http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,675
Page Views16,267,013
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จากหมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยช้าง(2)

Dely140.doc  จากหมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยช้าง(2)    

            การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์(Ecotourism) มีความหมายที่แตกต่างกันในหลายความคิด แนวคิดหนึ่งพิจารณาจากรากศัพท์ของคำว่า Eco=Ecology (นิเวศวิทยา) กับ Tourism (การท่องเที่ยว) ผสมผสานกันกลายเป็นการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ อันหมายถึงการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา หาความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวที่ไปพบเห็น โดยมิได้หมายความรวมเฉพาะการท่องเที่ยวในป่าอนุรักษ์แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่แม้การทำน้ำตาลมะพร้าวก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ให้ความรู้ถึงภูมิปัญญาชาวบ้านได้ มีเงื่อนไขสำคัญคือไปเที่ยวที่ไหนๆแล้วไม่ทำให้สภาพทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป มีประชาชนในท้องถิ่นได้ผลประโยชน์

            แต่ในความหมายที่อยากกล่าวถึง รากศัพท์ของคำว่า Eco=Economy(ประหยัด) กับtourism(การท่องเที่ยว) ผสมผสานกันใหม่กลายเป็นการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ที่แปลงความหมายใหม่เป็น การท่องเที่ยวที่ประหยัดทรัพย์สินนักท่องเที่ยว เที่ยวถูกๆ มัทยัธถ์  กินพออยู่ไม่กินทิ้งกินขว้าง ประหยัดทรัพยากรท่องเที่ยวไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเป็นต้นเหตุให้เสียหาย ใช้กระต็อบเล็กๆเป็นที่พักค้างเพื่อชมวิถีชีวิตของท้องถิ่นนั้นๆหรือบ้านเรือนของชาวบ้านแถวนั้นเป็นที่รองรับฯลฯไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมดา นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฏหมายหรือในเขตป่าอนุรักษ์ทั้งหลายก็ตาม

            หมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตช้างกับคน เป็นเรื่องแปลกแต่จริง แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างคนและสัตว์ ด้วยไมตรีจิตที่มีต่อกันและกัน เป็นความรักและโอบอ้อมอารีย์ของมนุษย์ตัวเล็กๆกับสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเสมือนเพื่อน เป็นผู้ร่วมงานบางกิจกรรม  ความสอดคล้องต้องกันเช่นนี้หาดูไม่ได้ง่ายนัก แต่ที่จังหวัดสุรินทร์มีหลายหมู่บ้านทีเดียว

            หากมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีและลึกซึ้งเพียงพอ คนที่มีจิตเมตตามากมายจะหันเหไปชื่นชมและช่วยกันถนอมรักษาทรัพยากรช้างเอเซียของเรามากขึ้น พร้อมๆไปกับที่คนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะมีงานทำ เป็นประกันชีวิตและความปลอดภัยของครอบครัวได้ เพราะว่าช้างเหล่านั้นคือองค์ประกอบหนึ่งในครอบครัวและชีวิตประจำวันของคนที่นั่น ภาพลบที่เคยมีคนไม่เข้าใจคนสุรินทร์ที่เกิดขึ้นจะหายไป 

            เชื่อมั่นว่า การบินไทยดำเนินการเช่นนี้ ถูกทางแล้ว แต่ถ้าเป็นไปได้ ที่หมู่บ้านช้างจะมีบ้านพักถูกๆ ง่ายๆ สะดวกพอประมาณ และทุกอย่างปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นปกติของชีวิตชนบท น่าจะเป็นเสน่ห์ที่น่าประทับใจสำหรับผู้ไปพบเห็น แต่อย่างไรก็ดี ระหว่างรอบการไปชื่นชมของคนไทยกับคนต่างชาติ(ฝรั่ง) ย่อมแตกต่างกันอย่างมาก การจัดการเรื่องเหล่านี้จึงต้องแตกต่างกันไป

