http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,182
Page Views16,262,454
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

น้ำป่าทะลักไหลท่วมท้นคนเดือดร้อน..รุนแรง โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

น้ำป่าทะลักไหลท่วมท้นคนเดือดร้อน..รุนแรง  โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                                 น้ำป่าทะลักไหลท่วมท้นคนเดือดร้อน..รุนแรง  เพราะใคร

                                                                         โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

 

                    ข่าวครึกโครมเรื่องน้ำท่วม ทำให้สะท้อนใจเมื่อได้เห็นความเดือดร้อนของผู้คนใต้น้ำ เหตุที่เกิดเช่นที่ว่านี้ คนบนป่าต้นน้ำที่ได้รับการโหมกระพือกันมาตลอดว่า "คนอยู่กับป่าได้" คงสะใจ หากได้วิเคราะห์เจาะลึกลงไปว่า "คนอยู่กับป่าได้ แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือไม่ เรื่องนี้ อยากบอกว่า ผมก็คนใต้น้ำ เดือดร้อนโว๊ย!!

                   

                                                       น้ำไหลเชี่ยวแต่ขุ่นข้นด้วยดินตะกอน

                ในภาพรวม 25 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำสำคัญๆที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาวะน้ำท่วมครั้งนี้ คือลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำโขง(เฉพาะส่วนอีสาน) สายเลือดคนอีสานบ้านเฮา ซึ่งถ้าตรวจสอบสถิติพื้นที่ป่าไม้(พ.ศ.2536) แล้วทั้งลุ่มน้ำโขงอันประกอบไปด้วยลุ่มแม่น้ำโขง(เฉพาะส่วนอีสาน) ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล เหลืออยู่เพียง 27,932.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 12.72%( ธงชัย จารุพพัฒน์ 2537) ในขณะที่พื้นที่ทั้งอีสานมีถึง 20 จังหวัด พื้นที่ 105.5 ล้านไร่ เท่ากับหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทย

                ทั้งๆที่เดิมทีเดียวมีพื้นที่ป่ามากถึง 41.94% แต่ป่าหมดไปกับการพัฒนาประเทศและประชาชนหรือ? หรือว่าด้วยความไร้มาตรการในการบริหารจัดการหรือไม่ 

                  

                                                      เทือกเขาสลับซับซ้อนบนเขาใหญ่

                วันนี้ภาพข่าวน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ชัยภูมิ นครราชสีมา ซึ่งไม่เคยเกิดรุนแรงอย่างนี้มาก่อนเลย แต่ก็ด้วยว่า เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายน้อยอยู่แล้ว หรือกระจายมากแต่ไหลเลยไปหมด หรือถูกแผ่นดินทะเลทรายดูดหายลงไปใต้ดิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม คนทั้งลุ่มน้ำโขงของประเทศไทย ซึ่งมีลุ่มน้ำสำคัญอยู่ 3 ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องร่วมกันตระหนักให้ได้ว่า จะบริหารจัดการอย่างบูรณาการร่วมกันได้อย่างไร

 

                  

                                          ป่าดงดิบสมบูรณ์ช่วยดูดซับน้ำและปลดปล่อยน้ำทีละนิดๆ

                ถ้านึกภาพไม่ออก โปรดหลับตาแล้วนึกถึงผืนป่ามรดกโลกเขาใหญ่-ทับลาน-ปางสีดา-ตาพระยา ว่าเหลืออยู่เพียงเท่าไร มันเป็นผืนป่าที่เหลืออยู่บนภูเขาสูงเพียงน้อยนิด เป็นผมจุกบนกระหม่อมใหญ่  ส่วนใต้น้ำลงไปทุกลุ่มน้ำสาขา ล้วนเหี้ยนเต้ไม่มีชิ้นดี ลุ่มน้ำชีหรือก็เหลือป่าหย่อมเล็กหย่อมน้อยเช่นกัน

               

                                                         หมายเลข 02-04-05 พ.ท.กลุ่มลุ่มน้ำโขงอีสาน

                ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ป่าดงดิบที่มีศักยภาพสูงในการอุ้มหรือดูดซับน้ำก็เหลืออยู่เพียงน้อยนิดเช่นกัน ข้อสำคัญมีแต่หินโผล่ทั่วไปในผืนป่าอนุรักษ์ของประเทศอีสาน พื้นที่ดินดีถูกยึดถือครอบครองเพื่อการเกษตรกรรมจนสิ้น  

