http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,989,323
Page Views16,297,359
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ท่องแดนแผ่นดินธรรม ตอน พระไชยบูลย์ปาราชิกแล้ว

ท่องแดนแผ่นดินธรรม ตอน พระไชยบูลย์ปาราชิกแล้ว

กรณีธรรมกาย 

ต้นเรื่อง 

กรณีธรรมกาย ถึงขั้นจ้วงจาบพระธรรมวินัย

เมื่อ  9  วันที่ผ่านมานี้ คือวันที่ 11 มกราคม 2542  ได้มีผู้สื่อข่าว จากสื่อมวลชนต่าง ๆ มาถามปัญหา

เกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย และมีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งได้ถวายหนังสือ ชื่อว่า  "เจาะลึกวัดพระธรรมกาย ข้อมูลที่ไม่

เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน ลับสุดยอด" ต่อมาได้เปิดอ่านดูบ้างบางส่วน และในตอนที่ว่าด้วยคำถามคำตอบที่น่าสน

ใจ เมื่อพลิกดูผ่านๆ ไปจนจบ ปรากฏว่า 2 ข้อสุดท้ายเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา และ

เรื่องธรรมกายในข้อเกี่ยวกับนิพพานนั้นตั้งเป็นคำถามว่า  

"มีการถกเถียงกันว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ไม่ทราบจริง ๆ เป็นอย่างไร?"

และข้อสุดท้ายว่า 

"ธรรมกาย มีในพระไตรปิฎกหรือไม่?"

สองข้อนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการ หรือหลักธรรมสำคัญ ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะข้อที่ว่าด้วย

เรื่อง นิพพานเป็นอัตตา หรืออนัตตา เมื่ออ่านดูลักษณะการเขียนคำตอบเป็นไปในเชิงที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความ

เข้าใจไปว่า หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะเรื่องนิพพานนั้น ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน ยังหาข้อสรุป

ไม่ได้ เป็นเรื่องของความคิดเห็น การเขียนเช่นนี้ถือได้ว่าถึงขั้นที่จ้วงจาบต่อพระธรรมวินัย เป็นเรื่องสำคัญมาก

และเป็นเอกสารซึ่งจะคงอยู่ยาวนาน อาจก่อผลกว้างไกล จึงสมควรรีบชี้แจงไว้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูก

ต้อง

ต่อมาอีก  2-3  วัน ก็มีพระนำเอาหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันพุธ  ที่  13  มกราคม  2542  มาให้ดู 

โดยเฉพาะหน้า 12 "สุขสรรค์" มีบทความเรื่อง "สายตรงจากธรรมกาย นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา"  โดย พระ

สมชาย ฐานวุฑฺโฒ  บทความนี้เมื่ออ่านแล้วจะยิ่งสร้างความสับสนต่อหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาที่

กล่าวมานั้นยิ่งขึ้น

อีก 2-3 วันต่อมาก็มีรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2542

กล่าวถึงอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาวัดพระธรรมกาย ได้กล่าวถึง

ปัญหาบางอย่างที่จะต้องแก้ไข ตอนหนึ่งได้กล่าวว่า  "เรื่องนิพพานเป็นความคิดที่หลากหลาย" การที่ท่านกล่าว

อย่างนี้ จะเป็นผลจากการเผยแพร่เอกสารของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ก็ตาม  แต่เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่ง

ที่พูดนี้มิใช่จะว่ากล่าวข้าราชการผู้นั้น เพราะท่านไม่ได้ทำความผิดอะไร แต่คำพูดนั้นเท่ากับเป็นสัญญาณเตือน

ภัยว่า อันตรายที่ร้ายแรงกำลังเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา เพราะความสับสนหรือเข้าใจผิดต่อหลักการสำคัญของ

พระพุทธศาสนากำลังแผ่ขยายออกไปในหมู่ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความสั่นคลอนของพระพุทธศาสนาถึงขั้น

รากฐานเลยทีเดียว 

ที่จริงนั้น หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนามีความชัดเจน แน่นอน และไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความ

คิดเห็น แต่เป็นเรื่องของหลักฐานที่ชาวพุทธถือกันว่ามาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง คือมาในพระไตรปิฎก และมี

คัมภีร์อรรถกถาเป็นต้น อธิบายประกอบ ซึ่งชาวพุทธทุกยุคสมัย ถือว่าเป็นเนื้อเป็นตัวของพระศาสนา เป็นหลัก

สำคัญที่สุด และได้เพียรพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ให้  แม่นยำ ด้วยการทรงจำ ศึกษาเล่าเรียน และมีการ