            เรื่องเล่าหนึ่งที่แสดงถึงความรัก ความผูกพันและความเชื่อถือต่อกันและกันระหว่างคนกับช้าง ที่ได้รับฟังมาก็น่าขำและน่ารัก เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ

            โดยปกติชีวิตคนเราต้องมีเพื่อน อาจเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นญาติ เป็นเพื่อนบ้าน การไปมาหาสู่กันจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยิ่งรักใคร่ชอบพอกันมาก ก็ยิ่งไปมาหาสู่กันบ่อย ดังนั้นถ้าวันไหนเพื่อนที่จะไปเยี่ยมเยียนเพื่อนต่างบ้านหรืออยู่ห่างไกลออกไปจูงช้างมาด้วย หรือขี่คอช้างมาก็ตาม หมายความว่าวันนั้นเขามีความในใจอยู่ว่าจะสังสรรค์กันหนัก คนสุรินทร์ต้องกินสุราอยู่แล้ว จึงต้องเมา อาจหมดเรี่ยวแรงกลับบ้านไม่ได้ แต่จะตะกายขึ้นคอช้าง ๆจะพาเขากลับมาส่งถึงบ้านได้อย่างปลอดภัย

            แต่ถ้าเขาไปเยี่ยมเยียนเพื่อนแล้วไม่เอาช้างไปด้วย ก็หมายความว่าวันนั้นเขาจะรีบกลับบ้านหรือกลับในสภาพที่ช่วยตนเองได้ ไม่เมามายจนหมดสติแน่ๆ มีเรื่องน่ากังขาว่า ช้างสื่อได้อย่างไรว่าเจ้านายเมาฟุบหลับไปแล้ว เขาต้องพากลับมาส่งที่บ้าน    เรื่องนี้จริงไม่จริงก็ไปถามได้ที่ท่านรองประธานมูลนิธิหมู่บ้านช้าง นายพิสิฐ กุศลาไสยานนท์

            ช้างดังกล่าวเหล่านี้เป็นช้างบ้าน เกิดมาก็เห็นคนเป็นเพื่อน วิ่งเล่นมากับคน ได้รับการสัมผัสลูบคลำด้วยฝ่ามือที่อบอุ่นของคน ได้รับอาหารจากมือคน มีความรู้สึกใกล้ชิดและไม่กลัวคน ช้างบ้านเหล่านี้จึงไม่เคยได้กลิ่นสาปช้างหรือสัตว์ป่าใดๆที่อยู่ในป่าดงพงพี โดยเฉพาะสัญชาติญานของสัตว์เดรัจฉานเช่นช้าง ย่อมมีอาณาเขตของใครของมัน จะไม่ปะปนกัน จะไม่ก้าวล่วงล้ำเขตซึ่งกันและกันหรือแม้แต่หลงเข้าไปในฝูงอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดอันตรายโดนเตะออกมาได้ง่ายๆ

            การที่จะนำช้างบ้านไปจัดทัวร์เดินป่าใด จึงต้องทราบว่า ณ ที่ป่าอนุรักษ์ผืนนั้น(อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า) มีช้างป่าอยู่อาศัยอยู่แล้วหรือไม่ หากมีอยู่โขลงหนึ่งหรือสองโขลง ก็จะมีกลิ่นสาปช้างติดอยู่ตามดิน ใบไม้ ต้นไม้ วัชพืช ซึ่งอาจเกิดจากฉี่ อึ หรือการเกลือกกลิ้ง ฝากร่องรอยเอาไว้ในพื้นที่เหล่านั้น ทัวร์ช้างบ้านจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะว่าช้างบ้านจะไม่กล้าเข้าไปเด็ดขาด

            แต่ถ้าพื้นที่ป่าดังกล่าวใดไม่เคยมีหรือไม่มีโขลงช้างป่าหลงเหลืออยู่เลย กลิ่นสาปช้างจะไม่มี ช้างบ้านจะรู้ว่าตนเองจะไม่ได้ไปรบกวนหรือล่วงล้ำเขตของช้างใดๆ นั่นแหละเขาจะกล้าเข้าไปเดินทัวร์ได้

