http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,005,396
Page Views16,314,346
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ท่องอุบลแบบคนอุบล ตอน 8. จากหนองบัวลุ่มภู เวียงใหม่ เขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ถึงหนองบัวอุบล

ท่องอุบลแบบคนอุบล ตอน 8. จากหนองบัวลุ่มภู เวียงใหม่ เขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ถึงหนองบัวอุบล

ท่องอุบลแบบคนอุบล ๘

 

ตอน ตามรอยพระวอพระตา ๑

 

จากหนองบัวลุ่มภู เวียงใหม่เขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ถึงหนองบัวอุบล

 

เอื้อยนาง

 

                ตั้งแต่พระวอพระตาโน่น

                นั่นเป็นสำนวนที่เราคนอุบลรุ่นก่อน ๆ ได้ยิน ได้ฟังเสมอ และเข้าใจกันดีว่า เป็นคำเปรียบเทียบถึงสิ่งใดก็ตามถ้ามีมานานมาก ก ก..ๆ. ละก็ต้องมีมาแต่ยุคพระวอพระตาแน่นอน  เพราะมันนานจนบอกวันเดือนปีไม่ได้นั่นแหละ

                และสำนวนนี้ก็ให้ความรู้สึกอันคุ้นเคย อบอุ่นใจ ชวนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ฟันดงหนา ฝ่าคมขวาน พาขบวนคารา ลูกหลานไพร่พลจาก หินโงมใกล้เวียงจันทน์  สู่ “หนองบัวลุ่มภู” ตั้ง  เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน  แล้วยังถูกรุกรานไล่ล่า เพราะความขัดแย้งรุนแรงกับพี่น้องปล้องปลายราชสำนักเวียงจันทน์  กว่าจะเหลือรอดมาเป็นหมู่เฮาชาวอุบลราชธานี  ศรีวนาไลย ประเทศราชนั้นใช้เวลานานหลาย ๆ ปี เคลื่อนย้ายไปหลาย ๆ แห่ง ตั้งหลักแหล่งสะสมเสบียง และกองกำลังคอยช่วยเหลือสนับสนุนกัน  จนเกิดเป็นบ้านเมืองกระจัดกระจายในสายโขง มูล ชี และลำน้ำสาขา บ้างถูกยุบไป บ้างเติบใหญ่เปลี่ยนแปลงเป็นบ้านเมืองมาจนปัจจุบัน เช่น เมืองคูขัน(ขุขันธ์) เมืองยโสธร เมืองดอนมดแดง 


                การแยกย้ายแบ่งไปหลายกองหลายทิศทาง   กองใหญ่ไปถึงจำปาศักดิ์  ได้ตั้งอยู่ชายคานคร ณ เวียงดอนกอง บ้านดู่ บ้านแก   กระนั้นยังไม่หลุดพ้นจากราชภัย ต้องเข้าพึ่งกรุงธนบุรี และตามลำน้ำมูลมาสมทบกับกลุ่มดอนมดแดง แก้งส้มป่อย   สู่ห้วยแจระแม แลดงอู่ผึ้งอันเป็นที่ตั้งเทศลางอยู่ที่บาลนครอุบลราชธานีที่มีในปัจจุบันนั่นเอง

                ช่างยืดยาว จะค่อย ๆ เล่านะคะ

                ตอนก่อนเล่าเรื่องพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ไปแล้ว  แต่ยังไม่ละเอียดนัก จึงขอย้อนไปอีกทีค่ะเพราะท่านเป็นบุคคลสำคัญมากของอุบลราชธานี เป็นสายเลือดโดยตรงของเจ้าพระตาที่กล่าวมาข้างบน

                เอกสารเก่าเรียกนามท่านว่า “ท้าวคำผง”  บ้าง  “คำผงบุตรพระตา” บ้าง  นั่นเพราะนามเดิมของท่านคือ  “คำผง” บิดา-มารดา ของท่าน คือ “พระตา” และ “นางบุศดี”

                และพระตามีน้องชายนามว่า “พระวอ” หรือ “พระวรราชภักดี”  เป็นพี่น้องคู่ใจต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ เป็นที่มาของคำว่า “พระวอพระตา” ในสำนวนที่เอ่ยถึงข้างต้นนั่นเอง

                ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า  บ้านเมืองแถบอีสานก่อนนั้นขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรล้านช้างร่มขาวมีศูนย์กลางอยู่ที่นครหลวงพระบางก่อนย้ายมาที่เวียงจันทน์  และเวียงจันทน์ก็เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้ซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้าหญิงล้านนาผู้มีสิทธิ์ในราชสมบัติแห่งล้านนา  เป็นเหตุให้เจ้าชายไชยฯได้รับอัญเชิญไปครองเชียงใหม่(พ.ศ.๒๐๐๙)  แต่ครองอยู่ไม่นานพระราชบิดา(สมเด็จพระเจ้าโพธิสารราช)ได้รับอุบัติเหตุสิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงได้รับการอัญเชิญกลับมาครองราชอาณาจักรล้านช้างแทนพระราชบิดา  และได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมายัง  เวียงจันทน์(พ.ศ.๒๑๐๓)  สร้างสาเวียงจันทน์ถึงยุครุ่งเรืองสุดขีด ทรงเป็นนักรบผู้สามารถ เป็นนักบริหาร และนักการศาสนาไปพร้อมกัน  มีการฟื้นฟูบ้านเมือง วัดวาอาราม สร้างพระพุทธรูปเป็นที่รวมใจราษฎรมากมาย