สังคายนาเป็นงานใหญ่หลายยุคสมัยตลอดมา

เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นแก่พระศาสนา ชาวพุทธก็ควรตื่นตัวขึ้นมา ช่วยกันขจัดภัยและปกป้องรักษา

พระศาสนาไว้ อย่างน้อยก็ใช้เป็นโอกาสที่จะได้ศึกษา สร้างเสริม หรือแม้แต่ชำระ     สะสางความรู้้ความเข้าใจใน

พระศาสนาที่ตนนับถือ ทำความเห็นให้ถูกต้อง ให้ได้ชื่อว่าสามารถถือเอาประโยชน์จากสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามา

และผ่านพ้นปัญหาไปอย่างได้ปัญญา

ในการชี้แจงต่อไปนี้ จำเป็นต้องพูดพาดพิง ถ้าข้อความที่กล่าวจะเป็นเหตุให้ท่านผู้เกี่ยวข้องไม่สบายใจ

ก็ขออภัยไว้ก่อน แต่ขอให้ตั้งใจร่วมกันว่า เราจะทำการนี้เพื่อดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด

เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้พระพุทธศาสนาที่บรรพบุรุษได้รักษาสืบต่อตกทอดกันมาจนถึงเรา โดยอาศัยกำลังความ

เพียรพยายาม เรี่ยวแรง ความอุตสาหะและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง มิให้สูญเสียไป และเพื่อให้ประชาชนทั้งในบัดนี้

และเบื้องหน้า ยังสามารถได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากพระพุทธศาสนา คือ มุ่งเพื่อรักษาพระธรรมวินัยและ

ประโยชน์สุขของประชาชน

 



ตั้ง
 "สมเด็จพระพุฒาจารย์"
เป็น "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช"
 


 

   จากความอึมครึมในวงการคณะสงฆ์ไทย ไล่ลำดับนับตั้งแต่ กรณีธรรมกาย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ กรณีหลวงตาบัวนำคณะพระธรรมยุติภาคอีสานประชุมที่วัดอโศการาม สมุทรปราการ ดำเนินการนิคคหกรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ในข้อหา "ดำเนินการเขียนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ละเมิดพระราชอำนาจ หวังจะเป็นสมเด็จพระสังฆราชเสียเอง" และต่อมาก็มีการประท้วงรัฐบาลไทย โดยพระสงฆ์ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย พระศรีปริยัติโมลี จนกระทั่งรัฐบาลและรัฐสภายินยอมให้ตั้ง "สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ" เป็นองค์กรอิสระ สนองงานพระพุทธศาสนา แทนกรมการศาสนาซึ่งมีมาแต่เดิม แล้วนั้น

       ระหว่างนั้นก็มีข่าวคราวและข่าวคาวหลายประการเกี่ยวกับสถาบันสงฆ์ และบางเรื่องก็เกี่ยวเนื่องถึงองค์พระประมุขของคณะสงฆ์ คือสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เรื่องพระลิขิต

      พระลิขิตในที่นี้ก็คือพระลายเซ็นต์นั่นเอง ครั้งแรกที่มีปัญหาก็คือ เรื่องที่ทรงมีพระลิขิตถึงสถานภาพของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่าสิ้นสมณภาวะ นับตั้งแต่ดึงดันไม่ยอมโอนที่ดินนับจำนวนเป็นพัน ๆ ไร่ ที่ญาติโยมบริจาคให้วัดพระธรรมกาย แต่ไปมีชื่อในโฉนดเป็น พระธัมมชโย แทน

     ตอนนั้นมีการตีความพระลิขิตกันมั่ว ตั้งแต่ว่า "ปลอม" และไล่ไปจนถึงว่าพระสังฆราชไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีความหรือพิพากษาสถานภาพของพระสงฆ์รูปใด ๆ เพราะถ้าหากมีปัญหาทางพระวินัย ก็ต้องใช้ระเบียบทางพระธรรมวินัย โดยเฉพาะก็คือกฎหมายนิคคหกรรม จึงมีการนำคดีธรรมกายขึ้นสู่ศาลสงฆ์โดยพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) วัดยานนาวา อดีตเจ้าคณะภาค 1 จนถึงพระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะภาค 1 องค์ปัจจุบัน คดีก็ยังค้างศาลอยู่ ไม่รู้ว่าจะวินิจฉัยออกมาเมื่อใด ทั้งนี้พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชก็เป็นหมัน ไม่มีใครเชื่อถือต่อไป

      และนับตั้งแต่นั้นมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่เสด็จเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมอีก โดยทรงมีพระลิขิตถึงมหาเถรสมาคมว่า

