). ประเทศไทยให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการ ดำเนินการใน จำกัดความเร็วและการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องทางหลวงที่ตัดผ่านผืนป่า, รวมทั้งจุดตรวจและทีมงานลาดตระเวนในการตรวจสอบความเร็วของยานพาหนะ, เครื่องกั้นการจราจรและหยุดที่ส่วนสำคัญของทางหลวง, ป้ายเตือนและสื่อความหมายที่ส่วนที่เป็นอันตรายและจำกัดการเข้าถึงถนน(ปากช่อง-เขาใหญ่)ในเวลากลางคืน. การบังคับใช้กฎหมายการจำกัดความเร็วที่เหมาะสมตามเส้นทางเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ, ที่สังเกตว่าถนนสายนี้หรือมีศักยภาพที่จะนำมาใช้กับถนนที่ตัดลัดผ่านผืนป่า. ประเทศไทยรายงานว่าถนนหมายเลข 3436 (.........................................) ที่แบ่งครึ่งผืนป่าได้รับการปิดใช้, พร้อมกับจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าและตรวจสอบในพื้นที่. ศูนย์มรดกโลก และไอยูซีเอ็น / IUCN ทราบว่าถนนสายอื่นๆที่ตัดผ่านผืนป่ายังคงเปิดใช้.

ข) การบุกรุก / Encroachment

ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้รายงานการดำเนินการตามมาตรการเข้มงวดที่จะหยุดการบุกรุกที่ดินภายในผืนป่า. รายงานปัจจุบัน ยังให้รายละเอียดการดำเนินการเพิ่มเติม, รวมทั้งการตรวจสอบระดับการบุกรุก (การทำแผนที่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2557) และมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง. หลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินกำลังถูกแก้ไขระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติและชุมชนท้องถิ่นพร้อมกับมีการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องระหว่างองค์กรต่างๆและชุมชนโดยรอบ. ประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าการรุกล้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่การจารึกผืนป่าลงในบัญชีมรดกโลก, ในทางตรงกันข้าม รายงานจำนวนมากที่ได้รับจากไอยูซีเอ็น. / IUCN แสดงให้เห็นการรุกล้ำที่เพิ่มขึ้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวเขตตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติทับลาน. ไอยูซีเอ็น. / IUCN เป็นห่วงกับรายงานของหนังสือพิมพ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นความอ่อนแอของความพยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้และตั้งข้อสังเกตว่าผืนป่ายังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักจากการบุกรุกและการใช้ที่ดินที่อยู่ใกล้เคียง.

ค) การตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย / Illegal logging

ไอยูซีเอ็น. / IUCN ได้รับรายงานการตัดไม้ชิงชันอย่างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นโดย แก๊งติดอาวุธจำนวนถึง 30 บุคคลภายในแนวเขตผืนป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่และอุทยานแห่งชาติตาพระยา, รวมทั้งการตายอย่างอนาถของพนักงานลาดตระเวนในเดือนมีนาคม 2556. รายงานการเก็บไม้หอม(aloewood)ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และส่วนน้อยในส่วนประกอบอื่น ๆ ผืนป่ายัง เป็นที่เป็นห่วง. การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายและการค้าไม้ชิงชันระหว่างประเทศและชนิดพันธุ์ที่มีค่าอื่นๆอย่างผิดกฎหมาย คุกคามโดยตรงต่อคุณค่าโดดเด่นระดับสากลและก่อให้เกิดความกังวลอย่างยิ่ง. จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการจัดการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และทำให้แน่ใจว่าคุณค่าโดดเด่นระดับสากลจะยังคงดำรงอยู่. นอกจากนี้ยัง ควรรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศอื่น ๆ ที่มีไม้ชิงชัน และประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าไม้ชิงชันและไม้ที่มีคุณค่าชนิดอื่น ๆ อย่างผิดกฎหมาย (กัมพูชา จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย และ เวียดนาม). ศูนย์มรดกโลก(World Heritage Centre)ได้ร้องขอให้ประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานี้เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556. แต่ยังได้รับความคิดเห็นแต่อย่างใด.

