http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,299
Page Views16,262,578
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผ่านงานหัตถศิลป์ล้านนา @ วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่

เรื่อง/ภาพ สุเทพ ช่วยปัญญา

    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เป็นอย่างมากจะเห็นได้ว่า ททท.ได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นท่องเที่ยวที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ กระจายรายได้สู่ชุมชน ทำให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โครงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผ่านงานหัตถศิลป์ล้านนา @ วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้จะถ่ายทอดคุณค่าผ่านสายตาเยาวชน ต้นกล้าตากล้องท่องเที่ยวไทย ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


     นายพรหมเมธ นาถมทอง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว นำคณะสื่อมวลชน มีทั้งทีวี นิตยสาร เว็บไซต์ ออกเดินทางจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร ด้วยรถตู้ทั้งหมด 3 คัน ในเช้าวันที่ 22 สิงหาคม 2557 เดินทางแบบสบายๆ เมื่อยก็พักหิวก็กินถึงจังหวัดเชียงใหม่ก็คำ่แล้ว ได้เวลาอาหารเย็นพอดีรับประทานอาหารเสร็จก็เช็คอินเข้านอนที่โรงแรม อิมม์ โฮเทล ท่าแพ อยู่หน้าประตูท่าแพพอดี เสาร์ - อาทิตย์ จะมีถนนคนเดินในนักท่องเที่ยวช้อปปิงด้วย


    09.00 น. ของวันที่ 23 สิงหาคม 2557 น้องๆจากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 40 คน เริ่มทยอยกันมาลงทะเบียน ต่อจากนั้น นายพรหมเมธ นาถมทอง ได้กล่าวเปิดงานว่า “โครงการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผ่านงานหัตถศิลป์ล้านนา @ วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้มีจุดประสงค์ให้น้องๆรักในการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ของชุมชน และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ เข้าสัมผัสในพื้อนที่ของเรา ชุมชนจะได้มีการพัฒนาเกิดความยั่งยืน การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) นั้นต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตในชุมชน ในเชิงการเรียนรู้และการทดลอง ชุมชนจะต้องสามารถใช้การจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการท่องเที่ยวภายในชุมชนและผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ทั้งในรูปแบบที่เป็นผลประโยชน์ตอบแทน ความยั่งยืนของการพัฒนาในชุมชน


      กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในครั้งนี้ จะถ่ายทอดคุณค่าผ่านสายตาเยาวชน “ต้นกล้าตากล้องท่องเที่ยวไทย” ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ น้องๆจะได้เรียนรู้การใช้กล้อง เทคนิคการถ่าย เพื่อนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ที่เป็นอยู่จริงในชุมชน ในมุมมองที่แปลกใหม่ผ่านเลนส์ของกล้องคอมแพ็ค ที่ไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมากมายจากเยาวชนเจ้าของพื้นที่ ปลูกฝังให้รักท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในบ้านเกิด ว่าบ้านของเราก็มีศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่สวยงามเหมือนกัน นอกจากนั้นน้องๆก็จะนำภาพถ่ายของตน นำไปแชร์ผ่านโซเชียนเน็ตเวิร์คต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ชักชวนให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในท้องถิ่นของพวกเขา”


      ต่อจากนั้นน้องๆเยาวชน “ต้นกล้า ตากล้อง ท่องเที่ยวไทย” รุ่นที่ 11 เข้าฟังบรรยายการใช้กล้อง เทคนิคการถ่ายภาพที่ถูกต้อง โดยมีนายภาคภูมิ น้อยวัฒน์ นักเขียนและช่างภาพจากอนุสาร อสท. เป็นวิทยากรบรรยาย น้องๆจะได้รับการแจกกล้องคอมแพ็คคนละตัว ทุกคนนั่งฟังการบรรยายอย่างตั้งใจ มีข้อสงสัยก็ซักถาม บางคนใจร้อนเอากล้องขึ้นมาถ่ายเพื่อนๆในห้อง หัวใจของการอบรมให้กับ “ต้นกล้า ตากล้อง” ทั้งหลายในครั้งนี้ ก็เพื่อจะได้ไปถ่ายทอด มุมมองใหม่ สร้างสรรค์ ผ่านงานหัตถศิลป์ล้านนา @ วัดศรีสุพรรณ ของพวกเขา ถ้าใช้กล้องเป็น ถ่ายภาพให้ถูกต้องตามหลักการและเทคนิคการถ่ายภาพ ผลงานที่ออกมาเป็นก็จะเป็นภาพถ่ายที่สวยงาม นำไปโพสในโซเชียนต่างๆ ชักชวนคนให้มาเที่ยวในท้องถิ่นได้อีกทาง