     "ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าใจดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ว่า ในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลาย จะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งรับรู้รับฟังในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542"

     ทั้งยังเกิดกรณีพระลิขิต "ปลอม" ออกมาเรื่อย ๆ เช่น กรณีที่มีพระลิขิตฉบับวันที่ 14 กันยายน 2545 สนับสนุนการชุมนุมของพระคณาจารย์และพระนิสิตมหาจุฬาฯ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาจนมาได้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งนั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ถึงกับออกปากวิพากษ์ว่า "ขณะนี้สมเด็จพระสังฆราช กำลังทรงพระประชวร เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ไม่รู้สึกพระองค์เป็นช่วง ๆ ทำไมถึงมีพระลิขิตออกมาได้" ทำให้พระสงฆ์ที่เข้าชุมนุมต่างไม่พอใจ ถึงกับดำเนินการฟ้องร้องนายกรัฐมนตรีทีเดียว มาสด ๆ ร้อน ๆ ก็ตอนแต่งตั้งพระราชรัตนมงคล วัดบวรนิเวศ ขึ้นเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปลายปีที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่พระราชรัตนมงคลเพิ่งได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากชั้นสามัญขึ้นเป็นชั้นราชเมื่อสามวันก่อนหน้านั้นเอง ซึ่งก็เกิดเสียงดังกระหึ่มว่า "พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชปลอม" อีกครั้งหนึ่ง

     ทั้งหมดนี้นับเป็นปรากฎการณ์อันแปลก เพราะตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชนั้นประมวลได้ ดังนี้

     ตามมาตราที่ 10 กำหนดให้ เมื่อสมเด็จพระสังฆราช ไม่ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร (คือเดินทางไปต่างประเทศ) หรือทรงทุพลภาพ (ป่วย ไข้ ไม่สบาย หรือมีเหตุการณ์จำเป็น) ไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องมีอาวุโสสูงสุด) ขึ้นรักษาการแทน

     ตามมาตราที่ 6 วงเล็บ (12) ว่าด้วยจำนวนของกรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งมี 2 ประเภท คือโดยตำแหน่ง ได้แก่สมเด็จพระราชาคณะจำนวน 8 รูป และกรรมการโดยแต่งตั้งอีกไม่เกิน 12 รูป ซึ่งกรรมการโดยแต่งตั้งนี้ ต้องได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น นอกนั้นใครก็ไม่มีสิทธิ์

     ตามมาตราที่ 7 วงเล็บ (มาตรา 15 ทวิ) ให้อำนาจสมเด็จพระสังฆราชในการ "ปลด" กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง ทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชนั้น

     ตามมาตราที่ 19 สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองของมหาเถรสมาคมแล้ว

     นอกจากนี้ยังมีมาตราว่าด้วยการล่วงละเมิดในองค์สมเด็จพระสังฆราชอีกหนึ่งมาตรา เป็นมาตราที่ 16 วงเล็บ (มาตรา 44 ทวิ) มีข้อความว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

      ก็เป็นอันหมดข้อความเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราชในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับปัจจุบัน (ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2535 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน)

     ซึ่งเมื่อประมวลความในอำนาจ-หน้าที่ ของสมเด็จพระสังฆราชในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ดังนี้แล้ว เราก็จะหาแนววิเคราะห์ "พระลิขิต" ของสมเด็จพระสังฆราชต่อไปว่า "เป็นเช่นใด"

     กรณีธรรมกาย หรือธัมมชโย พระลิขิตมีข้อความว่า

     ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำทรงสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่องเป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจ ความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยก เป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบัน และอนาคต ที่หนัก

     ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที (5 เมษายน 2542) ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ ว่าในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนา ถือเอาสมบัติของวัดเป็นขอบตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่า ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา

(สมเด็จพระญาณสังวร)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.

26 เมษายน พ.ศ.2542

     ซึ่งพระลิขิตนี้ถูกวิพากษ์ว่า "ไม่ชอบมาพากล" เป็นฉบับแรก ถูกตีความว่าเป็นพระลิขิตปลอม หรือไม่ก็เป็นพระลิขิตเฉพาะพระองค์ ก็แปลว่า เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่คำสั่งหรือพระบัญชา ดังนั้น จะปฏิบัติตามก็ได้ ไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ถ้าถามพระธัมมชโยก็คงเซย์ "โน" ไม่ขอโอเคด้วย