ง) เขื่อนห้วยสโมง  / Huay Samong Dam

ประเทศไทยยืนยันว่าการก่อสร้างเขื่อนห้วยยังคงต่อเนื่องและแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกำลังทำการลดผลกระทบต่อคุณค่าโดดเด่นระดับสากลของผืนป่าในระหว่างการก่อสร้าง. แต่รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อจำกัดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้างถูกจำกัด. ประเทศไทยระบุว่าพื้นที่ผืนป่าที่ถูกน้ำท่วมเมื่อการก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จจะทำหน้าที่เป็นโซนการป้องกันการรุกล้ำ. แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำเนินงานของแผนงานเหล่านี้และการกระทำที่เฉพาะเจาะจง หากมี การดำเนินการอยู่แล้ว. รายงานที่ได้รับแสดงให้เห็นว่ามีความคืบหน้าเกี่ยวกับการกำกับดูแลพื้นที่อ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการให้อำนาจกรมอุทยานเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่อ่างเก็บน้ำเพื่อป้องกันการลอบล่าสัตว์โดยใช้ เรือประมงที่จะเข้าไปในอุทยานต่างๆ. ปัญหานี้ได้ รับการระบุว่าเป็นปัญหาที่แหล่งอื่น ๆ ที่กรมอุทยานแห่งชาติไม่ได้มีอำนาจที่จะยับยั้งอาชญากรรมในน้ำ ในขณะที่การจัดการเป็นของหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับผืนป่า. ประการสุดท้าย ไอยูซีเอ็น. / IUCN ตั้งข้อสังเกตว่าควรพิจารณาความเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การแนะนำชนิดปลาเชิงพาณิชย์ต่างถิ่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ, และควรแนะนำอย่างจริงจังว่าควรจะนำมาตรการป้องกันไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการนำชนิดปลาต่างถิ่นเข้าไปโดยเจตนาหรืออุบัติเหตุ. ศูนย์มรดกโลกได้ร้องขอประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556. แต่ยังไม่ได้รับความเห็นแต่อย่างใด.

) การ เลี้ยงวัว / Cattle grazing

ประเทศไทยรายงานว่าระดับของการเลี้ยงวัวอย่างผิดกฎหมายในผืนป่าได้ดีขึ้นตามจำนวนปศุสัตว์ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมาตามความพยายามในการบริหารจัดการ, และรายงานอย่างต่อเนื่องในความพยายามที่จะนำการเลี้ยงวัวเพื่อการดำรงชีวิตที่มีขนาดเล็กออกไปจากผืนป่าอย่างสมบูรณ์. แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ทำตามคำแถลงที่ชัดเจนในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาการปล่อยวัวให้กินหญ้าในระยะยาว โดยบริษัทการเกษตรเชิงพาณิชย์ตามรายงานของคณะทำงานปี 2555 (2012 mission report) และของคณะกรรมการมรดกโลก. ผลกระทบจากการเลี้ยงวัวแบบนี้อาจเกิดขึ้นต่อผืนป่ามีนัยสำคัญมากกว่าที่เกิดจากการตั้งกระท่อมขนาดเล็กเพื่อดูแลวัวในเวลากลางคืน. ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น. / IUCN พิจารณาว่าปัญหาวัวจำนวนมาก, การเลี้ยงไปทั่วบริเวณ, ยังคงเป็นเรื่องซับซ้อนในการกำจัดการเลี้ยงวัวขนาดเล็กเพื่อการดำรงชีวิตและจะต้องมีเจตจำนงทางการเมืองระดับสูงและการบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มขึ้น.

