http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,002,193
Page Views16,311,014
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 106/2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 106/2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 106/2557

เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

อนุรักษ์หรือทำลาย

โดย ธงชัย เปาอินทร์

ภาพจากการเสวนา “ไม้หวงห้าม อนุรักษ์หรือทำลาย”

                พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ตีตรวน ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่า จะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เท่ากับเป็นการตีตรวนล่ามโว่ไม้สักแอละไม้ยาง ในช่วงเวลานั้นอาจเหมาะสม เพื่อการป้องกันและปราบปราม


                กรมป่าไม้ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าว มีกองป้องกันและปราบปรามป่าไม้ ตั้งหน่วยป้องกันรักษาป่าไปทั่วประเทศโดยใช้พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 เป็นเครื่องมือ แต่ไม้สักและไม้ยางและไม้ชนิดอื่นๆก็ถูกลักลอบตัดทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม 


                ทุกวันนี้หน่วยป้องกันป้องกันได้แค่พื้นที่หน่วยแห่งละไม่กี่ไร่ รอบๆ พื้นที่ออกโฉลด นส3.-นส3ก.และ    สปก.4-01 ฯลฯ ไปแทบสิ้นแผ่นดินป่าไม้

                เหมือนว่าจะโชคดีที่กรมป่าไม้ตราพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535 เพื่อให้ประชาชนปลูกป่าไม้สักและไม้ยางได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์  สามารถตีตราแล้วตัดขายเองได้ เหมือนการปลูกป่าภาคเอกชนของต่างประเทศทั่วโลก แถมอนุมัติงบประมาณให้ไปแจกชาวไร่ที่จะปลูกบนที่ดินกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายที่ดิน มีการทุจริตเกิดขึ้นมากมาย ป่าไม้ฆ่าตัวตาย ติดคุก ถูกไล่ออกจากราชการหลายคน


               ต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุบเลิก ป่าไม้จังหวัดและป่าไม้อำเภอ ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านธุรการป่าไม้  แต่ต่อมาตั้งป่าไม้เขตต่างๆขึ้นมาแทนเรียกศูนย์จัดการป่าไม้  ส่วนกระทรวงทรัพฯ ก็ตั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด   การติดต่อประสานงานต่างๆตามพระราชบัญญัติสวนป่าพ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 จึงต้องผ่านทั้งสองกรม หากขออนุญาต เกี่ยวกับป่าไม้ สวนป่า ต้องติดต่อทั้งสองหน่วยงาน ขั้นตอนมากขึ้น ปัญหาเพิ่มขึ้น


               เกษตรกรที่เคยปลูกป่าไม้สักและไม้ยาง ตัดทิ้งด้วยความเบื่อระบบ แล้วหันไปปลูกยางพาราและยูคาลิปตัสแทน การส่งเสริมให้เอกชนปลูกป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่าพ.ศ.2535 ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไม่มีเกษตรกรรายใดขอปลูกป่าไม้สักและไม้ยางหรือแม้แต่ไม้ชนิดอื่นๆอีกเลย ระบบราชการทำลายรากแก้วการ ปลูกป่าเป็นอาชีพ ยับเยิน


           สรุปสถานการณ์สั้นๆ ดังนี้คือ

              ช่วงแรก ปีพ.ศ.2484 วิสัยทัศน์ของคนโบราณ จับไม้สักและไม้ยาง ตีตรวนในมาตรา 7 มายาวนานกว่า73 ปี ในขณะนั้น คิดกันว่าต้องป้องกันด้วยกฎหมาย แต่ในความเป็นจริง เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้กลับใช้ข้อกฎหมายนั้นทำมาหากิน ทุจริต คอรัปชั่น ป่าไม้สักและไม้ยาง ก็หมดไปจากป่า ผืนแล้วผืนเล่า