     กรณีพระคณาจารย์และพระนิสิตมหาจุฬาฯ ชุมนุมประท้วงขอให้รัฐบาลตั้งกระทรวงพุทธศาสนา มีพระลิขิตถึงนายกรัฐมนตรีว่า

เจริญพร ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

     อาตมภาพได้รับรายงานเรื่องการเรียกร้องของพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ให้จัดตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย และได้รับหนังสือเรียกร้องให้ช่วยเป็นกำลังเพิ่มความสำเร็จให้แก่ความปรารถนาเรียกร้องต้องการ ที่ถูกที่ชอบที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ยิ่งกว่าเคยมาเป็นอันมาก เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

     อาตมภาพเป็นกังวลห่วงใยในเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา ฯพณฯนายกฯ คงเข้าใจดี เพราะได้รับคำขอร้องจากอาตมภาพมาก่อนหน้านี้แล้ว ให้ช่วยพระพุทธศาสนาด้วย เพราะเป็นผู้เดียวที่มีกำลังมีอำนาจยังให้เกิดความสำเร็จได้ ขอได้โปรดใช้อำนาจวาสนาบารมีรักษาสถาบันสำคัญของชาติให้สวัสดี พร้อมกับความสวัสดีของ ฯพณฯ นายกฯเองให้ทันเวลา ให้ไม่ล่าช้าจนสายเกินไป

     ฯพณฯ นายกฯ อาจจะจำได้ หรือจำไม่ได้ อาตมภาพจะขอนำมาเจริญพรไว้ในที่นี้ คือที่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัสแก่คณะสงฆ์ไทย ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อปีพ.ศ. 2518 มีความตอนหนึ่งว่า "ขอวิงวอนพระสงฆ์ให้ช่วยกันทำตามเป้าหมายแท้ ความหมายแท้ ของพระพุทธศาสนา คือ ทำให้มีความสงบสุขในหมู่ชน และต้องทราบว่า "ชาติไทยนี้ ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาค้ำจุน ชาติไทยคงไม่มี"

     ฯพณฯ นายกฯ ต้องรักชาติแน่ ไม่เช่นนั้นคงไม่สละความสุขที่พรั่งพร้อมมาลำบากยากเย็นกับการเป็นนายกรัฐมนตรี อาตมภาพจึงมีความมั่นใจที่เจริญพรมาด้วยเรื่องพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง หวังพึ่งความรักชาติของ ฯพณฯ นายกฯ เช่นเดียวกับเพื่อนพุทธศาสนิกทั้งปวง ขออนุโมทนาอำนวยพร

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

     พระลิขิตฉบับนี้ถูกนายกรัฐมนตรีวิพากษ์ว่า "ขณะนี้สมเด็จพระสังฆราช กำลังทรงพระประชวร เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ไม่รู้สึกพระองค์เป็นช่วง ๆ ทำไมถึงมีพระลิขิตออกมาได้" ปรากฎว่าพระหลายรูปถือว่าดูหมิ่นสมเด็จพระสังฆราชและเป็นการดิสเครดิตพระนิสิตที่ชุมนุม จึงถึงกับมีการแจ้งความเอาผิดกับนายกรัฐมนตรีทีเดียว จนป่านนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเรื่องไปถึงไหน

      กล่าวย้อนไปถึงกรณีที่สมเด็จพระสังฆราช ไม่ยอมเสด็จเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ทำให้การประชุมมหาเถรสมาคมขาดองค์ประธาน ซึ่งมีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในกรณีนี้อยู่ในมาตราที่ 10 วรรค 3 และวรรค 4 ว่า

     (มาตรา 10 วรรค 3) ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน

     (มาตรา 10 วรรค 4) ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามวรรคสาม หรือสมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

     ซึ่งข้อความในวรรค 1 และวรรค 2 ของมาตราที่ 10 นั้นมีข้อความดังนี้

     (มาตรา 10 วรรค 1) ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช (คือทรงสิ้นพระชนม์) ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

     (มาตรา 10 วรรค 2) ถ้าสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (ไม่ว่าจะโดยแก่เกินไป หรือป่วย หรือทุพลภาพคือพิการ) ให้กรรมการมหาเถรสมาคมที่เหลืออยู่ เลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

     นี่คือข้อความเกี่ยวกับ "สมเด็จพระสังฆราชและรักษาการสมเด็จพระสังฆราช" ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับล่าสุด คือ พ.ศ. 2535 ซึ่งผู้เขียนจะนำมาใช้เป็นแนววิเคราะห์ปัญหา"กรณีพลตรีมนูญกฤต รูปขจร ออกมาแย้งว่า การแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) วัดสระเกศ ขึ้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชนั้น ผิดรัฐธรรมนูญ"

