http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,996,009
Page Views16,304,391
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปตท. ปตท.

ปตท. ปตท.

Jeadtanadee Naka ได้แชร์รูปภาพของ Goosoogong

23 hrs ·Goosoogong

เสียสละขนาดนี้ เก่งขนาดนี้ คสช. น่าจะพิจารณาสร้างอนุสาวรีย์ให้จริงๆจังๆซะแล้ว โดยเฉพาะชายคนนี้ ช่วงนี้เขาขยันย้ำกับสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

ประเด็นที่ประชาชนต้องตรวจสอบกันคือ เขาเสียสละจริง เขาเก่งจริงหรือเปล่า

เล่ห์เหลี่ยมของนักการเมืองที่ไปสมคบคิดกับกลุ่มนักวิชาโกงและกลุ่มทุนพลังงาน เพื่อควบรวมกิจการพลังงานของประเทศมีมาอย่างต่อเนื่อง หลายคนอาจมองไปที่วิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ว่าเป็นจุดเริ่มต้น

แต่บางทีเราอาจย้อนไปก่อนหน้านั้นสัก 5-6 ปี

ในช่วงปี พ.ศ.2535 เป็นสมัยต่อเนื่องรัฐบาล รสช. (การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆด้านพลังงานมักมาภายใต้เปลือกการรัฐประหารทั้งสิ้น) ปตท. (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ถูกแปรรูป)ได้มีการลงทุนในโรงกลั่น 2 แห่ง ได้แก่ โรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟนิ่ง ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง คาลเท็กซ์(เชฟรอน) กับ ปตท. และโรงกลั่นระยองรีไฟเนอรี่ (ปัจจุบันคือ พีทีทีโกลบอลเคมีคอล) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง เชล์ และ ปตท. นับเป็นโรงกลั่นแห่งที่ 5 และ 6 ของไทย

การที่ ปตท. เข้าไปลงทุนในโรงกลั่นทั้งสองแห่งนั้น (มีข้ออ้างว่า) สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐที่ต้องการให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาททุกช่วงห่วงโซ่การผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นการรักษาความมั่นคงทางพลังงาน
(ข้อน่าสังเกตคือ การร่วมทุนทั้งกับเชฟรอน และกับเชลล์ จะสร้างการแข่งขันในกิจการน้ำมันได้อย่างไร)

ปัญหาเพิ่มเติมคือการควบรวมกิจการโรงกลั่นน้ำมันของ ปตท. ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น และนำไปสู่การผูกขาดมากขึ้นด้วย 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และลูกตามน้ำคือการแปรรูป ปตท. ในปี 2544

เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ส่งผลให้ธุรกิจโรงกลั่นซึ่งมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมีหนี้เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงกลั่นไทยออยล์ และ ทีพีไอ จนกระทั่งในปี 2543 โรงกลั่นทีพีไอจำต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

รัฐบาลในขณะนั้น(ตรวจสอบกันเอาเองนะว่าใคร และช่วยกันตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยว่ามีนักวิชาโกงด้านพลังงานและกลุ่มทุนพลังงานเป็นแรงหนุนเสริมด้วยหรือไม่) ได้ใช้ข้ออ้างว่า กิจการโรงกลั่นมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ รัฐจึงมีนโยบายให้ ปตท. เข้าซื้อกิจการส่วนใหญ่ของโรงกลั่นไทยออยล์ และโรงกลั่นทีพีไอ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงกลั่นไออาร์พีซี

นอกจากนี้โรงกลั่นระยองรีไฟเนอรี่ ประสบปัญหาขาดทุนเป็นเวลาหลายปี กลุ่มบริษัทเชลล์จึงได้ขายหุ้นส่วนให้แก่ ปตท. ซึ่งได้เปลี่ยนขื่อเป็น ปตท.อะโรมาติกส์และการกลั่น(PTTAR)

ต่อมาได้ควบรวมเข้ากับ พีทีที เคมิคอล กลายเป็น พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC) ในท้ายที่สุด (บริษัทนี้เคยมีปัญหาเรื่องน้ำมันดิบรั่วครั้งใหญ่ที่เกาะเสม็ดไงจำกันได้ไม๊)

ส่วนโรงกลั่นบางจากก็ประสบปัญหาขาดทุนเช่นกัน ปตท. จึงได้เข้าไปกอบกู้กิจการ เหตุดังที่กล่าวไป จึงทำให้ ปตท. มีหุ้นส่วนในโรงกลั่น 5 แห่งด้วยกัน

และนี่คือส่วนขยายที่บิ๊กซีอีโอเอามาพูด เอามาทวงบุญ ทวงคุณกับคนไทยและผู้ถือหุ้นโรงกลั่นน้ำมันทั้งหลาย

