http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,004,489
Page Views16,313,407
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

กะเหรี่ยงคอยาวบ้านห้วยเสือเฒ่า หนึ่งในสามหมู่บ้านของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ-เข็มชาติ เปาอินทร์

กะเหรี่ยงคอยาวบ้านห้วยเสือเฒ่า หนึ่งในสามหมู่บ้านของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ-เข็มชาติ เปาอินทร์

กะเหรี่ยงคอยาวบ้านห้วยเสือเฒ่า หนึ่งในสามหมู่บ้านของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ-เข็มชาติ เปาอินทร์

             ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลยว่า ทำไมยังต้องตั้งชื่อเรื่องว่ากะเหรี่ยงคอยาวบ้านห้วยเสือเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยเพราะว่าถ้าไปตั้งชื่อว่ากะยิ่น หรือกะยั่น ใครทีค่ไหนจะไปรู้จักหรือสำเนียก ในเมื่อทุกองคาพยพได้เรียกชื่อกันเช่นนี้จนได้รับความนิมยมและชมชอบไปแล้ว ส่วนความรู้สึกของคนถูกเรียกแม้ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่ก็ต้องยอมรับไปโดยปริยาย

            กะเหรี่ยงทั่วโลกถูกกันออกไปเป็นหลายเผ่าพันธุ์ แต่ตัวกะเหรี่ยงเองเรียกตนเองแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เช่นกะเหรี่ยงกาญจนบุรีเรียกตนเองว่าเป็นโปว์ หรือโพล่ว กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ส่วนใหญ่เรียกตนเองว่า ปกาเกอญอ(สกอว์) พม่าเรียกชนเผ่านี้ว่า กะยา จนถึงกับตั้งชื่อรัฐหนึ่งว่า รัฐกะยา หรือคะยา หรือเรียกว่า ตองสู้(ปะโอ) บ้างก็เรียกว่า บะแก(บะเว) แต่ฝรั่งมังค่าที่เข้าไปสัมผัสแล้วตั้งขื่อว่า กะเร็น(Karen) กระทั่งใครที่เดินทางไปอยู่ไปเรียนที่อเมริกายังถูกเรียกว่าพวกกะเหรี่ยงไปด้วย

            ชาวปกาเกอญอไม่ชอบให้ใครๆเรียกว่ากะเหรี่ยง แต่ก็จำใจยอมรับโดยไม่มีทางเลือก วันนี้ชาวปกาเกอญอได้เรียนหนังสือจบปริญญาตรีโทเอก มากมายก่ายกอง ได้พยายามสื่อให้ชนคนทั่วไปว่า เขาเป็นใคร เรียกว่าอะไร ป้ายและเสื้อผ้าที่สื่อได้เริ่มแสดงสถานะที่ถูกต้อง

            "ไปมาแล้วหมู่บ้านกลางหลวง ดอยอินทนนท์ เยี่ยมพี่น้องปกาเกอญอ"

            "นอนดูนกพญาไฟ ไต่นาขั้นบันไดถ่ายรูป แล้วไปเล่นน้ำตกผาดอกเสี้ยว"

             แต่วันนี้จะพาไปเที่ยวปกาเกอญอที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงคอยาว ที่หมู่บ้านห้วยเสือ จังหวัดแม่ฮ่องสอนครับ

กลางหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าคึกคัก

             จากเมืองแม่ฮ่องสอน วิ่งรถยนต์ไปทางอำเภอขุนยวม ประมาณ 10 กม.ตามป้ายบอกทางแยกขวาก็ไปถึงหมู่บ้านห้วยเสือ ที่นี่อยู่ในเขตที่เป็นภูเขาสูงสลับกับที่ราบกลางหุบเขา ภูมิประเทศสวยงาม มีที่จอดรถยนต์ไม่ไกลนัก เดินลงไปตามทางแคบๆเข้าหมู่บ้านที่แวดล้อมด้วยทุ่งนาข้าว ไปช่วงนั้นมีการเกี่ยวข้าวไปแล้วบ้าง เพิ่มสีสันความเป็นป่าเขาลำเนาไพรได้ไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ได้พลาดโอกาสการเก็บเกี่ยวตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของเขาไป 

