http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,961,292
Page Views16,267,663
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

น้ำต้นทุนตอน ลุ่มน้ำน่าน พลังน้ำจากขุนเขา เหลือเฟือ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

น้ำต้นทุนตอน  ลุ่มน้ำน่าน พลังน้ำจากขุนเขา เหลือเฟือ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                   น้ำต้นทุนตอน  ลุ่มน้ำน่าน พลังน้ำจากขุนเขา เหลือเฟือ

     โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

            สภาพภูมิประเทศที่เป็นขุนเขาสูงชันและสลับซับซ้อนทางตอนบนสุดของขุนต้นน้ำ  เมื่อรองรับน้ำจากฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลจากลุ่มน้ำเล็กลุ่มน้ำน้อยแล้งไหลรวมกันมาสู่ลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน เป็นเหมือนหอพักน้ำที่ตั้งอยู่สูง ย่อมมีพลังผลักดันให้เกิดการไหลลงสู่ที่ลาดต่ำจนถึงที่ราบผืนนาหลายจังหวัดอย่างทรงพลัง ตลอดความยาวทั้งสิ้นของลำน้ำน่าน 2,191 กม. จึงเป็นท่อส่งน้ำที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ใช่ไหม ?

            รูปร่างลุ่มตั้งแต่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน จนสิ้นสุดที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มองดูว่าเป็นลุ่มน้ำที่ยาวรี แคบ แต่ก็ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์  เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 34,682.07 ตร.กม. เป็นพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ  42.82  พื้นที่เกษตรกรรมร้อยละ 47.28  โดยมีประชากรหนาแน่น 66 คน/ตร.กม. คุณภาพน้ำ พอใช้

            ลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ ลุ่มน้ำยาว ลุ่มน้ำสมุน ลุ่มน้ำเสนียนไสล ลุ่มน้ำแหง ลุ่มน้ำว้า ลุ่มน้ำกอน  ลุ่มน้ำลี ลุ่มน้ำคลองตรอน ลุ่มน้ำปาด ลุ่มน้ำวังทอง  ลุ่มน้ำแควน้อย เป็นต้น  แต่ทั้งลุ่มน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดน่านและจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ดูภาพลุ่มน้ำจะเห็นลำห้วยมากมายสายสั้นๆ คดโค้งมากๆ  ป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆเหล่านั้น จึงมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์น้ำ การไหลของน้ำ และการเกิดตะกอนลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า เช่น ที่ราบลุ่มจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์

            แต่น่าเศร้าใจที่พื้นที่ป่าต้นน้ำเหนือลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆในสองจังหวัด น่าน-อุตรดิตถ์ เสื่อมโทรมจากการทำกินของชาวบ้านที่เป็นทั้ง ชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบ ศักยภาพของป่าต้นน้ำจึงพลอยเสื่อมถอยลงไปด้วย ตะกอนไปลงสู่เบื้อล่างอย่างหนาแน่น ในยามฤดูฝนจึงเห็นความขุ่นข้นของลำน้ำที่แดงฉานตลอดเส้นสาย ยิ่งเมื่อขึ้นไปบนภูสูงจะยิ่งเห็นว่า พื้นที่สูงชันถูกเปิดโล่ง ปราศจากผืนป่าปกคลุมต้นน้ำ ช่างล่อแหลมเหลือกำลัง

            ว่ากันตามจริง ลุ่มน้ำน่านมีภูมิอากาศที่ชัดเจน ร้อนก็ร้อนจริง ฝนตกก็มากเฉลี่ยปีละ 1,332.25 มม. ด้วยพื้นที่รองรับน้ำฝนทั้งลุ่มน้ำ 34,682.07 ตร.กม. จึงเกิดปริมาณน้ำท่า รายปีเฉลี่ย 12,199.63 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ร้อยละ 42.83 ของพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น (14,850.44 ตร.กม.) เป็นป่าธรรมชาติ 10,811.78 ตร.กม. ป่าเสื่อมโทรม  2,749.88 ตร.กม. และเป็นพื้นที่ป่าปลูก 1,288.78 ตร.กม.  

