http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,637
Page Views16,303,989
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้น 29.

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้น 29.

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย

ต้น 29.ราชพฤกษ์

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

 

ชื่อพื้นเมือง กุเพยะ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) คูณ ลมแล้ง (ภาคเหนือ) คูณ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) ลักเกลือก ลักเคย (ปัตตานี) บือยู ปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) Indian Laburnum, Golden Shower, Pudding-pine Tree.

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cassia fistula L.

ชื่อวงศ์   LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE (FABACEAE)


ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

            ในประเทศไทย  พบว่า ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ กระจายพันธุ์ไปในป่าเต็งรัง มีมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 50 – 500 ม.

            ในต่างประเทศ  พบที่ อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย และเขตร้อนทั่วไป


ลักษณะประจำพันธุ์

            ต้นไม้  เป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5 – 15 ม. ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาวหรือนวล เรียบ เกลี้ยง หรือแตกล่อนเป็นสะเก็ดโต ๆ บ้าง เปลือกใน สีเหลือง เรือนยอดรูปไข่หรือรูปร่ม ค่อนข้างทึบแตกกิ่งต่ำ แผ่กว้าง ให้ร่มเงาดี

            ใบ  เป็นช่อ สีเขียวเป็นมัน แต่ละช่อติดเรียบสลับ ช่อหนึ่งยาว 25 ซม. และช่อหนึ่ง มีใบย่อย 3 – 6 คู่ ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปป้อม รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4 – 8 ซม. ยาว 7 – 15 ซม. ปลายสอบแหลม โคนสอบแหลม เนื้อเกลี้ยง เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบย่อยเรียงไม่เป็นระเบียบ ปลายเส้นจรดเส้นถัดไป ขอบใบเรียบ ใบอ่อน สีเขียวแกมเหลืองอ่อน ใบแก่ สีเขียวเข้ม ก่อนหลุดร่วงสีเหลือง


            ดอก  ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบห้อยย้อยลง ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ยาว 20 – 45 ซม. มีขนาดช่อใหญ่ยาวเด่นสวยสดงดงามมาก เตะตาทั่วไป ออกดอกดกมากในขณะที่ทิ้งใบหมดหรือมีใบเหลืออยู่เล็กน้อย หรือผลิใบแซมเล็กน้อยแล้ว มีดอกใบประดับ ยาว 8 – 10 มม. มักหลุดร่วงง่าย กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาว 0.7 – 10 มม. มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย กลีบดอกรูปไข่ยาวกว่ากลีบรองกลีบดอก 2 – 3 เท่า มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย กลีบดอกรูปไข่ยาวกว่ากลีบรองกลีบดอก 2 – 3 เท่า มี 5 กลีบ แต่ละกลีบดอก กว้าง 1 – 1.5 ซม . ยาว  3 – 3.5 ซม. ฐานกลีบเรียวลีบไปเป็นก้านสั้น ๆ ตามผิวกลีบดอกมีเส้นชัดเจนดอก สีเหลืองสดใส เกสรผู้ มี 10 อัน สั้นยาวแตกต่างกัน แต่ละอันจะโค้งงอนขึ้น รังไข่และหลอดเกสรเมียมีขนคลุม


            ผล เป็นฝัก รูปทรงกระบอก ยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 2.5 ซม. ยาว 20 – 60 ซม. ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน ผลอ่อน สีเขียวมัน ผลแก่ สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ หรือออกสีดำ ภายในฝักจะมีเยื่อบาง ๆ กั้นเป็นช่อง ๆ ตามขวางฝัก แต่ละช่องจะมีเมล็ดฝังอยู่หนึ่งเมล็ด เมล็ดรูปมน แบน สีน้ำตาล เป็นมัน กว้าง 5 มม. ยาว 8 มม. เมล็ดมีจำนวนมาก

            ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล  ออกดอกระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน และเป็นผลระหว่างเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน ก่อนออกดอกมักผลัดใบหมดต้น ออกดอกเต็มต้น ดอกยาวระย้าสวยสดงดงามมากในฤดูร้อนที่แห้งแล้ง แต่ถ้ามีความชุ่มชื้นอยู่บ้างอาจผลิใบผสมดอกสดใส


สภาพที่เหมาะสมและการขยายพันธุ์  นิยมใช้เมล็ดเพาะกล้าไม้ เมล็ดขนาดใหญ่ ง่ายต่อการเพาะขยายพันธุ์ ดินเลวจนถึงดินดี อุณหภูมิเขตร้อนปกติ 28-38 องศาเซลเซียส