ฉ) การวางแผน การบริหารจัดการ รวมถึงการวางแผน การท่องเที่ยว / Management Planning, including tourism planning

ประเทศไทยแสดงความพยายามหลายประการที่จะดำเนินการกับการวางแผนการจัดการผืนป่ารวมทั้งการแก้ไขแผนการจัดการฉบับปี 2549. ร่างแผนจัดการฉบับแรกได้รับการแก้ไขยังไม่ได้นำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาโดยคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้องหรือคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด. นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการแบ่งเขตจัดการสำหรับผืนป่าเพื่อช่วยให้ในการบริหารและการควบคุมการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและบันทึกความตั้งใจและความสนใจในการทำงานร่วมกับศูนย์มรดกโลกในเรื่องนี้. แต่ ยังไม่แผนที่(map)หรือข้อบ่งชี้ว่าการแบ่งเขตจะมีการดำเนินการเมื่อใดหรือว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างไร.

ประเทศไทยให้รายละเอียดและความเป็นมาในประเด็นการดำเนินการวางแผนด้านการท่องเที่ยว, รวมทั้งความสะดวกในการเข้าถึงจากเส้นทางหลักที่สำคัญและความนิยมของแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากการลงบัญชีในฐานะผืนป่ามรดกโลก. แต่ก็ ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาในการวางแผนดังกล่าวหรือการบูรณาการไว้ในแผนบริหารจัดการผืนป่าโดยรวม.

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น. / IUCN ทราบความพยายามเหล่านี้ แต่มีความกังวลว่าเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดูแลการป้องกันอุทยานบางแห่ง (เช่น ดงใหญ่ และ ปางสีดา),  รวมทั้งการขาดทรัพยากรอย่างเพียงพอสำหรับการลาดตระเวนป้องกันการรุกล้ำที่มีประสิทธิภาพในอุทยานทั้งห้าแห่ง ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการผืนป่า. ในเรื่องดังกล่าวไอยูซีเอ็น. / IUCN มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับรายงานที่แสดงให้เห็นว่าประชากรของสัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิดขณะนี้ลดจำนวนลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับการใกล้การสูญพันธุ์ , วัวแดง และเสือโคร่ง, ที่มีประชากรในผืนป่าคาดว่าจะต่ำกว่า 30 และ 20 ตัว ตามลำดับ. ศูนย์มรดกโลกได้ร้องขอให้ประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556. แต่ยังไม่ได้รับคิดเห็นแต่อย่างใด.

การวิเคราะห์และ ข้อสรุป / Analysis and Conclusion

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.ทราบว่าการขยายทางหลวงหมายเลข 304 นอกผืนป่าเสร็จสิ้นแล้ว ได้นำไปสู่ การเพิ่มขึ้นของการจราจรบนทุกส่วนของทางหลวง, และจนกว่าการก่อสร้างพื้นที่เชื่อมต่อทางนิเวศวิทยาจะเสร็จสมบูรณ์, ผลกระทบจากทางหลวง 304 ที่มีอยู่ต่อผืนป่ามีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อไป. ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.เสนอแนะให้คณะกรรมการมรดกโลกเรียกร้องให้ประเทศไทยเร่งการก่อสร้าง พื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพทางด้านนิเวศวิทยาตามแผนที่มีรายละเอียดและเสร็จสิ้นแล้ว, ได้รับการอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในสองส่วนของทางหลวง 304 ที่ตัดผ่านผืนป่า (กิโลเมตร 26-29 และกิโลเมตร 42-57) .

การประเมินขนาดและขอบเขตของการรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนผืนป่าปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายและการจัดการที่ดีขึ้น. ดังนั้น ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.จึงขอแนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกขอให้ประเทศไทยจัดลำดับความสำคัญของการทำแผนที่โดยละเอียดและปรับปรุงการประเมินการบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัย. ควรให้ลำดับความสำคัญกับการลดกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์อย่างผิดกฎหมาย, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการโดย บริษัทการเกษตรเชิงพาณิชย์, และการลักลอบตัดไม้ชนิดที่มีค่าในเชิงรุกที่มากขึ้นภายในแนวเขตผืนป่า.

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.ยังคงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในระหว่างและหลังการก่อสร้างเขื่อนห้วยสโมง รวมทั้งเสนอแผนสำหรับการนำเข้าชนิดพันธุ์ปลาต่างถิ่นและความจำเป็นในการบังคับใช้กฎระเบียบการจำกัดการเข้าถึงผืนป่าเมื่อน้ำเต็มอ่างเก็บน้ำ. ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.แนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกขอให้ประเทศไทยดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนและแผนรายละเอียดสำหรับการดำเนินการลดผลกระทบ, รวมทั้ง การดำเนินงานในระหว่างและหลังการก่อสร้างเขื่อน.

