http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,066,903
Page Views16,379,243
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

“กว่าจะเป็นเทียนพรรษา อุบลราชธานี” โดยพรหมพร พานิชกิจ เรื่อง// ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์

“กว่าจะเป็นเทียนพรรษา อุบลราชธานี”  โดยพรหมพร พานิชกิจ  เรื่อง// ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์

“กว่าจะเป็นเทียนพรรษา อุบลราชธานี”

                                                                                                   พรหมพร  พานิชกิจ

 

              “ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล”   ภายใต้ชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ประจำปี พ.ศ. 2553  ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี  ที่ผ่านมาไม่นานนี้ค่ะ

               เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา   งานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวจังหวัดอุบลราชธานี  ที่สืบสานต่อเนื่องมาหลายปี  คือ การตกแต่งเทียน  อันเป็นภูมิปัญญาของชาวท้องถิ่น   ซึ่งใช้งานฝีมือจากบรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯที่มีอยู่มากมายหลายแขนง  เป็นสื่อเล่าเรื่องราว  เช่น  พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน   และเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์  ผ่านลวดลายเทียน

 

                                    เทียนแกะโดยศิลปินนานาชาติ..โชว์ที่พิพิธภัณฑ์อุบลราชธานี

               มาดูกันนะค่ะว่าเทียนพรรษาที่สวยงามวิจิตระการตา เขาทำกันยังไงและที่นิยมนำมาทำเรื่องเล่าคือ ปางต่าง ๆ ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น ตอนพระพุทธเจ้าออกบวช  หรือตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์หลังจากที่ได้ทรงจำพรรษาครบกำหนดและหมดฤดูฝนแล้ว เป็นต้น  

                        เทียนดิบที่ใช้งาน                                                              ขี้ผึ้งดิบที่ใช้งาน

              วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำต้นเทียนคือ ขี้ผึ้ง (ชาวบ้านเรียก เผิ้ง)  บรรจุลงในปี๊บนำขึ้นตั้งบนเตาให้ละลายแล้วกรองด้วยผ้ากรองอย่างดี  เทลงในแบบหล่อให้เป็นต้นขนาดตามต้องการ  แล้วนำไปแกะสลัก  หรือติดพิมพ์ตามประเภทของต้นเทียนที่ต้องการ  ปัจจุบันมีการพัฒนาต้นเทียนให้เป็นรูปประติมากรรมมากมายหลายรูปแบบ  มีการใช้วัสดุอื่น เช่น ปูนปลาสเตอร์ขึ้นรูปร่างก่อนจึงใช้เทียนหล่อดอก  หรือพิมพ์ลวดลายแล้วจึงติดปะตกแต่งให้ประณีตและสวยงาม 

                   

                                                                  ลวดลายเทียนที่แกะสลักแล้ว

               เทียนพรรษาแบ่งเป็น 2 ประเภท    คือประเภทแกะสลัก และประเภทติดพิมพ์  ซึ่งมีความแตกต่าง    คือการหล่อเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ก็เพราะหากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายชั้น ขี้ผึ้งจะแตกหักได้ง่าย

                                                   กว่าจะแกะสลักได้แต่ละพิมพ์ ต้องใช้ความปราณีต

              ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70 –100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1  เรียกต้นเทียน แต่ที่จริงทำมาจากขี้ผึ้ง  ในระยะแรก ๆ ชาวเมืองอุบลทำต้นเทียนโดยใช้ฐานไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ มัดเทียนเข้าเป็นต้นติดกระดาษให้สวยงามแล้วแห่ไปวัด  โดยใช้เกวียนลากไป มีฆ้อง มีกลอง ฟ้อนรำกันไปสนุกสนาน

                                                                       ขี้ผึ้งสลักลายเพื่อติดพิมพ์

               ต่อมาต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นเป็นการหล่อ  และพัฒนามาเป็นการใช้ปูนปลาสเตอร์เป็นต้นเทียนแทน  แล้วใช้ดอกที่หล่อจากแม่พิมพ์เป็นลวดลายต่าง ๆ มาติด  เรียกว่า  ติดพิมพ์  ขี้ผึ้งที่ใช้หล่อดอก จะใช้คนละสีกับที่ใช้ทำต้นเทียน  แรก ๆที่มีการจัดประกวด จึงมีต้นเทียน ๓ ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์  ประเภทแกะสลัก  และประเภทมัดรวมติดลาย

                      

                                               แบบพิมพ์เขียนก่อนสร้างเทียนพรรษา

                ปัจจุบันมีต้นเทียน ๒ ประเภท  คือ  ประเภทแกะสลัก  และประเภทติดพิมพ์

                ต้นเทียนประเภทแกะสลัก               ก่อนอื่นต้องหล่อต้นเทียนก่อน  สมัยก่อนใช้สังกะสีแผ่นเรียบกว้าง ๖๐  ซ.ม. ยาว ๑๐ (หรือตามต้องการ)ทำแบบหล่อส่วนที่เป็นต้นเทียน  และอีกหนึ่งแผ่นกว้างเท่ากัน แต่ยาว  ๒  ฟุต ใช้หล่อทำส่วนยอด มีท่อนไม้เป็นแกนตรงกลาง  เทเทียนที่ตั้งไฟจนร้อนและกรองแล้วลง  ปล่อยให้เย็น ก่อนจะออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยร่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน มีท่อนไม้เป็นแกนตรงกลางแล้วเทเทียนที่ละลายลง   เครื่องมือที่ใช้แกะสลัก ก็จะมี มีด  สิ่ว ตะขอเหล็ก  เหล็กขูด และแปรงทาสีชนิดดี ก็จะใช้เซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้

 

                                         

                                                                 ต้นเทียนประเภทแกะสลัก

                ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์    มีขั้นตอนและวิธีการหล่อส่วนที่เป็นต้นเทียนคล้ายกันกับต้นเทียนประเภทแกะสลักทุกขั้นตอน   แต่มักหล่อให้เล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อเทียนประเภทติดพิมพ์ จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลง ปัจจุบันมักใช้ปูนปลาสเตอร์  หรือโฟมเป็นโครงขึ้นรูปร่างก่อนจึงใช้ขี้ผึ้งฉาบอีกที  แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้น 

                       

                                                           เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์

               เป็นไงค่ะเทียนพรรษาที่เรา ๆ เห็นกันในแต่ละจังหวัดที่มีการจัดงานขบวนแห่เทียนอย่างสวยงามเป็นที่ชื่นชอบชื่นชม   ทั้งคนไทยเองรวมถึงชาวต่างชาติ  ก็ทึ่งในฝีมือความสามารถแห่งภูมิปัญญาของช่างศิลป์ไทย  จนเกิดเป็นความล้ำค่า มาจนถึงทุกวันนี้ มีขั้นตอนไม่ง่ายเลยนะคะ

๐๐๐๐

 

 

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view