http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,331,296
Page Views16,660,721
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วัดไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

วัดไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

วัดไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

พระเจดีย์มุนีภิรมย์ วัดไทรน้อย

            บ้านผมอยู่แครายมากกว่า 30 ปี ผมไม่เคยรู้เลยว่า วัดไทรน้อยมีอะไรดีงามตามลักษณะของวัดในพระพุทธศาสนา นี่ผมกลายเป็นคนที่โบราณว่า ใกล้เกลือกินด่าง เพราะผมขับรถผ่ายป้ายวัดไทรน้อยบนถนนบางกรวย-ไทรน้อยนับร้อย ๆครั้ง ถ้าเป็นงูเห่า คงกัดผมตายไปแล้ว ใครที่ยังไม่เคยแวะเข้าไปก็ลองแวะเข้าไปนะครับ


พระอุโบสถ 

            ทันทีที่เข้าเขตวัด สิ่งที่ผมเห็นนั้นยิ่งใหญ่อลังการพันลึก นั่นคือพระเจดีย์มุนีภิรมย์และวิหารคตรอบเจดีย์  พุทธสถานสำคัญที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ขนาดฐานเจดีย์กว้าง 45 เมตร ยาว 45 เมตร สูง 49 เมตร พร้อมวิหารคด


ใต้ฐานพระเจดีย์เป็นห้องปฏิบัติธรรม

            ใต้องค์พระเจดีย์มุนีภิรมย์เป็นห้องโล่ง เพื่อใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชน เดินเข้าไป รู้สึกได้เลยว่า เยียบเย็นทั้งที่เวลาขณะนั้นคือ 14.45 น. ตะวันบ่ายอันร้อนแรงเดือนเมษายน ผมเดินไปจนทั่วใต้ถุนพระเจดีย์ เพื่อสัมผัสอากาศใต้องค์พระเจดีย์ว่าเย็นไปทั่วทุกมุมหรือไม่  แล้วก็เดินออกไปทางพระอุโบสถในรั้วเหล็ก


            ประทับใจที่ได้เห็นพระสงฆ์กำลังตัดหญ้าอยู่รอบ ๆ บริเวณพระอุโบสถ 2 องค์ นานมากแล้วที่ผมตระเวนไปทั่วทิศที่มีวัด แต่กลับไม่เคยได้เห็นพระสงฆ์ปฏิบัติกิจของสงฆ์ที่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ ในขณะที่ผมเห็นพระอีกหลายรูปนั่งเสวนากันอยู่ไม่ไกลนัก ผมคิดว่าทางวัดคงจะแบ่งปันหน้าที่ให้แต่ละองค์กันแล้วละนะ 


             แล้วก็เดินผ่านเจดีย์บรรจุอัฐิ ไปจนถึงกุฎิเก่าแก่ของวัด  ได้เห็นพระสังกัสจายนประดิษฐานอยู่ในสระใกล้ๆต้นไทรย้อย มีถุงอาหารปลาวางไว้จำหน่ายให้ญาติโยมได้บริจาคทรัพย์ทำทานแก่ปลาในสระ ได้เห็นหน้าบันศาลาการเปรียญเก่าของวัดไทรน้อย มีการฉลุไม้ประดับงดงาม ศาลาการเปรียญหลังเก่านี้ ปัจจุบันเป็นที่เก็บเครื่องครัว

หน้าบันไม้แลุลาย หาดูยากแล้ว

             ผมเดินทะลุไปยังกุฎิเจ้าอาวาสวัดไทรน้อยองค์ปัจจุบัน  พระครูไพบูลย์อาทรกิจ  และเป็นเจ้าคณะตำบลไทรน้อย เขต 2 ได้เห็นกุฎิสิ่งก่อสร้างงดงาม เป็นระเบียบอย่างมีแบบแผน ไม่รกเหมือนหลาย ๆวัดที่ก่อสร้างจนแทบเป็นสลัม  ท่านพระครูไพบูลย์อาทรกิจ กรุณาให้ถ่ายรูปหน้าองค์พระหมู่ซึ่งญาติโยมพุทธศาสนิกชนได้ถวายกันมาหลายปี     

พระครูไพบูลย์อาทรกิจ

             ท่านเจ้าอาวาสได้พาเดินชมพุทธสถานมากมายหลากหลายภายในวัด มีทั้งราหูอมจันทร์ มณฑปพระเกจิอาจารย์ดังๆ หลวงพ่อสมปรารถนา แม้กระทั่งเทพทันใจตามใจศรัทธาของพี่น้องมอญ ซึ่งเป็นชาวบ้านที่รายรอบวัดแห่งนี้ ท่านพาเดินไปริมคลองพระพิมล น้ำใสสะอาด กว้างขวาง ปราศจากผักตบชวา ปรับแต่งริมน้ำด้วยศาลาท่าน้ำงดงามมาก


             ริมคลองทางวัดได้เทพื้นปูนไว้เหมาะสม มีขั้นบันไดลงน้ำเพื่อทำกิจกรรมวัดนักขัตฤกษ์สำคัญๆเช่น งานประเพณีลอยกระทง  งานปล่อยปลาเขตอภัยทาน 


