http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,000,276
Page Views16,308,955
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

พืชอาหารช้าง ผลงานการวิจัยของมัทนา ศรีกระจ่าง โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

พืชอาหารช้าง ผลงานการวิจัยของมัทนา ศรีกระจ่าง โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                       พืชอาหารช้าง ผลงานการวิจัยของมัทนา ศรีกระจ่าง

                                                                    โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

 

              โชคดีที่ได้ไปเยือนกรมอุทยานแห่งชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เอกสารงานวิจัยจากหัวหน้ากลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า หลายเล่ม ล้วนน่าอ่าน ใช้งานได้ดีและประทับใจในน้ำใจไมตรีที่แสดงตนแก่ประชาชนคนแก่ๆ เยี่ยมครับ ขอบพระคุณครับ

            นั่งรออยู่สักครูได้พบคุณมัทนา ศรีกระจ่าง จำได้แม่นยำว่า เธอเก่งและเชี่ยวชาญเรื่องช้าง ก็เลยได้เอกสารงานวิจัยมาอีกฉบับหนึ่ง เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังโด่งดังพอดี

            "เถาวัลย์บุกรุกป่าแก่งกระจาน และช้าง-สัตว์ป่าหลายชนิดทำท่าจะสูญพันธุ์"  

            เอกสารผลงานการวิจัยฉบับนี้ชื่อว่า อุปนิสัยในการกินพืชอาหารของช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  คุณมัทนา ศรีกระจ่าง และคุณรองลภ สุขมาสรวง เป็นนักวิจัยครับ

  

            ในเอกสารงานวิจัยฉบับนี้ได้สำแดงให้เห็นว่า พืชอาหารช้างจำนวนมาก เป็นพันธุ์ไม้ในป่าที่มีทั้ง ไม้พื้นล่างจำพวกหญ้า ไผ่ วัชพืช ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เถาเลื้อยที่ไม่ใช่เถาวัลย์ และที่เป็นชนิดเถาวัลย์ในป่านั่นแหละ ผลงานการวิจัยนี้ทำในป่าห้วยขาแข้ง แต่ผมก็หวังว่าช้างป่าที่แก่งกระจาน มันต้องกินพืชอาหารคล้ายๆกัน ขึ้นอยู่กับว่า ในป่านั้นๆมันมีพืชอาหารให้กินมากชนิดหรือว่าน้อยชนิด มีพืชตัวเลือกไหม ถ้ามีก็อาจเบี่ยงเบนไปบ้าง แต่ถ้าไม่มีก็คล้ายๆกันแน่นอน เพราะว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิชาการ เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การเดาสุ่ม หรือคาดว่า น่าจะเป็น

            คุณมัทนาเล่าให้ผมฟังคร่าวๆพร้อมกับชี้ให้เห็นชนิดพันธุ์ไม้เลื้อยที่เรียกรวมๆกันว่าเถาวัลย์

            "ใช้เวลาในการทำวิจัย 3 ปี พบว่าช้างกินพืชอย่างน้อย 170 ชนิด  ที่เขาชอบกินมากเป็นพิเศษมีอยู่ 88 ชนิด อยู่ในวงศ์ PAPILIONAECEAE, CAESALPINIACEAE, MIMOSACEAE, GRAMINEAE, TILIACEAE, EUPHOBIACEAE, ANNONACEAE, ZINGIBERACEAE, MORACEAE, MELIACEAE, CYPERACEAE "

             "พฤติกรรมการกินอาหารของช้างช่วงฝนช้างจะกินยอดอ่อนของหญ้าชนิดต่างๆ ไม่กินโคนต้น แต่พอปลายฝนกลับมากินโคนต้นหญ้าซึ่งอวบน้ำมาก ส่วนใบไม้และยอดอ่อนจะกินเยอะทั้งปี ยิ่งเข้าแล้งยิ่งกินมากขึ้นๆ ที่ช้างชอบมากก็เปลือกไม้ซึ่งเขากินทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง ไม้ยืนต้นก็เช่นมะกอกป่า มะม่วงหัวแมงวัน เสี้ยวใหญ่กระดังงาป่า  เสี้ยวดอกขาว ฯลฯ ไม้พุ่ม เช่น เสี้ยวฟ่อม  บุหรง  ลำบิด  ถั่วมะแฮะ  ปอบิด  ยาบขี้ไก่ ฯลฯ  ไม้ล้มลุกเช่น ผักขมหนาม  โคกกระสุน  กล้วยป่า  ชะมดต้น  ข่าคม  กระทือ  จำพวกหญ้าก็มี ไผ่ป่า  หญ้าไผ่  บงใหญ่  เลา  แขมหลวง  ไผ่รวกฯลฯ ไม้เถาค่ะ  เช่น นมแมวป่า  นมวัว     เสี้ยวเครือ  หมามุ่ย  คณฑา  เถาวัลย์เปรียง  หนามหัน หนามขี้แรด  ส้มป่อย  รางแดง ฯลฯ และสุดท้ายเป็นจำพวก ปาล์ม เช่นหวาย"ก็หนามเยอะ แต่เขากินได้