    ภาคบ่ายน้องๆ “ต้นกล้า ตากล้อง” ทั้งหลาย ได้เวลาลงพื้นที่ในภาคปฏิบัติ นำความรู้ที่ได้รับเมื่อเช้านี้มาปฏิบัติงานจริง โดยมีวัดศรีสุพรรณ และชุมชนศิลปวัฒนธรรมหัตถกรรมเครื่องเงินย่านวัวลาย เป็นโจทย์ให้น้องๆได้ถ่ายทอดความงามของวัดศรีสุพรรณ ที่มีพระอุโบสถเงินที่สร้างขึ้นมาใหม่ แทนโบสถ์ไม้หลังเก่าพุพังลงตามกาลเวลา พระเจดีย์ท่ีอยู่ด้านหลังพระวิหาร องค์พระพิฆเนศที่สร้างขึ้นใหม่และวิถีชุมชนวัวลาย ที่มีสลาแกะสลักแผ่นเงินให้ออกมาเป็นภาพต่างๆ ถ่ายทอดเลนส์ของกล้องคอมแพ็คออกมาให้เป็นภาพถ่ายที่สวยงาม


     น้องๆคนไหนไม่เช้าใจก็จะพี่ๆค่อยให้ความช่วยเหลือ แนะนำตอบคำถามด้านเทคนิค เสนอมุมมองให้บ้าง ความมุ่งมั่นของแต่ละคนไม่ต่างกันเลย บางคนก็ฉายเดี๋ยว อีกกลุ่มก็ไปกันสามสี่คน มุมไหนใหม่ แปลก ยาก เสาะหาเข้าไปถ่ายมาหมด ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อนเหงื่อไหลออกมาชุ่มกายก็ไม่มีถอย เป้าหมายมีอย่างเดียวกันคือภาพท่ีออกมาจากการกดชัตเตอร์ของพวกเขา ต้องสวยโดดเด่นไม่เหมือนใคร จากบ่ายไปจรดเย็น แดดเริ่มอ่อนแสงใกล้หมด ถึงเวลาที่ให้น้องๆจะต้องคัดภาพถ่ายคนละ 1 ภาพ เพื่อร่วมประกวดภาพถ่ายในวันรุ่งขึ้น


     เช้ามันนี้อากาศแจ่มใส่ฝนไม่ตก เยาวชน “ต้นกล้า ตากล้อง” ทั้งหลาย พกความมันใจกันมาเกินร้อยเกือบทุกคน มั่นใจว่าผลงานของตนเองต้องเข้าตากรรมการอย่างแน่นอน แต่ละคนจะต้องส่งภาพถ่ายของตัวเอง พร้อมตั้งชื่อภาพถ่ายให้น่าสนใจด้วย ก่อนคณะกรรมการจะต้ดสิน น้องๆแต่ละคนจะออกมาพรีเซนต์ภาพ บอกถึงความหมายของภาพ แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน ให้คณะกรรมเห็นด้วยกับแนวคิดของพวกเขา ซึ่งน้องๆ เยาวชนต้นกล้าตากล้องทำได้ดี ถึงแม้บางคนอาจพูดไม่เก่ง เล่าเรื่องชื่อภาพแบบขัดๆเขินๆ แต่ดวงตาเป็นประกายเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น สร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการ วิทยากรและสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก


      แล้วเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง กับการตัดสินประกวดภาพถ่ายในการอบรม “ต้นกล้า ตากล้อง ท่องเที่ยวไทย” ครั้งที่ 11 ได้แก่น้องธนกร นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่ คว้ารางวัลชนะเลิศ 1 ไปครอง ได้กล้องถ่ายภาพ 1 ตัว เป็นรางวัล ส่วนคนที่ได้รางวัลรองๆลงไปก็ดีใจไม่น้อยน่ากัน ต่างอวดโชว์ภาพของกันและกันอย่างภาคภูมิใจ เพราะทุกคนจะได้รับภาพถ่ายของตัวเองที่ส่งเข้าประกวดคนละ 1 ภาพ พร้อมประกาศนียบัตรคนละ 1 ใบ


     ช่วงบ่ายมีเวลาว่างผมได้มีโอกาสได้เดินชมรอบวัดศรีสุพรรณ กรรมการวัดเล่าประวัติวัดศรีสุพรรณให้ผมฟังว่า “สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว ในปี พ.ศ.2043 กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าให้นำพระเจ้าเจ็ดตื้อ หรือพระพุทธปาฏิหาริย์ฯ มาประดิษฐานเป็นประธานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาได้สร้างอุโบสถ พระวิหาร และพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นในปีพ.ศ.2052 ทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ อันเชิญพระเจ้าเจ็ดตื้อมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถตั้งแต่นั้นมา


     จนมาถึงปี พ.ศ. 2547 นับเป็นเวลา 495 ปี อุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์ กรรมการวัด และผู้มีศรัทธา วัดศรีสุพรรณ ได้มีความเห็นที่จะก่อสร้างเป็นอุโบสถหลังใหม่ให้เป็นเงินทั้งหลัง โดยดำเนินการในเขตพัทธสีมาและฐานเดิม แต่จะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในส่วนของรูปทรง ให้เป็นแบบสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ ฐานล่างก่ออิฐถือปูน ตั้งแต่ผนังขึ้นไป ประดับตกแต่งลวดลายทุกส่วนด้วยหัตกรรมเครื่องเงิน


      วัสดุที่ใช้เงินผสมอลูมิเนียม และดีบุก มาประดับตกแต่งทั้งหมด เช่นฉัตรบนยอดหลังคา ซุ้มสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ผนังสลักลวดลายเป็นภาพนูนสูง นูนต่ำ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศิลป์ ปริศนาธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า สัญลักษณ์แทนสถาบัน ชาติ ศานา พระมหากษัตริย์  ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน โดยกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณทั้งหมด

      ถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 9 ปี แล้วพระอุโบสถที่ทำด้วยเงินทั้งหลังแห่งเดียวในประเทศไทย ก็ย้งคงดำเนินการก่อสร้างอยู่ เปลี่ยนสลาล้านนาใหญ่ไปแล้ว 3 รุ่น ก็ยังสร้างไม่เสร็จ จึงได้มีการสร้างพระพิฆเนศขึ้นมา เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของสลาล้านนาทั้งหลาย ให้รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อที่ช่วยกันสร้างพระอุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ ขี้นมาให้สำเร็จจงได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย ไว้เป็นมรดกในแผ่นดินไทยต่อไป”


       ต่อด้วยวัดหมื่นสาร อยู่ซอยวัวลาย 4 ในชุมชนวัวลายเหมือนกัน ไม่ไกลจากวัดศรีสุพรรณมากนัก ในรัชสมัยของพระยามังรายมหาราช ทรงสถาปนาเมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.1839 ได้การบูรณะวัดหมื่นสาร ขึ้นมาใหม่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้อักขระ และสถานที่แปลพระราชสาสน์ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เคยเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายองค์ จึงเป็นที่รวมศิลปกรรม ศิลปวัตถุ ศิลปศาสตร์เกือบทุกแขนง ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงอารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน 