     ขอย้อนกลับไปเล่าเรื่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ที่ถูกส่งจากมือสมเด็จพระพุฒาจารย์ให้แก่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่วัดสระเกศ วันนั้นเป็นวันคล้ายวันเกิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ป.ธ.9) พระมหาเถระในคณะมหานิกาย ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงสุดในมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน

     สมเด็จเกี่ยวนั้น ได้สมณศักดิ์ชั้นนี้ในปี พ.ศ. 2533 องค์อื่น ๆ นั้นได้ทีหลังท่านทั้งสิ้น จึงเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ยอมเสด็จลงประชุมมหาเถรสมาคม ทั้ง ๆ ที่ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงดี และทั้ง ๆ ที่ตำหนักเพชรซึ่งใช้เป็นที่ประชุมมหาเถรสมาคมนั้นก็อยู่ภายในวัดบวรนิเวศนั่นเอง

     เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 มาบังคับ เพื่อให้การประชุมมหาเถรสมาคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น "ในกรณีที่ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมไม่อาจมาประชุม หรือไม่อยู่ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม และมิได้มอบหมายให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ซึ่งอยู่ในที่ประชุม ปฏิบัติหน้าที่แทน" ข้อความนี้อยู่ในมาตราที่ 8 แห่งพระราชบัญญัตินั้น

     และนั่นเอง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ จึงได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมมหาเถรสมาคมแทบทุกนัดในระยะหลัง ๆ มานี้ จนกระทั่งถึงวาระพิจารณาการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อมหาเถรสมาคมรับร่างเสร็จแล้ว ก็ถูกส่งผ่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ผ่านมือพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่วัดสระเกศ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ย้ำว่า "ขออย่าให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ"

     หลังจากเนื้อหาสาระในพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้แพร่กระจายไป ก็เกิดปฏิกิริยาจากทางฝ่ายพระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีบทบาทดีเด่นในการออกบิณฑบาตเอาเงินและทองคำมาช่วยชาติแก้วิกฤตไอเอ็มเอฟ

     หลวงตาบัว มีศิษย์เอกคนหนึ่งชื่อว่า นายทองก้อน วงศ์สมุทร ได้ยกกำลังพลพระธรรมยุติประมาณ 5,000 รูป ไปประชุมกันที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศมติที่ประชุมให้ทำนิคคหกรรมแก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ในข้อหา "ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ขัดแย้งกับพระธรรมวินัย ดังมีข้อความในประกาศข้อที่ ๑ ว่า "ให้ยกเลิกการพิจารณาใด ๆ  ทั้งสิ้น คือ ให้ปัดทิ้งร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ…. ฉบับที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีและกรมการศาสนา ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่โมฆะ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ มีข้อบัญญัติ  สืบทอดเจตนารมณ์ของกลุ่มเผด็จการที่ไม่หวังดีต่อชาติและพระพุทธศาสนา ด้วยการสนับสนุนการลิดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยึดพระอำนาจของสมเด็จพระสังฆราช ขัดต่อจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ ขัดพระธรรมวินัย ฝ่าฝืนและขัดพระพุทธเจตนารมณ์" ตามด้วยคำขู่ว่า "ถ้ารัฐบาลยังฝืนนำพระราชบัญญัติฉบับเจ้าปัญหาดังกล่าวออกมาใช้ พระธรรมยุติทั้งหมดก็จะสละชีวิตเพื่อรักษาพระธรรมวินัย"

     ปรากฏว่า นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยประกาศกร้าวว่า "จะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับกลุ่มบุคคลใด ๆ ที่ชุมนุมประท้วงหรือก่อม็อบเพื่อกดดันรัฐบาล" แต่กรณีม็อบหลวงตาบัวนี้ นายกรัฐมนตรีกลับรีบกุลีกุจอ คืนร่างพระราชบัญญัติซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว กลับไปให้กฤษฎีกาพิจารณาอีกรอบ จนกระทั่งวันนี้ก็ยังพิจารณาหรือดองเรื่องกันไม่เสร็จสิ้น สงสัยจะกลัวหลวงตาบัวฆ่าตัวตาย

     ในสาระของคำประกาศนิคคหกรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์นั้น หลวงตาบัวและคณะกล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นผู้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเองทั้งหมด จึงกล่าวโทษเอาเฉพาะสมเด็จพระพุฒาจารย์เพียงองค์เดียว ทั้ง ๆ ที่คณะทำงานองค์อื่น ๆ ก็ออกมายืนยันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ไม่ได้เป็นคนร่าง และไม่ได้ดำเนินการเอง หากแต่เป็นมติของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ทำหน้าที่ประธานในการประชุมแทนสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น แต่ก็ไม่เห็นมีใครกระทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์เองก็ได้แต่แผ่เมตตา ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นปัญหาขององค์กรซึ่งต้องการความกระจ่างชัด ถ้าคำกล่าวหาของหลวงตาบัวเป็นจริง ก็ควรที่จะได้นำร่างดังกล่าวกลับไปพิจารณากันใหม่ ถ้าหากว่าไม่จริง ก็ควรจะมีการประกาศความบริสุทธิ์ให้แก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ไม่ใช่ให้มันแล้ว ๆ กันไป เหมือนขอกันกิน

     ความจริงแล้ว ผู้เขียนก็ยังติดใจอยู่ว่า ในเมื่อร่างดังกล่าวเป็นของมหาเถรสมาคม ผ่านการรับรองของมหาเถรสมาคมมาแล้ว ตามสายงานก็น่าจะส่งผ่านเลขาธิการมหาเถรสมาคมคืออธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้น เพื่อนำส่งถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีอีดทอดหนึ่ง หรือไม่ก็นำเสนอนายกรัฐมนตรีเลย

     แต่การนี้กลับปรากฏว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านลงมาเล่นบทเอง โดยมอบให้นายกรัฐมนตรีซึ่งมาทำบุญที่วัดสระเกศ เลยอาจจะเป็นเหตุหนึ่งให้หลวงตาบัวมองว่า "สมเด็จวัดสระเกศเป็นผู้บงการให้เป็นไปทั้งสิ้น" ยิ่งในสาระของมาตราว่าด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ยิ่งโดนใจหลวงตาบัว เพราะมาตราดังกล่าวระบุว่า "ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช" ตรงนี้กลับไปตรงกับคุณสมบัติของสมเด็จเกี่ยวเข้าพอดี เพราะว่าท่านมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ถ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีอันเป็นไป ก็จะใครเสียที่ได้เป็นสังฆราช นอกจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) หลวงตาบัวเลยตีวัวกระทบคราดลงไปว่า "เป็นการริดรอนพระราชอำนาจ" คือมัดมือพระเจ้าอยู่หัวชกนั่นเอง

     นี่คือที่ไปที่มาของปัญหาในซีกหนึ่ง อีกซีกหนึ่งนั้นก็มันไม่เบา กล่าวคือ เรื่องพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งระยะหลัง ๆ มานี้ออกมาถี่มาก ที่น่าทึ่งก็คือ พระเถระผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการในพระองค์ท่านกลับไม่รู้เรื่องพระลิขิตดังกล่าว จนถูกวิจารณ์ว่า "เป็นพระลิขิตส่วนตัว" บ้าง "เป็นพระลิขิตปลอม" บ้าง และเป้าที่ถูกโจมตีมากที่สุดก็คือ ห้องกระจก

     ห้องกระจกคืออะไร ?  ห้องกระจกนี้เป็นที่ประทับเป็นการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีคณะศิษยานุศิษย์กลุ่มหนึ่ง นำโดย ม.ล. จิตติ นพวงศ์ เป็นผู้ถวายความสะดวกอย่างใกล้ชิด และลูกศิษย์กลุ่มนี้นี่เองที่ถูกสังคมจับตามองว่า "เป็นผู้ดำเนินการร่างพระลิขิตฉบับต่าง ๆ แล้วนำไปให้สมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม" ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถึงจะผ่านการลงพระนามอย่างถูกต้องตามสูตร "กษัตริย์ตรัสแล้วย่อมไม่คืนคำ" แต่ถ้าว่ากันถึงกระบวนการแล้ว กลับไม่ถูกต้อง

     จริงอยู่ แม้พระลิขิตแรก ๆ จะเป็นพระลิขิตและพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสังฆราช โดยเฉพาะกรณีธรรมกาย แต่ครั้งหลัง ๆ มา โดยเฉพาะกรณีกระทรวงพระพุทธศาสนา ซึ่งกระทบถึงนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยตรง ทำให้รัฐบาลมองอย่างเต็มตามาที่ "ห้องกระจก" ค้นหาทางที่จะเอาม่านปิดไว้ไม่ให้สว่างเสียซักคราวหนึ่งดีมั๊ย

     มาถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2546 ก็มีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชออกมาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งฮือฮากันมาก เพราะเป็นพระลิขิตประกาศแต่งตั้งพระราชรัตมงคล (มนตรี อภิมนฺติโก น.ธ.เอก ป.ธ.1-2)  ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง

