http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,005,803
Page Views16,314,771
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

หลวงพระบางตอน7.ตักบาตรพระร้อย โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

หลวงพระบางตอน7.ตักบาตรพระร้อย โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

  หลวงพระบางตอน7.

ตักบาตรพระร้อย จุดขายการท่องเที่ยวแสนงาม

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

               ลาวเคยแบ่งแยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน มีเจ้ามหาชีวิต 3 องค์ แต่ละราชวงศ์ไม่ขึ้นต่อกันและกัน หากแต่ขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงเทพรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ได้แก่หลวงพระบางทางตอนเหนือของลาวเป็นราชธานีหนึ่ง มหานครเวียงจันทน์เป็นราชธานีสอง และนครจำปาศักดิ์เป็นราชธานีสาม นี่คือความชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกันของคนในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่ขาดความสามัคคีปรองดอง จึงแตกยะย่ายพ่ายไปทุกถิ่น

ตั้งท่ารอพระมาบิณฑบาตร

             ตลอดภูมิประเทศเขตของชาติลาว มีประชากรทั้งหมด 6,068,117 คน(พ.ศ.2548) มี 68 ชนเผ่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ

             ลาวสูง เป็นพระนครที่ปกครองอยู่ถิ่นเหนือสุดของประเทศ เช่นแขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามตะเข็บชายแดน ชนเผ่าต่างๆหลากหลายเชื้อชาติอยู่อาศัยร่วมกัน เช่น ม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย รวมกันแล้วประมาณ 9% ของชนเชื้อชาติลาว

ไม่ได้นุ่งถุงซิ่นตีนจกแต่ก็อยากห่มสะไบเฉียงอยู่นะจ๊ะ

             ลาวเทิง เป็นชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง ส่วนใหญ่พื้นที่จะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาว เช่นแขวงจำปาศักดิ์ แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ ได้แก่ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะดัง ฯลฯ รวมกันแล้วประมาณ 22% ของชนเชื้อชาติลาว

            ลาวลุ่ม  เป็นชาวลาวที่อยู่อาศัยในเขตที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ เช่นแขวงนครเวียงจันทน์ เป็นชนเผ่ากลุ่มใหญ่ที่สุดถึง 68% ของประชากรทั้งประเทศ กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ  ภาษาที่ใช้คือตระกูลภาไท  

            นอกจากนี้อีก 2% เป็นกลุ่มลาวเชื้อสายเวียดนามและจีน กระจายอยู่ทั่วประเทศ 

ตั้งจิตมั่นอธิษฐานขอให้ได้ดังปรารถนา..สาธุ..สาธุ

            ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท กว่า 60 % ของประชากรลาว ควบคู่ไปกับการนับถือภูตผีบรรพบุรุษ

            เพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเพลง กุหลาบปากซัน แต่งคำร้องและทำนองโดย จำปา ลัดตะนะสะหวัน หรือ สลิวัต ซึ่งข้ามมาเรียนหนังสือตั้งแต่อายุ 10 ปีจนถึงอายุ 18 ปี ที่จังหวัดมุกดาหาร แล้วเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ พ.ศ.2496 ก่อนกลับไปทำงานยังประเทศชาติบ้านเกิด

          กุหลาบปากซัน

      แดนดินถิ่นไกล เหลือตา
อยู่สุดนภายังมีดอกฟ้า แสนงาม
หากไผได้เห็น จะมัวหลง
เฝ้าคิดพะวง หลงติดตาม
สาวเอยแสนงาม งามเหลือตา

งามจริงดังคำ เขาชม

หากได้สุขสมภิรมย์กับน้อง สมใจ

จะขอใฝ่ฝัน แต่นางเดียว

บ่อขอข้องเกี่ยว หญิงอื่นใด

เฝ้าแต่หลงไหลใฝ่ฝันใจปอง

โอ้..กุหลาบสวรรค์

แห่งเมืองปากซันให้อ้ายใฝ่ฝันหมายปอง

ใจ..อ้ายหวังอยากเคียงประคอง

กุหลาบเป็นสีดั่งทอง

เมื่อยามแสงส่องจากดวงสุรีย์

ยามแล้งค่ำลง น้ำซัน

หมู่บริพรรณน้ำซันไหลผ่าน ใสดี

ข้อยเห็นผู้สาว เจ้าล่องลอย

หมู่ปลาใหญ่น้อย ลอยล่องนที

สิ้นแสงสุรีย์สาดสีแสงจันทร์

     

 