     ด้านหน้าของวัดหมื่นสารจะมีศาลาซึ่งประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา พระครูโอภาสคณาภิบาล อดีตเจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร ฝาผนังและบานประตูประดับด้วยแผ่นเงินแกะสลักลาย เป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ รั้วด้านนอกติดแผ่นเงินแกะสลักลายพระธาตุประจำปีเกิดครบทั้ง 12 นักษัตร ให้นักท่องเที่ยวได้กราบบูชาทำบุญโดยไม่ต้องเดินทางไปสถานที่จริง นอกจากนี้ที่ด้านหลังวัดยังมีเจดีย์บรรจุอัฐิของครูบาศรีวิชัย ให้นักท่องเที่ยวกราบบูชาขอพรอีกที่หนึ่ง ซึ่งยังไม่ที่รับรู้ของนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปเท่าใดนัก


        มาจบทริปนี้กันที่วัดนันทาราม ซึ่งตั้งอยู่นอกประตูเชียงใหม่ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่เดิมเรียกว่า “บ้านเขิน” ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภายในวัดแบ่งเป็น 2 เขต  มีกำแพงเป็นตัวแบ่งกันเขตพุทธาวาสชั้นใน กับเขตสังฆาวาสชั้นนอก มีองค์พระเจดีย์ พระวิหาร อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญบุญ หอไตร ตั้งอยู่บริเวณด้านใน ส่วนชั้นนอกมีกุฏิสำหรับพระภิกษุอยู่ เดิมมีกุฏิสองหลัง หลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิเหนือ มีภิกษุสามเณรอยู่คณะหนึ่ง ส่วนอีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิใต้ มีภิกษุสามเณรอยู่อีกคณะหนึ่ง ในสมัยก่อนนั้นไม่ขึ้นต่อกัน


       ภายในวัดนันทรารามยังมีพิพิธภัณฑ์นันทรารามตั้งอยู่หน้าวัด เป็นที่เก็บสะสมงานศิลปเกี่ยวกับเครื่องเขิน และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้เครื่องเขิน ของชุมชนวัดนันทาราม พระเทพโกศล เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เครืองเขิน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556 มีคนกล่าวถึงความเชื่อมโยงของสองชุมชนไว้ว่า “ถ้าชุมชนวัวลายขึ้นชื่อเรื่องเครื่องเงิน ชุมชนนันทารามก็ขึ้นชื่อในเรื่องเครื่องเขิน”


        “เครื่องเขิน” มาจากชื่อของบรรพบุรุษชาว “ไทเขิน” ซึ่งถูกรวบรวมมาจากเชียงตุง และตั้งรกรากนานกว่าสองศตวรรษ การอพยพครานั้นได้นำภูมิปัญญาการประดิษฐ์เครื่องเขินติดตัวมาด้วย “เครื่องเขิน” เป็นงานหัตถกรรมที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่สานหรือจากไม้จริงที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะ แล้วทาทับด้วยยางรักธรรมชาติหลายๆครั้ง เมื่อแห้งจนได้ที่ ก็นำมาขูดเป็นลวดลาย ลงสี หรือปิดทองคำเปลว กลายเป็นเครื่องเขินที่สวยงาม ประโยชน์ใช้สอยตามยุคสมัยเช่น พานรอง ขันดอก หีบใส่ผ้า เชี่ยนหมาก หรือตลับใส่ของชุมชนนันทาราม


      โครงการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผ่านงานหัตถศิลป์ล้านนา @ วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่งนอกจากจะให้น้องๆเยาวชนที่รักการถ่ายภาพทั้งหลาย ได้ความรู้ด้านการถ่ายภาพแล้ว นำภาพถ่ายที่สวยงามของบ้านเกิด ไปแชร์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาท่องเที่ยวในท้องถิ่นของพวกเขากันเยอะๆ  สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ท่ีกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แล้วยังส่งผลดีต่อชุมชนให้มีการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

   

    

Tags : ท่องอุบลอย่างคนอุบล2.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view