http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,993,602
Page Views16,301,864
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้นที่ 10 นางพญาเสือโคร่ง

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้นที่ 10 นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง


โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ชื่อสามัญ  Wild Himalayan Cherry

ชื่อพื้นเมือง ภาคเหนือเรียกว่านางพญาเสือโคร่ง  ฉวีวรรณ และชมพูภูพิงค์  กะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียก เส่คาเว่ เส่เผ่ เส่ลาแหล่  ได้รับสมญานามว่าเป็นซากุระเมืองไทย      

ชื่อวิทยาศาสตร์  Prunus cerasoidees  D.Don    

ชื่อวงศ์  ROSACEAE


ภาพจากดอยขุนสถาน

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

           ในต่างประเทศ พบที่จีนตอนใต้  เนปาล เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ในญี่ปุ่นเป็นพืชสกุลเดียวกัน( Prunus.) แต่คนละชนิดกัน พบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500-1,500 เมตร

           ในประเทศไทย พบขึ้นในป่าดงดิบเขา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-2,000 เมตร หลายจังหวัดในภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ บนดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ ดอยช่างเคี่ยน ดอยเชียงดาว ดอยสามหมื่น  ดอยขุนวาง ดอยแม่ยะ  ฯลฯ จังหวัดเลยแถว อ.ด่านซ้ายได้แก่ ดอยภูลมโล ฯลฯ


ภาพจากดอยภูลมโล

           ปัจจุบันนี้ กระจายพันธุ์ไปทั่วจังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่นดอยขุนสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 1,368 เมตร  ดอยวาว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 1,730 เมตร ดอยกาด อำเภอปง จังหวัดพะเยา 1,650 เมตรฯลฯ


ลักษณะประจำพันธ์  

ต้นไม้ เป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 15 ม. กิ่งอ่อนมีขนละเอียด เรือนยอด รูปเจดีย์ แตกกิ่งต่ำ เปลือกนอก สีน้ำตาลแดง เป็นมัน มีรูระบายอากาศรูปริมฝีปากผู้หญิงขวางตามลำต้นทั่วไป เปลือกแตกล่อนเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ บางทีมีสีขาวขึ้นประปราย เปลือกใน สีขาว


ใบ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ออกเวียนสลับ กว้าง 3 – 5 ซม. ยาว 5 – 12 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนกลมหรือสอบแคบ ขอบจักคล้ายมีขนเมื่อยังเป็นใบอ่อน ปลายก้านใบมีต่อม 2 – 4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง เส้นแขนงใบ 14 – 16 คู่ แต่ละเส้นออกตรงข้ามช่วงใกล้โคนใบ และเยื้องราวกลางใบขึ้นไป ปลายเส้นใบจรดขอบใบ เส้นแขนงใบย่อยเป็นขั้นบันได ใบอ่อน สีสนิมเหล็กใส ๆ ใบแก่สีเขียวเข้มและก่อนหลุดร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ดอก  ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7 – 2 ซม. ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่มน ๆ ปลายกลีบหยักเว้าชัดเจน โคนกลีบลีบเป็นก้านเล็ก ๆ มีเส้นผ่ากลางกลีบดอกชัดเจนสีชมพูเข้ม เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 2 ซม. ดอก สีขาวอมชมพูจนถึงชมพูสด ไม่มีกลิ่น เกสรผู้จำนวนมาก สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านเกสรผู้สีชมพูเข้ม อับเรณูเหลือง เกสรเมียยาวพ้นกลุ่มเกสรผู้


ก่อนออกดอกผลัดใบหมดต้น ผลิตาดอกเต็มต้นแทบทุกปลายกิ่ง เมื่อบานดอกๆบานสะพรั่งไปทั้งต้นด้วยสีชมพูสดใส อ่อนหวาน และพลิ้วไสวยามต้องลม มีผึ้ง แมลงภู่ โดยเฉพาะนกฮัมมิ่งเบิร์ดสีเหลือง แดงและเขียว มาดูดกินน้ำหวานจากดอก เพิ่มสีสันความสมบูรณ์ของไม้ต้นนี้ แต่ถ้ามีฝนตกระหว่างผลัดใบ จะแตกใบอ่อนออกมาบ้าง กลายเป็นมีทั้งใบและดอกผสมกัน ก็สวยไปอีกมิติหนึ่ง