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.แนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกต้อนรับการแก้ไขแผนจัดการสำหรับผืนป่าและแผนการแบ่งเขต, และแนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกขอให้ประเทศไทยส่งเอกสาร(ที่ได้ปรับปรุงแล้ว), รวมทั้ง แผนจัดการด้านการท่องเที่ยวให้ศูนย์มรดกโลกเพื่อพิจารณา. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แผนจัดการที่ทันสมัยที่จะต้องมีลำดับความสำคัญที่ชัดเจนและมีตัวชี้วัดที่สามารถตรวจสอบได้ตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาการดำเนินงาน.

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.พิจารณาว่าคุณค่าที่โดดเด่นระดับสากลของผืนป่าที่ยังคงอยู่ภายใต้การคุกคามร้ายแรง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขยายทางหลวงหมายเลข 304, การบุกรุก, การทำไม้ที่มีมูลค่าอย่างผิดกฎหมาย, (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ชิงชัน) และการจัดการที่ย่ำแย่.

ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.เห็นว่ามีความคืบหน้าอย่างจำกัดกับการดำเนินงานตามคำแนะนำของคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 36 ปี 2555 ( การมติที่ 36 COM 7B.17 ) และรายงานการติดตามตรวจสอบ ปี 2555, และเห็นว่าระดับภัยคุกคามปัจจุบันสามารถรับรองการลงบัญชีผืนป่าในบัญชีมรดกโลกที่อยู่ในอันตราย(List of World Heritage in Danger) ถ้าไม่สามารถ แสดงให้เห็นความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 12 เดือนข้างหน้า. ศูนย์มรดกโลกและไอยูซีเอ็น.จึงแนะนำให้คณะกรรมการมรดกโลกขอให้ประเทศไทยคณะทำงานติดตามตรวจสอบของไอยูซีเอ็น.ไปยังผืนป่าก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 38 ในปี 2557, เพื่อประเมินความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำแนะนำ(ของคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 36 ปี 2555), และเพื่อให้คำแนะนำว่าผืนป่าจะตรงกับเงื่อนไขการลงบัญชีไว้ในบัญชีมรดกโลกอยู่ในอันตราย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 38 ปี 2557 (ที่นครโดฮา ประเทศกาต้า 15-25 มิถุนายน 2557) หรือไม่.

 

มติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 16-27 มิถุนายน 2556

ที่กรุงพนมเป็ญ ประเทศกัมพูชา

มติที่ 37COM7B.15

คณะกรรมการมรดกโลก
1 . มีการตรวจสอบเอกสาร WHC-13/37.COM/7B ,

2. นึกถึงการตัดสินใจที่ 36 COM 7B.45 ที่ได้ยอมรับในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 36 (นครเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก, รัสเซีย ปี 2555)

3. แสดงความเสียใจอย่างลึกซึ่งต่อครอบครัวของพนักงานพิทักษ์อุทยานที่ถูกฆ่าตายในระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อ ปกป้องผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
4. ตั้งข้อสังเกตด้วยความกังวลว่าการดำเนินการตามมาตรการของบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขผลกระทบจากงานขยายทางหลวงหมายเลข 304, โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามส่วนของทางหลวงภายในผืนป่า, ยังไม่ได้รับการดำเนินการและยังไม่มีกำหนดระยะเวลาของความสำเร็จและการ เรียกร้องให้ประเทศไทยเร่งการก่อสร้างพื้นที่เชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพทางด้านนิเวศวิทยา, โดยอาศัยแผนโดยรายละเอียดและเสร็จสมบูรณ์, การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งการประเมินตัวเลือกที่แตกต่างกันโยละเอียดและมาตรการที่วางแผนอย่างรอบคอบเพื่อบรรเทาผลกระทบในระยะยาวสำหรับทั้งในสองส่วนของทางหลวงที่ตัดผ่านผืนป่า

