http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,942,235
Page Views16,247,625
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

แนวคิด ออป.ปลูกป่าผสมผสานเพื่อการเข้าถึงวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างไร

แนวคิด ออป.ปลูกป่าผสมผสานเพื่อการเข้าถึงวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างไร

แนวคิด ออป.ปลูกป่าผสมผสานเพื่อการเข้าถึงวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างไร

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

          ถ้าผมไม่ได้ไปเห็น ก็คงไม่รู้เอาเสียเลยว่า แนวคิดใหม่ในการปลูกป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เปลี่ยนไป  เป็นการปลูกป่าผสมผสานเพื่อการเข้าถึงวิถีชีวิตชาวบ้าน (คนจน) แต่วันนี้ แนวคิดใหม่ที่ผมได้ไปเห็น แปลกแตกต่างไปอีกมิติ ของการปลูกป่าเชิงเดียวที่กรมป่าไม้และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทำมาอย่างยาวนานอย่างสิ้นเชิง 


            คุณ วิเชียร พลพงษ์  หน.งานสวนป่าหนองคู จ.สุรินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตนครราชสีมา  เล่าให้ฟังว่า สวนป่าหนองคูได้รับมอบมาจากกรมป่าไม้ ส่วนใหญ่ปลูกด้วยไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

พื้นที่ที่ต้องดูแล 4 แปลง(สวน) แปลงละประมาณ 1,400 ไร่ กระจายกันอยู่คนละแห่ง เหตุผลคือ ประชาชนครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ มีเหลือให้ปลูกแต่ละแปลงน้อยมากดังกล่าว


            ตามพันธะกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ปลูกป่าแล้วตัดเพื่อนำเงินเข้าแผ่นดินและหมุนเวียนออกมาปลูกป่าอย่างยั่งยืนในพื้นที่เดียวพื้นที่เดิม  สวนป่าแห่งนี้จึงเริ่มการตัดไม้ยูคาลิปตัสออกจำหน่าย ดังนี้คือ

            ลำต้นไม้ยูคาลิปตัส ออป.นำไปจำหน่ายตามวัตถุประสงค์  ส่วนอื่นๆอันได้แก่ รากและกิ่งก้าน ยกให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเก็บหาเอาไป เผาถ่านใช้และขาย ทำฟืนหุงต้ม ส่วนใบ เปลือก ดอก ผล ร่วงหล่นสู่พื้นดิน เป็นการคืนอินทรียวัตถุกลับสู่ดิน


             นอกจากนี้ ต้นไม้ต้นหนึ่ง เก็บกักคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลดกรีนเฮ้าเอฟเฟคได้ดี  เช่น ใบเก็บกักได้ 1% กิ่งก้าน  11% ลำต้น 62% ราก 26% เมื่อตัดต้นยูคาลิป 1 ต้น เท่ากับปลดปล่อยคาร์บอนจากใบและกิ่งก้านลงสู่ดิน ส่วนลำต้นเก็กกักคาร์บอนไปแปรรูปเป็นวัตถุอื่นๆ ส่วนรากก็ให้ชาวบ้านเผาเอาถ่าน  ต้นยูคาลิปตัสจึงไม่ได้ทำลายดินอย่างที่ถูกกล่าวหา

            อ้าว  โฆษณากันมาตลอด ปลูกยูคาลิปตัส ครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้หลายหนนั้น เป็นจริง หรือโม้  ข้อเท็จจริง  ถ้าปล่อยตอไว้ต้นยูคาลิปตัสก็จะแตกหน่อให้ตัดได้อีกใน 4-5 ปีถัดไป สามารถตัดแล้วแตกแตกแล้วตัดได้ถึง 5 ครั้ง แต่ครั้งนี้ สวนป่าตั้งใจจะปรับปรุงพันธ์ไม้ยูคาลิปตัสให้เป็นพันธ์ดีที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์แล้ว 


            ยูคาลิปตัสที่จะนำมาปลูกใหม่นอกจากปรับปรุงพันธุ์ให้เติบโตเร็ว อัตราการเจริญเติบโตสม่ำเสมอทั้งแปลง แล้วยังจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกสวนป่าในรูปแบบใหม่ด้วย ดังนี้คือ สวนป่าจะปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัสหรือยางพารา ระยะห่าง 8x3 เมตร เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปทำไร่พืชอายุสั้นปีเดียวหรือมันสำปะหลังแทรกแถวกลางต้นไม้ได้ 3 ปี ชาวบ้านมีที่ทำกิน


            ต่อมาสวนป่าจะปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจพันธุ์ดีมีค่าราคาแพง เช่น พะยูง ชิงชัน  ตะเคียนทอง เก็ดแดง ประดู่ ไม้แดง ฯลฯ แทรกในระยะปลูกห่างจากต้นยูคาลิปตัสหรือยางพารา 2x3 เมตร(267ต้น/ไร่)  ดังนั้น ชาวบ้านจะได้ที่ดินทำกินไป 3 ปี พอต้นไม้ยางพาราหรือยูคาลิปตัสเติบโตได้อายุตัดฟันหรือกรีดยางสวนยางจะมีรายได้จากต้นไม้หรือน้ำยางพารา


