http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,941,991
Page Views16,247,369
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ต้นไม้ทุกต้นคืนอินทรียวัตถุสู่ดิน

ต้นไม้ทุกต้นคืนอินทรียวัตถุสู่ดิน

ต้นไม้ทุกต้นคืนอินทรียวัตถุสู่ดิน

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

            ตอนเรียนวิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อปีพ.ศ.2510-2514 อาจารย์ผู้สอนให้ทุกคนทำรายงานตามหัวข้อที่เสนอขึ้นไปให้พิจารณา แล้วต้องรายงานหน้าชั้นเรียนด้วยตนเอง ผมเสนอเรื่องอินทรีวัตถุในป่า ถูกอาจารย์ตีกลับลงมาให้แก้ไขและเปลี่ยนเรื่องใหม่ แต่ผมเป็นคนดื้อด้านจึงยืนยันว่าจะทำเรื่องนี้แหละ  พอถึงครั้งที่ 3 ผมตัดใจตอบอาจารย์ว่า ผมไม่ขอทำรายงานใดๆ ยอมสอบตกหากอาจารย์ไม่พิจารณาเรื่องที่ผมเสนอดังกล่าว ด้วยความเมตตาของอาจารย์ จึงยินยอมให้ผมทำเรื่องอินทรียวัตถุในป่า

            เหตุผลที่อาจารย์แย้งคือห่วงว่าผมจะไปค้นหาเรื่องอินทรียวัตถุในป่ามาจากไหน จะมีเนื้อหาชวนให้น่าสนใจไหม แต่เมื่อผมยืนยันว่าผมมีเรื่องที่จะนำเสนอได้มากพอ ท่านก็เลยตามใจ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าท่านกลัวผมยอมสอบตกตามคำขู่หรือเปล่านะ ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ผมต้องรายงานหน้าห้องเรียน(Present) ผมถือเอกสารรายงานขึ้นสแตนแล้วเริ่มเล่าเรื่องทันที


            ผมเล่าว่าในป่านั้นมีต้นไม้นานาชนิดทั้งที่ยืนต้นเป็นไม้โดดเด่น(Dominant) ไล่ลำดับลงมาจนถึงไม้พื้นล่าง และจำพวกวัชพืช เป็นความหลากหลายสายพันธุ์พืชในป่าใหญ่ แล้วผมก็เล่าว่า ในพื้นที่ทดลองเก็บใบไม้ที่ร่วงหล่น ซึ่งประกอบไปด้วย ใบ กิ่งก้านที่ผุหัก เปลือก ผล เมล้ด เมื่อหมดอายุงานแต่ละส่วนก็หล่นคืนสู่พื้นดิน กลายเป็นอินทรียวัตถุในป่า

            กิ่งก้านต้นไม้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเซลลูโลส ที่สร้างมาจากปฏิกริยาทางเคมีจากคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ออกซิเจน ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เถ้าถ่าน ส่วนไหนอ่อนนุ่มก็ย่อยสลายไปเป็นอินทรียวัตถุได้เร็วกว่า โดยมีองค์ประกอบของความชุ่มชื้น อุณหภูมิ  จุลินทรีย์  ค่าความเป็นกรดด่างของดิน  ปริมาณของสารประกอบที่มีอยู่ในส่วนของอินทรียสารของพืช

            คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลและแป้ง 1-5 % เฮมิเซลลูโลส 10-30% เซลลูโลส 20-50%  ไขมัน ขี้ผึ้ง แทนนิน 1-8% ลิกนิน 10-30% โปรตีน 1-15%  เป็นต้น  (ปรับปรุงมาจากคณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541, หน้า 345)

            ผมรายงานเสร็จ เดินไปยื่นเอกสารให้อาจารย์ ท่านถามว่า ไปค้นคว้าเรื่องเหล่านี้มาจากไหน ผมตอบสั้นๆว่า เอกสารทางวิชาการที่เป็นภาคภาษาอังกฤษของห้องสมุดกลางครับ  ผลคือรายงานชิ้นนั้นผมได้ A  ขอโม้อีกนิด ทุกวิชาที่ให้ผมทำรายงานลักษณะนี้ ผมค้นคว้าและเขียนขึ้นมาอย่างสวยงามทุกชิ้น ทุกวิชา ผลพวงของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำให้ผมเป็นคนเขียนหนังสือขายในวันนี้ครับ

            รูปประกอบรูปนี้ ผมถ่ายจากการตัดแต่งกิ่งต้นนนทรีของวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะถีบสามล้อไปออกกำลังกายในบริเวณมหาวิทยาลัยครับ พอผมเห็นภาพนี้ก็คิดถึงความหลังเรื่องอินทรีวัตถุในป่าขึ้นมาทันใด

            ต้นไม้ทุกต้นดูดสารอินทรีและแร่ธาตุจากดิน ก็จะคืนอินทรีวัตถุและแร่ธาตุกลับคืนสู่พื้นดินดังเดิม  แต่ถ้ากิ่งก้านที่เป็นเซลลูโลสถูกเผาไหม้จะกลายเป็นคาร์บอนไดอ็อกไซด์คืนสู่อากาศ  แต่ถ้าปล่อยให้ทุกส่วนของพืชผุสลายไปเป็นอินทรียวัตถุสู่ดินดังเดิม  

            ภาพเดียวก็เล่าเรื่องได้ชิมิ

Tags : ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย ต้น104.ผี้เสื้อ

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view