http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,746
Page Views16,304,110
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ

หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ

หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร

โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง/ภาพ

             เรื่องราวของวัดอินทรวิหารและหลวงพ่อโตมีมากมายนัก จึงอยากเขียนเรื่องนี้โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเพื่อให้อ่านแล้วมองเห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นกล่าวคือ ประวัติวัดวัดอินทรวิหาร  ประวัติหลวงพ่อโต พรหมรังสี และหลวงพ่อโตแห่งวัดอินทรวิหาร  หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม เป็นพระโตองค์สุดท้ายที่หลวงพ่อโตพรหมรังสีสร้างขึ้น แม้จะเสร็จช้าไปถึง 60 ปีก็ดี วันนี้มีพุทธศาสนิกชนคนพุทธและคนหลายศาสนาเข้าไปชมมากมาย

พระประธานในอุโบสถเข้มขลังค์

             ประวัติวัดอินทรวิหาร เดิมชื่อวัดไร่พริก อยู่ในสวนผักของชาวจีนสวนพริก   สร้างมาแต่พ.ศ.2295 อยุธยาตอนปลาย ต่อมาปีพ.ศ.2321 พระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรีได้โปรดบัญชาการให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ร.1) ขึ้นไปปราบปรามพระเจ้าสิริบุญสาร ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคณหุต ที่กระด้างกระเดื่อง จนแตกพ่าย พระเจ้าสิริบุญสารหนีไปพึ่งญวน พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงสถาปนากษัตริย์ลาวองค์ใหม่ ขึ้นครองราชแทน 

   

                              หลวงพ่อโต พรหมรังสี และ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฟังธรรม                           

              ในครั้งนั้นได้อพยพพระราชโอรสของเจ้าสิริบุญสารคือ เจ้าอินทวงศ์  ซึ่งมีราชธิดา 2 พระองค์คือ เจ้าทองสุกและเจ้าน้อยเขียว  ต่อมาได้เป็นพระสนมเอกของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ครองกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งพระนครขึ้นใหม่ และได้ทรงโปรดให้เจ้าอินทวงศ์ เป็นผู้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไร่พริก อันเป็นเหตุให้เกิดการพระราชทานชื่อวัดใหม่เป็น วัดอินทาราม แล้วยังนิมนต์ให้ เจ้าคุณพระอรัญญิก(ด้วง) ซึ่งเป็นพระสงฆ์จากเวียงจันท์ที่ติดตามมาด้วยขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัด ส่วนเจ้าอาวาสองค์เก่าไม่ทราบว่ามีหรือไม่

   

                                      ภาพเขียนแสดงวิถีชีวิตชาวไทย

              ครั้นล่วงมาถึงยุค เจ้าอินทวงศ์ ผู้เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบวรมหาศักดิ์พลเสพ ได้บูรณะอีกครั้ง ปีพ.ศ.2470 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น)แห่งวัดบรวนิเวศวิหารเป็นผู้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทรวิหารนับแต่นั้นมาจนถึงวันนี้  วัดอินทรวิหารตั้งอยู่ในแขวงบางขุนพรหม ช่วงสี่แยกถนนวิสุทธิ์กษัตริย์                             

    

                                            นักท่องเที่ยวเข้าชม

              ส่วนที่สองเป็นประวัติของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า โต มารดาชื่อเกตุหรือเกสร เป็นชาวเหนืออันอาจจะมาจากกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ฯไม่แน่ชัด ส่วนบิดานั้นกล่าวกันเป็นสองนัยคือ เป็นพระราชโอรสนอกเศวตฉัตรของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 กับเป็นโอรสของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จนมีความเชื่อว่าสมเด็จโตมีบิดาเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี

บ่อน้ำมนต์หลวงพ่อโต พรหมรังสี

              ท่านเกิดวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก           ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 7 ปี ที่บ้านไก่จุ้น (ท่าหลวง) อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปีพ.ศ.2343 บรรพชาเป็นสามเณร ปีพ.ศ.2350 อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ ในบวรพุทธศาสนา ฉายา พรหมรังสี ลัทธิมหานิกาย เป็นที่น่าสังเกตุว่า สามเณรโตเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมากจนรับเป็นนาคหลวง อุปสมบทโดยมีสมเด็จพระสังฆราช(สุก)เป็นอุปัชฌาย์