            ส่วนชาวบ้านก็หยุดทำพืชไร่หันมาทำงานสวนป่า เช่นดายวัชพืช ใส่ปุ๋ย ป้องกันไฟป่า กรีดยางแบ่งในอัตรา 60-40 หรือรับจ้างกรณีแรงงานตัดต้นยูคาลิปตัส จำหน่าย  จะเห็นภาพนะครับว่า ออป.วันนี้เปลี่ยนและปรับแนวคิดการเข้าสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน  ชาวบ้านจึงเป็นทั้งกำลังสำคัญและเป็นผู้รับผลประโยชน์ร่วม


            ผมนั่งฟังหัวหน้าวิเชียร เล่าแล้วก็พาไปเดินชมสวนป่าที่เริ่มตัดไม้ยูคาลิปตัสออกขาย ได้เห็นภาพชาวบ้านเก็บหาเศษไม้ปลายไม้มารวมกองเพื่อเผาถ่านขาย และยังได้ไปชมสวนยางพาราผสมไม้ป่าอายุยาว ซึ่ง 25 ปีหลังการตัดยางพารา ออป ก็จะได้ไม้ป่าเศรษฐกิจขายเป็นครั้งสุดท้าย ชาวบ้านมีอาชีพและเงินรายได้จากสวนป่าแนวคิดใหม่ ยั่งยืน


            ผมถูกส่งต่อไปให้ คุณศักดิ์ศรี หงษ์วิเศษ  หัวหน้างานสวนป่าละเอาะ  จ.ศรีสะเกษ  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตอุบลราชธานี   ท่านพาผมไปยังพื้นที่ที่ท่านทำงาน ได้แวะชมสวนป่าไม้เศรษฐกิจที่ปลูกผสมผสานอันเป็นงานวิจัย แต่ปีพ.ศ.2533  รวมเวลา 28 ปี  ของกรมป่าไม้ และได้เห็นภาพชาวบ้านมาขุดหาเห็ดไปเป็นอาหารจากป่าปลูก


            พันธุ์ไม้ที่ปลูกในสวนวิจัยแปลงดังกล่าว ประกอบด้วยต้นกะบาก ชิงชัน พะยูง แดง ประดู่ ตะเคียนทอง ได้เห็นว่าการปลูกป่าผสมผสานกันนั้น ต้นไม้แต่ละชนิดมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ในสวนป่าเชิงเดียวทั่วโลกจึงนิยมมากการปลูกป่าเช่นกรณีการทดลองแปลงนี้ เพราะอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่าง


            ไม้กะบากเป็นพันธ์ไม้ป่าที่เติบโตเร็ว ต้นเปราตรง ลักษณะประจำพันธุ์ของกะบากคล้ายไม้ยางและตะเคียนทอง ตรงเปรา สูงใหญ่ และขึ้นได้ดีในพื้นที่เป็นป่าดงดิบแล้งจนถึงดงดิบชื้น  ซึ่งผมเคยเดินสำรวจคัดเลือกไม้เหล่านี้จากป่าโครงการทำไม้กระยาเลยแถบจังหวัดอุบลราชธานี มาแล้ว ตีตราตัดไปนับจำนวนหลายร้อยต้น


            ไม้พะยูงเป็นไม้ในป่าโปร่งหรือป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง เติบโตได้ตามลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นมักคดงอแม้จะถูกบังคับด้วยระยะปลูกก็ตามที แต่เมื่อสังเกตจะเห็นว่า เติบโตได้ดีกว่าไม้ชิงชัน และไม้อื่นๆอีกหลายชนิด ในสวนผสมผสานแปลงนี้ เติบโตรองจากไม้กะบากเลยทีเดียว


            กลับมาฟังคุณศักดิ์ศรีเล่าเรื่องสวนป่ากับชุมชนท้องที่ ป่าละเอาะ  พบว่า มีสภาพปัญหาไม่แตกต่างจากสวนป่ากาบเชิง  แปลงปลูกป่าคือแปลงที่ยื้อแย่งที่ดินที่ชาวบ้านบุกรุกทำไร่ซึ่งมีชุมชนล้อมรอบพื้นที่เช่นกัน  แนวคิดการพัฒนาจึงใช้รูปแบบเดียวกันกับสวนป่าหนองคู  แต่เนื่องจากมีพื้นที่รายรอบไปด้วยนาข้าว ชุมชน สวนป่าจึงกลายเป็น ซูปเปอร์มาร์เก็ต ของชุมชนเช่นกัน   การเก็บหาพืชผักเห็ดและไม้ฟืน จึงได้รับการสอดประสานอย่างลงตัว