            นั่นหมายความว่า ลุ่มน้ำน่านมีพื้นที่ธรรมชาติอยู่ 6,757,362.5 ล้านไร่ หรือ 31.17 %ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ เป็นป่าเสื่อมโทรม 1,718,675 ไร่ และป่าปลูก 805,487.5 ไร่  วิเคราะห์ว่า มีพื้นที่ป่าต้นน้ำมากกว่า 25 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำ น่าจะพอเพียง แต่ถ้าคิดถึงว่าเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน จึงล่อแหลมต่อการพังทลายมากเป็นเงาตามตัวมิใช่หรือ จึงต้องซ่อมเสริมพื้นที่ให้มีผืนป่าหนาน่านมากว่าปกติ การปลูกป่าต้นน้ำส่วนที่เป็นป่าเสื่อมโทรมจึงมีความจำเป็นมาก

            ในผืนป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ วันนี้ได้รับประกาศเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์มากมายหลายล้านไร่ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติแม่จริม ฯลฯ  พื้นที่เสื่อมโทรมในอุทยานแห่งชาติบางแห่งมีการปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำ บางแห่งปล่อยพื้นที่ให้ฟื้นตนเองช้าๆ แต่ถ้าบางแห่งปล่อยให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้นอีก ก็ถือเป็นความเสื่อมถอยของสมรรถนะเจ้าหน้าที่ที่บริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์

            พื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั้งประเภทอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ประกาศไว้ ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านและชาวดอยให้มีพฤติกรรมตามการเปลี่ยนแปลง  บางคนหันมาประกอบอาชีพบ้านพักแบบโฮมสเตย์ บางคนก็เปิดรีสอร์ต บางคนก็ขายอาหาร ของที่ระลึก และอาชีพบริการอื่นๆ อีกมากมาย  การท่องเที่ยวได้ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเม็ดเงินกระจายไปตลอดเส้นทางที่นักท่องเที่ยวต้องผันผ่าน แต่ทั้งมวลก็ยังต้องมีน้ำเป็นต้นทุนเสริมทุกรายการ

            อย่างไรก็ตาม ลุ่มน้ำน่านมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง-ขนาดใหญ่(ความจุ 30-100 ปริมาณ 25ล้าน ลบ.ม.) มากถึง 224 โครงการ  ความจุเก็บกัก 9,600.43 ล้าน ลบ.ม.  ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 1.103 ล้านไร่  และก็มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก 530 โครงการ ความจุเก็บกัก 30.67 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 1.127 ล้านไร่ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 165 โครงการ พื้นที่รับระโยชน์ 0.280 ล้านไร่ เขื่อนขนาดใหญ่เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น

            ทั้งลุ่มน้ำมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 12,199.63 ล้าน ลบ.ม. เก็บกักได้ทั้งหมด 9,631.10 ล้าน ลบ.ม. จึงมีปริมาณน้ำไหลเลยทั้งสิ้นเฉลี่ยรายปี 2,568.53 ล้าน ลบ.ม. ส่วนจะดูดซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดินเท่าไร ใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภคเท่าไร ระเหยกลับขึ้นไปเป็นเมฆเท่าไร คงต้องศึกษาวิจัยกันอีกยาวนาน

            พื้นที่ชลประทาน 2,510,295.00 ไร่ มีความต้องการน้ำทางด้านการเกษตรกรรม และอื่นๆ รวม 3,103.30 ล้าน ลบ.ม. ขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรม 68.18 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ซึ่งมองดูก็เหมือนไม่หนักหนาสาหัสนัก  แต่เชื่อหรือไม่ว่า บางปีกลายเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก บางปีน้ำท่วมวินาศสันตะโร ส่งผลกระทบถึงเมืองต่ำเช่นพิจิตร พิษณุโลกและนครสวรรค์ได้อย่างหนักหนาสากรรจ์

            ผู้เขียนทำงานปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำน่านนานกว่า 10 ปี ได้รู้เห็นทุกมุมของพื้นที่จังหวัดน่าน ได้รู้ว่าพื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เลือนหายไปไหน ได้เห็นต้นยาง ตะเคียนใหญ่ขนาดรถปิกอับถูกโค่นล้มลงนอนเต็มยอดเขา แล้วเผาทิ้งเพื่อปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ระยะสั้นๆ ด้วยน้ำตาที่นองหน้า ได้รับรู้ว่า มนุษย์ทุกคนต้องเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัวให้รอด แม้เหนื่อยยากลำบากเพียงใด เขาก็ต้องทำ และแม้รู้ว่ามันคือสิ่งที่ผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง เขาก็พร้อมที่จะเสี่ยงเพียงเพื่อปากท้อง และเผ่าพันธุ์

            และได้รู้เห็นว่า ระบบบริหารราชการแผ่นของเรา ขาดเอกภาพการบริหารอย่างแท้จริง

Tags : น้ำต้นทุน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view