http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,360,262
Page Views16,691,118
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

โครงการเที่ยว 12 เดือน สุขใจ ตอน2.สืบชะตาหลวง ชมโฮงเจ้าฟองคำและกากองเก่า เมืองแพร่

โครงการเที่ยว 12 เดือน สุขใจ ตอน2.สืบชะตาหลวง ชมโฮงเจ้าฟองคำและกากองเก่า เมืองแพร่

โครงการเที่ยว 12 เดือน สุขใจ

ทริปหลงรักประเทศไทย น่าน-แพร่

ตอน2. สืบชะตาหลวง ชมโฮงเจ้าฟองคำและกาดกองเก่า เมืองแพร่

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

สืบชะตาหลวงพิธีของชาวล้านนา         

             หลังอาหารเช้า เป้าหมายแรกคือวัดพระธาตุแช่แห้ง อายุกว่า 600 ปี ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดคนเกิดปีเถาะ แต่ขึ้นชื่อว่าพระธาตุใดคนพุทธทุกคนกราบได้เสมอกัน บางคนเวียนซ้ายสามรอบก่อนสิ้นสุดการบูชาดอกไม้ธูปเทียน แล้วเข้าไปสมทบกันในอุโบสถศิลปะสุโขทัน-ล้านนา ช่อฟ้าใบระกางดงาม สิงห์พม่านั่งเฝ้าหน้าโบสถ์ ภายในมีพระประธานงดงาม เงียบสงบและดูศักดิ์สิทธิ์


              จนทุกคนนิ่งสนิท พระสงฆ์เริ่มสวดตามประเพณีเพื่อเสริมสิริมงคลและบำรุงขวัญ เสริมดวงชะตาบารมี สะเดาะเคราะห์ ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายให้พ้นไป ปราศจากโรคาพยาธิ ให้กับญาติโยม ตุงก้าคิงที่เตรียมไว้วันก่อนถูกนำมาร่วมพิธีและถวายแด่องค์พระธาตุร่วมกัน แน่นอนเลยว่าเมื่อได้กราบไหว้พระธาตุสำคัญและสืบชะตาแล้ว ย่อมผ่องใส


โฮงเจ้าฟองคำ อดีตที่ยังเหลือร่องรอยให้เห็น

             กราบคารวะด้วยใจ ผมอยู่เมืองน่านมาแสนนาน เพิ่งรู้และมาเห็นครั้งนี้นี่เองว่า โฮงเจ้าฟองคำอดีตเจ้าผู้สืบสายเลือดผู้ครองนครน่านยังเหลือให้ชมและเล่าถึงกันได้สืบไป โฮงเจ้าฟองคำอยู่ไม่ไกลวัดพระเกิดอันเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครน่านสร้างและทะนุบำรุงกันสืบมา


              เดิมเป็นคุ้มของยุคเจ้านายฝ่ายเหนือ คุ้มของเจ้าศรีพรหมมา หลานเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 61 ลักษณะเป็นเรือนไม้เก่าโบราณอายุกว่า 200 ปี เชื้อสายเจ้ายังมีเหลืออยู่แต่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นสามัญชนที่เพียบพร้อมคุณลักาณะพิเศษกว่าชาวน่านทั่วไป อัตตะลักษณ์ที่ยังปรากฏบนบ้านไม้เรียบๆ แสดงถึงของใช้ในอดีต แม้กระทั่งเหรยญตราที่ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช


                 ห้องหับที่จัดแสดงสรรพสิ่งสื่อถึงว่ายังคงมีหลักฐานเพื่อการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การจัดห้องนอนอย่างโบราณ การวางเครื่องใช้ไม้สอยอย่างที่เจ้าเคยเป็น ผมเดินวนเวียนถ่ายรูปด้วยความสนใจ เสียดายมากก็ตรงที่มีเวลาน้อยไป และเรื่องเล่าจากปากของเจ้าของบ้านก็ไม่สามารถจดจานได้ทันนัก

