http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,007,457
Page Views16,316,497
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ตัวเลขที่ไร้สาระ โดย

ตัวเลขที่ไร้สาระ  โดย

ตัวเลขที่ไร้สาระ

โดย "นิรกาย"

                การถกเถียงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำควรจะเป็นเท่าใดเป็นหัวข้อสนทนาสำคัญของทั้งวงการนายทุนและวงการกรรมกร 2 คู่ขัดแย้งและพลังอิสระของยุคทุนนิยมบ้านเราในเวลานี้

                นายจ้างกลัวว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทจะไปกระทบ

1.การ “ขาดทุนกำไร” ของ “พวกเขา” และ

2. รายจ่ายด้านแรงงานที่มากขึ้นจะไปทำให้ต้องไปขึ้นราคาสินค้า สินค้าที่ต้องไปสู้กับราคาสินค้าของประเทศอื่นๆในเวทีการค้าโลก รวมไปถึงการทำลาย “ผู้ลงทุนขนาดกลาง ขนาดย่อม” หรือ SME

               ส่วนลูกจ้างและพวกสิทธิมนุษยชนสวนกลับกลุ่มทุนด้วย

1.การโจมตีนายทุนว่า นายทุนไม่เห็น “กรรมกร” เป็น “มนุษย์” และ

2.การเพิ่มค่าแรงให้มวลชนชั้นล่างที่มีอยู่อย่างไพศาลต่างหากจะไปทำให้ “กำลังซื้อ” ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีขึ้น พูดง่ายๆก็คือค่าแรงที่เพิ่มขึ้นของหมู่มวลกรรมกรนั่นแหละที่เป็น “กำลัง” ในการ “หมุนวงจร” เศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่กำลังใกล้ตายให้มีชีวิตชีวาขึ้น

               ความต้องการเศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้นของ 2 ชนชั้นดังกล่าวถือแม้จะถือได้ว่า เป็นเรื่อง “ปรกติ” ของสังคมทุนนิยม แต่การ “สวนทางแห่งผลประโยชน์” ดังกล่าว จะส่งผลที่แตกต่างกัน ระหว่าง “ประเทศที่ปฏิวัติประชาธิปไตยแล้ว” กับ “ประเทศที่ยังไม่ปฏิวัติประชาธิปไตย” อย่างไทย แล้วยิ่งเรากำลังตกอยู่ภายใต้ “สถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูง” ที่ล่อแหลมต่อการต่อสู้ทางชนชั้นด้วยอาวุธด้วยแล้ว เป็นเรื่องที่น่าหนักใจต่อการ “เปลี่ยนผ่าน” ทางการเมืองโดยสันติมาก ถ้าทั้งคู่ไม่ผ่านสัมมาทิฐิหรือความเห็นถูกที่ว่า ปัญหาดังกล่าว เป็น “ปัญหาการเมือง” ไม่ใช่ปัญหา “เศรษฐกิจ”หรือปัญหา “สังคม” ดังนั้น “การแก้ไขปัญหา” แห่งความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย จึงจำต้องแก้ปัญหา “การเมือง” ให้ตกไป ไม่ใช่มามะงุมมะงาหรา ต่อรองกันในเรื่อง “ตัวเลข” โดยไม่คำนึงถึงผลข้างเคียงที่ไม่ใช่เพียงเรื่องตัวเลข (คือเรื่องความเสมอภาคและเสรีภาพที่แท้จริง) ซึ่งท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นปมเงื่อนหรือบ่อเกิดแห่งปัญหาอื่นๆอีกต่อไป แบบ “ลิงแก้แห”

               การมุ่งแต่จะไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นเพียง “ผลผลิต” ของ “การเมืองผิด” จึงไม่ใช่หนทางแห่งการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงแต่อย่างใด

