http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,003,979
Page Views16,312,859
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ตามรอยพระวอพระตา ๒ นกหัสดีลิงก์(สักกะไดลิง) มรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่า อุบลราชธานี

ตามรอยพระวอพระตา ๒  นกหัสดีลิงก์(สักกะไดลิง) มรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่า  อุบลราชธานี

ตามรอยพระวอพระตา ๒

นกหัสดีลิงก์(สักกะไดลิง) มรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่า

อุบลราชธานี

เอื้อยนาง


 

              เช้าวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ครบรอบปีของการปฏิบัติครั้งล่าสุดรัฐบาลไทย  แต่ ณ ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของศาลากลางจังหวัดหลังเก่าซึ่งถูกเผาไปในเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา กำลังมีพิธีสามหาบ(เก็บอัฐิ)ของพระผู้ใหญ่ที่สำคัญของอุบลราชธานี  พระเทพกิตติมุนี(สมเกียรติ สมกิตฺติ) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ประธานสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง(วัดป่าใหญ่)ซึ่งท่านได้มรณภาพแต่เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ในการนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จในการพระราชทานเพลิงศพ

 

              เมื่อคืนที่ผ่านมา  คือ คืนวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ ทุ่งศรีเมืองใจกลางนครอุบลราชธานี แห่งนี้ เมรุชั่วคราวรูปปราสาทนกหัสดีลิงค์ หรือตามสำเนียงท้องถิ่นเรียก นกสักกะไดลิงได้ถูกพระเพลิงเผาผลาญพร้อมร่างของท่านพระครู ผ่านพิธีการทางศาสนาพุทธ และพิธีการแบบโบราณจารีตเดิมของบรรพบุรุษอุบลราชธานี นั่นคือพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์


              พิธีนี้เป็นร่องรอยอีกอย่างจากพระวอพระตาบรรพบุรุษอุบลราชธานีที่สืบเชื้อสายจากเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เป็นการประกอบพิธีศพชนชั้นสูง หรือผู้มีคุณูปการแก่บ้านเมือง  โดยการสร้างเมรุชั่วคราวรูปปราสาทนกหัสดีลิงค์  ซึ่งเป็นนกในตำนานว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ รูปร่างเป็นนกแต่มีจะงอยปากยื่นยาวเป็นงวงช้าง   และก่อนเผาศพจะมีพิธีการฆ่านกโดยนางเทียม(นางทรง)จากสตรีในตระกูลนางสีดาในตำนานและความเชื่อเรื่องนกหัสดีลิงค์  สืบทอดกันมาผ่านลูก หลานที่เป็นสตรี ตัวนกจะสร้างโดยใช้โครงไม้  ประดับประดาปีก หาง ด้วยลวดลายสวยสดงดงาม ฝีมือช่างอุบลราชธานีที่ลือชื่อ  ทั้งให้เคลื่อนไหวได้โดยเฉพาะตรงงวงที่ยาวเฟื้อยจะโยกไหวไปมา และส่งเสียงร้องดังก้องในยามถูกฆ่า


              ในตำนานหรือพื้นเมืองอุบล(ประวัติศาสตร์อุบลราชธานี สำนวนอีสาน ถ่ายทอดจากใบลาน โดย ดร.ปรีชา พิณทอง) ได้กล่าวถึงนกหัสดีลิงค์ในพิธีศพพระวอพระตา ณ ทุ่งศรีเมืองนี้ว่า นกจากจะเคลื่อนไหวได้แล้วเจ้านกยังแสนซน มีลูกเล่นหยอกล้อเด็ก ๆ และหนุ่มสาวผู้มาร่วมงาน ทั้งหลับตา ลืมตาก็ได้ เอียงซ้าย เอียงขวาได้ด้วย

ดังว่า

 

            นกหัสดีลิงค์                                     นกงวงคือช้าง 

            ช่างเขาทำดีแท้                         หูตาคิ้วงวงหย่อน

            หลับมืนติง                              งวก(วกอ้อม..ผู้เขียน)ไปขวาซ้าย

            คือจักบินเองได้                       (กระ)พือหางขยับปีก

            เต๋อปากง้ำ(งับปากขึ้นลง)        งวงยื้อหยอกสาว

            เด็กหนุ่มน้อย                           ญิงซายถอยแล่น...

