http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,994,386
Page Views16,302,687
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

กระดาษเปลือกทุเรียน บทสัมภาษณ์อาจารย์โรงเรียนเทศบาลขลุง โดยภาวิณีย์ เจริญยิ่ง-เรื่อง//ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์

กระดาษเปลือกทุเรียน บทสัมภาษณ์อาจารย์โรงเรียนเทศบาลขลุง โดยภาวิณีย์ เจริญยิ่ง-เรื่อง//ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์

กระดาษเปลือกทุเรียน

ธีรดา  สืบวงษ์ชัย

อาจารย์โรงเรียนเทศบาลขลุงสุรวิทยาคาร วิทยาฐานะอาจารย์ชำนาญการ

โดยภาวิณีย์ เจริญยิ่ง-เรื่อง//ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์

          จุดเริ่มต้นที่เอาเปลือกทุเรียนมาทำการะดาษ  เริ่มจากการเห็นปัญหาในท้องถิ่นและปัญหาสภาวะโลกร้อน  ไม่ว่าจะเป็นภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลต่อภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเทศบาลขลุงจะเป็นบริเวณที่มีมลภาวะที่เกิดจากเปลือกผลไม้ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพราะบ้านเราผลไม่เยอะนะค่ะ ทำอย่างไรจึงจะกำจัดภาวะมลพิษตรงนี้ได้ ก็เลยให้นักเรียนช่วยกันคิดวิธีแก้ปัญหาดังกล่างจากโครงงานการเรียนวิทยาศาสตร์  เด็กนักเรียนก็ช่วยกันคิดแล้วเราก็มาช่วยกันพัฒนาปรับปรุง

           ปัญหาในท้องถิ่นที่เห็นสำคัญได้อย่างชัดเจนก็คือเปลือกทุเรียน  เวลาเราไปตลาดเห็นไห๊มค่ะ ที่เขาทำแต่ละปีขยะเยอะมาก แล้วเอาไปทิ้งก็เหม็นเพราะเปลือกมันเน่าเสีย ก็เลยลองคิดดูว่าจะทำอะไรได้บ้าง  เห็นคนอื่นเขาศึกษากัน ว่าสามารถทำอย่างโน้นอย่างนี้ได้ 

           เราเริ่มมาตั้งแต่ปี 2546 เริ่มเรียนโครงงานกัน เราเอาวัสดุเหลือใช้ท้องถิ่นก็นำมาพัฒนาปรับปรุงมาเรื่อย ๆ จนมาเจอว่าเราสามารถเอาเปลือกทุเรียนมาแปรรูปได้หลายอย่าง  ไม่ว่าจะเอามาพัฒนาเป็นถ่านจากเปลือกทุเรียน  ปุ๋ยชีวภาพจากเปลือกทุเรียนเปลือกผลไม้เราก็ทำเรียบร้อยแล้ว

           เราก็เห็นเขาทำกระดาษจากเปลือกกาบกล้วย  กระดาษจากสัปปะรด เอ๊ะของเราก็น่าจะทำได้ก็เลยเอามาปรับปรุงดู ก็ออกมาตามที่เห็นนี่หละค่ะ  แล้วพอผมสัมฤทธิ์ออกมาเราก็นำไปเผยแพร่ก็สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ได้รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางรัลสำเด็จพระเทพฯเมื่อปี 2551 เป็นโครงการ  “กระดาษทุเรียนเพื่อท้องถิ่นไทย” ค่ะ โครงการแฟนต้ายุวฑูตแห่งประเทศไทยค่ะ

            ขั้นตอนก็เอาเปลือกทุเรียนที่เกษตรกรนำไปทิ้งมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เราใช้มือเด็ก ไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ เมื่อหั่นเสร็จแล้วก็นำมาต้มกับโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)  เพื่อให้ยุ่ยสลายได้ง่าย  ระหว่างต้มถ้าเราต้องการให้ได้เนื้อละเอียดเราก็สามารถเอากาบกล้วยมาหั่นเติมลงไป

            กล้วยนี่เป็นพืชมหัศจรรย์นะค่ะ  เพราะว่ากล้วยนี่สามารถทำได้หลาย ๆ อย่างตั้งแต่ต้นยันรากเลย  เพราะว่าในสวนส่วนใหญ่ก็จะมีกล้วยปลูกแซมอยู่ในสวนอยู่แล้ว  ก็เอามาผสมกันเพื่อให้เนื้อใช้งานได้ดี เวลาที่เราจะเอาไปทำงานเราก็ต้องดูเจตนาด้วยว่าต้องการงานแบบไหน เราจะเอาไปทำอะไร 

