http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,611
Page Views16,266,946
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

นักอนุรักษ์สัตว์ป่าภาคเอกชน

Dely177.doc/18ตค41                                   นักอนุรักษ์สัตว์ป่าภาคเอกชน 

            ในบ้านเราปัจจุบันนี้ มีนักอนุรักษ์หลายสาขา หลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามวิสัยทัศน์ขององค์กรนั้นๆและทิศทางของกระแสการบริจาคเงิน แต่โดยลักษณะส่วนตัวของนักอนุรักษ์บางกลุ่มใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นเครื่องตัดสินชี้ทางเลือก แต่ก็มีอีกหลายกลุ่มที่คิดทำดำเนินการเป็นวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์สัตว์ป่าภาคเอกชนคนหนึ่ง มีวิญญาณและความคิดอิสระ ลองติดตามดูว่าเขาคิดอย่างไร ทำอย่างไร และน่าชื่นชมหรือไม่

            นายฉัตรชัย วิบูลย์รณรงค์ จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วมาต่อรัฐประศาสนาศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เคยทำงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฝ่ายกำหนดและแก้ไขพระราชบัญญัติจนถึงระดับ 7 ลาออกมาเป็นผู้อำนวยการด้านบริหารของบริษัทเอกชนด้านผลิตไม้และแปรรูปยางพารา กลุ่ม STA ปัจจุบันทำงานผลิตไม้ประดับส่วนตัว

            ในส่วนของการเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าเริ่มตั้งแต่ปีพ..2520จนถึงปัจจุบันนี้ นายฉัตรชัยเคยผ่านการเป็นสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่ง แต่ก็มาเข้าตาในเรื่องของสมาคมอนุรักษ์ไก่ฟ้าแห่งชาติและสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เรียกว่าลองผิดลองถูกมาหลายองค์กรกว่าจะพบของจริง มีหลักการและมีเหตุมีผล ยึดมั่นอยู่ในกรอบของกฏหมายบ้านเมือง

            ด้วยความที่นายฉัตรชัยเป็นคนหนุ่ม มีความพร้อมทางครอบครัวและมีวิญญาณของนักอนุรักษ์สัตว์ป่า จึงได้ทำการศึกษาวิจัยโดยส่วนตัวแล้วเสนอผลงานทางวิชาการในการสัมมนาเรื่องสัตว์ป่าเมืองไทยครั้งที่ 17 ปี พ..539 เรื่องที่นำเสนอคือ หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดเหมาะสมที่จะทำการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ และครั้งที่ 18 ปี พ..2540 ได้ร่วมอภิปรายเรื่องการอนุรักษ์นกนอกถิ่นกำเนิด ศึกษาเรื่องการจำแนกสายพันธุ์นกยูงไทยสีเขียวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและใกล้เคียง เขียนบทความเชิงวิชาการส่งไปลงในหนังสือพิมพ์และวารสารของส่วนราชการ

            ปัจจุบันได้รับเชิญให้เป็นนักเขียนประจำหนังสือพิมพ์รายเดือน เกษตรพัฒนา เป็นวิทยากรให้กรมป่าไม้บรรยายเรื่องการจัดการสัตว์ป่าเบื้องต้นเสมอมา

            นายฉัตรชัยกล่าวว่ามีข้อเท็จจริงสองประการคือทุกกิจกรรมของมนุษย์ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะพื้นที่บนผิวโลกและมนุษย์เกิดขึ้นตลอดเวลาอันเป็นตัวเร่งการใช้พื้นที่ธรรมชาติให้เพิ่มมากขึ้น การบุกรุกพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าก็มากขึ้น จึงเป็นการยากที่ทางราชการจะหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่าอย่างเด็ดขาดได้ นักอนุรักษ์ก็หยุดไม่ได้เช่นกัน

            จึงควรยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น แล้วหาทางจัดการเพื่ออนุรักษ์ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา ไม่ใช่เพ้อฝันแต่จะปลุกจิตสำนึกที่ได้ผลกับคนกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ประเภทอนุรักษ์ตามสายลมแสงแดด ปัจจุบันนี้จึงต้องยืดถือหลักการการอนุรักษ์สัตว์ป่าแบบในถิ่นกำเนิด(In-situ)และนอกถิ่นกำเนิด(Ex-situ) ขอให้พิจารณาสั้นจากความหมายสักนิด

              การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดได้แก่ การรักษาป่า การลดการล่า การจัดการแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งอาศัยให้สมบูรณ์ การเพิ่มแหล่งและโอกาสในการผสมพันธุ์ ฯลฯส่วนการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิดได้แก่ การจัดหาแหล่งอาศัยใหม่  การเก็บสเปกตรัม ตัวอ่อน การเพาะเลี้ยงและอื่นๆ  มิใช่เช่นปัจจุบันนี้ที่กระแสการอนุรักษ์มุ่งสู่ทิศทางเดียวที่ค่อนไปทางการรักษา(Preservation)ไม่ใช่การอนุรักษ์(Conservation) ซึ่งหมายถึงการรักษาป่า ลดการล่า ปฏิเสธการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ป่า

เน้นปลุกจิตสำนึกประเภทประกวดภาพถ่าย วาดภาพ แต่งโคลงกลอน อันเป็นผลได้คือความปลื้มปิติของผู้ร่วมกิจกรรม โดยมีผลบุญตกไปถึงสัตว์ป่าอย่างเป็นรูปธรรมบางส่วน ส่วนประเด็นอื่นๆแทบจะไม่ได้ทำกันเลยโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ซึ่งตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535 และระเบียบปฏิบัติมีปัญหาซ่อนอยู่มากมาย ยากแก่การจูงใจให้กับภาคเอกชน คล้ายๆเป็นการระมัดระวังมากไปหน่อย

(เรื่องนี้เมื่อนายปลอดประสบ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้มาดำรงตำแหน่งและได้แต่งตั้งนายชวาล ทัฬหิกรณ์ เป็นผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้มอบนโยบายแล้วว่าจะสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอย่างจริงจัง ส่วนการแก้ไขคงต้องตามมาภายหลังเช่นกัน)

และถ้ามาพิจารณาถึงการเกิดใหม่ของสัตว์ป่าในวิถีธรรมชาติ จะพบว่ามีความเป็นไปได้อย่างยากลำบาก จึงสมควรช่วยธรรมชาติโดยมนุษย์อีกทางเลือกหนึ่ง อันเป็นแนวทางที่ต้องพิจารณาว่า สัตว์ป่าประเภทใดบ้างที่หายากหาง่าย  มีความต้องการมากน้อยเพียงใดหรือไม่มีความต้องการเลย และความเข้มแข็งในการผลิตหรือสร้างขึ้นใหม่ได้หรือไม่ได้ ยากหรือง่าย แล้วพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการ

เช่นเป็ดแดง นกกวัก กางเขนบ้าน ปรอดหัวโขน หาง่าย มีความต้องการซื้อจากประชาชน ห้ามซื้อขาย และเพราะว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ไม่ได้ ก็น่าจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเพาะเลี้ยง อันอาจมีความสามารถในการเพาะพันธุ์ได้ก็ได้ หรือเช่นไก่ฟ้า นกยูง เก้ง กวาง กระจง เสือ จระเข้ เข้าข่ายที่หายาก มีความต้องการซื้อ ผลิตก็ได้ไม่ยากอะไร กฎหมายก็ไม่จำกัด

นักอนุรักษ์สัตว์ป่าที่มีความรู้ ความเข้าใจและวิสัยทัศน์กว้างไกลเช่นคุณฉัตรชัย ยังมีแอบแฝงอยู่อีกมาก แล้วก็มักไม่ชอบแสดงตัวสร้างภาพกันนัก คนดีๆโลกก็คอยแต่จะลืมเสียเรื่อยไป

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปิดประตูให้กว้างๆ ลมโกรกได้สะดวกและระวังรักษาของในป่าให้แน่นหนา อย่าให้มีข่าวว่าสัตว์ป่าหลายชนิดมีการล่าและขนส่งมาขายโดยคนของกรมป่าไม้ก็แล้วกัน ครับ   ก่อนจะปลุกจิตสำนึกประชาชน ช่วยกันปลุกจิตสำนึกของความเป็นข้าราชการเสียก่อน

 

Tags : wildlife sunctuary

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view