http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,993,214
Page Views16,301,450
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ดอกต้นนางพญาเสือโคร่งกับการจัดการป่าอนุรักษ์สากล

ดอกต้นนางพญาเสือโคร่งกับการจัดการป่าอนุรักษ์สากล

ดอกต้นนางพญาเสือโคร่งกับการจัดการป่าอนุรักษ์สากล

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

             ในหลักการจัดการป่าอนุรักษ์สากล (ทั่วโลก) บัญญัติกันเป็นที่รู้ทั่วไปว่า จะอนุรักษ์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่า ดั้งเดิมหรือในถิ่นกำเนิดไว้ ในขณะเดียวกันก็จะไม่นำพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยง  ต่างถิ่นกำเนิด(Alien species) เข้าไปปลูกหรือเลี้ยงหรือปล่อย ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความสับสนในทางวิชาการถึงแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของเขาทั้งหลาย

 

             การจัดการผืนป่าอนุรักษ์สากลเช่นที่อเมริกาทุกแห่ง จึงแยกคนออกจากป่าอนุรักษ์ ทั่วพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงมีแต่พันธุ์พืชและสัตว์ป่าดั้งเดิม ในถิ่นกำเนิด สามารถอนุรักษ์เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมไว้ได้อย่างเข้มแข็ง นั่นหมายถึงอีกกี่ปีกี่ชาติ ก็จะไม่เกิดความสับสนทางชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่าที่มีอยู่ เป็นความเชื่อในหลักการจัดการป่าอนุรักษ์ของประเทศที่เจริญและยึดถือหลักการเป็นสรณะ

 

             ประเทศไทยนำหลักการจัดการป่าอนุรักษ์สากลจากตำราของต่างประเทศมาเป็นหลัก แรกก็ปฏิบัติได้ดี เช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อพยพคนออกจากพื้นที่ทั้งหมด เหลือแต่ป่าพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ป่าแท้ๆ ดั้งเดิมทุกชนิด  แม้ว่า ในกาลต่อมาจะมีนักบริหารจัดการที่ไร้หลักวิชาการและอุดมการณ์ นำพันธุ์พืชต่างถิ่นกำเนิดเข้าไปปลูกประดับ เช่นต้นขี้เหล็กอเมริกา ฯลฯ

 

            แต่ในปัจจุบันนี้ แทบทุกผืนป่าอนุรักษ์(อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า)ในประเทศไทย เกิดความสับสนทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ เพราะว่าไม่ได้จัดการให้เป็นไปตามหลักการจัดการป่าอนุรักษ์สากล ด้วยว่า ในแทบทุกอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีชุมชนอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ จึงมีทั้งสัตว์เลี้ยงและพันธุ์พืชต่างถิ่นกำเนิด เพียบ

 

              ผมไปเที่ยว สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2522  มีแปลงทดลองปลูกดอกไม้เมืองหนาวและพันธุ์ไม้ผล ต่างถิ่นกำเนิด เช่นท้อ บ๊วย เพื่อให้ชาวเขาเผ่าม้งเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำไร่เลื่อนลอยและหันมาปลูกพืชที่มีราคาสูงกว่า อาศัยเก็บกินได้นานปีกว่า แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยังมีพันธุ์ไม้ทดลองเหล่านั้นเหลืออยู่ บ้าง

 

              แต่ต้นไม้ดอกยืนต้นที่คุณวารินทร์ จิรสุขทวีกุลและคุณมนตรี พุทธวงศ์ หัวหน้าและผู้ช่วยสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานปลูกเอาไว้คือต้นนางพญาเสือโคร่งจำนวนหลายร้อยต้น ได้กลายเป็นไม้ดอกประดับสถานีที่ทรงคุณค่า  พร้อมทั้งมีบ้านพักสำนักงานของข้าราชการและพนักงานให้เป็นที่พักอาศัยได้เป็นครั้งคราว ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,368 เมตร อุณหภูมิปี 2557 นี้ลดลงต่ำสุด 5 องศาเซลเซียส และ 8 องศาเซลเซียสคืน 17 มค.58 ครับ

 

                ต่อมาอุทยานแห่งชาติขุนสถาน เตรียมการจัดตั้งได้รวบรวมพื้นที่ปลูกต้นสนสามใบและต้นนางพญาเสือโคร่งเข้าไปในเขตด้วย จึงต้องขบคิดกันว่า ต่อไป สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานต้องสังกัดในอุทยานแห่งชาติ จะต้องถือปฏิบัติเช่นหลักการจัดการป่าอนุรักษ์สากลหรือไม่ ไม้ดอกเมืองหนาวและกล้วยไม้ต่างถิ่นกำเนิดจะต้องเปลี่ยนถ่ายออกไปหรือไม่

 

