http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,448
Page Views16,262,737
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ท่องแดนแผ่นดินธรรมตอนที่ 51 วัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมือง จังหวัดน่าน น่าไปชมและกราบไหว้เอามงคลใส่เกศา โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ท่องแดนแผ่นดินธรรมตอนที่ 51 วัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมือง จังหวัดน่าน น่าไปชมและกราบไหว้เอามงคลใส่เกศา โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ท่องแดนแผ่นดินธรรมตอนที่ 51.

วัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมือง จังหวัดน่าน

น่าไปชมและกราบไหว้เอามงคลใส่เกศา

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

              ผมเคยรับราชการอยู่เมืองน่านตั้งแต่ปีพ.ศ.2521-2531 ได้เข้าไปกราบไหว้ เสามิ่งเมืองน่านต้นเก่าที่หน้าวัดมิ่งเมือง ตอนนั้น นึกในใจทำไมเสาหลักเมืองน่านเป็นไม้สักขนาดสองคนโอบ สูงประมาณ 3 เมตร มนหัวเสารูปดอกบัวตูม หลังคาเป็นสังกะสี เสาหลังคาก็เสาเล็กๆ ดูไม่งามสง่าแต่อย่างใด ในช่วงนั้น ไม่มีแม้เอกสารใดๆให้หาความรู้ ผมก็รู้แค่นั้น 

                         

ศาลหลักเมือง

             แต่แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า วันหนึ่งเมื่อปีพ.ศ.2527 ได้มีเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง พระครูสิริธรรมภาณี(เสน่ห์ ฐานสิริ) และคณะศรัทธา ได้มาร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ อะร้าอะร่ามซะไม่มี ถ้าเปรียบเทียบก็ขนาดวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย แม้ไม่งามสง่าเท่าก็ไม่ด้อยไปกว่า คุณค่าแห่งการสร้างพุทธธรรมสถานให้รุ่งเรืองนั้น ได้บุญมหากุศลไปร้อยชาติพันปี สาธุแด่คณะผู้รู้คุณค่าพุทธสถานที่ควรเมืองโดยมีสล่าเสาร์แก้ว เลาดี ปั้นปูนตามจินตนาการของเจ้าอาวาส ใช้เวลา 5 ปี ภาพวาดภายในโบสถ์จิตรกรพื้นบ้านชื่อสุรเดช กาละเสน รวมเวลากว่าการบูรณะจะเสร็จสิ้นก็ 12 ปี  

ยอดพุทธประทุมสวมเศียรท้าวมหาพรหม

             ในหนึ่งปี ผมต้องไปประชุมคณะกรรมการมูลนิธิสมเพิ่ม กิตตินันท์ เพื่อการศึกษาของเยาวชนต่อเนื่อง และมูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ เพื่อผู้สูงอายุแบบบำนาญประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยมากจะกำหนดโปรแกรมช่วงหนาวๆ เดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี พร้อมกันนั้นก็จะนำเที่ยวชมความสวยงามของเมืองน่านทั้งด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม พุทธสถาน ธรรมชาติบนขุนเขาและในหุบเหว เป็นทัวร์ไม่หวังผลกำไรแต่ได้เงินสมทบทุนมูลนิธิทางอ้อม

             วัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมืองคือรายการนำเที่ยวแห่งแรกทันทีที่เข้าถึงจังหวัดน่าน ถัดไปก็วัดภูมินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดน่าน วัดพระธาตุแช่แห้ง แล้วก็เลยไปหาของกินที่เป็นอาหารเหนือเช่น ข้าวซอย ขนมเส้น(จีน)น้ำเงี้ยว ไส้อั่วอร่อยๆ ข้าวหลามกระบอกยาวที่สุดในโลก แวะหาของฝากจากร้านที่ขาย  "ผ้าลายน้ำไหล" ศิลปะไทลื้อ ของแท้และดั้งเดิม

แม้มิใช่ศิลปินโด่งดังแต่ด้วยจินตนาการของพระครูก็สวยอลังการ

             ผมเริ่มต้นค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารและเว็บไซต์ต่างๆ แต่ละแห่งแหล่งข้อมูลล้วนสั้น ย่อ ย้วย ยุ่งยาก และในที่สุดก็พบว่า มันสับสนไปจนเวียนหัว ดังนั้นผมจึงตัดใจค้นคว้าจากคำคีเวิร์ด(Keyword) ของแต่ละเรื่องราว แล้วก็จับมาปะติดปะต่อขึ้นใหม่ เป็นฉบับรวมฐานข้อมูลนานา จะเชื่อก็ได้ไม่ได้ก็ขอให้พิจารณาดูนะครับ

ปูนปั้นหน้ากาฬที่ละเอียดและงดงาม

              มีการจารึกแผ่นทองคำว่า เดิมทีเดียว วัดนี้ชื่อว่า "วัดตะละแม่ศรี" สร้างโดยเจ้านางตะละแม่ศรี พระนางเป็นพระมเหสีของพญามังรายมหาราช เจ้าผู้ครองนครเชียงราย ราชวงศ์ลวจกราช  อันพญามังรายมหาราชพระองค์นี้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง เจ้าผู้ครองนครหิรัญเงินยาง(เชียงแสน พ.ศ.1182) มีพระราชมารดาชื่อเจ้าแม่พระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ราชธิดาท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองเชียงรุ่ง(สิบสองปันนา)