               

               ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงพิธีศพแบบเมรุชั่วคราวปราสาทนกหัสดีลิงค์อีก คือ ครั้งปลงพระศพพระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง)เจ้าเมืองอุบลฯองค์แรกผู้เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเจ้าพระตาโดยตรง

ดังว่า

            เขาก็พากันเต้า(ร่วมแรงร่วมใจ)  เต็มโฮง(โรงพิธี)เสียงสนั่น

            จัดแต่ตั้ง                                  เมรุกว้างท่งศรีเมือง

            ตามจาฮีต(จารีต)                      โบราณเก่ามีมา

            นกหัสดีลิงค์                            แต่เดิมดาพุ้น

            บ่ห่อนลืมเพศเค้า                     ของเก่าปางพระตา

            ทังคราวพระวอ                       ก่อมาเดิมเค้า

 

              รอบปราสาทนกหัสดีลิงค์นี้มีการประดับประดาตกแต่งทั้งสวยงามอลังการ  ทั้งบริบูรณ์ด้วยความหมาย   ตามความเชื่อคติพราหมณ์  มีประตูสี่ด้าน  ตรงมุมสี่มุมทำเป็นรูปหุ่นท้าวเวสสุวรรณยืนถือกระบองเฝ้าระวัง  ส่วนบนเพดานเขียนรูป ราหูอมจันทร์ ยังมีด้านข้างเป็นรูปรามสูรย์กับเมขลา  พระอิศวร และเทพทั้งหลายแหนแห่

 

            งามยิ่งล้น                             กะไดแก้วไป่ปาน

            เพดานพื้น                                เขียนลายเป็นฮูป

            ราหูคาบปากอ้า                        มื้ออุ้มลูบพระจันทร์

            ...............

            ด้านหนึ่งแต้ม                          เป็นฮูปรามสูรย์

            กวัดแกว่งไล่งาดเงื้อ                ชิงแก้วเมขลา

 

                อีกครั้งที่ปรากฏในหนังสือนี้ คือ ครั้งพิธีปลงศพพระพรหมราชวงษา(พรหม)เจ้าเมืององค์ที่ ๒

ดังว่า

            จัดแจ่งสร้าง                         เมรตั้งท่งศรีเมือง

            สักกุโนเค้า                              หัสดีลิงค์ของเก่า

            เครื่องอาจเอ้                             คือด้ามดั่งหลัง

            ต่างแต่งลายอาจแต้ม               ทำเป็นต่างต่าง

            ประดับเครื่องแก้ว                   ศรีเหลื่อมฮุ่งเฮือง

 

               สำหรับนางเทียม(นางทรง)ผู้ทำพิธีฆ่านกในอุบลราชธานีเป็นผู้สืบสกุลมาจากเจ้านางสีดา ซึ่งมีในตำนานเรื่องนกหัสดีลิงค์อุบลราชธานี คือญาแม่สุกัณ  ปราบภัย  ครั้นท่านเสียชีวิตแล้วบุตรีของท่าน คือ คุณยายมณีจันทร์  ผ่องศิลป์  ครั้นท่านเสียชีวิตบุตรีของท่านสืบต่อ คือ คุณยายสมวาสนา  รัศมี ,คุณยายประทิน วันทาพงษ์ และต่อมาในปัจจุบัน คือ น.ส.เมทินี หวานอารมณ์หลานสาว(ข้อมูลจากผู้ใช้นาม หน่อเนื้อเชื้อสาย เชียงรุ้งแสนหวีฟ้า)


               นกหัสดีลิงค์ตัวล่าสุดผ่านไปอย่างยิ่งใหญ่ ยังความอิ่มใจให้ลูกหลานชาวอุบลที่ได้ตุ้มโฮมร่วมแรงร่วมใจสร้างให้ท่านผู้คุณูปการต่อชาติ ศาสนา และอุบลราชธานีตลอดชนมชีพของท่าน  พระครูกิตติมุนี(สมเกียรติ สมกิตฺติ).

๐๐๐

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพื่อนรัก เพ็ญศรี  เพิ่มพูน  

ยายนางแห่ง “ตรีชนาอาหารเช้า”

หนังสือประวัติศาสตร์อุบลราชธานี สำนวนอีสาน ดร.ปรีชา  พิณทอง

 และ เว็บไซด์ไกด์อุบลดอทคอม ค่ะ

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view