            แนวคิดเรื่องการนำช้างบ้านหรือช้างงานเดิมมาทำกิจกรรมเดินป่า จึงต้องพิจารณาเป็นพื้นที่ๆไป เหมารวมเอาทีเดียวง่ายๆก็คงจะไม่เป็นผลสำเร็จ อาจหน้าแตกหรือเสียรังวัดได้ ผู้ที่ให้ข้อมูลจึงต้องนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดและรอบคอบ ข้อมูลบางประการที่รู้ต้องแจ้งให้หมดสิ้นทั้งพุง มิเช่นนั้น มีความเสี่ยงรออยู่แล้วว่า จะพลาดท่าเสียทีเป็นแน่แท้

            ที่ประเทศอินเดีย เนปาล ฯ ทัวร์ช้างที่เกิดขึ้นมีข้อเท็จจริงเช่นไร พื้นที่ป่าเหล่านั้นมีช้างป่าอยู่อาศัยหรือไม่ หมดไปจากป่านั้นๆมานานเพียงใด ช้างที่ใช้ในกิจกรรมเป็นช้างในท้องถิ่นนั้นหรือไม่ ภาพโฆษณาที่สวยหรูอาจมีบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ เป็นภาพลวงตาที่ขาดข้อมูลทางวิชาการหลายประการหรือไม่ ธุรกิจคือธุรกิจไม่มีความจริงแท้เช่นสรณะในพระพุทธศาสนาเสมอไป

            เมื่อนายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวชี้ช่องทางในการจัดทัวร์ช้างจากช้างบ้าน จึงเป็นเรื่องที่จับจุดอนุรักษ์ด้วยความหวังดี ไม่ทราบว่าท่านไม่อยากเห็นช้างมาเดินเพ่นพ่านอยู่กลางเมือง หรือท่านมีข้อมูลอื่นๆที่ดีกว่า หรืออาจเล็งเห็นว่าเรื่องเช่นนี้สามารถแปลงเป็นผลประโยชน์ได้อีกหลายทาง ความหวังดีเหล่านี้จึงเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะว่าผู้บริหารระดับนโยบายให้ความสนใจเรื่องช้างแล้ว การจัดการน่าจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น

               ช้างบ้านอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฏหมายช้างเป็นสัตว์พาหนะ มีกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของเรื่อง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานตามกฏหมายจึงหมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่ง และตำรวจ ความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้  ส่วนการจะแปลงให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นจริงจึงต้องมีเอกชนร่วมด้วย

                ความสัมพันธ์ระหว่างช้างกับคนไทยนี้เป็นเรื่องที่ตัดไม่ขาด มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่การก่อตั้งชาติบ้านเมือง ช้างช่วยกรำศึกฝ่าแนวรบมาหลายครั้ง ขยายอาณาเขตประเทศออกไปกว้างขวาง และมีความร่มเย็นเป็นสุขกันโดยทั่วหน้าตราบจนถึงบัดนี้ ช้างกับคนสุรินทร์จึงเป็นองค์ประกอบในประวัติศาสตร์ที่ลืมไม่ได้ เป็นเรื่องที่ชาวสุรินทร์ต้องศึกษาลงไปให้ลึกว่า มีเรื่องราวใดที่เคยกระทำมาก่อนนี้อีกหรือไม่

                   เจ้าพระยาปราบไตรจักรเคยร่วมกอบกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยา ในสงครามยุทธหัตถีระหว่างพระมหาอุปราชของพม่ากับพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น

                   อดีตกาลผ่านไป ปัจจุบันสถานการณ์ย่อมเปลี่ยนไป การใช้ประโยชน์จากช้างก็เปลี่ยนไป อนาคตการใช้ประโยชน์ช้าง จะหันเหไปทางไหนกันดี ทั้งช้างป่าและช้างบ้าน

 

 

 

 

Tags : wildlifes

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view