            บางครั้งเราเอาไปห่อของขวัญ บางอย่างเราก็ไม่ต้องใช้ละเอียดมาก  แต่บางอย่างที่เราเอาไปปูพื้นบอร์ดแทนกระดาษสานะคะเราสามารถใช้แทนได้เลย  พอเราเอาเปลือกทุเรียนมาผสมกับกาบกล้วยผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ต้มก็ใช้เวลาประมาณสองถึงสามชั่วโมง ถ้าไฟอ่อนไปจะใช้เวลานานและไม่ได้ผลดังนั้นไฟต้องแรงคงที่ เมื่อต้มไปได้ระยะเวลาก็ยกลงวางทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้นเอาน้ำส้มสายชูใส่ลงไปเพื่อปรับสภาพให้เป็นกลางเพื่อคืนสู่สภาพแวดล้อม  เพราะว่าถ้าเราเอาน้ำต้มที่เราต้มล้างออกแล้วเอาไปทิ้งเลยจะเป็นน้ำด่างที่แรงมาก เราจึงต้องเอาน้ำส้มสายชูมาปรับเพื่อให้เป็นกลางแล้วคืนสู่ธรรมชาติเพื่อจะได้ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

           ถ้าเราต้องการจะใช้เราสามารถนำไปตีแล้วทำแผ่นได้เลย แต่ถ้าเราเห็นว่าสีมันน่าเกลียดเราก็นำไปฟอกสีก่อนด้วยคลอรีน  โดยแช่คลอรีนทิ้งไว้เราก็จะได้สีขาวแล้วนำไปทำสีได้เลย

           วิธีการทำสีคือเราต้มน้ำใส่เกล็ดสบู่หรือสบู่เหลวเพื่อให้เนื้อประสานกันดีแล้วใส่เกลือเพื่อให้สีคงทนและสีจะเข้มขึ้น  สบู่เพื่อให้เนื้อประสานกันแล้วก็เรียบด้วย ต่อจากนั้นก็ใส่สีย้อมผ้า เมื่อน้ำเดือดเราก็เอาเปลือกทุเรียนที่เราล้างแล้วใส่ลงต้ม ต้มไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้สีเข้าไปประสานกับเนื้อเปลือกทุเรียน จากนั้นเราก็นำมาล้างแล้วนำไปตีแผ่นได้เลย

           วิธีการตีแผ่นก็ไม่ยากค่ะ เราใช้กรอบขนาด 30 x 30 เซนติเมตร  ที่เราใช้ขนาดนี้เพราะอ่างน้ำในห้องทดลองวิทยาศาสตร์เรามีขนาดเท่านี้  เราก็กะว่างานที่เราจะนำไปใช้มีความหนาเท่าไร เราเอาเนื้อกระดาษไปชั่ง  น้ำหนัก 50 กรัมนี่จะได้เท่ากับหนึ่งเฟรมพอดีค่ะ

            หลังจากนั้นก็นำไปตาก เอาเก้าอี้ตั้งแบบนี้หละค่ะ การตากแดดไม่ควรตากในที่แดดจัดเพราะจะทำให้กระดาษร่อนออกจากเฟรมก่อนที่จะแห้ง  ควรตากในที่ร่มหรือแดดอ่อน ๆ ค่ะ

           โครงงานนี้เราสอนนักเรียนมัธยมต้นค่ะ สอนในชั่วโมงชุมนุมวิทยฺรุ่นเยาว์ค่ะแล้วนี่เป็นหลักสูตรท้องถิ่นด้วยค่ะ เราสอนในโรงเรียนแล้วก็เผยแพร่ และเป็นวิทยากรในชุมชนเท่านั้นเองค่ะ แล้วก็คนที่สนใจ  คนสนใจกันเยอะค่ะ  แต่ยังไม่เห็นใครนำเป็นทำในเชิงธุรกิจค่ะ

           เปลือกที่ใช้ก็เป็นเปลือกทุเรียนทั่วไปค่ะแต่ตอนทำต้องถากส่วนที่เป็นหนามที่โผล่ขึ้นมาออกก่อนเพราะมันเหนียวและแข็งมาก แต่ถ้าเรามีเครื่องบดนี่จะดีมากแต่เครื่องบดค่อนข้างแพงเราก็เลยไม่ได้ใช้ค่ะ แผ่นนี้ให้นักเรียนสับให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะสับได้ก็เลยได้งานที่สวนแบบนี้ค่ะ

