http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,988,811
Page Views16,296,819
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

GISกับป่าอนุรักษ์ ห้วยขาแข้ง


Dely179/7พย.41                              GISกับป่าอนุรักษ์ ห้วยขาแข้ง          


           
พอย่างเข้าเดือนตุลาคมเป็นต้นไป อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง บางปีฝนยังตกอยู่แต่บางปีก็เหือดหายไปกับลมหนาวที่โชยมา โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ(รวมผืนป่าตะวันตกด้วย) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงช่วงเวลาที่ร้อนแรงมากขึ้นๆในเดือนเมษายน ไฟป่า ไฟบ้าน ลุกโชติช่วงไปทุกหย่อมหญ้า ควันไฟพวยพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ และลุกไหม้เป็นไฟในทรวงของข้าราชการกรมป่าไม้ เช่นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทุกปีก็ว่าได้

            กรมป่าไม้ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นซ้ำซาก จึงใช้ประโยชน์จากการประยุกติ์ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล(Remote sensing)และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ที่ห้วยขาแข้งอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่เกิดปัญหาไฟป่าสม่ำเสมอ เป็นภาพข่าวในทางลบและสร้างความเสียหายเสมือนว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หากแต่ความจริงหลายประการเป็นปัจจัยธรรมชาติที่ไม่มีใครพูดถึง ซึ่งแก้ไขได้ยากยิ่ง

            ที่ห้วยขาแข้ง ปัจจุบันนี้มี นายสงวน ธนชัยสิทธิกุล เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8 เป็นหัวหน้าเขตฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,755,400.50 ไร่ อยู่ในท้องที่จังหวัดอุทัยธานีและตาก มีหน่วยพิทักษ์ป่าจำนวน 17 หน่วยกระจายอยู่โดยรอบเขตฯเพื่อป้องกันการบุกรุกจากราษฏร ซึ่งได้อพยพออกจากใจกลางเขตฯก่อนการประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย  ถ้าไม่อพยพออกมาเลยจะเป็นอย่างไร

เมื่อแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมLandsat TM ปีพ..2538 พบว่าเป็นพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ 97.02%(1,593,618.08ไร่) มีพื้นที่เกษตรกรรม 205.58 ไร่(0.01%) พื้นที่อยู่อาศัยและสถานที่ราชการในเขตฯ 258.34 ไร่(0.02%)และพื้นที่แหล่งน้ำ 221.33 ไร่(0.13%) และพื้นที่ไร่ร้าง ไร่เลื่อนลอย 49,397.56 ไร่(2.82%) ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าดิบแล้ง 791,741.97 ไร่(45.10%) ป่าเบญจพรรณ 737,121.56 ไร่(41.99%) ป่าเบญจพรรณที่มีไม้ไผ่ปะปน 64,614.32 ไร่(3.68%) ป่าเต็งรัง 109,746.07 ไร่(6.25%) และเป็นสวนป่ายูคาลิปตัส 30.48 ไร่(0.002%)มีห้วยขาแข้งและห้วยแม่ดีเป็นห้วยหลัก

มีหมู่บ้านในระยะห่างจากแนวเขตฯ 5 กม.จำนวน 32 หมู่บ้าน และที่อยู่ใกล้ในระยะ 2 กม. จำนวน 12 หมู่บ้าน ได้แก่บ้านเขาเขียว บ้านเขาแม่ปุย บ้านห้วยร่วม บ้านคลองเคียน บ้านไซเบอร์ บ้านคลองแห้ง บ้านห้วยคต บ้านกระแหน่ บ้านป่าบัว บ้านคง บ้านโป่งข่อย และบ้านสมอทอง ซึ่งตามนโยบายของจังหวัดอุทัยธานีจะอพยพออกให้อยู่ห่างไกล ลดปัจจัยเหตุอันเนื่องมาจากมนุษย์