             "ไม้จำพวกเถาเลื้อยที่ช้างกิน มีหนามแหลมคม และรกเรื้อมากๆ แต่เขาก็กินเป็นอาหารปกติ กินได้อย่างอร่อยค่ะ" 

             ผมฟังคุณมัทนาเล่าแล้วก็เห็นภาพ ช้างป่ากินได้ทั้งไม้ไผ่ มันมีความสามารถมากขนาดว่าปอกเปลือกไม้ไผ่กินนะครับ เคยเห็นที่สลักพระ แค่หนามหัน หนามขี้แรด คงไม่ทำให้ช้างถึงกับหนีไปอยู่พม่าตามข่าวแน่นอน อย่างไรเสียก็ได้งานวิจัยนี่แหละที่แสดงให้เห็นว่า ไม้จำพวกเถาเลื้อยต่างๆ ซึ่งมีหนามแหลมยิ่งกว่าจำพวกเถาวัลย์เขายังกินจนเกลี้ยง ประสาอะไรกับเถาวัลย์ งานวิจัยยังบอกกล่าวเล่าเรื่องอีกนะว่า                 

             "หนามขี้แรด ใบและกิ่ง มีโปรตีนสูงถึง 19.08 % คาร์โบไฮเดรต 47.07 % ไฟเบอร์ 16.40% แคลเซียม 4.60% และโซเดียม 30.52%  หรืออย่างเถาวัลย์เปรียง(เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง) นะคะ มีคุณค่าทางโภชนาการมาก ใบและต้น  ให้โปรตีน 10.82% คาร์โบไฮเดรต 41.68% แคลเซียม 20.00% โซเดียม 17.31 % เถาวัลย์จึงเป็นพืชอาหารช้างอีกชนิดหนึ่งในจำนวน 170 ชนิดดังกล่าวค่ะ"

              เถาวัลย์มีประโยชน์ต่อสุขภาพช้างมากๆ และน่าจะเป็นพืชอาหารที่มีอยู่ทั่วผืนป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะที่ชายป่าหรือชายน้ำ หรือที่เคยโล่งแจ้ง  เถาวัลย์เป็นอีกบริบทหนึ่งของป่า เป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่ควรถนอมรักษาแต่อาจต้องบริหารจัดการให้เหมาะสมได้ เช่นที่ เมื่อครั้งทรัพยากรป่าไม้ดูแลด้วยกรมป่าไม้นั้น กองบำรุง มีงานบำรุงป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานหนึ่งที่กำหนดกรอบให้ดำเนินการ  ตัดเถาวัลย์ ถ้าไปปกคลุมหรือทำให้เกิดผลกระทบต่อป่าไม้เศรษฐกิจของชาติ  ในภายหลังงานบำรุงป่าธรรมชาติไม่มีการตั้งงบประมาณดำเนินการ              

              ลืมหลักการจัดการป่าไม้ไปหรือเปล่า หรือมีข้ออ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้การจัดการอีก แต่จัดอย่างอื่นได้มากกว่า เมื่อผืนป่าอนุรักษ์ตกอยู่ในกรอบการจัดการอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า เน้นกันนักหนาว่า อนุรักษ์ จนลืมว่าในการอนุรักษ์นั้นมันมีความหมายที่สมบูรณ์อยู่ในตัวของมัน  

         "เป็นการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในแนวคิดของการ Conservation หรือ wise use"  

 

 