           ถ้าเราทำงานนะค่ะขนาด 30x30 นี่ต้นทุนแผ่นหนึ่งก็ประมาณ 3-4 บาท แต่ต้นทุนตอนนี้เราใช้สารเคมีให้ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเราก็เลยยังประเมินไม่ได้ค่ะแล้วเราก็ไม่ได้คิดค่าแรง  ในประเทศญี่ปุ่นนี่เขาสนับสนุนเกี่ยวกับการนำเอาวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติมาใช้มารีไซเคิล  นี่เท่ากับเรานำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และที่สำคัญกระดาษนี่ใครก็ทำใช่ไห๊มค่ะ แต่เวลาที่เรานำเสนอเรานำเสนอในแง่ที่เป็นศิลปะพื้นบ้านค่ะ เอาศิลปพื้นบ้านของอำเภอขลุงเรานี่แหละค่ะซึ่งเรามีปราชญ์ชาวบ้านอาจารย์กาญจน์กรณีท่านเก่งมาก ท่านพึ่งได้รับรางวัลระดับประเทศ

           กระดาษนี่ก็ใช้ได้หลากหลายค่ะ อย่างนี่ก็เอาไปปูพื้นบอร์ด เอาไปทำฉากหลังสำหรับวาดรูปหรือทำวอลล์เปเปอร์ค่ะ แล้วเอาไปตกแต่งบอร์ด หรือนำไปทำเป็นของใช้ เช่นกล่องกระดาษ กล่องของขวัญ ความเหนียวก็คล้ายกระดาษสา เราไม่ทราบว่าที่อื่นมีหรือเปล่าที่ตอนที่เราทำมีที่นี่ที่เดียว  เราก็เผยแพร่ไปเรื่อยเราไม่หวงค่ะ

           ขั้นตอนการทำที่ยากและต้องระวังคือขั้นตอนการต้มค่ะ ต้องต้มให้เหนียว ต้องระวัง บางครั้งเราต้มสามชั่วโมงก็จริงแต่บางครั้งลมอาจจะพาความร้อนไปบ้าง เราควบคุมไม่ถึงเพราะเราเป็นแค่โรงธรรมดาได้ บางครั้งต้มสามชั่วโมงยังไม่พอ เราต้องดูว่าเนื้อเนียนหรือยังละเอียดหรือยัง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังที่สุด

           ตอนนี้ยังไม่มีชุมชนไหนเอาไปทำในเชิงธุรกิจ เพราะชุมชนเกรงว่าอาจจะต้องซื้อเปลือกทุเรียน แต่เราก็เผยแพร่ไปเรื่อย ๆ เพราะเปลือกทุเรียนนี่เอาไปหมักทำปุ๋ยชีวภาพจะทำได้เร็วกว่า 

            เราต้องดูว่าวัตถุประสงค์ของเราคืออะไร ถ้าเราต้องการกำจัดให้เร็วที่สุดก็นำไปทำปุ๋ยชีวภาพจะเร็วที่สุด หรือเ อาไปเผาถ่านจะเร็วกว่า

            การเผาถ่านนี่ชุมชนจะรับหน้าที่เอาไปทำค่ะ เพราะถ้าโรงเรียนทำนี่มันจะเหม็น เทศบาลก็จะรับหน้าที่เอาไปทำปุ๋ยชีวภาพแล้วก็ทำถ่านจากเปลือกทุเรียน  ถ้ามาดูงานนี่เทศบาลจะพาไปดูได้เลยค่ะ แต่ถ้าใครจะมาดูวิธีการทำกระดาษก็จะมาที่โรงเรียน  เราจะแบ่งงานกันทำกับเทศบาลค่ะ

             ถ้าเราเอามาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพนี่ก็นำมาหมักได้เลยพอถึงเวลาก็นำไปใช้ได้เลย  มีทั้งน้ำหมักชีวภาพและชนิดที่เป็นผงค่ะ พอปีใหม่ท่านนายอำเภอก็นำมาใส่ถุงแล้วแจกเป็นของขวัญให้กับชาวบ้านค่ะ

            ที่ทำเป็นถ่านก็จะมีของชุมชน 777 ค่ะที่เป็นคนทำแล้วก็อัดเม็ดออกมาได้เลย เขาจะทำให้ดูเวลามาดูงานนะค่ะ

            โรงเรียน เทศบาล ชุมชน ก็จะร่วมกันว่าเรามีวิธีกำจัดมลพิษในชุมชนของเราอย่างไรบ้าง เรามีวิธีทำอย่างไร เราก็จะแบ่งงานกันอย่างนี้แหละค่ะ

 

 

Tags : เบ็ดเตล็ด..เกร็ดน่ารู้ 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view