เสาพัทธเสมาน่ารัก

              ส่วนเจ้านางตะละแม่ศรีนั้นเป็นราชธิดาแห่งพญาเจ็ง แห่งเมืองพะโค(หงสาวดี) ที่ทรงได้รับพระราชทานให้เป็นพระมเหสีของพญามังรายเมื่อครั้งเสด็จตีเมืองพม่าแตก อันพญามังรายนี้ทรงประสูติเมื่อวันแรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พ.ศ.1781 ตอนย่ำรุ่ง และสวรรณคตปีพ.ศ.1860 พระชนย์มายุ 79 พรรษา

 

               นอกจากนี้ยังมีจารึกว่า วัดตะละแม่ศรีแห่งนี้เป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ซึ่งทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระนางเสด็จมาบูชาวัดตะละแม่ศรีทุกปี ปีละถึง 2 ครั้งคือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 อันเป็นวันยี่เป็งของชาวเหนือ

               ต่อมาพญาผากอง เจ้าผู้ครองเมืองน่าน(ภูเพียงแช่แห้ง)ได้ทรงย้ายเมืองจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มาตั้งยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเมื่อปีพ.ศ.1911 ตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้

 

               มีข้อสันนิษฐานกันว่า พระเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์หนึ่งทรงสร้างเสามิ่งเมืองขึ้น ต่อมาสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านขึ้นครองราชย์ปีพ.ศ.2395 ครั้นปีพ.ศ.2400 พระองค์ทรงดำริที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดร้างให้ฟื้นคืนมาเป็นพุทธสถานขึ้นใหม่ จึงได้ทรงเสด็จไปบวงสรวงเสามิ่งเมือง แล้วพระองค์ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดตะละแม่ศรี ซึ่งอยู่ใกล้กับเสามิ่งเมือง และทรงพระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า วัดมิ่งเมือง

    

ช่อฟ้าที่มีรูปโฉมแปลกแตกต่างจากศิลปะทั่วไป         

               ปีพ.ศ.2527 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดมิ่งเมืองและเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยศิลปะล้านนาผสมครั้งใหญ่  แต่บ้างก็ว่าเชียงแสนผสม เป็นอุโบสถที่ทาบทาด้วยปูนปั้น เล่นลวดลายสวยงาม และบอกเล่าเรื่องราวในพุทธประวัติอย่างวิจิตรพิศดารมาก ใช้สีโทนขาวเป็นพื้น ปูนปั้นแต่ละจุดแต่ละมุมเป็นเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี มีให้ศึกษาได้ทุกแง่มุม

               ส่วนว่าปูนปั้นแต่ละเรื่องราวนั้นไม่สามารถจดจำคำบรรยายได้หมด เพราะมีอยู่มากมายหลายจุด ทุกตารางนิ้วเป็นเรื่องเล่าได้ไม่มีวันหมดสิ้น และไม่มีซ้ำเดิม ส่วนภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธมิ่งเมือง ศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองเหลืองอร่าม ภาพเขียนสีเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธประวัติ การครองเมืองของพระเจ้าน่านทั้งหลาย และวิถีชีวิตชาวเมืองน่าน

              

               สรุปได้ว่าหากไปชมความวิจิตรพิศดารของอุโบสถวัดมิ่งเมือง น่าจะต้องใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย และถ้าต้องลงไปกราบไหว้เสาหลักเมืองน่านให้ครบสี่ทิศด้วยละก้อ 3 ชั่วโมงเชียว เพราะว่าแต่ละทิศมีเทพคุ้มครองและอำนวยพรแตกต่างกันดังนี้คือ       

              ทิศเหนือ คือ พระเมตตา โดยจะมีท่านท้าวเวสสุวรรณ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านอำนาจ บารมี ความมั่นคง มีความกล้าแข็ง เข้มแข็ง เป็นที่เคารพเกรงขาม

    

              ทิศตะวันออก คือ พระกรุณา จะมีท่านท้าวธะตะรัฎฐะ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านเสน่ห์ เมตตา มหานิยม เป็นที่รัก เป็นที่ปรารถนา และชื่นชอบของคนและเทวดา

              ทิศใต้ คือ พระมุทิตา จะมีท่านท้าวิรุฬหะกะ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ และบริวาร

               ทิศตะวันตก คือ พระอุเบกขา จะมีท่านท้าววิรุปักษ์ เป็นผู้รักษา และให้มงคลเด่นในด้านความสงบ ร่มเย็นเป็นสุข มีสันติภาพ ภราดร เป็นที่เคารพ นับถือ เชื่อถือของคนทั่วไป

               สาธุ สาธุ  

 

 

 

 

Tags : ท่องแดนแผ่นดินธรรม วัดพระธาตุศรีสองรัก 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view