ผล  ผลสด รูปไข่หรือกลม ยาว 1 – 1.5 ซม. ก้านผลยาว 1.5 – 2.5 ซม. ผลอ่อน สีเขียวสด มีเมล็ดเดียว แก่สีแดง

ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล  ออกดอกระหว่างเดือน ธันวาคม- กุมภาพันธ์ และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มกราคม

การขยายพันธุ์  นิยมใช้เมล็ดเพาะชำกล้า ตอนกิ่ง ปักชำก็ได้เช่นกัน


การใช้ประโยชน์

            ด้านเป็นพืชอาหาร  ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือ

                        ผล  รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว นกนานาชนิดชอบกินซึ่งช่วยในการกระจายพันธุ์ได้ไกล ๆ

                        ยังไม่มีการรายงานปริมาณคุณค่าสารอาหาร

            ด้านสมุนไพร  ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ

                        เปลือกต้น  แก้ไอ เลือดกำเดาไหล ลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ตำคั้นน้ำทาหรือพอก แก้ข้อแพลง ฟกซ้ำ ปวดข้อ


            ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

                        สารสกัดลำต้นด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้สัตว์ทดลอง


            ด้านการเป็นไม้ประดับ  ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นไม้ที่มีรูปทรงต้นแบบเจดีย์คว่ำ แตกกิ่งต่ำ ก่อนออกดอกผลัดใบหมดต้น แตกตาดอกและดอกสีชมพูบานเต็มต้นแทบทุกปลายกิ่งที่มีอยู่ เป็นความสวยหวานสดใสและชวนให้ประทับใจยิ่งนัก แต่ถ้ามีฝนตกก่อนตาดอกแตก จะมีใบสีสนิมเหล็กผลิผสมกับดอกที่ออก สวยงามไปอีกมิติหนึ่ง เมื่อออกดอกเต็มต้นจะเห็นโดดเด่นมากในป่าธรรมชาติ ดอกสวยงาม หวาน แต่ดอกไม่มีกลิ่นหอมแม้จะเป็นไม้สกุลเดียวกับซากุระเมืองญี่ปุ่น(ซากุระ ดอกหอมกรุ่น) นก ผึ้ง แมลงอื่น ๆ วนเวียนมาดูดกินน้ำหวานและช่วยในการผสมพันธุ์มากมาย เพิ่มสีสันความสมบูรณ์ของดอกไม้ได้อย่างแท้จริง


บันทึกผู้เขียนและผู้ถ่าย    

            ลักษณะพื้นที่ที่ปลูกต้องเป็นที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป อากาศหนาวเย็นแทบทั้งปี ดินมีความเป็นกรดมากกว่าด่าง ระบายน้ำดี อุดมสมบูรณ์ ใช้พื้นที่ปลูกไม่กว้างขวางนักราว 6 – 8 ม. แต่ถ้าปลูกเป็นแถวเป็นแนวก็ไม่จำเป็นนัก  อย่างไรก็ตาม ไม้ต้นนี้สมควรอย่างยิ่งที่จะปลูกเป็นกลุ่มใหญ่  จะให้ดอกดกสวย และปูพรมชมพูเมื่อร่วงหล่นตบแต่งให้เข้ากับภูมิสถาปัตย์ เพิ่มสีสันสดสวยได้อย่างน่าทึ่ง

             ถ้าปลูกเป็นพื้นที่กว้างขวาง อย่างเหมาะสม จัดงานวันดอกนางพญาเสือโคร่งบานได้อย่างอลังการ  ถ้าปลูกในระดับต่ำกว่า 1,000 ม. มักไม่ออกดอกให้ได้ชมนัก


             เป็นพันธุ์ไม้ในถิ่นกำเนิดของประเทศไทย จึงเหมาะสมที่จะนำไปปลูกประดับในป่าอนุรักษ์ทั้งประเภทอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้อย่างถูกต้องตามหลักการจัดการป่าอนุรักษ์สากล 

             ปัจจุบันนี้ เมื่อถึงเวลาที่ดอกนางพญาเสือโคร่งจะบาน นักท่องเที่ยว ช่างภาพ เฝ้ารอเวลานั้นอย่างใจจดจ่อ เพื่อจะขึ้นไปชม ถ่ายรูป และพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัว เพื่อน และกลุ่มชมรมต่างๆ

 

          

 

Tags : ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้นที่9.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view