พระพุทธเจ้าทรงเรียงลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาใดๆเอาไว้ว่า “คนทุกข์” ต้องเข้าใจ “เหตุแห่งทุกข์”  (สมุทัย) ก่อนว่าคืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจเหตุแห่งทุกข์เสียก่อนแล้ว เราจะหามรรควิธีไปสู่ความเป็นปรกติสุขหรือนิพพานกันได้อย่างไร

               วันนี้คนไทยจำนวนมากรวมทั้งนักการเมืองผู้ได้รับการฉันทานุมัติให้เข้าไปแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมืองและผู้นำทางความคิดต่างเข้าใจผิดว่า ปัญหาชาติเกิดจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกันแบบผิดๆบ้าง เกิดจากคนไม่ดีขึ้นมาปกครองบ้านเมืองบ้าง เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้านายทุนบ้าง ฯลฯ คนที่ไม่รู้วิชาอาจจะคิดไปว่า ข้อสมมุติฐานดังกล่าวเป็นข้อสมมุติฐานหรือทิฐิที่ถูกต้อง แต่สำหรับคนที่รู้วิชาแล้ว ทิฐิหรือความเห็นดังกล่าวเป็นเรื่องเข้าใจผิด เข้าใจผิดเพราะไปมองเอาที่ “ผล” ของมัน ไม่ได้มองเอาที่ “เหตุ” คือตัวการเมืองพิษที่ส่งผลเช่นนั้น ดังนั้นขืนเราไปแก้ที่ “ผล” หรือปลายเหตุ (อันเป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นได้ง่าย) โดยไม่ไปแก้ที่เหตุอันเป็นที่มา ท้ายที่สุดก็ฆ่ากันอย่างโง่งมไปเท่านั้น

               เหมือนการปลิดแต่ผลไม้ร้ายทิ้งโดยไม่ตัดโค่นต้นตอ ผลไม้ร้ายนั้นย่อมให้โทษแก่ทั้งนายทุนและกรรมกรอยู่เรื่อยไป เช่นเดียวกับมะเร็งหรือโรคอื่นใด ถ้าเราไม่ขจัดเงื่อนไขแห่งการเป็นโรค คิดเพียงแต่จะแก้ไขโรคตามอาการ  โรคนั้นจะหายไปได้อย่างไร

               ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางชนชั้นของคนไทยในวันนี้ มีเงื่อนไขมาจากการปกครองแบบเผด็จการ ถ้าเราไม่ยุติการปกครองแบบเผด็จการซึ่งเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งทางชนชั้น (ซึ่งจะแปรรูปมาเป็นประเด็นในการถกเถียงของนายทุนว่า พวกเขาอยู่ไม่ได้เพราะต้นทุนแรงงานสูง ทำให้สินค้าราคาแพงไม่สามารถไปสู้กับราคาสินค้าของต่างชาติได้ ส่วนกรรมกรก็โต้ว่า “นายทุนหน้าเลือด” ไม่เห็นคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของกรรมกร รายได้ต่ำๆไม่มีทางให้กรรมกรมีชีวิตอยู่ได้ในขณะที่ค่าครองชีพสูงเกินรายได้) ท้ายสุดก็นำมาซึ่งต่อสู้ด้วยอาวุธและการล้มล้างกันอย่างโหดเหี้ยมเหมือนที่เกิดขึ้นในบ้านอื่นเมืองอื่นมาแล้วในโลก ถ้าเกิดการต่อสู้แนวทางดังกล่าวขึ้น บ้านเมืองของเราก็ย่อมพินาศลงอย่างแน่นอน

              การปรับสมดุลทางการเมืองด้วยความรุนแรงเพื่อการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งของฝรั่งเศส รัสเซียและอีกๆหลายประเทศในโลก มีเป็นตัวอย่างให้เราเห็นแล้วว่าผู้คนต้องตายอย่างน่าสยดสยองกันมากมายเพียงใด แล้วทำไมเราไม่นำเอาสิ่งผิดๆเหล่านั้นมาเป็นครู มาแก้ไขปัญหาในขณะที่เรายังไม่ได้ใช้อาวุธเข้าห้ำหั่นกันเสีย เพราะถ้าวันใดเหตุการณ์ต่างๆถลำลึกลงไปถึงเลือดขึ้นหน้ากันเสียแล้ว การแก้ไขย่อมยากขึ้นอย่างแน่นอน