                    กรุณาอย่าไปหลงเชื่อว่ามีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประเภทต่างๆมากมายพอเพียงเชียว ส่วนใหญ่พื้นที่ป่าอนุรักษ์เหล่านั้นในภาคอีสานเกือบทั้งหมดมีแต่ลานหินดินตื้นและป่าโปร่งครับ

                    

                                                     ไร่เลื่อนลอยที่แอบบุกรุกในผืนป่าดินดี

               ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงประเทศไทย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(รวมจังหวัดบึงกาฬ) ประกอบด้วยลุ่มน้ำโขง(เฉพาะพื้นที่อีสาน) 57,422.07 ตารางกิโลเมตร  ลุ่มน้ำชี 49,476.50 ตารางกิโลเมตร และลุ่มน้ำมูล 69,700.44 ตารางกิโลเมตร ในแต่ละลุ่มน้ำมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงใด มีศักยภาพพอเพียงหรือไม่  และนั่นคือ ปัจจัยเสี่ยง ที่ทุกคนตั้งแต่คนบนต้นน้ำจนถึงกลางน้ำและท้ายน้ำ ต้องร่วมกันสานสัมพันธ์ให้เป็นหนึ่งเดียว 

                   

                                                             ทุกตารางนิ้วที่ถูกบุกรุกทำลาย ต้นไม้ตายเกลี้ยง

               ด้วยว่าในหลักการจัดการป่าต้นน้ำ ในแต่ละลุ่มน้ำต้องมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เหนือขุนต้นน้ำสาขาแต่ละสาขาไม่น้อยกว่า 25% ของพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำสาขาเหล่านั้น ผืนป่าดังกล่าวจึงจะส่งผลต่อศักยภาพในการควบคุมน้ำ  ปัญหาคือ บนพื้นที่ขุนต้นน้ำในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มต่ำกว่าทางภาคเหนือของประเทศไทย

               แต่อย่างไรก็ตาม แผนแม่บทการบริหารจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตให้ได้ และฟื้นฟูพื้นที่เหล่านั้นขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่อง จริงจัง และเต็มศักยภาพของการบริหารจัดการ ประเภทตั้งโครงการเพื่อหาเงินงบประมาณไปผลาญเล่นต้องเลิกเสียที มันโกงต้องฆ่ามันทิ้ง บ้านเมืองจะได้ร่มเย็น

                   

                                                        ผืนป่าอนุรักษ์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

              นอกจากนี้ ปีนี้มีความแตกต่างจากทุกปี น้ำท่วมทุกปีมาจาก "น้ำเหนือ" หลาก แต่ปีนี้ เป็นข่าวโด่งดังมาจากอีสานบ้านเฮา จะเรียกว่าอะไรดีหรือ น้ำอีสาน หรือจะเรียกว่า น้ำตาอีสานตก หรือน้ำตกตาอีสาน เขียนให้ขำแต่คงไม่มีใครขำ เพราะว่าเจ็บคราวนี้ อีสานเข็ดกันไปอีกนาน 

              การแก้ไขปัญหาคราวนี้ อาจมีเม็ดเงินตกหล่นอีกมหาศาลกับพฤติกรรม น้ำท่วม ฝนแล้ง แล้งซ้ำซาก มหาดไทยฟันกันจมบึงน้ำตาชาวไทยก็แล้วกัน 

                    

                                       ถ้ามีชุมชนอยู่ในผืนป่าที่ควรเป็นป่าต้นน้ำ จะทำอย่างไร

              หนทางแก้ไขให้เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ ไม่ใช่ให้กันเป็นคราวๆเช่นนี้ มันต้องกำหนดแผนแม่บทอย่างจริงจังทั้งลุ่มน้ำ 3 ลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นการบริหารหารจัดการ ตรวจสอบได้  แต่อาจต้องใช้เวลานานและเงินงบประมาณจำนวนมหาศาล  

              สำคัญยิ่งยวด ต้องป้องกันเงินรั่วไหลไปจากโครงการ ไม่ต้องถึงกับแขวนคอ ตัดข้อมือ  แต่เอากันเพียงให้ติดคุกหัวโตหรือตายคาคุกไปเลย

              และถ้าต้องเวนคืน ขอคืน พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อลุ่มน้ำ จากประชาชน จะทำอย่างไร ในแนวความคิด ป่าอยู่กับคนได้พิสูจน์ทราบมาหลายสิบปีแล้วว่า อยู่ได้แต่ป่าหมดแหง๋แก๋

 

 

 

 

                

Tags : คืนป่าสู่แผ่นดิน Reforestation Flud น้ำท่วม

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view