ชายชราก็เอากับเขาด้วย              

           หลวงพระบาง เป็นอดีตพระนครหลวงที่ยิ่งใหญ่ เดิมทีเดียวชื่อเมืองชวา ด้วยว่ามีชาวชวามาอาศัยอยู่มาก ปีพ.ศ.1814 พระยาลังธิราช สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครองโดยมีเมืองเชียงทองเป็นราชธานี ปีพ.ศ.1859-1892 พระยาสุวรรณคำผงซึ่งเป็นราชบุตรได้ขึ้นครองราชย์

            และจวบจนปีพ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้ม ราชบุตรเขยของกษัตริย์ขอมโบราณ ได้รวบรวมแผ่นดินสองฝั่งแม่น้ำโขงให้เป็นแผ่นดินใหม่ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมือง เชียงทอง เมื่อปีพ.ศ.1900 ครั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมผู้เป็นพ่อตาได้พระราชทานพระพุทธรูปศิลปะสิงหลชื่อ พระบาง ให้กับเจ้าฟ้างุ้ม พระองค์จึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นเมืองหลวงพระบางตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์ถึงปีพ.ศ.1916 ก็สิ้นสุดแผ่นดิน

 

 

       

                                       ฝรั่งนักท่องเที่ยวมาชื่นชมการตักบาตร

 

        เมืองหลวงพระบางได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ด้านวัฒนธรรม "ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ทำให้ผู้คนจากทั่วสารทิศคิดจะไปสัมผัสเมืองหลวงพระบาง การท่องเที่ยวกระจาย โดยเฉพาะภาพการตักบาตรพระร้อย หรือตักบาตรข้าวเหนียว ซึ่งเริ่มตั้งแต่เช้ามืดก่อนตีห้า(05.00น.) จะมีนักท่องเที่ยวแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมืองของชาวลาว อันได้แก่ ผ้าซิ่นตีนจก ห่มผ้าสะไบเฉียงบางเบา สีสันสวยงาม และสวมเสื้อแขนยาวสามส่วน     คอวีหรือคอกลม โดยมีแม่หญิงลาวแบกถาดข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่ง พร้อมขนมใส่บาตรพระมาขายให้

 

 

            "โปรดระมัดระวัง ถาดบุญที่นำเสนอขณะตักบาตรทำบุญ เพราะว่าอาจแพงโคตรๆ" นักท่องเที่ยวที่เห็นมีทั้งชาวไทยเสียส่วนใหญ่ ชาวลาว ชาวจีน ฝรั่งอั้งม้อ และตากล้องที่เดินกันจ้าละหวั่น เพื่อบันทึกภาพสวยๆไปอวดกัน มันช่างเป็นความน่าตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นการตักบาตรพระร้อยๆองค์ เป็นการนำเอาประเพณีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวพุทธลาวมาใช้เป็นจุดขายกลายเป็นการท่องเที่ยวที่งดงามเหลือใจ

 

                                            เด็กอีกกลุ่มหนึ่ง

            ด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวพุทธไทยและลาว กลมกลืนกันได้ด้วยดี จำนวนนักบุญจากแดนไทยได้ช่วยเพิ่มความเข้มขลังให้กับการตักบาตรพระร้อย ให้ดูยิ่งใหญ่อลังการมากยิ่งขึ้นไปอีก ผมไม่รู้จริงๆว่า การตักบาตรเช่นภาพที่เห็นนี้เกิดขึ้นเมื่อใด เกิดด้วยธรรมชาติดั้งเดิมหรือว่าเกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันเพื่อการโปรโมทการท่องเที่ยวกันแน่

                                  เด็กๆมารอรับของจากพระ

            แต่จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ภาพที่เห็นอันเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทีดีงามของชาวพุทธ ได้กลายเป็นจุดขายการท่องเที่ยวที่น่าจะยั่งยืนและยิ่งใหญ่ตลอดไปของเมืองมรดกโลกที่ชื่อว่า "หลวงพระบาง" อย่างยากที่จะมีเมืองพุทธใดมาขายแข่งได้อีกต่อไป 

            ถึงได้ก็ไม่ใกล้เคียงก็แล้วกัน เน๊าะ !!! ไม่ได้แม้แต่เพลงที่เป็นเอกเช่นกุหลาบปากซันก็บันดาลใจให้รำลึกถึงอยู่ชั่วนาทีปีกาล ซึ่งเพียงขึ้นต้นด้วยคำแรกก็ "แทงใจดังปั้ก"

 

                                 แม่หญิงลาวขายถาดบุญให้ตักบาตร

Tags : หลวงพระบางตอน7.ตักบาตรพระร้อย

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view