http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,988,326
Page Views16,296,300
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ดอกไท้เทศและดอกไม้ไทย ต้น67.กล็อกซิเนีย

ดอกไท้เทศและดอกไม้ไทย  ต้น67.กล็อกซิเนีย

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย

ต้น67.กล็อกซิเนีย

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

กล๊อกซิเนี่ย

ชื่อสามัญ  Gloxinia ,Florists ‘ s Gloxinia  

ชื่อวิทยาศาสตร์  Sinningia speciosa (Lodd.) Hiern

ชื่อวงศ์  GESNERIACEAE     

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ 

          ในต่างประเทศ  ถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล 

          ในประเทศไทย  นิยมปลูกทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเช่นเชียงราย เชียงใหม่ 

          การกระจายพันธุ์  ปัจจุบันนี้กระขายพันธุ์ไปทั่วในวงการไม้ดอกไม้ประดับ


สถานภาพ  เป็นพืชต่างถิ่นกำเนิด นำเข้ามาปลูกประดับ

ลักษณะประจำพันธุ์

          ต้น ถือเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี พุ่มสูง 15-30 ซม. มีหัวอยู่ใต้ดิน ต้นบนดินแตกจากหัวใต้ดินสั้นๆ 

          ใบ รูปไข่ ขอบใบหยักมน แผ่นใบหนาอวบน้ำ สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนสั้นๆนุ่ม ก้านใบยาว 2.5-3 ซม. เส้นกลางใบเห็นชัดเจน เส้นแขนงใบออกตรงข้ามหรือเยื้องเล็กน้อย ปลายเส้นโค้งจดเส้นถัดไป ใบชนิดกลีบดอกซ้อนขอบใบเป็นคลื่นไม่หยักอย่างกลีบดอกชั้นเดียว   


          ดอก เดี่ยวออกตามซอกใบ ก้านดอกกลมมีขนสั้น ยาว 2.5-3.5 ซม. กลีบรองดอกเป็นแฉก 5แฉก ปลายแฉกแหลม สีเขียวเข้ม ดอกรูประฆังหงาย บานเต็มที่กว้าง 7-12 ซม. มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อน ปลายกลีบหยักสวยมาก 5-12 กลีบ มีหลายสีเช่นสี ขาว ชมพู ม่วงน้ำเงิน แดง  หรือมีสองสามสีผสมในดอกเดียวกัน

          ผล เมล็ดขนาดเล็กมาก 25,000 เมล็ด/กรัม คล้ายฝุ่นจึงนิยมนำมาเคลือบด้วยแป้งหรือดินเพื่อให้มองเห็นได้ง่ายมากขึ้นก่อนนำไปหว่านในกระบะเพาะชำ   


กล๊อกซิเนี่ยกลีบซ้อน

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมและการขยายพันธุ์ ชอบดินอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีวัตถุ ร่วน ระบายน้ำได้ดี  ปริมาณน้ำพอเพียงถึงชุ่มชื้น  แสงแดดรำไรในฤดูร้อนและเต็มวันในฤดูหนาว   อุณหภูมิระหว่าง 10-38 องศาเซลเซียส ยิ่งหนาวเย็นดอกยิ่งโตและสีสดใส  ปลูกลงกระถางได้ในห้องกรีนเฮ้าส์  แต่ต้องยกไปรับแสงแดดเป็นช่วงๆ กระทั่งแสงนีออนก็สามารถเติบโตได้ด้วย  จากที่ราบถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-1,000 เมตร  

            การขยายพันธุ์  นิยมเพาะกล้าจากเมล็ดโดยไม่ต้องกลบดินในที่มีแสงแดดส่องถึง เมล็ดจะงอก ใน 14-21 วัน ย้ายปลูกอายุ 30-40 วัน ช่วงเวลาเพาะถึงออกดอก 120-150 วัน   หรือขยายจากหัวใต้ดินโดยตรง สามารถใช้ใบปักชำให้แตกรากในที่ร่มรำไร  การรดน้ำควรรดใส่โคนต้น ใบจะไม่เน่า หรือติดเชื้อ เทคนิกการเพิ่มจำนวนดอก สามารถทำได้ด้วยการเด็ดยอดให้แตกหลายยอด ก็จะเพิ่มปริมาณดอกได้ง่ายๆ


บันทึกผู้ถ่ายและผู้เขียน

             เป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ กลีบดอกสวย มีลีลาหยักเยื้อง ถ่ายรูปได้ง่าย สวย นิยมปลูกลงกระถางเพื่อการจำหน่ายให้กับคนชอบปลูกเลี้ยงในห้องหรือในกรีนเฮ้าส์ ปัจจุบันนี้มีการผสมสีมากมาย ตั้งชื่อเรียกกันไปตามความนิยม เช่นกล๊อกซิเนียดอกสีแดงได้แก่พันธุ์Superb,Menning Red, Edelrot,UltraScarlet
             กล๊อกซิเนี่ยดอกสีอื่นๆได้แก่ Ultra Blue, Ultra Purple, Ultra Red with White Edge, Ultra Rose, Ultra Scarlet, Ultra White, Ultra Mixture

              การปลูกเป็นไม้ประดับ  นิยมปลูกเป็นไม้กระถางหรือไม้แขวน ปัจจุบันนี้แม้ในกรุงเทพหรือภาคกลาง มีการเพาะลงกระถางออกจำหน่ายทั่วไป ให้ความสวยงามที่ค่อนข้างละเมียดละไม ลีลา สีสัน และรูปทรงต้นโดดเด่น สวยจนน่าจับต้อง โดยเฉพาะการปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ปรับอุณหภูมิได้  เมื่อได้เห็นดอกแล้วหายเหนื่อย ไม่นิยมปลูกลงแปลงประดับ 

Tags : นกหกเล็กปากแดง

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view