                ความขัดแย้งเรื่อง “ค่าแรง” 300 บาทที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้ อย่านึกว่าเป็นเพียงความขัดแย้งปรกติธรรมดา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาในช่วงสถานการปฏิวัติกระแสไม่สูง เพราะนี่คือ “ปฐมบท” ของ “การต่อสู้ทางชนชั้น” ที่ทั้ง “ผู้ปกครอง”และ “ผู้ถูกปกครอง” ถูก “สถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูง” “ขับ” ให้เข้าเป็น “แนวร่วม” ของขบวนปฏิวัติแนวทางรุนแรงที่มีอยู่จริง

                 

                เป็นกฎของสังคมของทุกๆประเทศที่ว่า สิ่งที่ก้าวหน้ากว่าจะทำลายสิ่งที่ล้าหลังกว่าไปโดยปริยาย การต่อสู้ระหว่าง “ชนชั้นสูงที่ล้าหลัง” กับ “ชนชั้นกลางที่ก้าวหน้า” มักจะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายหลังเสมอ แต่ก่อนที่ชนชั้นกลางผู้ก้าวหน้ากว่าจะชนะ ชนชั้นกลางต้องได้กำลังจากชนชั้นล่างคือกรรมกรเข้าร่วมด้วย มิฉะนั้นแล้ว ชัยชนะของชนชั้นกลางจะเป็นชัยชนะที่ไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังการยืดเยื้อที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ตาม นายทุนหรือชนชั้นกลางเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากชนชั้นล่างหรือกรรมกร เข้าไปถือครองอำนาจอธิปไตยแล้ว พวกเขาก็จะไม่สนใจใยดีต่อกรรมกรอีกต่อไปตามประสานายทุน พลางหันหน้ามากดขี่กรรมกรแบบเดียวกับที่ชนชั้นสูงเคยกระทำ ท้ายสุดกรรมกรชนชั้นล่างก็จำต้องลุกขึ้นมาต่อสู้กับชนชั้นกลางเพื่อบังคับสภาพให้ชนชั้นกลางหันมายอมรับในความเป็นมนุษย์ของพวกเขา ภายใต้ “หลักการ” หลักการประชาธิปไตย ที่ให้ประโยชน์แก่คนทุกชั้น

ปัญหาชาติไม่ได้อยู่ที่ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลักแต่มีปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องหลัก ถ้าเราแก้ไขปัญหาการเมืองได้ ปัญหาเศรษฐกิจที่เราถกเถียงกันอยู่ก็ตกไป ค่าแรงจะมากหรือน้อยกว่า 300 ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะการเมืองที่ถูกต้อง (ประชาธิปไตย) ย่อมจะไปทำให้ทั้งนายทุนและกรรมกรอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล สมดุลทั้งด้านรายได้และมีความเสมอภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบผูกขาดที่ทำให้คนรวย รวยล้นฟ้า คนจน จนติดดินอย่างทุกวันนี้

                การเอาชนะคะคานกันเรื่องตัวเลขที่ไม่ได้พิจารณามาจากความจริงแท้ การเอาชนะคะคานกันว่าใครจะเป็นผู้พิพากษาในเรื่องดังกล่าว “ไตรภาคี”หรือ “รัฐบาล” ต่างล้วนเป็นเรื่องน่าหัวร่อสำหรับคนรู้วิชา

                แสวงหาสิ่งไม่มีด้วยความเข้าใจผิดคิดว่ามันมี มันจะไปเจอกันได้อย่างไร ท่านพุทธทาสจึงเยาะเอาว่า แสวงหาหนวดเต่า ตายเปล่าเอย นั่นเอง

 

Tags : ตัวเลขที่ไร้สาระ คนเห่าเงา หมา

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view