                 ส่วนต้นนางพญาเสือโคร่ง ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นเต่ารั้งยักษ์ 2 ชนิดหลังนี้มีขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว อันเป็นพันธุ์ไม้ในถิ่นกำเนิดของประเทศไทย จะกลายเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้วนเวียนขึ้นมาเที่ยวชมและบันทึกภาพความงดงาม ซึ่งเป็นประโยชน์แก่อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นที่ยิ่ง 

 

                  ในอนาคตอันใกล้นี้ พี่น้องชาวเขาเผ่าม้งจะต้องช่วยกันอนุรักษ์ต้นนางพญาเสือโคร่งดั้งเดิม และที่สถานีได้ปลูกไว้  มีความจำเป็นมากที่จะต้องปลูกเพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นหมู่บ้านแห่งดอกซากุระเมืองไทย ดอกสีชมพูพราวไปทั้งขุนเขาและรอบๆหมู่บ้าน  เป็นอนาคตที่ชาวขุนสถานต้องตัดสินใจว่าจะช่วยกันสร้างความอลังการเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

                  วันถัดมา ได้ไปเที่ยวและพักที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก  ไปถึงค่ำเลยเข้าบ้านพักแรมอันหรูเริด มีน้ำอุ่นให้อาบ ที่นอนนุ่ม ผ้าห่มสะอาด หอมฟุ้ง แต่ แม้บ้านและห้องสุขาจะเริ่มชำรุดทรุดโทรม แต่ก็เป็นมิติใหม่ของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เพราะว่ากลมกลืนกับธรรมชาติ

 

                  หน้าบ้านพักแรมมีสวนหย่อมให้เดินและนั่งเล่น มีร่องรอยกองไฟผิงให้ความอบอุ่นด้วย เยี่ยม แต่ที่ปวดใจมากก็ต้นไม้ประดับสวนหย่อมเป็นพันธุ์ไม้ต่างถิ่นกำเนิด ดังในภาพ ถ้าเป็นสนสามใบ หรือต้นกุหลาบแดงหรือกุหลาบขาว หรือ.....อันเป็นพันธุ์ไม้ในถิ่นกำเนิด จะขอยกมือกราบสามลา มึน กับทฤษฎีและกติกาสากลที่น่าจะยึดถือปฏิบัติ

 

                  เช้า ผมไปที่ห้องอาหาร ร้านค้าของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สีสันพราวแพรวไปทั่ว แต่ที่เจ็บปวดมากคือ หน้าป้ายสื่อความหมายและป้ายใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ ปลูกดอกไม้เมืองหนาวเพื่อประดับไว้ทั่วอย่างอลังการ ถ้าเป็นรีสอร์ทคงสวยจับใจ  แต่ที่นี่คืออุทยานแห่งชาติอันเป็นผืนป่าอนุรักษ์ ที่มีทั้งกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ  เกิดอะไรขึ้นครับ

 

                 ผมดื่มกาแฟและกินข้าวต้มไม่อร่อย มันฝืดคอ ทั้งๆที่ได้จ่ายเงินมาท่องเที่ยวกับคณะไปแล้ว  เลยถ่ายรูปมาฝากบางส่วน

                 คณะท่องเที่ยวกลุ่มผมขึ้นรถปิ๊กอัพ ท้ายโล่ง เข้าไปชมดอกนางพญาเสือโคร่งที่กำลังบานท่วมดอยภูลมโล  เส้นทางยังไม่ลาดยาง ฝุ่นม้วนตลบขึ้นบนหัวและเสื้อผ้า แต่เมื่อไปถึงจุดจอดจุดแรก หายเหนื่อย ดอกนางพญาเสือโคร่งสวยอลังการบานไปทั่วขุนเขา

 

                 เป็นการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างอุทยานแห่งชาติกับชาวม้งบ้านภูหินร่องกล้า    เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าเขาหัวโล้นให้เป็นป่าดงนางพญาเสื้อโคร่งที่ออกดอกสวยในช่วงฤดูการท่องเที่ยว  ปีแรกที่ชาวม้งปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง เขาได้อาศัยปลูกขิงราคาดีระหว่างแถวต้นนางพญาเสือโคร่ง แต่ใช้ร่มไม้เลี้ยงวัวในปีถัดมา(ซึ่งไม่ถูกต้องนัก)

 

                อย่างไรก็ตาม พี่น้องชาวม้งเริ่มเห็นคุณค่าของดอกนางพญาเสือโคร่ง ทำให้เกิดรีสอร์ท โฮมสะเตย์ ในชุมชน และขายของฝากของที่ระลึก เป็นรายได้เสริมจากผลพวงการท่องเที่ยว ที่ในอนาคตหากจัดการด้วยหลักการที่เหมาะสม น่าจะส่งผลให้เกิดมิติใหม่ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขอชมเชย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติที่ชื่อ มโน มนูสำราญ และชาวม้งบ้านภูหินร่องกล้าครับ

                

          

Tags : ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย ตอน9

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view