การปัดฝุ่นเข้าใต้พรม
จากกรมป่าไม้-กรมอุทยานแห่งชาติ
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
กรมป่าไม้ตราพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ประการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2505 พื้นที่ป่าทั้งสิ้น 1,355,396.96 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเป็นส่วนใหญ่ เป็นขุนต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำลำตะคอง แม่น้ำมูล และ ฯลฯ ภายในผืนป่าดังกล่าวมีทั้งพันธุ์พืช สัตว์ป่า มากมายหลากหลายชนิด
ทฤษฎีที่ใช้ ป่าอยู่กับคนไม่ได้ จึงมีการอพยพคนที่บุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ประกาศดังกล่าวออกจนหมด เหลือร่องรอยเพียงที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งต่อมากลายเป็นที่หากินของเหล่าสรรพสัตว์ วันนี้จึงมีการนำเที่ยวชวนชมสัตว์ป่าตามจุดดังกล่าว เช่นหนองผักชี มอสิงโต แม้เมื่อมีการตัดถนนผ่ากลางป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็ยังปลอดภัย กวนโอ๊ยเป็นครั้งคราว
ปีพ.ศ.2515 กรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่ออนุรักษ์ทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่า พื้นที่ทั้งสิ้น 1,737,587 ไร่ ก็ใช้ทฤษฎีเดียวกัน จึงมีการอพยพคนที่อยู่อาศัยและทำกินภายในป่าดังกล่าว ออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งทั้งสิ้น เหลือแต่พื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่า นอกจากนั้นยังมีการทำแนวกันชนรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งอีกด้วย
ผืนป่าสองฝั่งแม่น้ำน่าน
สอดคล้องกับการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ใช้ทฤษฎีเดียวกัน ป่าอยู่กับคนไม่ได้ จึงมีการอพยพและจัดตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับผู้ทำกินและเคยอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ดังกล่าว ปลดเปลื้องความเสี่ยงต่อการบุกรุกและลักลอบทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า ปล่อยให้ป่าอนุรักษ์ดังกล่าวทำหน้าที่ตามธรรมชาติอย่างเต็มที่ อินเดียนแดงบางเผ่าต้องอพยพออกแต่ถึงคราวจะไปแสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม เขาก็เดินทางไปแสดงให้นักท่องเที่ยวชม
ภาพบนป่าหนาแน่น แต่ภาพล่างติดๆกันเป็นเช่นนี้
แต่วันนี้ เมื่อมีการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์(Conservation=Wise use) กลับพบว่า ได้ใช้ทฤษฎี ป่าอยู่กับคนได้ โดยใช้วิธีการปัดฝุ่นเข้าใต้พรม นั่นคือการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยการ “กันพื้นที่รอบหมู่บ้านและที่ดินทำกิน” ออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ดังกล่าว
สภาพป่าที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านกันออก ถูกบุกรุก เขตป่ากรมป่าไม้
ดังนั้น ในผืนป่าอนุรักษ์ทั้งสองประเภทดังกล่าว จึงมีหมู่บ้านอันหมายถึงมีคนและที่ดินทำกินแทรกอยู่กลางผืนป่าบ้าง อยู่ใกล้ๆรอยตะเข็บผืนป่าบ้าง อยู่บนขุนต้นน้ำที่เป็นเขาสูงของผืนป่าบ้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและทำได้เพียงแค่ขีดวงรอบพื้นที่เหล่านั้นออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าอนุรักษ์ทั้งสองประเภท เช่นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลศรีษะเกษ อำเภอเวียงสา-นาน้อย-นาหมื่น จังหวัดน่าน
ร่องรอยการกัดชะพังทลายของเขาหัวโล้น
โล้นเลี่ยนเตียนดีแต่ตะกอนละ่
ผืนป่ากว้างใหญ่ถึง 640,237.50 ไร่ มีทั้งป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ บนเทือกเขาสลับซับซ้อนสองฟากฝั่งแม่น้ำน่าน ช่วงก่อนน้ำจะไหลลงไปสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ โดยมีการวงรอบเพื่อกันออกหมู่บ้านห้วยเลา ซึ่งตั้งอยู่เพียงไม่กี่ครอบครัวออกจากผืนป่าอุทยานฯ และกันพื้นที่เขาสูงชันที่หมู่บ้านป่าคา บ้านศรีษะเกษ บ้านศรีบุญเรือง บ้านหนองผำ บุกรุกทำกินด้วยการปลูกพืชไร่
นอกจากนี้ ริมฝั่งแม่น้ำน่านซึ่งเคยถูกบุกรุกยึดที่ทำกิน ได้เคยถูกอพยพออกจนหมดแล้ว แต่ได้กลับเข้าไปสร้างคอกวัว ควาย สร้างบ้านอยู่อาศัย พร้อมติดตั้งจานดาวเทียม อย่างอลังการ อันเป็นการกระทำผิดที่เกิดขึ้นแล้ว หากสอบสวนจะได้ความชัดเจนว่าผู้มีอิทธิพลรายใดบ้างเข้าไปยึดครองและแสดงอำนาจอิทธิพลจนหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไม่กล้าแตะต้อง (เลยจากผาชู้ลงไปสะพานข้ามแม่น้ำน่าน)
ป่าปกป้องกันภัยและเป็นป่าต้นน้ำ
ติดๆกับดอยเสมอดาว ทำไม่ผนวกให้หมดสูง 860 เมตรจากน้ำทะเล
ส่วนทางใต้ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เขตหมู่บ้านบนดอย ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่เชิงดอยชายเขา แต่อ้างว่าไม่มีพื้นที่ทำกินจึงขึ้นไปบุกรุกแผ้วถางป่าดงดิบบนยอดเขาสูงลงเพื่อปลูกข้าวโพด และพืชไร่อายุสั้น ทั้งๆที่พื้นที่เหล่า สมควรผนวกเข้าเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และฟื้นฟูป่าขึ้นทดแทนด้วยหน่วยจัดการต้นน้ำ ก็จะทำให้พื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นปราการสำคัญในการป้องกันการกัดชะพังทลายของดินและสารพิษปนเปื้อน
ดอยเสมอดาว
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการปัดฝุ่นเข้าใต้พรม ป่าไม้และสัตว์ป่าเสี่ยงไหม ดินตะกอนที่ถูกกัดชะพังทลายจะไปทับถมในท้องอ่างเขื่อนสิริกิติ์ ทำให้อายุการใช้งานสั้น เก็บกักน้ำได้น้อยลงและปนเปื้อนสารพิษตกค้างถึงปลาและผู้บริโภค ถ้าไม่มีการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน คงไม่เหลือผืนป่าที่จะกรองตะกอนได้ก่อนที่จะไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ อย่าไปมองแค่ว่าทะเลหมอกที่ดอยเสมอดาวสวยและโด่งดังเลย
ครับ ป่าจะไม่เหลือ
ผนวกเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ทำหน้าที่ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้เต็ม