                 บ้านเรือนไม้โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านยกพื้นสูง มีกี่ทอผ้าหลายตัว มีคนเฒ่าคนแก่นั่งถักนั่งทอ มีผลผลิตที่เกิดจากหยาดเหงื่อแรงกายเป็นผืนผ้าพร้อมจำหน่ายให้เป็นของฝากจากเมืองน่าน มีการจัดแต่งเพื่อการเรียนรู้หลากหลายในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังสืบทอดมาใช้ประโยชน์ได้ราบทุกวันนี้ เช่นการสาธิตเปลือกไม้ รากไม้ ใบ ดอก ผล เพื่อใช้ย้อมผ้าให้ได้สีต่างๆ


อัตตะลักษณ์เมืองน่าน โบราณสถานสำคัญ     

              จากอดีตหอคำหรือคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่าน ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน  อาหารครึ่งตึกครึ่งไม้รูปทรงแปลกตา เป็นเอกลักษณ์หนึ่งซึ่งหันหน้าเข้าหาพระธาตุช้างค้ำอันเป็นทิศเหนือ  อาณาบริเวณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านขวามือทิศตะวันออกเป็นข่วงเมืองน่าน ติดกันเป็นเขตวัดภูมินทร์ เศียรพญานาคที่รองรับตัวโบสถ์หันมาทางวัง


               หอคำเป็นเรือนสองชั้น สร้างด้วยไม้สัก แต่ละจุดเป็นภาพแห่งอดีตของเจ้าผู้ครองนครน่าน เครื่องใช้ที่เคยหยิบจับแม้แต่ศาสตราวุธโบราณ เครื่องบรรจุใบลานโบราณขานธรรม บางส่วนแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองน่าน ชนเผ่าม้ง เมี่ยน และเผ่ามาบรี(ผีตองเหลือง) พุทธรูปโบราณแต่ละยุคสมัย ผ้าทอลายน้ำไหลเทียบเคียงจากลายภาพเขียนสีในอุโบสถวัดภูมินทร์


               งาช้างดำก็สถิตอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่านนี่แล ภายในบริเวณหอคำเก่านี้ มีเรื่องราวของวัดน้อยจารึกไว้ให้ประจักษ์ เพื่อแสดงถึงความซื่อสัตย์ของเจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อครั้งถวายรายงานแด่พระปิยะมหาราชว่า มีวัด 500 วัด แต่เมื่อกลับมาสำรวจอีกครั้งพบว่า มีเพียง 499 วัด ขาดไป 1 วัด จึงได้ดำริสร้างวัดน้อยเพื่อถวายความจงรักภักดี ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าของหอคำ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ฟากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ


                 หลังอาหารกลางวัน ได้ไปเยี่ยมยามและกราบไหว้พระธาตุช้างค้ำ ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อันเป็นวัดหลวงกลางเวียง นมัสการพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฏกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 


พระเจ้าทันใจ สัญลักษณ์ของพม่า

                 แดดร้อน ท้องฟ้าปลอดโปร่ง เดินไปวัดภูมินทร์ วัดหลวงในเขตพระนครเดิม เป็นวัดที่มีอุโบสถสร้างทรงจัตุรมุขบนหลังพญานาคสองตน เศียรพญานาคหันไปทางหอคำ หางไปทางแม่น้ำน่าน ฟากตะวันออก ภายในอุโบสถแปลกกว่าวัดใดๆ เพราะว่าพระประธานเป็นพระพุทธรูป 4 องค์หันหลังชนกัน หันพระพักตร์ออกไปสี่ทิศ


                 มัคคุเทศก์น้อย 4 คนหมุนเวียนกันบรรยายภาพเขียนสีฝีมือช่างชาวไทลื้อ ซึ่งเทียบเคียงได้กับวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา เชื่อกันว่า เป็นช่างเขียนกลุ่มเดียวกัน  ภาพที่โด่งดังมากที่สุดคือภาพหนุ่มกระซิบรักสาว อันเป็นที่มาของการท่องเที่ยวเพื่อไปกระซิบรักที่เมืองน่าน แสนโรแมนติกขนาดหนัก