             ไม่ใช่การเฝ้าผืนป่าที่ประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ นั่นมันยามเฝ้าป่า นักการป่าไม้ที่แท้จริงต้องรู้จักว่า การอนุรักษ์ การปกป้องทรัพยากร การฟื้นฟูทรัพยากร การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด แต่อย่าแกมโกงหรือโกงกันหน้าด้านๆ และการเป็นผู้มีจิตวิญญาณของนักวิชาการป่าไม้อย่างแท้จริง

             ในผืนป่าอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติเช่นที่แก่งกระจาน มีเรื่องที่ควรจัดการมากกว่าการขึ้นอยู่และดำรงอยู่ของเถาวัลย์มากนักหนา ก็พื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อการอยู่อาศัย และทำกินของทั้งคนในป่าที่ถูกทางราชการทหารนำไปปล่อยไว้ หรือสวนมะนาวเจ้าอิทธิพลที่นายทุนเป็นเจ้าของกันคนละหลายร้อยไร่ ทั้งผืนป่าแก่งกระจาน ตอบได้ไหมว่า มีสวนมะนาวซึ่งเป็นพืชต่างถิ่นในป่าอนุรักษ์เท่าไร จะประกาศเป็นมรดกโลกนั้น สมควรหรือ ในเมื่อป่าอนุรักษ์ผืนนี้ไม่บริสุทธิ์แต่อย่างใด

             ประโคมข่าวกันว่า เถาวัลย์บุกรุกป่ากว่า 3 แสนไร่เพื่ออะไรกันแน่หรือ  ข่าวร้ายในกรมร่ำลือกันว่า ไอ้ที่โหมกระพือข่าวว่าจะตัดเถาวัลย์ออก 3 แสนไร่ แล้วจะของบประมาณปลูกป่าทดแทน 3 แสนไร่ จริงเท็จอยู่ที่ใจคนทำ  ของบมาได้แล้วปลูกจริงๆหรือเปล่า ขนาดโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในหลวง 5 ล้านไร่ซี ป่านฉะนี้มันยังปลูกกันไม่เสร็จ ปลูกกันจนโดนตั้งกรรมการสอบกันเป็นระนาว หรืออย่างโครงการพระชดำริ นั่นก็ฉาวด้วยฝายแม้วแท้ๆ เวรกรรมประเทศไทย

             ไทยรัฐลงข่าวว่า นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษใช้สารเคมีราดตอเถาวัลย์ให้ตายสนิท จะได้ไม่เกิดแตกหน่อจากตออีกเลย มันถูกต้องตามหลักการจัดการอุทยานแห่งชาติแน่หรือ เป็นการทำลายพืชอาหารช้างหรือเปล่า ช่วยให้ช้างป่าเดินหาอาหารกินได้สะดวกจริงหรือในเมื่อช้างป่าเขาเดินหากินไปตามทางของเขามานับร้อยๆพันๆปี เขารู้ว่าเขาจะเดินไปได้อย่างไร

             "ด่านช้างน่ะรู้จักไหม" อย่าตอบนะว่า ด่านช้างอยู่ที่บรรหารบุรี

             มัทนาเขียนไว้ใน www.wildelephantlover.com 

             "ไม่เคยพบว่ามีช้างติดหนามเถาวัลย์ตายเลยสักครั้ง" ซึ้งเลย

             นั่นเป็นคำตอบที่บ่งชี้ว่า งานนี้ มีปัญหา แต่ทำไมนักอนุรักษ์ทั้งหลายที่ประกาศตนเองว่าเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงได้เงียบจนผิดสังเกตหรือไม่ NGOs  Where are you ? 

             ทำไมไทยรัฐถึงประโคมข่าวเถาวัลย์อยู่เพียงฉบับเดียว ด้วยเหตุผลอะไรกันแน่ หรือว่ามีใครเอาปืนไปจ่อหัว?

              คลิกไปอีกทีได้อ่านบทความของชิงชัย วิริยะบัญชา ในwww.wildelephantlover.com แล้ว กูรักมึงจัง

              ขอก็อปปี้มาให้ประชาชนที่ไม่รู้จะได้รู้ ว่าความจริงวันนี้ มันเป็นอย่างไรกันแน่

              เถาวัลย์มีทั้งคุณและโทษ เป็นทั้งพืชอาหารช้างและเป็นทั้งสมุนไพรให้กับคนใช้กันมานานแสนนาน

     

           

                

 

Tags : คืนป่าสู่แผ่นดิน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view