บันทึกผู้เขียนและผู้ถ่าย

         1.ด้านการเป็นไม้ประดับ  ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย ถือกันมาแต่โบราณกาลว่าเป็นไม้มีค่าสูง มีมงคลนาม อันหมายถึงพรรณไม้แห่งพระราชา สีดอกเหลืองสดใสก็เป็นสีแห่งพุทธศาสนา นิยมทำเสาหลักเมือง    ผลัดใบหมดต้นแล้วออกดอกพร้อมกันในหน้าแล้ง อีสานจึงเรียก “ลมแล้ง” เหลืองไปทั่วท้องทุ่ง             แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีความชุ่มชื้นอยู่บ้างหรือระหว่างผลัดใบมีฝนตกบ้างจะผลิใบพร้อมดอกก็ให้ความสวยงามไปอีกมิติหนึ่ง  ปลูกประดับในป่าอนุรักษ์ได้สีสันสดใส และเพิ่มเสน่ห์ให้ป่าได้ดี

          เป็นไม้ในถิ่นกำเนิดของประเทศไทย นำไปปลูกประดับเพื่อให้เกิดความสวยงามในป่าอนุรักษ์ได้ทั้ง 2 ประเภทคือทั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


            2.ด้านการทำสีย้อม ชาวเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้เปลือกเนื้อไม้และผล มาทำสีย้อมให้สีเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ่ายและผ้าไหม

            3.เนื้อไม้มียางฝาด ใช้เคี้ยวกับหมากแทนสีเสียต และให้น้ำฝากใช้ฟอกหนังได้ เนื้อไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol

            4.ด้านการเป็นพืชอาหาร  ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร

                        ฝัก  เนื้อในฝักมีรสหวาน รับประทานเป็นอาหารได้ เป็นอาหารของสัตว์ป่าบางชนิด

            5.ด้านเป็นพืชสมุนไพร  ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ

                        ราก  ฆ่าเชื้อคุดทะราด เป็นยาระบายท้อง รักษาขี้กลาก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต ขับพยาธิผิวหนัง แก้ไข้จับ ถอนพิษกาฬ 

                        หัว  แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้พิษเชื่อมซึม แก้พิษตานซาง แก้โรคเถาดานในท้อง ทาบาดแผล กัดฝ้าหนองได้ดี

                        เปลือก  แก้เนื้อและหนังให้ตั้งมั่น แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ไข้ แก้ฝีคุดทะราด แก้โรคในทรวงอก แก้ฟกบวมในท้อง แก้ปวดมวน แก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้พยาธิ แก้ฝีเปื่อยพัง

                        เปลือกเมล็ด  ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียน

                        เปลือกฝัก  ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียน

                        กระพี้  แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน

                        แก่น  ขับพยาธิไส้เดือน

                        ใบ  ขับพยาธิผิวหนัง ระบายท้อง แก้ฝี และเม็ดผื่นตามร่างกาย ฆ่าเชื้อโรคทั้งปวง

                        ดอก  แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้ปวดแผลเรื้อรัง พุพอง แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต

                        ฝัก  แก้กระหายน้ำ แก้เสมหะในอก แก้จุกเสียด แก้กำเดา แก้ร่างกายซูบผอม แก้พรรดึก ระบายพิษไข้ แก้ร้อนใน ถ่ายโลหิต ถ่ายลม ถ่ายน้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ถ่ายกระษัย เส้นเอ็น แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้พยาธิ แก้ตกโลหิต

                        เนื้อในฝัก  ช่วยขับถ่ายอุจจาระ ถ่ายเสมหะ ช่วยระบายท้องเด็ก ระบายพิษโลหิต แก้ร้อนในกระหายน้ำ ระบายท้อง บรรเทาอาการหนักอก ฟกช้ำ ชำระน้ำดี แก้ลม เข้าข้อ และขัดข้อ ถ่ายพิษไข้ ถ่ายโรคกระษัย ถ่ายเส้นเอ็น

            ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

                        กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านยีสต์ ต้านไวรัส ฆ่าพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ ฆ่าแมลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่นยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน ลดการอักเสบ ยับยั้งพยาธิไส้เดือน ฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน กระตุ้นการสร้าง interferon ฤทธิ์เหมือน interferon ยับยั้งอาการไขมันไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

                        เป็นยาระบาย ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ เป็นพิษต่อเซลล์ ลดน้ำตาลในเลือด จับกลุ่มกับเม็ดเลือด ต้านเชื้อบิดมีตัว แก้ท้องเสีย ทำให้น้ำอสุจิจับตัวเป็นก้อน แก้ปวดลดไข้ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acid phosphatase, alkaline phosphatase และ polygalacturonase  เป็นพิษต่อตัวอ่อน พบพิษในเด็กที่รับประทานส่วนต่าง ๆ ของพืชนี้เข้าไป

 

 

Tags : บ้านทุ่งแสนสุขตอน 27.เฝ้าน้ำไก่

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view