แต่ส่วนที่เขาไม่ได้พูดล่ะคืออะไร ทำไมโรงกลั่นที่อยู่ภายใต้ ปตท. ถึงเอาตัวรอดมาได้ และขายน้ำมันได้ดิบได้ดีมีกำไร จนเจ้าอื่นที่ไม่ได้อยู่ภา่ยใต้สังกัด ปตท. สู้ไม่ได้ หรือว่าเป็นเพราะความเก่งกาจของ CEO ปตท. เขาจริงๆ ลองมาพิจารณาข้อมูลความจริงส่วนนี้กันดูหน่อยเป็นไร

สิ่งที่ CEO ปตท. ไม่เคยหยิบยกมาพูดเลยคือ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปตท. ได้รับสิทธิพิเศษในการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมให้กับรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐมาโดยตลอด (ซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ลองคิดถึง หน่วยงานของรัฐ อย่างกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศดูสิ จะเห็นว่าฐานการบริโภคใหญ่ขนาดไหน)

ก่อนการแปรรูป ปตท. คณะรัฐมนตรีก็มีมติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 เห็นชอบตามมาตรการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ป.) เสนอสำหรับหน่วยงานของรัฐ ในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ต้องสั่งซื้อโดยตรงจาก ปตท. หรือองค์กรที่ได้รับสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี

และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจที่กำหนดให้การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ต้องจัดซื้อจาก ปตท. โดยตรงโดยวิธีกรณีพิเศษ

สิทธิพิเศษนี้ไม่ผิดปกติอะไรเมื่อ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% เงินกองทัพจ่ายค่าน้ำมันมาให้ ปตท. ปตท. ก็เอามาจ่ายคืนรัฐแล้วนำไปลงทุนเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานต่อไป จ่ายกระเป๋าซ้ายย้ายมากระเป๋าขวา

แต่เมื่อ ปตท. แปรรูปเป็นเอกชนแล้วสิ ปัญหาเริ่มเกิด เพราะมันไม่ได้ย้ายจากกระเป๋าซ้ายไปแค่กระเป๋าขวาของรัฐบาลซะแล้ว แต่ย้ายลงกระเป๋านายทุนพลังงานอีกทางหนึ่งด้วย

ในปี 2544 เมื่อคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นมีนโยบายแปรรูป ปตท. ก็ยังมีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบแนวทางการแปรรูป ปตท. โดยให้ ปตท. คงสิทธิพิเศษในการขายน้ำมันกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่อไป ยกเว้นกรณีของ กฟผ. ที่ยังให้คงสัดส่วนการซื้อจาก ปตท. และการซื้อโดยวิธีประกวดราคาในสัดส่วน 80 ต่อ 20 ต่อไป ทั้งนี้ สิทธิพิเศษดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อ ปตท. หมดสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ (จนถึงปัจจุบัน ปตท. ก็ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ เพราะรัฐยังถือหุ้น ปตท. เกินครึ่ง)

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 เห็นชอบให้บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่นเดียวกับที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับ เนื่องจากมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทเช่นเดียวกัน

แต่ในปลายปี 2551 ก็ยกเลิกมติสิทธิพิเศษของบางจากออกไป เมื่อบริษัท บางจากฯ ได้พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว แต่ให้คงมติสิทธิพิเศษของ ปตท. ต่อไป เนื่องจาก บมจ. ปตท. รัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งยังถือว่าคงมีสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น รัฐบาล จึงเห็นควรให้คงสิทธิพิเศษประเภทบังคับสำหรับ ปตท. ต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุมระหว่างกรมบัญชีกลาง กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 ที่เห็นว่าสมควรให้คงสิทธิพิเศษประเภทบังคับต่อไปจนกว่า บมจ. ปตท. จะพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือจนกว่ารัฐบาลมีนโยบายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติต่อไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ว่ากรณีใดจะถึงกำหนดก่อน

ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด การให้สิทธิพิเศษโดยใช้อำนาจมหาชนของรัฐแก่ ปตท. ที่ถูกแปรรูปเป็นเอกชนไปแล้ว ไม่สามารถกระทำได้ แต่จนถึงทุกวันนี้ ปตท. ก็ยังได้สิทธิพิเศษผูกขาดขายน้ำมันให้กับหน่วยงานรัฐต่อไปเหมือนเดิม

เห็นสิทธิพิเศษแบบนี้แล้ว CEO ปตท. เก่งไม๊ล่ะ ที่ทำให้ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายในเรื่องนี้เลย อิ่มถ้วนหน้า

เขียนมาถึงตรงนี้ องครักษ์พิทักษ์ ปตท. คงอยากบอกให้ไปฟ้องศาล ศาลสั่งแล้วจะทำตามทันที คงเป็นวิธีที่พวกนี้ถนัด ใครอยากไปฟ้องศาลก็เชิญ แต่ที่นี่ขอฟ้องประชาชนด้วยกันนี่แหละ ความตื่นรู้ของประชาชนคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแล้ว


 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view