              ช่วงที่สอง ปีพ.ศ. 2535 เหมือนว่าจะวิสัยทัศน์กว้างไกลใจถึง  เปิดให้ปลูกป่าไม้สักและไม้ยางได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสวนป่าพ.ศ.2535  คิดว่าน่าจะดี หลังจากอ่านแต่ละมาตราจึงเข้าใจแจ่มแจ้งแดงแจ๋ ตัดสินใจเดินไปถามนิติกรคนหนึ่งนั่งหน้าห้องอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น และเป็นอธิบดีผู้ตราพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ว่า แต่ละมาตราวางกับดักไว้ทุกขั้นตอน รีดไถกันตลอดตั้งแต่ปลูกจนถึงตัดขาย ทำทำไม เขาตอบว่า  “ก็เอาไว้หากินกันบ้าง”


             ช่วงที่สาม ปีพ.ศ.2555-2557 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายดำรง พิเดช  เป็นข่าวดังมากๆ ว่าเป็นมือปราบปรามไม้พะยูง แต่ความจริงไม้พะยูงที่ถูกลักลอบตัด 99.99% นั้น ตัดจากป่าในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การปกป้องต้นไม้ในป่าอนุรักษ์ล้มเหลว  เรียกว่า เอาไม่อยู่ ซึ่งหัวหน้าและเจ้าหน้าที่บางอุทยานแห่งชาติลงมือตัดขายเสียเอง


           ช่วงที่สี่ ปีพ.ศ.2557    ประกาศ คสช. ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ระกาศจับไม้พะยูงและพวกอีก 15 ชนิดไปตีตรวนร่วมกับไม้สักและไม้ยาง เป็นการคาดหวังของใครก็ตามที่หวังจะใช้กฎหมายคุ้มครองป้องกันพันธุ์ไม้ชนิดดีมีราคาแพงแบบเดิม วิสัยทัศน์เดิมๆ โบราณๆ


             โปรดฟังสักครั้ง  นี่คือประกาศจากอดีตข้าราชการกรมป่าไม้ ผู้เขียนหนังสือชื่อ การลงทุนปลูกไม้สักเพื่อการค้า ตีพิมพ์ถึง 5 ครั้ง เรียกร้องให้ปลดโซ่ตรวนไม้สักและไม้ยางมานานแสนนาน เพื่อให้คนไทยที่ชื่นชอบไม้สักและไม้ยาง ปลูกมันเป็นทรัพย์สิน ให้เป็นมรดกจากพ่อสู่ลูก ขอได้โปรดยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว ใช้ข้อความดังต่อไปนี้ ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 แทน


             “พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ไม้สัก ไม้ยางและไม้พะยูงกับพวกอีก 14 ชนิด ทั่วไปในราชอาณาจักรที่ขึ้นอยู่ในป่าอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและป่าสงวนแห่งชาติ เท่านั้นที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.  ไม้ชนิดอื่นในป่าดังกล่าว  จะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด  ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา”


             บริบทของคำว่า วิสัยทัศน์กว้างไกล(vision) ในต่างประเทศที่ปลูกป่าเป็นอาชีพเขาให้เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำสนับสนุน  กรมป่าไม้ของเขาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการป่าไม้ ทำการศึกษาและวิจัยเพื่อการพัฒนา ว่าควรปลูกไม้ชนิดไหน คุ้มค่าสูงสุด

              ซึ่งแตกต่างจากความคิดโบราณๆ(old fashion) ที่ใช้การตรากฎหมายเพื่อ ตีตรวนไม้สักและไม้ยางและไม้พะยูงกับพวกอีก 14 ชนิด หวังว่าจะคุ้มครองชนิดพันธุ์ไม้ แต่กลับทำลาย ด้วยการใช้กฎหมายเหล่านั้นเพื่อรีดไถทุกเม็ด ไถกันทุกขั้นตอน


             ด้วยความหวัง ปวงประชาจะคืนป่าสู่แผ่นดินด้วยความคิดที่เปิดกว้าง คนไทยทุกคนอยากปลูกป่าไม้สัก ไม้ยาง ไม้พะยูง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้เก็ดดำ ไม้............ในที่ดินกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายที่ดินของเขา เป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่งที่สร้างได้ ป่าเอกชนของใครของมันเหล่านี้คือป่าที่ปลูกจากใจคนอย่างแท้จริง

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view