กระเหรี่ยงกลุ่มนี้ครอบครองพื้นที่เฉลี่ยครอบครัวละ 39.5 ไร่ มีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพอาชีพหลักคือทำไร่ 19.36% และรับจ้าง 10.99% รายได้เฉลี่ยของประชากร 80,812.5 บาท/ปี/ครัวเรือน รวมกันแล้ว 30.35% ดังนั้นประชากรอีกกลุ่มที่เหลือ  66.65% สมควรจะทำอาชีพอะไรจึงจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งก็ต้องคิดทบทวนไปถึงว่า ป่าไม้ที่เหลืออยู่มากมาย ไม้และของป่าก็ย่อมมีมากโดยเฉพาะเมื่อที่อยู่อาศัยและอาหารมีมากสัตว์ป่าก็ย่อมจะมีมากด้วย ช่องว่างนี้น่ากลัวครับ

การลักลอบตัดไม้ขาย การจุดไฟล่าสัตว์ การแกล้งด้วยความจงใจ การเผลอเรอจนเกิดไฟ การเผาไร่แล้วไม่ควบคุมจนลุกลามเข้าป่า ฯลฯ เหล่านี้คือปัญหาที่เกิดไฟป่าทุกปี

เรื่องนี้ นายนเรศ ฉ่ำบุญรอด ผู้อำนวยการกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้รายงานสถานการณ์ไฟป่าและจุดเกิดเหตุไฟป่าที่เขตฯห้วยขาแข้ง เมื่อเดือนเมษายน พ..2541 ต่อคณะทำงานดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า

โดยประมาณแล้วไฟไหม้ห้วยขาแข้งอยู่ในวง 300,000 ไร่ จุดเกิดไฟอยู่โดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งสิ้น ตามแนวกันชนที่ราษฎรทำกิน เป็นไฟที่เกิดจากไฟเผาไร่แล้วปล่อยให้ลุกลามเข้าไปโดยไม่มีการทำแนวกันไฟรอบไร่เลื่อนลอยเหล่านั้นแต่อย่างใดอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ก็เป็นเรื่องกฎหมายสาธารณภัยซึ่งกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บังคับใช้

แม้ว่าจะมีศูนย์ควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง (นายบัณฑิต สนิทประชากร นักวิชาการป่าไม้ 7.เป็นหัวหน้า) รับผิดชอบพื้นที่ทั้งหมด 1.7 ล้านไร่เศษ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในการจัดการนัก งบประมาณที่ได้มาพิจารณาตามปริมาณพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ได้พิจารณาเกี่ยวกับความล่อแหลมความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟป่าแต่อย่างใด ส่วนพื้นที่ดินทำกินได้มีการพยายามฝึกอบรมประชาชนให้ช่วยก็ยังหวังผลได้น้อยอยู่ การปกป้องป่าอนุรักษ์จากไฟป่ายากอยู่แล้ว แต่ไฟบ้านยากยิ่งกว่า

ในจำนวนพื้นที่ป่าไม้ 97.02% เป็นป่าเบญจพรรณ,ป่าไผ่และป่าเต็งรังรวม 51.92%(911,582.95ไร่) เป็นป่าผลัดใบ ถึงฤดูกาลก็ปลดปล่อยเชื้อไฟลงสู่ดินเสมอๆ พื้นที่ส่วนนี้พาดกลางพื้นที่เขตฯจากตะวันออกเฉียงเหนือลงมาทางใต้สุดของเขตฯเรียกว่าลมจากตะวันตกเฉียงใต้กระพือไฟบ้านเมื่อไร ก็เข้าร่องพาดกลางป่าห้วยขาแข้งเมื่อนั้น ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย

ภาพถ่ายดาวเทียมและระบบ GIS ช่วยให้ทราบข้อมูลระยะไกลได้ใกล้ชิด ลงลึกถึงเหตุแห่งปัญหาได้ การพัฒนาระบบทั้งสองนี้จึงต้องควบคู่ไปกับการสำรวจและปฏิบัติการภาคพื้นดิน ยิ่งได้ข้อมูลชัดเจน เผยแพร่ให้ช่วยกันป้องกันไฟบ้านให้ได้เมื่อไรก็ป้องกันไฟป่าได้เมื่อนั้น

Tags : wildlife sunctuary

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view