     ครั้นพระลิขิตนี้เผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า "เป็นพระลิขิตจริงหรือเปล่า" ทำไมพระราชรัตนมงคลได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถร ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน แต่ก่อนนั้นใครจะได้เป็นกรรมการมหาเถรโดยแต่งตั้ง ต้องเป็นผู้มีสมณศักดิ์สูงตั้งแต่ชั้นธรรมขึ้นไป แต่นี่เป็นแค่ชั้นราช ไฉนจึงได้รับพระบัญชา หรือว่าจะมีลับลมคมในอยู่ แม้ว่าในการปฏิบัติจะสามารถทำได้ก็ตาม

     และนั่นเอง ในวันที่ 13 มกราคม 2547 จึงได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ชั่วคราว) ลงนามโดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี โดยสมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับแต่งตั้งคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ป.ธ.9) วัดสระเกศ

     ทีนี้ก็มีปัญหาตามมาหลายด้าน อาจแบ่งได้สองทาง คือ ด้านกฎหมาย และด้านความรับผิดชอบในเนื้องานของคณะสงฆ์

     ด้านกฎหมายนั้น วันรุ่งขึ้นหลังจากมีประกาศ พลตรีมนูญกฤต กิตติขจร อดีตประธานวุฒิสภา ก็ออกมาชี้ว่า "การแต่งตั้งดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ" ทำให้เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีว่า "รัฐบาลทำผิดหรือทำถูก"

     ความจริงแล้ว ถ้าว่ากันตามตัวหนังสือที่เขียนไว้ในชื่อ รัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แล้ว ก็คงเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ "การตีความ" ของแต่ละบทแต่ละตอนหรือแม้แต่แต่ละคำ

     พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 บัญญัติไว้ว่า

     "มาตรา 10. ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

     ถ้าสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการมหาเถรสมาคมที่เหลืออยู่ เลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

     ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน

     ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามวรรคสาม หรือสมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาบังคับใช้โดยอนุโลม

     ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามมาตรานี้ ในราชกิจจานุเบกษา"

      นี่คือมาตราที่นักกฎหมายไทยถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอเล่าแบบง่าย ๆ ว่า มาตรานี้มีความหมายดังนี้

     คือ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ (ไม่มี) กฎหมายให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสทางสมณศักดิ์รองลงมาขึ้นรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชทันที จนกว่าจะมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ถ้าองค์รองลงมานั้นป่วยหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ก็ให้ไล่ลำดับอาวุโสทางสมณศักดิ์ลงไป จนได้ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

     ถ้าสมเด็จพระสังฆราชเสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจในการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ ตรงนี้มิได้ระบุว่า จะต้องแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด ไม่ว่าโดยพรรษาหรือโดยสมณศักดิ์ เรียกว่าให้อำนาจแก่สังฆราชเต็ม ๆ

     แต่ถ้าสมเด็จพระสังฆราชเสด็จออกนอกประเทศไปโดยมิได้แต่งตั้งใครให้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ ก็ให้ใช้ข้อความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาอนุโลมใช้ คือให้สมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าองค์อาวุโสนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้มหาเถรสมาคมประชุมกันเลือกสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสรองลงมา เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช

     ทีนี้ก็มาถึงกรณีทีมีการแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ขึ้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ที่ว่านี้ โดยทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่า

     1. สมเด็จพระสังฆราชยังทรงพระชนม์อยู่

     2. สมเด็จพระสังฆราชมิได้เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักร

     3. สมเด็จพระสังฆราชยังมิได้ป่วยถึงขั้นไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้

     4. รองนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจอะไรแต่งตั้ง

     5. ในคำแต่งตั้งนั้นมีเงื่อนงำ คือระบุเวลาไว้ว่า "หกเดือน" ทั้ง ๆ ที่ ถ้าหากเป็นการแต่งตั้งฉุกเฉินในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวรแล้ว ก็น่าจะระบุว่า "จนกว่าจะทรงหายพระประชวร" แต่นี่กลับบอกว่า "เป็นเวลา ๖ เดือน" แล้วมีอะไรประกันว่า สมเด็จพระสังฆราชจะทรงหายภายในเวลานั้น ถ้าทรงประชวรจริง