5. เน้นย้ำคำขอให้ประเทศไทยการดำเนินการและบังคับใช้การจำกัดความเร็วและการดำเนินการบรรเทา ผลกระทบบนถนนอื่น ๆ ที่ตัดผ่านผืนป่า และเพื่อการตรวจสอบและจำกัดการใช้ถนนอื่น ๆ เป็นทางลัดและเส้นทางการขนส่งผ่านผืนป่า

6. ร้องขอให้ประเทศไทยการดำเนินการประเมินระดับการบุกรุกให้ทันสมัยและการเพิ่มขึ้นใด ๆ นับตั้งแต่การลงบัญชีผืนป่าในบัญชีมรดกโลก, รวมทั้ง การทำแผนที่ที่มีรายละเอียดตามลำดับความสำคัญ และขอแนะนำให้ประเทศไทยพิจารณา ยื่นคำขอการปรับปรุงแนวเขตที่สำคัญที่จะไม่รวมพื้นที่รุกล้ำ ที่ไม่ได้นำไปสู่คุณค่าดีเด่นระดับสากล, และรวมถึงพื้นที่ที่มีคุณค่าการอนุรักษ์ระดับสูงที่อยู่ติดกัน, ตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องที่ระบุไว้ในแนวทางการดำเนินงาน(Operational Guidelines) และคำแนะนำของไอยูซีเอ็น.ก่อนหน้านี้.

7. นอกจากนี้ยังขอให้ประเทศไทยใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อหยุดการลักลอบตัดไม้ในผืนป่า, และให้แน่ใจว่าประชาชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำไม้ที่ผิดกฎหมายถูกเคลื่อนย้ายไปจากผืนป่า, และด้วยการสนับสนุนของประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชา, จีน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเวียดนาม, ในการหยุดยั้งการค้าไม้ชิงชันอย่างผิดกฎหมาย

8. นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าการก่อสร้างเขื่อนห้วยสโมงยังคงดำเนินการต่อไป และได้ย้ำคำขอให้ประเทศไทยดำเนินการบรรเทาที่จำเป็นทั้งหมด การบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินการยังยั้งการบุกรุกเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณค่าโดดเด่นระดับสากลของผืนป่า

9. นอกจากนี้ เน้นย้ำให้ประเทศไทยปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดของคณะทำงานติดตามตรวจสอบร่วมกันของ ยูเนสโก /IUCN ปี 2555, รวมถึงคำแถลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตและสถานะของการเลี้ยงวัวในผืนป่าภายในเดือนมิถุนายน 2557

10 . นอกจากนี้ได้ร้องขอให้ประเทศไทยเชิญคณะทำงานติดตามตรวจสอบของไอยูซีเอ็น.ไปยังผืนป่าก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 38 (ที่นครโดฮา ประเทศกาตาร์) ในปี 2557 เพื่อที่จะประเมินความคืบหน้า ในการดำเนินการตามคำแนะนำข้างต้น และตามรายงานของคณะทำงานติดตามตรวจสอบ ปี 2555 และเพื่อพิจารณาว่าผืนป่าควรได้รับการพิจารณาลงบัญชีไว้ในบัญชีมรดกโลกที่อยู่ในอันตราย (List of World Heritage in Danger) หรือไม่

11. การร้องขอนอกจากนี้ ให้ประเทศไทยส่งไปยังศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557, คือ รายงาน สถานะการอนุรักษ์ที่ทันสมัยและมีรายละเอียดของผืนป่า รวมถึงรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จตามคำแนะนำของคณะทำงานติดตามตรวจสอบปี 2555 และบรรดาการปฏิบัติตามเค้าโครงเหล่านั้น ที่ระบุไว้ข้างต้นเพื่อการตรวจสอบโดยคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 38 ในปี 2557.

ที่มา : http://whc.unesco.org/en/soc/1877

แปล : ธนพล สาระนาค / 20 เมย 57 / โทร 089-7410760

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view