             ตามรายงานจากสื่อและเว็บไซต์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระบุว่ามีอยู่ราวๆ 20 หลังคาเรือน เป็นชาวปกาเกอญอที่ถูกเรียกว่า กะเหรี่ยงคอยาวแห่งหมู่บ้านห้วยเสือ ความรู้สึกที่ถูกเรียกเช่นนั้นก็คงคล้ายๆกับที่ชาวกัมพูชาถูกเรียกว่า เขมร หรือที่คนจีนอพยพมาอยู่เมืองไทยถูกเรียกว่า เจ๊ก แต่อย่างไรก็ตามมีส่วนถูกอยู่บ้างตรงที่ ปกาเกอญอแห่งบ้านห้วยเสือ มีคอยาวจริงๆ ด้วยสายตาของเราและจากภาพที่ช่างภาพถ่ายมาให้ 

 

                                        สินค้าพื้นบ้านและตุ๊กตาที่ระลึก

             ชาวปกาเกอญอที่ใส่ห่วงทองเหลืองรอบคอนั้น มองดูเผินเหมือนว่าเธอคอยาว ภาพที่เห็นมีแต่ผู้หญิงที่ใส่ห่วงทองเหลือง ส่วนผู้ชายไม่เห็นสักคน วันที่ไปเที่ยวเป็นวันหยุด(เสาร์)พอดี เด็กๆที่ใส่ห่วงทองเหลือก็เลยหยุดการเรียนตามเวลาราชการ เจ้าหล่อนมานั่งเอี้ยมเฟี้ยมด้วยชุดประจำเผ่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พร้อมกับได้รับทิปพิเศษเป็นเงินจากนักท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งบางคนซื้อด้วยความสงสาร แต่ก็มีไม่น้อยที่ซื้อด้วยเห็นว่าสวยและเก๋ ก็เลยสะสม

       

สาวใหญ่ที่พูดไทยได้มากกว่าคนอื่นๆ

            สาวหรืออาจจะแต่งงานแล้วก็มีอีกหลายคนด้วยกันที่สวมใส่ห่วงทองเหลือง ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีห่วงหลายห่วง จนดูหัวเล็กคอยาวปิ๊ด นึกในใจว่า หล่อนจะหนักไหมหนอ แล้วเวลานอนหล่อนจะนอนอย่างไร ถ้าอาบน้ำเล่าจะยุ่งยากแค่ไหน เกิดฝนตกฟ้าร้องจะถูกห่วงทองเหลืองเป็นสื่อฟ้าผ่าหรือเปล่า คิดแล้วกลุ้มหนักเข้าไปอีกเมื่อแฟนของหล่อนเกิดอารมณ์แล้วอยากจะไซร้ซอกคอยาวๆอย่างสาวงามในเทพนิยายขึ้นมา จะเป็นอย่างไร 

         

วิถีชีวิตและความเชื่อของเผ่าพันธุ์

            โอยๆๆ ปวดหัว มึนไปกับจินตนาการพิลึกพิลั่น ก็เลยตัดใจเดินเข้าไปสอบถามเสียให้รู้เรื่องไปเลย จะได้หายข้องใจเสียที ได้ความด้วยความยากลำบากว่า

            "ห่วงทองเหลืองที่สวมใส่อยู่นี้ เดิมเป็นทองคำด้วยซ้ำ คนหนึ่งเริ่มใส่ตั้งแต่หนัก 2 กิโลกรัม ยิ่งโตก็ยิ่งใส่มากขึ้น มากขึ้นจนถึง 12 กิโลกรัม ถ้าเป็นทองคำราคาปัจจุบันนี้ก็คงถูกตัดคอเอาทองคำหนีไปแน่ๆ แต่เผอิญเป็นทองเหลืองซึ่งซื้อมาจากเมืองเบลอง ประเทศพม่า โดยคนที่จะสวมห่วงทองเหลืองได้ตามวิถีชีวิตของชาวปกาเกอญอ ต้องเป็นคนที่เกิดวันพุธตรงกับวันเพ็ญหรือวันขึ้น 15 ค่ำเท่านั้น"

       

ประชันหรือว่าถ่ายไว้เป็นที่ระลึก

             "ปีหนึ่งมีช่วงเวลาให้ถอดออกได้ 9 ครั้ง และทุกๆครั้งที่ถอดออกก็คือต้องเพิ่มความยาวของห่วงมากขึ้น คนปกาเกอญอที่ใส่ห่วงทองเหลือเรียกว่า แลเคอ  แต่ก็มีคนเรียกว่า ปะด่อง กันไปเสียอีก ฝรั่งไปตั้งชื่อว่า Long Neck Karen เป็นอันว่าเข้าใจได้ง่ายและมองเห็นภาพชัดเจน ภาพหนึ่งภาพที่ถ่ายออกไปกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ยิ่งเป็นทีวี หรือกล้องวิดีโอยิ่งไปกันใหญ่ๆ พวกเราก็เลยกลายเป็นอย่างที่พวกเขาอยากให้เป็น" เธอยิ้มเศร้าๆ แต่ก็ดูมีความสุข