          รอบสำนักงานสวนป่าละเอาะ หน.คนเก่าของกรมป่าไม้ คุณสำราญ เรณุมาศ วน.31ได้ปลูกต้นพะยูงไว้หลายต้น ต้นที่ผมสนใจและหัวหน้าพาไปชมคือต้นที่เป็นต้นพะยูงแตกหน่อได้เช่นเดียวกับไม้ยูคาลิปตัส  คุณศักดิ์ศรี ลงไปวัดรอบตอ 7 ตอที่แตกจากพะยูงต้นเดียว ได้เส้นรอบวงดังนี้คือ 84,93,70,60,81,102,และ 120 ซม.  พอใช้มีดถากหน้าเขียงตอหนึ่งจึงได้เห็นเนื้อแก่นพะยูงต้นนี้ว่าเป็นต้นพะยูงดำ  หลายสตางส์เลยเชียว


            โครงข่ายการปลูกป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อนุมัติให้ สวนป่าดำเนินการได้นั้นคือ การสร้างความเข้าใจและร่วมใจกันกับชุมชนในการทำโครงการปลูกป่าตามแนวคิดใหม่ สวนป่าของใครของมัน  ที่ดินที่ปลูกเป็นที่ดินทำกินของชาวบ้านผู้ร่วมโครงการ  ปลูกแล้วโตดี ขายได้ ทั้งต้นไม้และเงินรายได้เป็นของชาวบ้านทั้งหมด ไม่ต้องส่งคืนทั้งต้นทุนแม้กำไรแต่อย่างใด

       

             ออป.มีหลักเกณฑ์การจัดงบประมาณให้ไม้โตเร็วไร่ละ 3,500 บาท ไม้โตช้า ไร่ละ 5,940 บาท แบ่งจ่าย 3 ปี จำนวนต้นที่ปลูกแนะนำให้ปลูกไร่ละ 267 ต้นหรือ 100 ต้น

ปีแรก ออป.จัดงบให้ ไม้โตเร็ว ไร่ละ 2,500 บาท ไม้โตช้า ไร่ละ 3,900 บาท   

            ปี 2-3 ออป.จัดงบให้ไม้โตเร็ว ไร่ละ 500 บาท และไม้โตช้า ไร่ละ 1,020 บาท 


            โดย ออป. เสนอให้ทั้ง รูปแบบสวนป่าไม้โตเร็วและรูปแบบสวนป่าไม้โตช้า เมื่อตกลงร่วมโครงการแล้ว

สวนป่ามีหน้าที่ จัดหากล้าไม้ยูคาลิปตัสพันธุ์ดี หรือกล้าไม้โตช้าพันธุ์ดี ให้ผู้ร่วมโครงการ การเตรียมพื้นที่ การปลูกและบำรุงสวนป่า ชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินการ  หัวหน้าสวนป่าทำหน้าที่ติดตามผลการส่งเสริม พร้อมกันนั้น หัวหน้าศักดิ์ศรีได้พาไปพบเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ  แม้จะไม่ทั่วทุกแปลงแต่ก็ได้เห็นความก้าวหน้า

             ระหว่างเส้นทาง จากสุรินทร์-ศรีสะเกษ-สวนป่าช่องเม็ก อำเภอช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี มีต้นยูคาลิปตัสปลูกตามคันนาระยะถี่ๆมากมายหลายแห่ง ผลการศึกษาวิจัยของกรมป่าไม้พบว่า ต้นยูคาลิปตัสบนคันนานั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตนาข้าว  เรียกยอมรับได้ เพราะระบบรากของยูคาลิปตัสลึก แต่ข้าวรากตื้น  ไม่แก่งแย่งแร่ธาตุในดิน

             เมื่อไปถึงสวนป่าช่องเม็ก ทีมงานพาไปชมสวนป่าที่ปลูกตามแนวคิดใหม่ของออป. ได้เห็นอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่าง และได้เห็นผลประโยชน์จากสวนยางพารา  ได้แต่นึกชื่นชมผู้ที่คิดค้นแนวทางนี้ขึ้นมาได้ ช่างล้ำลึกดีแท้ๆ  แถมได้เดินทางไปชมสวนป่ายูคาลิปตัสที่ปลูกและตัดไม้ขายมาแล้วถึง 5 ครั้ง ได้ภาพหน่อยูคาลิปตัสแตกจากตอเดิม พิสูจน์ได้ว่า เรื่องจริง


              ผมมีเวลาและได้รับความอนุเคราะห์จากหัวหน้าสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ก็ด้วยการประสานงานของ คุณ ชิรานุ    วนาพรบุญจันทร์ วน.53 อดีตพนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ที่ได้ประสานงานกับท่านผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  คุณประสิทธิ์ เกิดโต วน.49


              แล้วมอบหมายให้ หัวหน้างานสวนป่าหนองคู จังหวัดสุรินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตนครราชสีมา  คุณวิเชียร พลพงษ์  วน.60 และหัวหน้างานสวนป่าละเอาะ จังหวัดศรีสะเกษ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตอุบลราชธานี  คุณศักดิ์ศรี หงษ์วิเศษ วน.65 พาผมไปทัศนศึกษา ถึงได้รู้เรื่องดีๆดังกล่าวมาแต่ต้น ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านครับ 


 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view