ช่วงที่ผมมาอยู่ที่ Dramshala หลายวันมานี่ ผมเดินขึ้นลงเขาทุกวัน วันละหลาย กม.โดยเฉพาะยอดเขา ตรีอุล สูงจากระดับน้ำทะเล 2800ม. และที่พักอยู่บนยอดเขาต้องเดินขึ้นที่สูงชัน45° ระยะ65 ม. ผมได้เดินไปได้พบเห็นผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม แต่ต่างมีรอยยิ้มเข้ากัน ต่างทักทายซึ่งกันและกัน แม้บางครั้งจะสื่อภาษากันไม่ค่อยรู้เรื้อง เมื่อเขาพบเห็นเรา เขาจะทักทายด้วยคำว่า “กาชิดิเร“ แปลว่สวัสดี เพราะเขาเห็นว่าเราเป็นลามะ เขาแสดงความเป็นมิตรตั้งแต่อยู่มาหลายอาทิตย์เดินมาจนทั่ว ยังไม่เห็นมิจฉาขีพสักคน แล้วก็ไม่เห็นตำรวจคอยเดินตรวจตราเหมือนอย่างบ้านเรา หรือว่าโจรไม่มี แม้กระทั่งตำรวจจราจรก็ไม่มีให้เห็น
ตามหลักธรรมชาติ ของการเดินขึ้น ลงเขา เวลาเราเดินขึ้น จะต้องโน้มตัวไปข้างหน้า เอาศรีษะนำ ก้าวขายาวๆ ช้าๆ จะไม่ค่อยเหนื่อย ถ้าก้าวขาแบบซอยถี่จะเหนื่อยพักบ่อย กว่าจะถึงเป้าหมายจะพบอุปสรรคมากมาย เพราะหนทางไม่ได้ราบเรียบเสมอไป เหมือนกับการทำงานเวลาเราจะไปหาผู้ใหญ่ เราต้องก้าวเท้าแต่ละย่างก้าว ต้องเดินอย่างมั่นใจอย่างข้าๆ อาการศรีษะนำ เหมือนเวลาเราเข้าหาผู้ใหญ่เราต้องค้อมศรีษะแสดงถึงความมีสัมมาคาระวะ และกว่าจะเข้าถึงจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคหลายขั้นตอน จึงจะพบความสำเร็จได้ และในทำนองเดียวกันเวลาเราลงจากเขา ก็ต้องเอาลำตัวเอนไปข้างหลัง เพื่อจะได้มีน้ำหนักถ่วงไม่ให้ไหลลื่นตกลงมาและต้องค่อยเดินลง เหมือนกับตอนที่เราพบกับความสำเร็จแล้วเราจะเดินอย่างองอาจสง่าผ่าเผย
ฉะนั้น การเดินขึ้น ลงเขา มันจึงเปรียบเหมือนกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายในโลกของความเป็นจริง