http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,000,124
Page Views16,308,791
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ต้นโกงกางพันธุ์ใหม่เป็นหมัน ทำอย่างไรดี

ต้นโกงกางพันธุ์ใหม่เป็นหมัน ทำอย่างไรดี

ต้นโกงกางพันธุ์ใหม่เป็นหมัน ทำอย่างไรดี

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ


        ตื่นเต้นกันไปทั่วโลก ด้วยพระบารมี ดร.สนใจ หะวานนท์ รองผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค้นพบต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ ในป่าชายเลนทูลกระหม่อม  ต่อมาความทราบถึง ศ.ดร.สุพัฒน์  อรรถธรรม หน.ภาควิชาโรคพืช แห่งวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการดัดแปลงพันธุกรรมพืช(GMO)คนสำคัญ จึงได้เรียนเชิญ ดร.รงรอง หอมหวล จากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง และคณะไปเยี่ยมชมและเก็บชิ้นส่วนต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ เพื่อหาแนวทางขยายพันธุ์ด้วยการไม่อาศัยเพศ


ดร.สนใจเล่าเรื่องย่อๆให้คณะฟัง

         บันทึก ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ว่า ศาสตราจารย์ ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม พร้อมด้วยดร.รงรอง หอมหวล และทีมงาน เดินทางไปถึงอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ได้พบ ดร.สนใจ หะวานนท์ รองผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร น.ส.อารีย์พร สิทธิญาณไพบูลย์ หน.กลุ่มวิจัยและพัฒนา สังกัดอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้ร่วมกันปรึกษาหารือ


ดร.รงรอง หอมหวล ฟังอย่างตั้งใจ

          ดร.สนใจ หะวานนท์เล่าเรื่องย่อๆเกี่ยวกับต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ว่า ได้ค้นพบก็เนื่องมาจากการทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ(Board walk)เพื่อให้ประชาชนคนสนใจป่าชายเลน ผ่านไปในป่าชายเลนทูลกระหม่อม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดากัลยาสยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นโกงกางด้วยพระองค์เอง 202 ต้น แต่เมื่อจะทำป้ายสื่อความหมายพันธุ์พืชในป่าโกงกางจึงได้พินิจแล้วพบว่า มีต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ต้นนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 13 ปี แปลกแตกต่างไปจากโกงกางต้นอื่นๆ


ศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ดร.รงรอง หอมหวลและทีมงาน ปรึกษาหาทาง

           ดร.สนใจ เล่าว่า โดยธรรมชาติป่าชายเลนทั่วโลก ต้นโกงกางใบใหญ่กับต้นโกงกางใบเล็กนั้นจะออกดอกไม่ตรงกัน แต่ที่ป่าชายเลนทูลกระหม่อมแห่งนี้ เกิดความผิดปรกติคือ ต้นโกงกางใบใหญ่และต้นโกงกางใบเล็กออกดอกพร้อมกัน จึงเป็นโอกาสให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ และการผสมข้ามสายพันธุ์นั้นมักจะคัดแต่สิ่งดีของแต่ละสายพันธุ์มาผสมกันจึงได้ต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ที่แปลก


หน.อารีย์พร ดร.สนใจ ศ.ดร.สุพัฒน์และดร.รงรอง ถ่ายรูปก่อนเดินทางไปเก็บชิ้นส่วน

            ต้นสูงใหญ่กว่าปกติ แสดงว่าสามารถสะสมคาร์บอนได้มากกว่า ระรบรากอากาศแผ่กว้างและสูงช่วยให้การเกาะยึดชายฝั่งดีกว่า ใบใหญ่กว่าปกติ ใบผสมระหว่างใบใหญ่กับใบเล็ก คือ เส้นกลางใบต้นนี้เป็นสีแดงจากต้นโกงกางใบเล็ก  แต่ใบใหญ่กว่าต้นโกงกางใบใหญ่ สามารถดูดซับและคายคาร์บอนไดอ็อกไซด์สูงกว่า


 3 ดร.กับหนึ่งทีมงานคนสำคัญ

          ช่อดอกผสมกันดังนี้คือ ก้านช่อดอกสั้นอย่างโกงกางใบเล็ก จำนวนดอก 2 ดอกเหมือนต้นโกงกางใบเล็ก แต่ลักษณะดอกเหมือนดอกโกงกางใบใหญ่ น่าเศร้าที่ดอกเป็นหมัน ไม่เกิดการผสมพันธุ์ ไม่มีฝักหรือผลเหมือนโกงกางทั้งสองพันธุ์ ข้อสังเกต ใต้ต้นโกงกางทั้งสองพันธุ์จะมีฝักหล่นปักตามใต้ต้น แล้วเจริญเติบโตเป็นต้นโกงกางต่อไป เฮ้อ เป็นหมันจริงๆ


         ศ.ดร.สุพัฒน์   อรรถธรรม เรียนว่า ด้วยเหตุนี้ จึงต้องขยายพันธุ์โกงกางพันธุ์ใหม่ต้นนี้ด้วยวิธีไม่อาศัยเพศ ทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ          จึงได้เรียนเชิญ ดร.รงรอง หอมหวน และทีมงาน  ซึ่งเป็นมือหนึ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน ได้พิจารณาหาทางช่วยด้วย


          ดร.รงรอง หอมหวล ได้เสนอว่าจะเก็บชิ้นส่วนต่างๆของต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ไปทำการทดลอง โดยจะเก็บส่วนยอดของต้น ช่อดอกทั้งตูมและบาน  ตาดอก ฯลฯ บรรจุในถังน้ำแข็งไปก่อน ขั้นแรกจะทำการทดลองปักชำกิ่งที่เก็บชิ้นส่วนไป และทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากชิ้นส่วนที่คัดเลือกไปแล้ว หากได้ผลประการใดจึงค่อยพิจารณากันต่อไป


พนักงานขึ้นไปเก็บชิ้นส่วน

          ดร.สนใจ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทั่วโลกแม้แต่ญี่ปุ่นเคยทดลองขยายพันธุ์ต้นโกงกางด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ไม่เกิดผลสมฤทธิ์ เนื่องจากต้นโกงกางมีแทนนินสูง เกิดแค่ตุ่มๆแต่ไม่เจริญ เรียนเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่อาจารย์นะครับ

           เมื่อเดินทางไปถึงต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ จึงได้เก็บชิ้นส่วนต่างๆได้แก่ ยอดและช่อใบ  ช่อดอกตูมและดอกบาน ตาใบ บรรจุลงถังน้ำแข็ง


ดอกโกงกางพันธุ์ใหม่ลูกผสม

          ดร.สุพัฒน์ได้ปรึกษาดร.รงรองว่า น่าจะทดลองขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นๆดู เช่นให้เจ้าหน้าที่สวนไม้หอมซึ่งเชี่ยวชาญการตอนกิ่ง การทาบกิ่ง มาทำการตอนกิ่งและทาบกิ่งดู ว่าจะสามารถทำได้หรือไม่

           หลังจากนั้น ถ่ายรูปหมู่เป็นหลักฐาน ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ถือเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ของต้นโกงกางพันธุ์ใหม่ต่อไป  


ซ้ายไปขวา ผม,นักเทคโนศูนย์วิจัย,ดรรงรอง,ศ.ดร.สุพัฒน์,ดร.สนใจ,อารีย์์พรและทีมงาน


หอยจุ๊บแจงมาหากินใต้ต้นโกงกางพันธุ์ใหม่หนาแน่นกว่าต้นอื่นๆ

Tags : Sonjai Havanond

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view