ทางเดินกลางหมู่บ้านและทุ่งนาริมเขา

             "มีชาวปกาเกอญอ(สกอว์)  โปว์  ตองสู้(ปะโอ) ในประเทศไทยอยู่ราวๆ 3-4 แสนคน กระจายอยู่ทางภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด และทางภาคตะวันตกของไทยเช่น ประจวบคีรีขันธุ์ ราชบุรี กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี  อุทัยธานี เป็นต้น"

             "ผมเคยรู้จักคนเชียงใหม่ เรียกตัวเองว่าเป็นพวกยาง หรือบางทีก็เรียกว่ายอง ไม่รู้ว่าใช่กลุ่มปกาเกอญอหรือเปล่า"

              ผมเอ่ยขึ้นด้วยความสงสัยอยู่ในใจ แต่ก็ไม่มีเสียงตอบจากสาวคอยาวๆเลย เรื่องนี้ผมคงต้องไปสอบถามจากพวงยางแถวๆสารภีหรือลำพูนอีกสักครั้ง   

คนคอยาวใช่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงที่ไหน 

              ผมเดินกันไปตามทาง(ที่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นถนน)กลางหมู่บ้านที่สร้างแบบง่ายๆด้วยไม้กระดาน ไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา หน้าบ้านเป็นร้านขายของที่ระลึกหรือเป็นผลไม้พื้นบ้านจำพวกกล้วยอ่อง(น้ำว้า) มะม่วง ชิ้นส่วนสมุนไพรไม้ป่า เสื้อผ้าที่น่าจะส่งมาจากในเมือง ตามรูปแบบที่ช่างในเมืองนึกคิดว่า น่าจะขายได้ 

เธอกับผม

             นักท่องเที่ยวที่เข้าไปมีหลายเชื้อชาติ เป็นคนไทยจากกรุงเทพหรือชานเมืองน่าจะมากที่สุด ส่นจะมีมาจากภาคอื่นๆหรือไม่ไม่ได้ฟังสำเนียงก็เลยไม่รตู้ว่ามาจากไหน ฝรั่งต่างชาตินอกจากฝรั่งผมแดงผมเงาสีเงิน และสีทองแดงๆ ก็ยังมีชาวต่างชาติจากจีน ญี่ปุ่น นิโกร ฯลฯ นักท่องเที่ยวเหล่านี้น่าจะเดินทางมาตามรายการบริษัททัวร์ หรือมาตามอินเทอเน็ต หรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ออกไปจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ 

         

ผมครับเข็มชาติ ณ ริมเมย

             จะอย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวได้เดินทางกลับตามกำหนดการ และไม่มีที่พักแรมทางในรูปแบบใดๆในหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว     ก็ควรคืนพื้นที่อันสงบสุขตามประสาปกาเกอญอที่เขาอยู่กันตามปกติ ถ้าจะดีกว่า เหมือนว่า ช่วงเวลาแห่งการแสดงได้จบลงไปแล้ว มีข้อเท็จจริงหรือไม่จริง ช่วยสืบสาวราวเรื่องต่อไปอีกหน่อยก็แล้วกัน 

        

ถ่ายจากดอยกองมูเห็นแม่ฮ่องสอน

             "ประเทศไทยมีปกาเกอญอ แต่ไม่เคยมีกลุ่มคอยาวแต่อย่างใด ที่เห็นอยู่นั้นว่ากันว่า อพยพมาหรือถูกกวาดซื้อให้มาอยู่" 

             หรือว่านี่คือยุทธศาสตร์ของการค้า หรือสิ่งที่การท่องที่ยวแห่งประเทศไทยโปรโมชั่น หรือว่าที่นี่คือหนึ่งในสวนสัตว์มนุษย์ประหลาด แปลก

              และอันซีน(UNSEEN THAILAND)                  

             ใครรู้ช่วยตอบที งานนี้ไม่มีรางวัล มีแต่ก้อนอิฐและไม้กระบอง

พระธาตุดอยกองมู 

Tags : ท่องเที่ยวทั่วถิ่นไทย กะเหรี่ยงคอยาวบ้านห้วยเสือเฒ่า

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view