                แต่หลังยุค ของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแล้วความขัดแย้งในราชสำนักล้านช้างก็เกิดขึ้น ฝังลึก เป็นแก้วร้าวเรื่อยมา  ราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แตกออกเป็นสามจุ้ม คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์

               ความขัดแย้งคงมีมาอยู่เรื่อย ๆ แบ่งเป็นหลายก๊กหลายกลุ่มตลอดหลายยุคสมัย กระทั่งรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าศิริบุญสาร กลุ่มพระวอพระตาจากบ้านหินโงมจึงแยกออกไปตั้งอยู่ที่หนองบัวลุ่มภู เมืองเก่าแต่บรรพบุรุษของตน(เจ้าปางคำ)ที่มาจากเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า

              หนองบัวลุ่มภู  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ชายฝั่งหนองบัว(หนองซำฮ้าง)ที่อุดมสมบูรณ์ ทัศนียภาพสวยงาม  ในช่วงสมเด็จพระเจ้าไชยเวษฐาธิราชครองนครเวียงจันทน์ได้ทรงมาฟื้นฟู ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม สร้างพระพุทธรูป ขุดบ่อน้ำ  ที่เมืองนี้ซึ่งเป็นเมืองร้างยุคขอมรุ่งเรือง  และยกฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเวียงจันทน์ ชื่อ “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน” (จากประวัติหนองบัวลำภู) ถือเป็นเมืองเอกทางตะวันตกของเวียงจันทน์

                ครั้นสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหายสาบสูญพระองค์ไปในการติดตามปราบขบถ  พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงสั่งให้พระมหาธรรมราชาแห่งอยุธยายกกองทัพมาตีเวียงจันทน์โดยมีพระราชโอรสคือพระนเรศวรติดตามมาด้วย  กองทัพได้มาตั้งที่หนองบัวลุ่มภูนี้ แต่พระนเรศวรทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษเสียก่อนทางฝ่ายพม่าจึงอนุญาตให้ยกทัพกลับ

                หนองบัวลุ่มภูฟื้นกลับอีกครั้งเมื่อพระวอพระตาพร้อมลูกหลานไพร่พลยกขบวนใหญ่มาตั้งเป็นหลักแหล่ง (ประมาณพ.ศ.๒๓๐๒)ทำการสร้างค่าย คู ประตู หอรบรอบด้าน ตั้งกฎบัญญัติขึ้นปกครองตนเอง เป็นอิสระ ให้นามใหม่ว่า  เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน  มีเมืองหน้าด่านคือ เมืองนาด้วง  ภูเวียง  ผาขาว(ผ้าขาว)  และเมืองพรรณนา


                ท้าวคำผงบุตรพระตาช่วงนั้นเป็นหนุ่มฉกรรจ์ ผู้มีบทบาทในการสร้างสา บ้านเมือง และเป็นนักรบกล้าของกองทัพ ช่วยพระบิดา และพระเจ้าอาในการสู้รบกับกองทัพเวียงจันทน์ที่กัดไม่ยอมปล่อยและยังไปขอกองทัพพม่ามาช่วยอีกจนพระตาพลีชีพในสนามรบ

                ชีวิตผู้คนนั้นมีค่ายิ่งนัก  หากจะดึงดันตั้งมั่นอยู่ก็คงต้องต่อสู้จนหมดสิ้น  พระวอและลูกหลาน ไพร่พล ตลอดพระสงฆ์องค์เจ้าที่ร่วมเป็นร่วมตายจึงตกลงทิ้งเวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน แบ่งกำลังและผู้คนออกเป็นหลายสายแยกย้ายไปหาที่ตั้งหลักเตรียมเสบียง กำลังคอยช่วยเหลือกันยามจำเป็น 


               ส่วนพระวอ ท้าวคำผง ย้ายกองครัว ไพร่พล ส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปพึ่งพิงเจ้านครจำปาศักดิ์ และได้ตั้งอยู่ ณ เวียงดอนกอง บ้านดู่ บ้านแก ใกล้นครจำปาศักดิ์นั่นเอง ก่อนถูกเวียงจันทน์ส่งพญาสุโพยกทัพใหญ่ตามมาไล่ล่า จนพระวอพลีชีพไปอีกคน  ท้าวคำผง(พระปทุมวรราชสุริยวงศ์)ได้มีใบบอกไปนครราชสีมา ขอพึ่งพระโพธิสมพารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(พ.ศ.๒๓๑๐) และยกกองครัวผู้คนมาตั้ง ณ ดอนมดแดงซึ่งมีกลุ่มกองครัวตั้งบ้านเรือน ทำไร่ ใส่นาคอยช่วยเหลือกันอยู่ก่อนแล้ว  ต่อมาจึงขยับขยายสู่ ห้วยแจระแม แลดงอู่ผึ้งสถานที่อุดมสมบูรณ์ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูล  ซึ่งเหนือขื้นไปมีหนองใหญ่ให้ระลึกถึงหนองบัวลุ่มภู จึงให้ชื่อว่าหนองบัวสืบมา

              ปัจจุบันหนองบัวเป็นสวนสาธารณะริมฝั่งน้ำ ร่มรื่น สวยงาม เป็นที่พักผ่อนออกกำลังกายอีกแห่งของชาวเมืองอุบลราชธานี  ที่มองขึ้นไปทางทิศเหนือจะเห็นพระธาตุหนองบัว รูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายพระธาตุพุทธคยาที่อินเดีย สูงเด่น เป็นสง่า ใต้ฟ้าเหนือยอดเขียวไสวของแมกไม้ริมฝั่งหนองที่มีน้ำใสราวกับจะส่องเห็นเมืองบาดาล

.....

               

 

               

               

 

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view