    

พุทธศาสนิกชนนั่งกัมฐาน ขวดบรรจุน้ำมต์

              เมื่อบวชเรียนเขียนอ่านจนคล่องในพระธรรมวินัย แต่สมเด็จโตในขณะนั้นไม่ปรารถนาสมณศักดิ์ใดๆ จึงไม่ไปสำแดงเพื่อสมณศักดิ์ใดๆ หากหมั่นเพียรออกธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติมากกว่าเป็นปกติ สมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงถวายสมณศักดิ์แต่สมเด็จโตปฏิเสธ จึงออกธุดงควัตรไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อสร้างพระองค์โตสมกับชื่อโตของท่าน  เช่นพระพุทธไศยาสน์วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อโต วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เป็นต้น

สถูปบ่อน้ำมนต์หลวงพ่อโต พรหมรังสี

               สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ถวายสมณศักดิ์แด่สมเด็จโต พ.ศ.2395 เป็นพระธรรมกิติ   ขณะที่หลวงพ่อโตมีอายุถึง 65  ปี  พ.ศ.2397 เป็นพระเทพกวี พ.ศ.2407 เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ 20 ปี พ.ศ.2410 เป็นประธานการก่อสร้าง หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร โดยได้ลงไปควบคุมการก่อสร้างและพักอยู่ที่ศาลาการเปรียญ การก่อสร้างสร้างไปได้เพียงพระนาภีขององค์พระ ครั้น 24.00 น.ในคืนวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ได้มรณะภาพเมื่ออายุ 84 ปี พรรษา 64 พรรษา

   

                                            ลวดลายประตูอุโบสถมีอิโรติกด้วย

              ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของการสร้างหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร องค์พระเป็นปางอุ้มบาตร สูง 16 วา กว้าง 5 วา 2 ศอก เริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ.2410 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4  แต่ก่อสร้างองค์พระถึงพระนาภี หลวงพ่อโตก็สิ้นลม วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 หลังจากนั้นการก่อสร้างยังดำเนินอยู่ต่อไปจนแล้วเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2470 รวมเวลา 60 ปี ตรงกับสมัยของสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร

             กิตติคุณของหลวงพ่อโต พรหมรังสี เมื่อครั้งจุดไต้เข้าพระบรมมหาราชวัง เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระเครื่อง สมเด็จวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่โด่งดังที่สุดในโลกและมีราคาแพงที่สุดในโลก หายาก(ของแท้)ที่สุดในโลก และมีพระปลอมมากที่สุดในโลกอีกต่างหาก

ศาลาทรงไทยอวดสายตาชาวโลกข้างองค์พระ

             ทุกวันนี้ ยังมีพุทธศาสนิกชนและศาสนิกชนศาสนาอื่นๆ แวะเวียนเข้าไปกราบไหว้-ชม- เคารพ หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารไม่ขาดตอน  บันทึกเรื่องราวและพุทธสถานเผยแพร่ออกไปกับระบบกล้องดิจิตอล แต่ไม่ทราบว่าในแต่ละวันมีผู้เข้าวัดมากน้อยเพียงใด เห็นเพียงศาลาทรงไทยที่สร้างจากเงินก้อนโต ศาลาการเปรียญหลังใหญ่มหึมา โรงเรียนปริยัติธรรม และที่ยังคงสถิตย์อยู่ด้วยความเคารพยิ่งของพุทธศาสนิกชนคือ บ่อน้ำมนต์ของหลวงพ่อโตที่มีพุทธศาสนิกชนคนพุทธเข้าไปนั่งวิปัสนากัมฐาน ค้นหาความสงบสุขจากการปลีกวิเวก

   

เป็นอุโบสถที่แปลกแตกต่างกว่าวัดอื่นๆ มีประตู 3 บาท

   

              งานปูนปั้นฐานใบเสมา                            หน้าบันประตูอุโบสถงดงาม

 

Tags : ท่องแดนแผ่นดินธรรม ท่องไปในแดนธรรม Temple

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view