     เรื่องปัญหาทางข้อกฎหมายทั้งหมดนี้ ก็แล้วแต่มุมมองหรือการตีความ บางคนก็ว่า รัฐบาลสามารถกระทำได้ ทั้งนี้เพื่อปกป้ององค์สมเด็จพระสังฆราชจากการถูกครอบงำโดยศิษย์ห้องกระจก เพื่อมิให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ เป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่ว่า "รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา" แต่นักกฎหมายบางท่านก็คัดค้านว่า "จริงอยู่ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มิได้ระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ แต่ตามนิติวิถี หากสิ่งใดไม่มีหรือมิได้บัญญัติไว้ ก็แสดงว่า รัฐบาลยังไม่มีอำนาจในการดำเนินการในสิ่งนั้น เพราะไม่งั้นแล้ว อะไรที่ไม่มีในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ คนทั่วไปก็จะเข้าใจว่าตัวเองมีอำนาจทำได้ นี่เป็นมองต่างมุมในเรื่องของกฎหมาย

     ในมุมมองของความรับผิดชอบในเนื้องานของคณะสงฆ์ มุมมองนี้ก็อย่างที่บอกว่า สำหรับคนทำงานนั้น เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น กรณีพระลิขิตที่ออกมาบ่อย แถมยังไม่ถูกขั้นตอนอีกนั้น แสดงให้เห็นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับสมเด็จพระสังฆราชแล้ว อาจจะใช้คำพูดถึงขั้นว่า "สมเด็จพระสังฆราชทรงถูกครอบงำโดยบุคคลคณะใดคณะหนึ่ง" แต่จะเป็น "ศิษย์ห้องกระจก" หรือไม่นั้น ไม่สามารถล่วงรู้ได้

     พระลิขิตที่ออกมานั้น "จริงหรือปลอม" ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดแจง เพราะสถานะของสมเด็จพระสังฆราชนั้นสูงส่งยิ่ง แต่การไม่ทำการพิสูจน์ก็ถือเป็นความบกพร่องเช่นกัน ที่สำคัญก็คือ ทำอย่างไรพระลิขิตจึงจะออกมาอย่างถูกต้องตามกระบวนการ คือผ่านกองงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ใช่วันดีคืนดีก็มีเด็กก้นกุฏินำออกมาแจกหนังสือพิมพ์ อย่างนี้ถือว่าไม่สวย

     ด้วยเหตุนี้กระมัง คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงออกมาแบบสายฟ้าแล่บ ทื้งนี้เพื่อจะตัดวงจรแห่งปัญหาคือ "ห้องกระจก" ทิ้งไปเสียก่อน จึงถึงแม้ว่าสมเด็จพระสังฆราชจะสามารถทรงงานได้เป็นบางครั้ง แต่รัฐบาลก็อ้างว่า "ทางแพทย์ต้องการให้พระองค์ทรงพักผ่อนอย่างเต็มที่ เป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือน"

     อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคงจะได้มองเห็นเค้าแห่งความวุ่นวายบางแล้ว จึงมิได้แต่งตั้งเพียงสมเด็จพระพุฒาจารย์ขึ้นปฏิบัติหน้าที่เพียงองค์เดียว หากได้แต่ตั้งทั้งสองนิกายจำนวนถึง ๕ รูป เพื่อกำกับ กลั่นกรองงาน ผ่านผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ถึงกระนั้นก็มิวายมีปัญหาจนได้

      หนึ่งนั้น ก็เข้าทางหลวงตาบัว ที่โจทย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ไว้แต่เดิมแล้ว เรียกตามภาษานักมวยว่า "มีแผลให้ขยาย" ถึงจะอ้างว่าปกป้องพระสังฆราชก็เถอะ

     สองนั้น ก็เข้าทางวัดพระธรรมกาย เพราะเมื่อมีพระลิขิตเรื่องพระธัมมชโยออกมานั้น ม.ล. จิตติ นพวงศ์ ดูเหมือนจะเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนพลังเข้าโจมตีวัดพระธรรมกายจนโอนไปเอนมา บัดนี้ เมื่อมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชแล้ว ก็หมายถึงว่า บรรดาศิษย์ในห้องกระจกย่อมไม่สามารถจะถวายงานในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอีกต่อไป จนกว่าจะมีการยกเลิกคำสั่งนั้น"

     เสียงทะเลาะ ร้องไห้ และหัวเราะเยาะนั้น คงจะดังมาจากหลายมุม สุดแต่ว่า ใครจะอยู่ฝ่ายไหน ฐานะอะไร เคยได้หรือจะได้อะไรบ้าง จากกรณีดังกล่าวมานี้

นี่คือบทบาทของเราที่อยากเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ

 

พระมหานรินทร์ นรินฺโท
วัดไทย ลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา
18 มกราคม 2547

Tags : เพื่อนเก่า เหล้าดี ที่พักเยี่ยม คือความสุข

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view