            “ที่สำคัญทางวัดมีแนวคิดการทำตลาดนัดบนบกบริเวณวัดและตลาดน้ำวัดไทรน้อยคลองพระพิมล ตั้งใจว่าจะเปิด วันเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์”


             ผมเดินถ่ายรูปสองฝั่งคลองพระพิมล ซึ่งมีทั้งสะพานสูงที่สร้างด้วยเสาไม้ดั้งเดิม และสะพานปูนรถยนต์ข้ามได้ ถ้าเปิดตลาดน้ำจะได้รับความนิยมอย่างแน่นอน ด้วยว่า น้ำใสสะอาด คลองกว้างขวาง ทางวัดมีบริเวณกว้างขวางถึง 48 ไร่ สองฝั่งคลองมีถนนให้เดินเที่ยวซื้อหาของกินจากแม่ค้าได้  กระจายรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น วัดได้ทรัพย์บำรุงศาสนาต่อไป


             รอบ ๆ บริเวณวัด ได้จัดส่วนแบ่งพื้นที่เพื่อการฌาปนกิจญาติโยมไว้เป็นสัดส่วน บริเวณที่เป็นเขตพักสงฆ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม  ไกลออกไปเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษา กล่าวโดยสรุป หากทางวัดบริหารจัดการตลาดนัดบนบกและตลาดน้ำได้อย่างลงตัว ผมเชื่อว่าจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ญาติโยมจากเมืองใหญ่จะแห่กันออกมาเดินเที่ยว หาของกินและของฝากแน่นอน


ศาลาท่าน้ำโบราณของวัดติดน้ำ หาดูยากแล้ว

             เดินเที่ยวชมจนเหนื่อย จึงได้เข้ามาค้นประวัติวัดจากอากู๋กูเกิ้ล  ได้ความว่า เมื่อมีการขุดคลองพระพิมลในอดีตแล้ว ได้มีชาวมอญจากทั่วสารทิดเดินทางมาจับจองป่ากระทุ่มมืดและสะแก เพื่อถากถางแปลงเป็นนาไร่เพื่อทำกิน เมื่อมากันมากขึ้นก็ตั้งเป็นชุมชน  และเมื่อชุมชนมั่นคงสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ วัด  โดยตาธุได้ถวายที่ดิน 42 ไร่ให้เป็นที่สร้างวัดของชุมชน ตั้งชื่อวัดว่าวัดสาลีมุนีภิรมย์ เมื่อ พ.ศ.2430


ถนนฝั่งตรงข้าม

             หลวงตาโจ๊ก จำพรรษาอยู่วัดนี้ตั้งแต่แรกนานถึง 30 ปี แล้วได้หลวงตาเกร็บจากวักปรมัยยิการาม เกาะเกร็ด มาจำพรรษาต่อ พระอธิการเผื่อนและกำนันพร ประสิทธิชัย  ได้ร่วมกันสร้างอุโบสถ  ปีพ.ศ.2499 หลวงพ่อประสิทธิ์ (พระครูนนทสิทธิการ) จัดงานฝังลูกนิมิต  จัดพิธีปลุกเสกตะกรุดโทน จำหน่ายเพื่อนำปัจจัยให้วัดไว้ใช้บำรุงพุทธสถานต่อไป


             ว่ากันว่า ตะกรุดโทนของหลวงพ่อประสิทธิ์นั้นมีทั้ง ตะกรุดโทนเดี่ยว ตะกรุดโทนคู่ ตะกรุดโทน 2 ชั้นดอกเล็กและดอกใหญ่ ตะกรุดโทนหนังเสือ ดอกเล็กและดอกใหญ่ ตะกรุดทองแดง ลงรักปิดทอง ดอกยาวและดอกสั้น และตะกรุดไม้ไผ่ตัน  เชิญเช่าเพื่อสิริมงคลได้เลย


              ต่อมาปีพ.ศ.2522-2527  พระครูไพบูลย์อาทรกิจ ได้บูรณะพระอุโบสถใหม่


เทพทันใจของชาวรามัญ

              ปีพ.ศ.2555 พระครูไพบูลย์อาทรกิจ ได้สร้างพระเจดีย์มุนีภิรมย์และวิหารคด องค์ที่เห็นเป็นสง่าอยู่หน้าวัดนั่นแหละครับ แต่ก็ยังเหลือการสร้างพระรอบเจดีย์ สร้างลิฟท์เพื่อผู้ปฏิบัติธรรมสูงวัย ประติมากรรมและจิตรกรรม รอบเจดีย์ งานติดโคมไฟ เดินไป


               ท่านใดประสงค์จะร่วมสร้างบุญใหญ่ก็ติดต่อโดยตรงที่ พระครูไพบูลย์อาทรกิจ โทร.02-923-9594 และ 092-795-5632 หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) วัดไทรน้อย เลขที่บัญชี 223-2-60177-1 สาขาตลาดบางบัวทอง  


 

Tags : #วัดไทรน้อย #นนทบุรี # 8]v'ritrb ]

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view