                  ภาพเขียนสีมีมากมายหลายพันรูป เล่าเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้นๆ ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากก็คือลายผ้าวิ่นในภาพเขียนสีเหล่านี้เป็นลายน้ำไหลอันดด่งดัง ชาวน่านภาคภูมิใจกับฝีมือการทอผ้าลายน้ำไหลยิงนัก มีร้านที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทนี้มากมายหลายแห่งสวยงามด้วยลีลาถักทอที่แตกต่างกันไป


กาดกองเก่าและกาดพระนอน ถนนคนเดินพื้นบ้านเมืองแพร่

              ตอนทำงานป่าไม้เมืองน่าน-แพร่ บอกตามตรง ผมไม่เคยเยี่ยมยามตามตลาดกาดกองเก่าเหล่านี้เลย โชคดีเหลือแสนที่ได้ไป แล้วก็นึกถึงอดีตที่แต่ละซอกซอยล้วนผ่านตา แต่ด้วยความที่มุ่งทำแต่งานในหน้าที่ จึงได้ละเลยเรื่องราวชวนสนใจไปเสียจนเป็น ”คนง้าวที่สุ๊ดไปเหียเน้อ” ถ้าเป็นเมื่อเก่า สาวเมืองแป้จะเอิ้นใส่เอาได่ว่า “จั๊ดง้าวละอ้ายเฮย”    


              ในอดีตหากเที่ยวไปเดินสุ่มสี่สุ่มห้า อาจโดนลูกปืนต๊าย คนที่นี่ดุแบบว่า สวกง้าว   เล่าขานกันตลกๆว่า ถ้าอยากรู้ว่าคนไหนเป็นคนเมืองแพร่ละก้อ ให้สังเกตว่าใครเดินผ่านต้นสักแล้วต้นสักใบเหี่ยวร่วงผุยผุยละก้อ  ใช่เลย  อ้ายนั่นเป็นคนเมืองแป้แต๊ๆเน้อ  ผมเดินดูของกินพื้นเมืองบ้างสาวเมืองแพร่บ้าง พลันได้ยินเสียงเรียกดังลั่นจนต้องหันหลังกลับไปยิ้ม


              “พี่ธงไซ มาจะไดนี๊”

                ป๊าดโธ่ เพื่อนร่วมงานเก่าเมียเพื่อนผู้แสนดี เมียเขาคนนี้ยิ่งยอดดี ใครเรียก พี่แก่ ก็ ไม่เคยโกรธ เพราะว่าใบหน้าเธอแก่ก่อนวัยหลายปี(ยอมรับความจริง) เป็นความดีใจที่ได้พบพาน แล้วก็จากจรไปตามหน้าที่ ผมเดินไปเห็นวัวน้อยนึ่งจิ้มน้ำพริกข่าหั่นขายอยู่ น้ำลายสอทันที เป็นวัฒนธรรมการกินอาหารของพี่น้องเมืองแพร่ที่ได้รับความนิยมมากๆ  

 

               วัวน้อยคือลูกวัวที่อยู่ในท้องแม่วัวที่ถูกฆ่า ลูกน้อยพลอยตายตามไปด้วย เนื้อลูกวัวนั้นนุ่ม อร่อย ชาวแพร่ชอบเอามานึ่งร้อนๆแล้วจิ้มน้ำพริกข่า แกล้มสุราแรงๆ สุดยอด

                ตอนค่ำได้ชมฟ้อนหลากหลายของนักเรียนน้อยๆ อนาคตสาวงามเมืองแพร่ ก่อนเข้าที่นอนแสนสบาย สไตล์บูติก ชดโช้ (ขอบคุณ เพื่อนธรรมชาติ ที่เอื้อเฟื้อทริปนี้) โปรดติดตามตอน 3


  

Tags : โครงการเที่ยว 12 เดือนตอน 1.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view